News

นักวิชาการรัฐศาสตร์ชี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก ไม่ใช่ผู้ชี้ขาดผลการเลือกตั้ง อบต. คาดการเมืองท้องถิ่นเริ่มพลิกฟื้นหลังถูกดองมาเกือบ 8 ปี

เรื่อง : ตติยา ตราชู

นักวิชาการรัฐศาสตร์ชี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก หรือ new voter จะไม่ใช่ผู้ชี้ขาดผลการเลือกตั้ง อบต. ปลาย พ.ย.นี้ เพราะมีสัดส่วนในแต่ละเขตน้อยกว่าฐานคะแนนเดิม คาดการเลือกตั้ง อบต.จะนำชีวิตชีวาคืนให้แก่การเมืองท้องถิ่นหลังถูกดองมาเกือบ 8 ปี 

กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศจัดการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั้งหมด 5,300 แห่งทั่วประเทศ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28 พ.ย. โดยมีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 34.04 ล้านคน แบ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเดิมร้อยละ 87.01 และผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก (new voter) ร้อยละ 12.99 อาจารย์ชาลินี สนพลาย อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหน้าใหม่ จะไม่มีอิทธิพลชี้ขาดผลแพ้ชนะได้เท่ากับคนในพื้นที่ซึ่งเป็นฐานเสียงเดิม 

อาจารย์ชาลินี กล่าวว่า กลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหน้าใหม่แม้จะมีจำนวนมากขึ้น แต่จะกระจายอยู่ตามแต่ละพื้นที่ ทำให้มีสัดส่วนในแต่ละพื้นที่เขตเลือกตั้งไม่มากพอจะมีกำลังเปลี่ยนแปลงการเมือง ไม่เหมือนกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือระดับประเทศ ที่จะถูกนับรวมเป็นกลุ่มคะแนนที่ใหญ่ขึ้น อีกทั้งเนื่องจากไม่สามารถเลือกตั้งนอกเขตได้ กลุ่มคนที่ออกมาเรียนหรือทำงานนอกพื้นที่ ก็ไม่มีแรงจูงใจจะกลับไปเลือกตั้ง อบต. เพราะภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และสถานการณ์โควิด-19 

การเลือกตั้ง อบจ. จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 (เข้าถึงเมื่อ 21 ต.ค. จาก https://www.prachachat.net/politics/news-582009)

“เวลาบอกว่าจะเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ผ่านการเลือกตั้ง มักฝากความหวังไว้ที่ new voter เพราะเป็นคนที่มีวิธีการตัดสินใจแบบใหม่ จึงเปลี่ยนการเมืองได้ ทำราวกับว่าคนในพื้นที่เขาไม่เปลี่ยนเลย ทั้งที่คนเหล่านั้นก็เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา” อาจารย์ชาลินีกล่าวและว่า โครงสร้างและบรรยากาศทางการเมืองตลอด 7-8 ปีที่ผ่านมา รวมถึงประสบการณ์จากการเลือกตั้ง อบจ. หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีผลต่อการตัดสินใจของคนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน 

“งานวิจัยจากการลงพื้นที่ชนบทจำนวนหนึ่งบอกว่า ชาวบ้านจะพิจารณาเลือกผู้สมัครจากความสามารถในการต่อรองโครงการหรืองบประมาณ มาตอบสนองความต้องการของคนแต่ละกลุ่มในพื้นที่ ไม่ได้มองแต่ตัวนโยบายที่ใช้หาเสียงอย่างเดียว ไม่ได้หมายความว่าคนในชนบทไม่คิดถึงผลงาน แต่คิดในลักษณะของความสามารถในการต่อรองหรือสร้างเครือข่ายการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานในแบบที่เขาอยากได้” อาจารย์ชาลินีกล่าว

สำหรับความสำคัญของการเลือกตั้ง อบต. ในครั้งนี้ อาจารย์ชาลินี กล่าวว่า จะเป็นการนำชีวิตชีวากลับมาสู่การเมืองท้องถิ่น หลังถูกปล่อยเกียร์ว่างมานานถึง 8 ปี หลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2556 ก่อนเกิดรัฐประหาร ซึ่งผู้รักษาการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนั้น ไม่ได้มีแรงจูงใจในการริเริ่มโครงการใหม่รวมถึงมีข้อจำกัดของอำนาจที่กฎหมายมอบให้น้อยกว่าผู้บริหารจริง ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ 

การเลือกตั้ง ส.อบต. และนายก อบต. จัดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2556 (เข้าถึงเมื่อ 21 ต.ค. จาก http://www.phanamyoi.com/readnews.php?id=000003)

นายศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การเลือกตั้ง อบต. ไม่ได้รับความสนใจจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่ เท่ากับการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 2 ครั้งที่ผ่านมา เพราะเป็นการเมืองระดับพื้นที่ขนาดเล็ก ที่การแข่งขันแย่งชิงฐานอำนาจและผลประโยชน์อาจไม่หวือหวาเท่าเทศบาลหรือ อบจ. รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้คนสนใจปัญหาปากท้องมากกว่าการเมือง 

“การเลือกตั้ง อบต. อาจไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงระดับมหาศาล แต่เป็นชิ้นส่วนจิ๊กซอว์หนึ่งที่ทำให้การเมืองท้องถิ่นมีความสมบูรณ์มากขึ้น เพราะถูกแช่แข็งมานาน บางพื้นที่ก็มีความอึดอัด นี่เป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงผู้นำ หรือกรณีผู้นำที่ได้รับความนิยมชมชอบ ก็เป็นการตอกย้ำความชอบธรรมให้เขาครองอำนาจต่อ” นายศิริศักดิ์กล่าว 

นายศิริศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนกลางมอง อปท. เป็นเพียงแขนขาที่จะมาช่วยทำงาน ไม่ได้ให้อิสระในการดำเนินงาน แม้ อปท. จะมีบทบาทสำคัญในการจัดการโควิด-19 แต่ส่วนกลางกลับไม่หยิบยกประเด็นนี้มาเชื่อมโยงกับการกระจายอำนาจ “การให้ความสำคัญกับการปกครองท้องถิ่น จะเป็นการเสริมสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับประชาชน” 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต. จะจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) และนายก อบต. โดยใช้เขตหมู่บ้าน และเขตตำบลเป็นเขตเลือกตั้ง ตามลำดับ ในวันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย. นี้ เวลา 8.00-17.00 น. ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิ์และหน่วยเลือกตั้งผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งเพิ่มเติมทางสายด่วน กกต. 1444 ในวันเวลาราชการ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมทางแอปพลิเคชัน Smart Vote 

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
3
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
1
Angry โกรธ
0

More in:News

News

ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ชี้ ไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับสื่อสตรีมมิง  แม้มีแผนแม่บทแต่ไม่นำเข้าที่ประชุมกสทช.

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ และ วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ชี้ ไทยไม่มีการกำกับดูแล OTT เพราะร่างแผนแม่บทไม่ถูกนำเข้าที่ประชุมกสทช. กระทบสื่อทีวี-ผู้บริโภค จากกรณีเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ...

News

ศาลตัดสิน คุก 2 ปี ‘พิรงรอง’ หลัง ทรูไอดี ฟ้อง กสทช.

เรื่อง : ยลพักตร์ ขุนทอง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษา ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต ...

News

ทีมผลิตคลิปงานแรกพบเพื่อนใหม่ มธ. เผยยังได้ค่าจ้างไม่ครบ ด้านอมธ. แจงจ่ายช้าเพราะกำลังพิจารณาสาเหตุของค่าใช้จ่ายที่เกินงบ

เรื่องและภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี กลุ่มนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ ทีมผลิตคลิปประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย เผยได้รับค่าจ้างผลิตคลิปประชาสัมพันธ์งาน TU universe: Merging of the galaxies ไม่ครบ ทางผู้อำนวยการกองถ่ายคาด ...

News

ภาคประชาชนชี้ รัฐควรปรับปรุง ‘ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2024)’ เพราะอาจดันค่าไฟสูงขึ้น เหตุตั้งกำลังผลิตเกินจำเป็น

เรื่อง : ณัฐกานต์ บุตรคาม ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง “โครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย” ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่รณรงค์เรื่องพลังงาน ชี้ภาครัฐควรปรับปรุงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2024)  เนื่องจากกำหนดกำลังผลิตไฟฟ้าเกินความจำเป็น ซึ่งจะทำให้ค่าไฟสูงขึ้น ...

News

ผอ. กองนโยบายภาษีชี้หนี้ครัวเรือนไทย เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยม ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว แนะรัฐฯ ปฏิรูประบบการศึกษาสร้างทักษะติดตัว

เรื่อง : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ผอ. กองนโยบายภาษีชี้หนี้ครัวเรือนไทยเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมและค่านิยมในสังคม  ทำให้ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว แนะรัฐฯ ปฏิรูปโครงสร้างตั้งแต่ระบบการศึกษาเพื่อสร้างทักษะติดตัวประชาชน เพราะดิจิทัลวอลเล็ตไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว เมื่อวันที่ ...

News

รมช.คลัง เดินหน้าแจกเงินหมื่นเฟส 3 เป็นดิจิทัลวอลเล็ต ยันกระตุ้นการใช้จ่ายได้มากกว่าเงินสด 

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี รมช.คลัง เดินหน้าแจกเงินหมื่นเฟส 3 เป็นดิจิทัลวอลเล็ต ยืนยันกระตุ้นการใช้จ่ายได้มากกว่าเงินสด เหตุตั้งเงื่อนไขการใช้เงินได้และต้องการให้ประชาชนเปิดรับเทคโนโลยี  เมื่อวันที่ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save