News

ภาคประชาชนชี้ รัฐควรปรับปรุง ‘ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2024)’ เพราะอาจดันค่าไฟสูงขึ้น เหตุตั้งกำลังผลิตเกินจำเป็น

เรื่อง : ณัฐกานต์ บุตรคาม

ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง

“โครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย” ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่รณรงค์เรื่องพลังงาน ชี้ภาครัฐควรปรับปรุงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2024)  เนื่องจากกำหนดกำลังผลิตไฟฟ้าเกินความจำเป็น ซึ่งจะทำให้ค่าไฟสูงขึ้น แนะปฏิรูปโครงสร้างตลาดไฟฟ้าใหม่ให้เสรี ประชาชนผลิตไฟฟ้าได้เอง 

จากกรณีที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงาน ได้เปิดเผยร่างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567 – 2580 (Power Development Plan 2024 : PDP 2024) และได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นในกลุ่มภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และผู้ประกอบการภาคเอกชนในวันที่ 12 – 13 มิถุนายน ที่กรุงเทพฯ และเปิดรับฟังความคิดเห็น 4 ภูมิภาคสำหรับภาคประชาชนในวันที่ 17 และ 19  มิถุนายน ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อนำความคิดเห็นไปประกอบการปรับปรุง นั้น

ธัญญาภรณ์ สุรภักดี หัวหน้า ‘โครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย (JET in Thailand)’ ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่รณรงค์เรื่องพลังงาน กล่าวว่ากระบวนการรับฟังความคิดเห็นของสนพ. ไม่มีความครอบคลุมและขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพราะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเฉพาะรูปแบบออนไลน์และมีระยะเวลาที่สั้น ภาคประชาชนจึงได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นต่อร่างแผน PDP 2024 ทั้ง 5 ภูมิภาค คือภาคภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ ซึ่งเป็นความร่วมมือขององค์กรเครือข่ายภาคประชาชน ได้แก่ JustPow, JET in Thailand, Data Hatch, Greenpeace Thailand, International Rivers, Epigram News, Lanner, Louder สภาองค์กรของผู้บริโภค และแสงสุรีย์พาวเวอร์

ธัญญาภรณ์ กล่าวว่า เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ตัวแทนภาคประชาชนทั้ง 5 ภูมิภาคได้เดินทางไปที่สนพ. เพื่อยื่นข้อเสนอแก่‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยมีข้อเสนอหลักคือต้องการให้ภาครัฐทบทวนร่างแผน PDP 2024 และขยายเวลารับฟังความคิดเห็น เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งหยุดการสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ เพราะรัฐต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment)  (ค่าตอบแทนที่รัฐต้องจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าเอกชนตามสัญญาซื้อไฟฟ้าระยะยาว ไม่ว่าโรงไฟฟ้านั้นๆ จะเดินเครื่องหรือไม่ก็ตาม เพื่อรับประกันผลกำไรและลดความเสี่ยงของเอกชน)  ซึ่งเป็นต้นทุนที่ส่งผลต่อราคาค่าไฟ ทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าไฟที่เพิ่มขึ้น 

“ต่อมาในเดือนกันยายน สนพ. แจ้งว่าร่างแผน PDP 2024 อยู่ในระหว่างการทบทวนและปรับปรุง ก่อนจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และส่งให้สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนำเข้าที่ประชุม ครม.ต่อไป ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าร่างแผน PDP 2024 ฉบับสมบูรณ์ที่จะเข้าครม. จะมีส่วนปรับปรุงจากข้อเสนอของภาคประชนชนหรือไม่” ธัญญาภรณ์ กล่าว

ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองศาสตราจารย์สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าร่างแผน PDP 2024 มีประเด็นหลักที่น่ากังวลคือการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงเกินจริง โดยใช้ตัวเลขคาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจคือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ใน พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นตัวเลข 2 ปีที่แล้วและสูงกว่าในปัจจุบัน เมื่อการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น ส่งผลให้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยในร่างแผน PDP 2024 จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่อีก 8 แห่ง กำลังผลิตรวมกัน 6,300 เมกะวัตต์ แม้ว่าปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติมากกว่าครึ่งที่ไม่ได้เดินเครื่อง แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ยังต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าเหล่านี้  และส่งผลกระทบมาสู่ประชาชนในรูปแบบค่าไฟที่สูงขึ้น

ชาลี กล่าวเพิ่มเติมว่าประเด็นถัดมาคือสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนยังไม่ตอบโจทย์ความท้าทายความเป็นกลางทางคาร์บอนในระดับโลก แม้ว่าในร่างแผน PDP 2024 มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36 เป็นร้อยละ 51 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายว่าภายใน พ.ศ. 2573 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30 –  40 เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายใน พ.ศ. 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายใน พ.ศ. 2608 

“อีกทั้งมีการพึ่งพาการนำเข้าไฟฟ้าและเชื้อเพลิงจากต่างประเทศในระดับสูง ทั้งการพึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศลาว และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จะส่งผลเสียคือเมื่อเกิดวิกฤตจะทำให้เกิดความไม่มั่นคง และหากเกิดความขัดแย้งในอนาคตจะทำให้เชื้อเพลิงที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาที่สูงขึ้นด้วย” ชาลีกล่าวและว่า ความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าสามารถสร้างได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ทำได้ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างตลาดไฟฟ้าใหม่ให้มีความเสรีมากขึ้น เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าทั้งรูปแบบการผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer) และการผลิตแบบกระจายศูนย์ เช่น การซื้อขายไฟฟ้าในรูปแบบ ‘Peer-to-Peer Energy Trading’ ซึ่งเอกชนรายย่อยสามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้เองและเช่าสายส่งของรัฐในการส่งไฟฟ้าไปยังอีกที่ และยังเป็นการส่งเสริมไฟฟ้าจากพลังหมุนเวียนให้มากขึ้น โดยที่ภาครัฐไม่ได้รับผลกระทบใดๆ 

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

อาจารย์รัสเซียศึกษา มธ. คาดสงครามรัสเซีย-ยูเครนไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์พลังทำลายล้างสูง หวังเจรจายุติต้นปีหน้า

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย อาจารย์รัสเซียศึกษา มธ. ชี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครนไม่รุนแรงเพิ่มขึ้นจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์พลังทำลายล้างสูง เพราะไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อฝ่ายใด และคาดว่าสงครามจะจบลงด้วยการเจรจาไม่ให้ยูเครนเข้าร่วม NATO ตามที่รัสเซียต้องการ เมื่อวันที่ ...

News

สมาชิกองค์กรทำไรท์ ชี้ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมที่มัดรวม ม.112 อาจไม่ผ่านสภา เหตุขัดกับจุดยืนพรรคร่วม

เขียน : ปานชีวา ถนอมวงศ์ ภาพประกอบ : ศิรประภา จารุจิตร องค์กรทำไรท์ เครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิทางการเมืองชี้ ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมมัดรวมมาตรา 112 อาจไม่ผ่านสภา เพราะขัดกับจุดยืนของพรรคร่วมรัฐบาล แนะหากต้องการแก้ไขปัญหามาตรา 112 ควรแก้ตัวบทกฎหมายของมาตรา 112 ให้มีความสมเหตุสมผลและชัดเจนขึ้น ...

News

อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. คาดรัฐบาลเพื่อไทยอาจแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่สำเร็จ

เขียน : ณัฐกานต์ บุตรคาม ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. คาดรัฐบาลเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญ (รธน.) 2560 ทั้งฉบับไม่สำเร็จ หลังพรบ.ประชามติฯ ...

News

ผช.อธิการฯ แจง ใช้ AI สร้างโปสเตอร์งาน TU Open House จริง

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง ผู้ช่วยอธิการฯ ฝ่ายวิชาการแจง โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม Thammasat Open House ใช้ ...

News

อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ระบุ หากรัฐบาลทรัมป์จะขับไล่ผู้อพยพ ต้องเพิ่มงบประมาณหลายล้าน และอาจทำให้ภาคธุรกิจขาดแคลนแรงงาน

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง อาจารย์รัฐศาสตร์มธ.ชี้ รัฐบาลอเมริกาสามารถออกคำสั่งนโยบายเนรเทศผู้อพยพได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก เนื่องจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้อพยพยังขาดความสามารถในการดำเนินการตามนโยบายนี้ อีกทั้งหากขับไล่ผู้อพยพออกจากประเทศจะส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจขาดแรงงาน พร้อมเสริมว่าในบางเมืองนั้น รัฐบาลกลางไม่สามารถแทรกแซงหน่วยงานท้องถิ่นในการดำเนินการกับผู้อพยพได้ . ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save