Art & CultureWritings

ภาษารุนแรงในเพลงร็อก: ศิลปะ การต่อต้าน หรือแค่คำหยาบ

เรื่อง: ณฐนนท์ สายรัศมี

ภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ

หากดนตรีคือกระจกสะท้อนสังคม เพลงร็อกก็คงเป็นกระจกที่แตกเป็นเสี่ยงๆ บาดคม ท้าทาย และไม่เคยเลือกแสดงเพียงด้านที่งดงาม 

ภายใต้เสียงกีตาร์อันกระหึ่ม เสียงกลองที่ดุดัน และน้ำเสียงของนักร้องที่มักเต็มไปด้วยอารมณ์โกรธ เกลียด หรือผิดหวัง เราพบเห็นการใช้ภาษารุนแรงหรือคำหยาบอย่างเปิดเผย ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการดนตรี แต่ก็ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันไม่รู้จบ

คำถามที่น่าสนใจก็คือ คำหยาบในเพลงร็อกเป็นเพียงแค่การ ‘แรงเพื่อเรียกความสนใจ’ หรือคือส่วนหนึ่งของการแสดงออกที่มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้น?

เสียงตะโกนที่ไม่ได้เกิดจากความว่างเปล่า

หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ เพลงร็อกมีรากฐานมาจากการต่อต้าน โดยมีเนื้อหาเสียดสีหรือสะท้อนการเมือง เพศ คติชน เชื้อชาติตั้งแต่ยุคของ The Beatles และ The Rolling Stones ที่เปิดประตูให้กับเสียงของคนรุ่นใหม่ ไปจนถึงวง Sex Pistols ที่แหกทุกกฎเกณฑ์ของความสุภาพ ด้วยเนื้อหาที่วิจารณ์สถาบันและสังคมอย่างเปิดเผยในเพลง ‘God save the Queen’ ที่ปล่อยออกมาในปี 1977 ก่อนพระราชพิธีรัชดาภิเษก ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เพียงหนึ่งสัปดาห์

“God save the Queen

The fascist regime

They made you a m*ron

A potential H bomb”

ทศวรรษ 1990 คืออีกช่วงเวลาสำคัญที่คำหยาบในเพลงร็อกกลายเป็นกระแส โดยเฉพาะในแนว alternative และ rap-rock เช่น เพลง ‘Killing in the Name’ ของวงดนตรีร็อคอเมริกันชื่อดัง อย่าง Rage Against the Machine ซึ่งปล่อยออกมาในปี 1992 เพลงนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านอำนาจรัฐและความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในท่อนสุดท้ายที่นักร้องนำตะโกนซ้ำๆ ว่า 

“F* you, I won’t do what you tell me!”

หลายคนอาจมองว่าประโยคนี้คือการปลุกระดม หรือเป็นเพียงการแสดงความเกรี้ยวกราดแบบไม่มีเหตุผล แต่หากพิจารณาบริบทของเพลง จะพบว่ามันคือเสียงของความโกรธที่มีต้นกำเนิดจาก ‘ความอยุติธรรม’ เป็นการสะท้อนสภาพสังคมที่คนจำนวนมากรู้สึกว่าถูกทำให้ไร้เสียง

คำหยาบในฐานะศิลปะ

การใช้คำหยาบในเพลงไม่ใช่เพราะขาดสติปัญญาหรือวุฒิภาวะ หากแต่เป็นการเลือกใช้ภาษารูปแบบหนึ่งที่ ‘ตรงไปตรงมา’ และไม่ผ่านการขัดเกลา บางครั้งมันคือคำที่แสดงความรู้สึกได้ดีกว่าคำสุภาพใดๆ เพราะมาจากอารมณ์ที่แท้จริง ไม่มีการเสแสร้ง เช่นในเพลง ‘Break Stuff’ ของ Limp Bizkit 

“We’ve all felt like sh*t

And been treated like sh*t

All those motherf*ckers that want to step up

I hope you know I pack a chainsaw 

I’ll skin your a*s raw”

หรือ ‘You Oughta Know’ ของ Alanis Morissette ที่ใช้ภาษารุนแรงเพื่อถ่ายทอดความเจ็บปวดจากความสัมพันธ์ที่พังทลาย

“An older version of me

Is she perverted like me?

Would she go down on you in a theatre?

Does she speak eloquently?

And would she have your baby?

I’m sure she’d make a really excellent mother”

และศิลปินสัญชาติไทยอย่าง ‘Defying Decay’ ที่ปล่อยเพลง The Law 112: Secrecy And Renegades ออกมาในปี 2021 ในช่วงที่มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา กำลังถูกวิพากษ์วิจารย์ในสังคมไทย

“Shut your mouth now listen up

All you f*ckers gotta back it up

Sacrifice all the sh*t you told

Cause corruption will bleed us all

Inside you’ll find, secrets and renegades

The lies contrived, Fight in this mass debate

Get the f*ck out, Get the f*ck out please

Get the f*ck out, Get the f*ck out please”

สำหรับผู้ฟังบางคน คำหยาบเหล่านี้คือจุดเชื่อมโยงกับความรู้สึกของตนเอง มันทำให้รู้สึกว่า “ฉันไม่ใช่คนเดียวที่เจ็บแบบนี้” หรือ “ยังมีคนกล้าพูดในสิ่งที่ฉันอยากพูดแต่พูดไม่ได้” จึงไม่น่าแปลกที่เพลงร็อกแบบนี้จะกลายเป็นที่รักของผู้คนจำนวนมากในทุกยุคสมัย

เสรีภาพ กับ ขอบเขต

แน่นอนว่าความตรงไปตรงมาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะยอมรับได้ง่าย หลายประเทศและหลายแพลตฟอร์มเซ็นเซอร์คำหยาบในเพลง เช่น การปิดเสียงบางคำ หรือการแสดงเครื่องหมาย ‘Explicit’ กำกับในบริการสตรีมมิ่ง เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเลือกเปิดหรือปิดเนื้อหาดังกล่าวได้

ประเด็นนี้นำไปสู่คำถามว่า การจำกัดภาษาที่ใช้ในเพลงคือการปกป้องเยาวชน หรือเป็นการลิดรอนเสรีภาพของศิลปิน? ฝ่ายหนึ่งมองว่าเพลงที่มีคำหยาบอาจส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ขณะที่อีกฝ่ายโต้แย้งว่าศิลปะไม่ควรถูกจำกัดโดยความกลัว เพราะหน้าที่ของศิลปะคือการกระตุ้นให้คิด ไม่ใช่แค่ทำให้สบายใจ

เมื่อคำหยาบกลายเป็น ‘สูตรสำเร็จ’

แต่ก็ต้องยอมรับว่า ในบางกรณี การใช้คำหยาบกลายเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการตลาด เป็น ‘สูตรสำเร็จ’ ที่ศิลปินบางคนหยิบมาใช้เพราะต้องการให้เพลงเป็นกระแส มากกว่าจะส่งสารที่มีความหมาย เช่น การใส่คำต้องห้ามลงในท่อนฮุกเพียงเพื่อเรียกยอดวิว หรือสร้างความดราม่าบนโซเชียลมีเดีย

เมื่อเป็นเช่นนี้ คำหยาบก็กลับกลายเป็นเพียง ‘ของตกแต่ง’ ที่ไม่มีน้ำหนัก ไม่ได้สร้างผลกระทบทางอารมณ์อย่างแท้จริง และในระยะยาวก็อาจทำให้คนฟังรู้สึกเบื่อหน่ายหรือไม่เห็นความแตกต่าง

คำหยาบในเพลง = ความจริงในชีวิต?

ชีวิตจริงไม่ได้มีแต่ถ้อยคำสุภาพ และอารมณ์ของมนุษย์ก็ไม่ได้อยู่ในกรอบที่ควบคุมได้เสมอ ภาษารุนแรงในเพลงร็อกจึงอาจเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นมนุษย์ได้อย่างแท้จริง ทั้งโกรธ เกลียด กลัว หรือเสียใจ มันเป็นส่วนหนึ่งของความจริงที่ไม่ผ่านการกรอง และในโลกที่เต็มไปด้วยการควบคุม การได้ยินเสียงที่ ‘ไม่ผ่านการกรอง’ อาจเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการมากที่สุด

ในท้ายที่สุด การใช้ภาษารุนแรงในเพลงร็อกไม่ใช่เรื่องของคำคำเดียว แต่มันคือบริบท ความตั้งใจ และน้ำหนักทางอารมณ์ที่ศิลปินใส่เข้าไป คำหยาบบางคำอาจมีพลังมากกว่าคำพูดสุภาพเป็นพันคำ หากมันพูดออกมาจากความรู้สึกจริง

และบางครั้ง…คำที่หยาบที่สุด ก็อาจกลายเป็นคำที่จริงใจที่สุดในเพลงนั้นก็เป็นได้


รายการอ้างอิง

Nadia Khomami.(May 5th, 2023).Regime change: Sex Pistols star reworks God Save the Queen rhymes for king.https://www.theguardian.com/uk-news/2023/may/05/sex-pistols-star-reworks-god-save-the-queen-rhymes-for-king#:~:text=God%20Save%20the%20Queen%20was,that%20rhyme%20with%20%E2%80%9Cqueen%E2%80%9D.

Genius.(n.d.).God Save the Queen – Sex Pistols. https://genius.com/Sex-pistols-god-save-the-queen-lyrics

Genius.(n.d.).Break Stuff – Limp Bizkit .https://genius.com/Limp-bizkit-break-stuff-lyrics

Genius.(n.d.).You Oughta – Alanis Morissette Know.https://genius.com/Alanis-morissette-you-oughta-know-lyrics

Genius.(n.d.).Killing in the Name – Rage Against the Machine.https://genius.com/Rage-against-the-machine-killing-in-the-name-lyrics

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0
Writings

Le Pupille : คำถามต่อสิ่งที่ ‘เห็น’ และสิ่งที่ ‘เป็น’

เรื่อง : สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ  ความคิดแบบเด็กไร้เดียงสากลายเป็นความขบถอันแสบสัน ที่ทำให้โรงเรียนคาทอลิกวุ่นวายตลอดวันคริสมาสต์ เมื่อเทศกาลแห่งการแบ่งปันและภาวนาถึงพระเยซูคริสต์ กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างการเห็นแก่ตัวในโรงเรียนเคร่งศาสนา ‘Le Pupille’ ภาพยนตร์ขนาดสั้นสัญชาติอิตาลี ถูกฉายครั้งแรกในดิสนีย์พลัส (Disney+) เมื่อปีพ.ศ.2565 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ...

Writings

มากกว่าแค่ลวดลาย รอยสักที่บอกเล่าเรื่องราว อัตลักษณ์ และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป

เรื่อง : ฐิดาพร พิมพ์สีโคตร ภาพประกอบ : สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ จากภาพลักษณ์ที่เคยถูกมองว่าเป็นเพียงสัญลักษณ์ของกลุ่มคนบางกลุ่ม ปัจจุบัน ‘รอยสัก’ ได้กลายปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่พบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นบนร่างกายของนักแสดงชื่อดัง นักกีฬา ศิลปิน ...

Writings

Graffiti ศิลปะแห่งการต่อสู้ไม่รู้จบ

เรื่องและภาพ : สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ เพราะไม่ว่าจะต้องสู้กับใคร ศิลปะจะคงอยู่ข้างผู้คนเสมอ… ภาพวาดที่มีมากกว่าความสวยงาม และแฝงไว้ด้วยความคิดอย่างเต็มเปี่ยมจึงสามารถพาผู้ชมย้อนกลับไปมองไปปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมต่างๆ ได้ทุกขณะ  ดังนั้น เมื่อกำแพงกลายเป็นแคนวาส สีสันฉูดฉาดที่พ่นลงไปเป็นตัวแทนการแสดงออกทางความคิด กราฟิตี้ (Graffiti) ศิลปะที่คนส่วนใหญ่มองว่าขบถ ...

Writings

จดหมายถึงบ้านใหม่

เรื่องและภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ ที่อยู่จัดส่ง บ้านใหม่ ถึง บรรพบุรุษ 30 มีนาคม 2568        นาฬิกาบอกเวลาตี 3 ได้เวลาตื่นเช้ามาช่วยหม่าม้าเตรียมของเพื่อไปเยี่ยมเหล่ากง (ทวดชาย) ...

Lifestyle

ปาจื่อ: เปิดรหัสลับแห่งโชคชะตาด้วยศาสตร์จีนโบราณ

เรื่อง: ณฐนนท์ สายรัศมี ภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ เคยรู้สึกไหมว่าชีวิตของคุณถูกกำหนดไว้แล้ว? ทำไมบางคนเกิดมาพร้อมความโชคดี ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่บางคนต้องดิ้นรนอย่างหนัก แผ่นดินก็ไหวพร้อมกัน แต่ห้องเราพังห้องเดียว เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบุคลิก นิสัย ...

Art & Culture

วิปลาส เมื่อความเชื่อนำไปสู่โศกนาฏกรรม

เรื่อง : ฐิดาพร พิมพ์สีโคตร และ สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ ภาพประกอบ : สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ “แม่ทำหนูทำไม อย่าทำหนูเลย” เสียงร่ำไห้ของเด็กหญิงดังสะท้านในความมืดมิด…นี่คือเสียงจากละครเวที ‘วิปลาส ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save