Art & CultureLifestyleWritings

ปาจื่อ: เปิดรหัสลับแห่งโชคชะตาด้วยศาสตร์จีนโบราณ

เรื่อง: ณฐนนท์ สายรัศมี

ภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ

เคยรู้สึกไหมว่าชีวิตของคุณถูกกำหนดไว้แล้ว?

ทำไมบางคนเกิดมาพร้อมความโชคดี ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่บางคนต้องดิ้นรนอย่างหนัก แผ่นดินก็ไหวพร้อมกัน แต่ห้องเราพังห้องเดียว เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบุคลิก นิสัย และโอกาสในชีวิตของเราถึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ความลับที่เราเสาะหาเหล่านี้อาจตอบได้ด้วย ปาจื่อ ศาสตร์โบราณของจีนที่จะช่วยถอดรหัสพลังงานแห่งโชคชะตาผ่านวัน เดือน ปี และเวลาเกิดของคุณ

ศาสตร์ปาจื่อไม่ค่อยถูกพูดถึงนักในสังคมไทยทั่วไป อาจจะเพราะความซับซ้อนในการแปรผล และมีข้อมูลให้เข้าถึงเพื่อการศึกษาได้น้อย แต่ทุกวันนี้เมื่อเราเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น และสามารถสร้างแผนภูมิปาจื่อได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกข้อมูลวัน เดือน ปี และเวลาเกิดไปในเว็บไซต์ จึงน่าจะเป็นโอกาสให้เราได้ทดลองทำแผนภูมิประจำตัวของเรามา เพื่อช่วยเข้าใจตัวเองให้ลึกซึ้งขึ้นอีกหน่อย ไม่ว่าจะเป็นด้านอาชีพ ความรัก สุขภาพ หรืออาจจะได้เข้าใจความสมดุล และอาจจะเข้าใกล้ความสำเร็จได้มากขึ้น

ปาจื่อคืออะไร

ปาจื่อ เป็นคำอ่านภาษาจีนของ ‘八字’ มาจากตัวอักษร [八] ปา แปลว่า ‘แปด’ และ [字] จื่อ แปลว่า ‘ตัวอักษร’ เพราะผลการทำนายของศาสตร์นี้จะแปรผันตามตัวอักษรภาษาจีนแปดตัว ที่เรียงกันอย่างมีความหมายในตารางแปดช่องที่ประกอบสร้างมาจากวัน เดือน ปี และเวลาเกิดของเรา

ชั่วโมง
วัน
เดือน
ปี 
เทียนกาน
天干

ทองหยิน

ทองหยิน

ไฟหยาง

น้ำหยิน
ตี้จือ
提支

กระต่าย

แพะ

มังกร

แพะ

ตัวอย่างแผนภูมิปาจื่อของคนที่เกิดเวลา 6:41 น.  วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2546

ตารางปาจื่อแบ่งออกเป็นสี่เสา และแต่ละเสามีสองชั้น 

ชั้นบนจะเรียกว่า ‘กิ่งฟ้า’ หรือ เทียนกาน (天干) และชั้นล่างเรียกว่า ‘ก้านดิน’ หรือ ตี้จื่อ (提支) การประกอบรวมกันของตัวอักษรทั้งหมดนี้ทำให้ปาจื่อนั้นซับซ้อน และแม่นยำกว่าการดูดวงตามหนังสือพิมพ์หรือตามโซเชียลมีเดียต่างๆ เพราะมันเฉพาะเจาะจงมากกว่าการที่เราดูดวงตามราศีเกิด 

ต้นกำเนิดและพัฒนาการของศาสตร์ปาจื่อ

ศาสตร์ปาจื่อมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ย้อนกลับไปในสมัยโบราณของจีน โดยมีร่องรอยปรากฏตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 338 – 763) ซึ่งในเวลานั้นนักปราชญ์และข้าราชการใช้กันเพื่อทำนายอนาคต และช่วยในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ 

ปาจื่อได้รับความนิยมและพัฒนามากขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161–1450) โดย หลี่ซูจง (李虛中) ได้ปรับปรุงแนวคิดนี้และใช้ตัวอักษรจากวัน เดือน ปี และเวลาเกิดเพื่อทำนายบุคลิกภาพและอนาคต 

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. 1503–1822) ปาจื่อได้รับความนิยมสูงสุดและกลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการตัดสินใจในเรื่องการเมือง ธุรกิจ และชีวิตส่วนตัว แต่แม้จะเป็นเช่นนั้น ก็ยังมีการต่อต้านจากนักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อที่มองว่าปาจื่อเป็นเรื่องของความเชื่อโชคลาง

ตำราสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศาสตร์ปาจื่อ ได้แก่ คัมภีร์ ‘ยวนไห่จื่อผิง’ (渊海子平) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นตำราแรกที่รวบรวมและอธิบายระบบการคำนวณและทำนายดวงชะตาโดยใช้สี่เสาหลัก กิ่งฟ้า ก้านดิน และธาตุทั้งห้า และ ‘จื่อผิงเจินเฉวียน’ (子平真詮) ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นตำราที่ให้กรอบการประเมินโครงสร้างดวงชะตาอย่างครอบคลุม   

องค์ประกอบพื้นฐานของปาจื่อ

ในบทความนี้เราคงจะไม่สอนวิธีการทำแผนภูมิปาจื่อ เพราะดังที่ระบุในตอนต้น คือปัจจุบันเราไม่ต้องมาทำแผนภูมิปาจื่อด้วยตัวเองกันแล้ว เพราะสามารถทำได้ง่ายๆ บนเว็บไซต์เพียงแค่กรอกเวลา วัน เดือน ปี เกิดของเรา

แต่จะพูดถึงความหมายของชั้นบนและชั้นล่างที่เป็นองค์ประกอบของแผนภูมิปาจื่อ เพื่อขยายความเข้าใจของส่วนต่างๆ แทน

กิ่งฟ้า (เทียนกาน) และ ก้านดิน (ตี้จือ) ทำงานร่วมกันในแต่ละเสาหลัก โดยเทียนกานจะอยู่ด้านบนและตี้จือจะอยู่ด้านล่าง 

เทียนกาน แสดงถึงพลังงานที่แสดงออกภายนอก เช่นในตำแหน่ง ‘วัน 日’ ของกิ่งฟ้า คือตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในการอ่านแผนภูมิปาจื่อ เพราะเป็นตำแหน่งที่จะบอกธาตุประจำตัวของคุณ หรือที่จะเรียกกันว่า ‘วันเจ้าธาตุ’ นักปาจื่อสามารถบอกคุณลักษณะหรือนิสัยของเจ้าของแผนภูมิได้เลยจากการดูตัวอักษรในช่องนี้

ในขณะที่ ตี้จือ เป็นรากฐานและให้การสนับสนุนพลังงานนั้น มีความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างเทียนกานและตี้จือ เช่น การรวมกัน (Combinations) การปะทะ (Clashes) การทำร้าย (Harms) และการลงโทษ (Punishments) ซึ่งส่งผลต่อดวงชะตา   

ความสัมพันธ์ระหว่างเทียนกานและตี้จือในแต่ละเสาหลักมีความซับซ้อนและมีความหมายลึกซึ้ง เทียนกานและตี้จือไม่ได้ทำงานแยกกัน แต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในรูปแบบต่างๆ ที่ส่งผลต่อการตีความดวงชะตา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เหล่านี้ช่วยให้เข้าใจถึงพลวัตของพลังงานในชีวิต

ระบบธาตุทั้งห้า (五行) และความสมดุลของธาตุ

ระบบธาตุทั้งห้าเป็นหัวใจสำคัญของปาจื่อ โดยแต่ละธาตุแสดงถึงพลังงานและลักษณะเฉพาะตัว ความสมดุลระหว่างธาตุเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ 

ระบบธาตุทั้งห้าประกอบด้วย ธาตุไม้ (木), ธาตุไฟ (火), ธาตุดิน (土), ธาตุทอง (金), และธาตุน้ำ (水) แต่ละธาตุมีลักษณะ คุณสมบัติ และความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน เช่น วัฏจักรการก่อเกิด (ธาตุหนึ่งส่งเสริมอีกธาตุหนึ่ง) และวัฏจักรการควบคุม (ธาตุหนึ่งควบคุมอีกธาตุหนึ่ง) ความสมดุลของธาตุทั้งห้าในดวงชะตาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและความสำเร็จในชีวิต

‘ฮวงจุ้งคือใบสั่งยา ปาจื่อคือการวินิจฉัยโรค’ 

โจอี้ ยับ กล่าวไว้หนึ่งในหนังสือสอนปาจื่อของเขา

เขาบอกว่าฮวงจุ้ยเป็นเพียงเครื่องมือที่ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยเร่งและขยายสมรรถนะเท่านั้น 

ต้องอย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือโชคชะตาที่ถูกควมคุมด้วยการลงมือทำหรือไม่ลงมือทำของแต่ละคน

ทุกคนอาจจะคิดว่า โชคชะตาจะถูกควบคุมจากการกระทำของเราได้อย่างไร ในเมื่อโชคชะตาเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดมาแล้ว?

จริงอยู่ที่โชคชะตาของเราอาจถูกกำหนดมาแล้วโดยใครก็ตามที่เราไม่สามารถทราบได้ แต่หากมีโชคชะตาเพียงอย่างเดียวเราคงไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าปราศจากการลงมือทำ เช่น หากคุณเกิดวัน เดือน ปี เวลา เดียวกับนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากสักคนหนึ่ง แต่ไม่ทำอะไรให้ไรให้ก่อเกิดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จ โชคชะตาก็อาจช่วยอะไรคุณไม่ได้

ปาจื่อกับชีวิตประจำวัน

หนึ่งในประโยชน์ที่ได้รับความนิยมที่สุดของปาจื่อ คือ ศาสตร์นี้สามารถช่วยหาอาชีพที่เหมาะสมกับจุดแข็งและจุดอ่อนของบุคคลตามธาตุในดวงชะตาได้ โดยแต่ละธาตุจะมีความเชื่อมโยงกับประเภทของอาชีพที่แตกต่างกัน 

เช่น ธาตุไม้เหมาะกับงานที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตและความคิดสร้างสรรค์ ธาตุไฟเหมาะกับงานที่ต้องใช้ความกระตือรือร้นและความคิดสร้างสรรค์ ธาตุดินเหมาะกับงานที่ต้องการความมั่นคงและความน่าเชื่อถือ ธาตุทองเหมาะกับงานที่ต้องใช้ความเด็ดเดี่ยวและความแม่นยำ และธาตุน้ำเหมาะกับงานที่ต้องใช้สติปัญญาและการสื่อสาร การเลือกอาชีพที่สอดคล้องกับธาตุส่งเสริมในดวงชะตาจะช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จและความพึงพอใจในการทำงาน   

อย่างไรก็ตาม ปาจื่อก็มีจุดเด่นและข้อจำกัดที่ควรตระหนัก 

ขณะที่ปาจื่อความสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพและแนวโน้มในชีวิต ก็มีข้อจำกัดที่ความซับซ้อนในการตีความ ส่งผลให้ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของผู้พยากรณ์ สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาปาจื่อ สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐาน หมั่นฝึกฝนการตีความ และเปิดใจเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถนำศาสตร์ปาจื่อไปใช้ในการพัฒนาตนเองและเข้าใจชีวิตได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น


รายการอ้างอิง

Denisse. Bazi for Beginners: Important Things to Know About Bazi. The Singaporean. สืบค้น 9 เมษายน 2568. https://thesingaporean.sg/bazi-for-beginners-important-things-to-know-about-bazi/ 

Imperial Harvest. A Comprehensive Guide to the History of Bazi (八字). สืบค้น 8 เมษายน 2568. https://imperialharvest.com/blog/a-comprehensive-guide-to-the-history-of-bazi/

โจอี ยับ. ปาจื่อ รหัสลับโชคชะตา. แปลโดย อำนวยชัย ปฏิพันธ์เผ่าพงศ์. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์, 2556.

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0
Writings

เมื่อความตายพาให้กลับบ้าน: พิธีศพอีสานผ่านสายตาคนรุ่นใหม่

เรื่องและภาพประกอบ: ภัชราพรรณ ภูเงิน เสียงแจ้งเตือนข้อความดังขึ้นท่ามกลางความมืด ฉันหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู หน้าจอเรืองแสงบอกเวลา 05.22 น. ข้อความจากแม่ปรากฏขึ้นพร้อมประโยคสั้นๆ ที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นไปชั่วขณะ ‘ยายเสียแล้วนะลูก’ เหมือนเวลาถูกหยุดไว้ ฉันรีบเก็บของใช้ที่จำเป็นก่อนออกเดินทางไปยัง อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ ...

Writings

จนกว่าเราจะพบกันอีก

เรื่อง : วีรนันท์ กมลแมน ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา มองวรรณกรรมเพื่อชีวิตไทยและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยผ่านแนวคิดอัตถิภาวนิยม ศรีบูรพาแต่งเรื่องสั้น “จนกว่าเราจะพบกันอีก” ขึ้นราว ๆ ปี พ.ศ. ...

Writings

ศิลปินหญิงหายไปไหนจากหน้าประวัติศาสตร์

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ท่ามกลางหมู่คนชนผู้ดีฝรั่งเศสที่เดินกันขวักไขว่ในซาลอง (Salon) ‘Marianne’ จิตรกรหญิงในชุดเสื้อคลุมสีน้ำเงินเดินเข้าไปหากรอบรูปสีทองนับสิบตรงหน้า หนึ่งในนั้นคือภาพวาดของเธอ มาเรียนน์หยุดยืนแล้วหันหลังให้ภาพวาด ตอนนี้เธอเป็นเหมือนผู้รักษาความปลอดภัยที่คอยสังเกตการณ์สิ่งต่างๆ ...

Articles

 I’m cringe but I’m free สะเหล่อแล้วไง ไม่แคร์แล้วกัน

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี “โอ้ยยย ทำไมตอนนั้นสะเหล่อจัง” ความคิดที่โผล่เข้ามาในหัวขณะที่ล้มตัวลงนอนหลับตาเตรียมฝันดี แต่สมองไม่รักดีกลับขุดภาพความทรงจำอันน่าอับอายขึ้นมาฉาย ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เล่นมุกแล้วคนทั้งห้องกริบ ทักคนผิดเพราะนึกว่าเป็นเพื่อนตัวเอง ส่งข้อความหาคนที่ชอบเขาอ่านแต่ไม่ตอบ ...

Features

เคยได้ยินเรื่องราวจากสายส่งหนังสือไหม?

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย สายส่ง น. ผู้ดำเนินกิจการเป็นตัวแทนในการส่งหนังสือหรือสินค้าอื่นให้แก่ผู้รับ. เคยได้ยินชื่ออาชีพสายส่งไหม? ฉันรู้ว่านักเขียนเป็นผู้สร้างสรรค์เรื่องราวในหนังสือ ฉันรู้ว่าสำนักพิมพ์เป็นผู้นำเรื่องราวจากนักเขียนมาผลิตหนังสือ และรู้ว่าร้านหนังสือเป็นผู้ส่งหนังสือมาให้ถึงมือเหล่าคนอ่าน แต่ฉันกลับไม่รู้เลยว่าสายส่งคืออะไร… จนกระทั่งเมื่อฉันมีโอกาสทำความรู้จักกับคุณน้าคนหนึ่ง ผู้เป็นนักเขียนและบรรณาธิการอยู่ในวงการหนังสือมาอย่างยาวนาน ...

Articles

มองความตายผ่านเลนส์กล้อง ใน ‘ลาก่อน เอริ’

เรื่องและภาพประภาพ: สิทธิเดช สายพัทลุง Spoiler Alert: บทความชิ้นนี้มีการสปอยล์เนื้อหาของ ‘ลาก่อน เอริ’ หรือ ‘Goodbye Eri’ ‘ภาพยนตร์’ สื่อบันเทิงภาพเคลื่อนไหวที่สามารถเล่าเรื่องราวได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องราวความสุขจนต้องยิ้มตาม หรือเรื่องราวการจากลาที่ทำให้กลั้นน้ำตาแทบไม่ไหว ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งเรื่องจริงและเรื่องแต่ง ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save