News

ผอ. กองนโยบายภาษีชี้หนี้ครัวเรือนไทย เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยม ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว แนะรัฐฯ ปฏิรูประบบการศึกษาสร้างทักษะติดตัว

เรื่อง : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร

ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี

ผอ. กองนโยบายภาษีชี้หนี้ครัวเรือนไทยเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมและค่านิยมในสังคม  ทำให้ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว แนะรัฐฯ ปฏิรูปโครงสร้างตั้งแต่ระบบการศึกษาเพื่อสร้างทักษะติดตัวประชาชน เพราะดิจิทัลวอลเล็ตไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ปัณณ์ อนันอภิบุตร ผู้อำนวยการกองนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่าหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันเป็นปัญหาที่สะสมมายาวนาน ทั้งหนี้รถและสินเชื่อบ้าน แม้ปัจจุบันจะลดลง แต่หนี้เพื่ออุปโภคบริโภคอื่นๆ ที่ไม่ใช่บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลยังคงเติบโต ซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมในสื่อต่างๆ เช่น การมีโพรโมชันส่วนลด หรือการดาวน์น้อยผ่อนนาน และค่านิยมในสังคมที่อาจทำให้ประชาชนหลงเชื่อทั้งที่ไม่มีความจำเป็นในการใช้จ่าย เช่น หนี้รถของอาชีพครูในต่างจังหวัด ที่ต้องการซื้อรถยนต์เพื่อให้รู้สึกมีเกียรติ สามารถเชิดหน้าชูตาในสังคมได้ 

ปัณณ์กล่าวว่าการที่ชาวไทยมีหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงถึงร้อยละ 90 ส่งผลต่อประเทศในแง่ระบบเศรษฐกิจ โดยหากประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอจะไม่ใช้จ่าย ทำให้เศรษฐกิจไม่หมุนเวียน ในแง่ของจิตวิทยา ความกังวลในการเป็นหนี้ทำให้ขวัญกำลังใจในการทำงานลดลง  และในด้านการลงทุนพบว่ามีหนี้เพื่อการลงทุนเพียง 1 ใน 3 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด จึงไม่เกิดการสร้างรายได้ ส่งผลให้ตัวเลขจีดีพีในการลงทุนลดลง กลไกของระบบเศรษฐกิจจึงทำไม่ได้ตามปกติ 

ปัณณ์กล่าวว่าแนวทางแก้ปัญหาที่รัฐบาลนิยมทำเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง เช่น การพักหนี้ การลดดอกเบี้ย แต่สิ่งที่รัฐฯ ควรทำคือหาทางเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน เช่น ให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนมีทักษะใหม่ๆ เพื่อนำไปลงทุนหรือสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง “การมีหนี้เป็นธรรมชาติของระบบเศรษฐกิจ หากอยากให้หนี้ลดก็ต้องไปสร้างรายได้ การพักหนี้อาจทำให้เกิดภัยทางศีลธรรม (Moral Hazard) คือการจูงใจให้คนมีพฤติกรรมที่ไม่ถูก เช่น หากเราเป็นหนี้แล้วจ่ายหนี้ตามปกติก็จะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐฯ แต่หากมีคนที่เบี้ยวหนี้ ไม่ยอมจ่าย แล้วรัฐฯ มาช่วยพักหนี้ ก็จะไม่มีใครที่อยากจ่ายหนี้อย่างถูกต้อง”

ปัณณ์กล่าวเพิ่มเติมว่ารัฐฯ มีการแจกเงินหมื่นตามโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น เปรียบเสมือนยาแก้ปวดที่บรรเทาได้ชั่วคราว เพราะประชาชนส่วนใหญ่นำเงินไปซื้อของเพื่ออุปโภคบริโภค ไม่ได้นำเงินไปใช้ในการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ จึงไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ต้องปฏิรูปตั้งแต่โครงสร้างให้ตลาดมีการแข่งขันมากขึ้น จูงใจให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน และเน้นไปที่การศึกษาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและตอบสนองกับความต้องการของโลก

พรวริน ตรีสุวรรณ แม่ค้าขายเครื่องดื่มในตลาดห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร  กล่าวว่าแม้จะมีคนมาเดินตลาดจำนวนมาก แต่รายได้กลับลดลง เพราะมีคนเดินแต่ไม่มีคนซื้อ เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้คนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แม้จะมีประชากรบางส่วนที่ได้เงินหมื่นจากรัฐฯ ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แต่ก็นำเงินไปใช้หนี้หรือเก็บออมกันหมด 

พรวรินกล่าวว่าคนที่มีเงินลงทุนในการทำธุรกิจหรือเปิดร้านต่างๆ มักเป็นนักลงทุนจากต่างประเทศ ส่วนคนไทยในตลาดไม่มีเงินพอที่จะกล้ารับมือกับความเสี่ยงในการลงทุน  อีกทั้งการที่รัฐฯ ให้ยกเลิกหาบเร่แผงลอย ทำให้ประชาชนไม่มีช่องทางในการหารายได้ จึงไม่มีเงินพอที่จะจ่ายหนี้สิน “เราได้เงินหนึ่งหมื่นมาก็นำไปจ่ายค่าหนี้จนหมด แต่เมื่อเวลาผ่านไปขายของไม่ได้ ก็ต้องกลับไปกู้เงินมาอีกเพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน วนซ้ำไปมาจนไม่มีเงินเก็บ”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากผลสำรวจหนี้สินครัวเรือนประจำไตรมาส 3/2567 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่าหนี้ครัวเรือนในแต่ละกลุ่มระดับรายได้มีความสามารถในการรับมือกับภาระหนี้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการลดลงของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในระดับภาพใหญ่ของประเทศ จึงไม่อาจสะท้อนว่าภาระหนี้สินและปัญหาการชำระหนี้ในระดับครัวเรือนจะมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นตามในทันที เพราะแม้ว่าหลายครัวเรือนจะสามารถบริหารจัดการสภาพคล่องและดูแลภาระหนี้สินที่มีอยู่ได้ แต่ก็มีอีกหลายครัวเรือนเช่นกันที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง สถานะทางการเงินเริ่มมีความเปราะบาง เพราะไม่สามารถจ่ายภาระหนี้ได้

.

อ้างอิง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (16 ตุลาคม 2024). หนี้ครัวเรือนปี 2567 อาจชะลอลงมาที่ 88.5-89.5% ต่อจีดีพี. เข้าถึงได้จาก kasikornresearch: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/HouseholdDebt-CIS3524-FB-16-10-24.aspx

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. คาดรัฐบาลเพื่อไทยอาจแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่สำเร็จ

เขียน : ณัฐกานต์ บุตรคาม ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. คาดรัฐบาลเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญ (รธน.) 2560 ทั้งฉบับไม่สำเร็จ หลังพรบ.ประชามติฯ ...

News

ผช.อธิการฯ แจง ใช้ AI สร้างโปสเตอร์งาน TU Open House จริง

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง ผู้ช่วยอธิการฯ ฝ่ายวิชาการแจง โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม Thammasat Open House ใช้ ...

News

อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ระบุ หากรัฐบาลทรัมป์จะขับไล่ผู้อพยพ ต้องเพิ่มงบประมาณหลายล้าน และอาจทำให้ภาคธุรกิจขาดแคลนแรงงาน

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง อาจารย์รัฐศาสตร์มธ.ชี้ รัฐบาลอเมริกาสามารถออกคำสั่งนโยบายเนรเทศผู้อพยพได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก เนื่องจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้อพยพยังขาดความสามารถในการดำเนินการตามนโยบายนี้ อีกทั้งหากขับไล่ผู้อพยพออกจากประเทศจะส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจขาดแรงงาน พร้อมเสริมว่าในบางเมืองนั้น รัฐบาลกลางไม่สามารถแทรกแซงหน่วยงานท้องถิ่นในการดำเนินการกับผู้อพยพได้ . ...

News

อาจารย์รัฐศาสตร์มธ. แนะนักธุรกิจไทยเตรียมหาตลาดเสริม-รัฐฯ เตรียมรับมือสินค้าทะลักจากจีน หลังทรัมป์ชนะเลือกตั้งสหรัฐฯ

เขียน : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ อาจารย์รัฐศาสตร์มธ. ชี้ไทยอาจส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ยากขึ้น เนื่องจากนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าของทรัมป์ พร้อมแนะนักธุรกิจไทยเตรียมตัวหาตลาดเสริม ด้านรัฐฯ ต้องเตรียมนโยบายตั้งรับสินค้าทะลักจากจีน จากกรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ...

News

ผอ. ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชี้ กรุงเทพฯ เสี่ยงน้ำท่วมอย่างต่อเนื่องในอีก 6 ปี ด้านนายกสมาคมวิศวกรเสนอมาตรการรับมือน้ำท่วม 3 ด้าน

เขียน : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ผอ. ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชี้กรุงเทพฯ เสี่ยงมีพื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก 6 ปี เพราะฝนที่ตกหนักกว่าเดิมจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้านนายกสมาคมวิศวกรเสนอมาตรการรับมือน้ำท่วม ...

News

อ.รัฐศาสตร์ มธ. ชี้ ปัญหาการแจ้งเตือนภัยเกิดจากระบบราชการไทย รัฐต้องกำหนดบทบาทให้แต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจน

เรื่อง : จุฑาภัทร ทิวทอง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ชี้ปัญหาการแจ้งเตือนภัยเกิดจากความไม่เป็นเอกภาพกันของหน่วยงานรัฐ แนะรัฐบาล การเตรียมพร้อม แจ้งเตือนและรับมือภัยพิบัติต้องแก้ไขด้วยการกำหนดบทบาทและภารกิจที่ชัดเจนให้แต่ละหน่วยงาน เพื่อสร้างความชัดเจนในระบบเตือนภัยแห่งชาติ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save