Writings

นิยามรักจากมัธยมถึงมหาลัย…ของเราและนาย

เรื่อง: โชคภิรักษ์ เถื่อนมี

ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา

“ชอบผู้หญิงหรือผู้ชาย ตอบกูมา”

เสียงผู้ชายตัวใหญ่เอื้อนเอ่ยออกมาหลังจากที่เก็บความสงสัยในตัวของคนตรงหน้ามาเนิ่นนาน เอาเข้าจริงผมนึกว่ามันรู้อยู่แล้ว เลยไม่เคยที่จะไถ่ถามหรือเปิดอกเรื่อง ‘รสนิยมทางเพศ’ กับมันเลยตั้งแต่รู้จักกันมาในวงเหล้าเมื่อปีก่อน แล้วจู่ๆ ทำไมมันถึงถามวะ

ว่าไปแล้วไอ้อาการอึกอักและไม่แสดงออกว่าที่จริงแล้ว ‘ผมชอบผู้ชาย’ โดยเฉพาะต่อหน้าคนใหม่ๆ ที่เราเพิ่งรู้จัก มันมีที่มาที่ไปจากปมในอดีตสมัยมัธยมต้นที่ผมเปิดตัวครั้งแรกว่า ‘เห้ยมึง กูชอบผู้ชาย’

หลังการเปิดตัวครั้งแรกมรสุมการเปลี่ยนแปลงของชีวิตก็เดินทางเข้ามาทักทายกันอย่างบ้าคลั่งเหมือนพายุทอร์นาโดที่โหมกระหน่ำเข้ามาในช่วงชีวิตวัยรุ่นที่ผมควรจะมีความสุขกับเกม หนัง ภาพยนตร์ แต่กลับต้องมานั่งเป็นทุกข์ โศกตรมกับคำถามที่ว่า…

‘การชอบผู้ชายมันดีป่ะวะ มันถูกต้องเหรอวะ เราจะไม่มีครอบครัว ไม่มีลูกนะ ตอนแก่จะทำไงวะ?’

ผมตกอยู่ในภวังค์ของความคิดไปครู่นึง จนลืมไปว่าเราเงียบจนผิดสังเกตไป เดี๋ยววงเหล้าแห่งนี้จะหมดสนุกเปล่าๆ ผมขยับตัว หยิบบุหรี่คาเมลม่วงขึ้นจุด ก่อนสูดควันสีขาวเพื่อสลัดไล่ความคิดฟุ่งซ่านในหัวออกไปที่ตอนนี้เพิ่งถูกรุ่นพี่ที่แอบชอบมาเป็นปี ๆ ถามว่าตกลงชอบผู้หญิงหรือผู้ชาย

เอาจริงผมไม่กลัวหรอกกับการเอื้อนเอ่ยมันออกไป แค่บอกชอบผู้ชายมันจะยากอะไร แต่ที่ผมไม่บอกเพราะผมกลัวจะเป็นเหมือนอดีตสมัยมัธยมต้น ครั้งแรกที่ผมเข้าใจสัจธรรมว่าสังคมนั้นแปรเปลี่ยนไปได้ง่ายและไม่จีรัง

มีเพียงเราเท่านั้นที่ต้องหยัดยืนให้แข็งแกร่งต่อสิ่งที่เราเป็น ต่อให้ใครจะนิยามเราให้กลายเป็นอย่างอื่นมากมายเพียงไหนก็ตาม แต่นั่นมิใช่เรื่องที่เราจะมาจมปรักใช่ไหม ทว่าผมกลับมาจมปรักและก้าวข้ามได้ยาก

แต่เอาเถอะ ไหนๆ มันก็ถามแบบวางหมากแบบนี้แล้ว ก็เล่าเรื่องตัวเองให้มันฟังแล้วกัน เผื่อจะเป็นการสารภาพรักแบบอ้อมๆ

“พี่ดูไม่ออกจริงๆ เหรอ” ผมเอ่ยถาม

“ตกลงมึงชอบผู้ชาย” รุ่นพี่ตรงหน้าเอ่ยตอบ

“ใช่…แต่ผมไม่ได้ชอบมาตั้งเริ่มนะ เพิ่งมาเปลี่ยนตอน ม.2”

ตอน ม.2 สมัยนั้นซีรีส์เรื่องนึงที่เป็นกระแสมากๆ คือ ฮอร์โมน ผมอินมากเพราะมีตัวละครนึงที่เหมือนผมมาก คือ ‘ภู-ธีร์’ ที่เล่นเป็นผู้ชายสองคน เป็นเพื่อนสนิทกัน และความสัมพันธ์มันก่อตัวไปอย่างช้าๆ ให้เขาทั้งสองเริ่มต้องถามกับหัวใจตัวเองว่าสุดท้ายแล้วความรู้สึกที่ก่อตัวขึ้นนี้คืออะไร

ใช่ผมอินกับมันมาก เพราะในช่วงเวลาเดียวกัน ผมเองก็รู้สึกเช่นเดียวกับภู-ธีร์ กับเพื่อนผู้ชายคนนึง

การแอบชอบเพื่อนในสมัยมัธยม ผมเชื่อว่าทุกคนเคยผ่านมาและดูเหมือนว่าเป็นมนต์เสน่ห์อย่างหนึ่งที่เด็กมัธยมต้องมี แต่กลับกัน ที่คนที่ผมชอบกลับเป็นผู้ชาย เป็นเพื่อนที่เราต้องใช้ชีวิตด้วยกันทุกวัน

จนวันหนึ่งมันก็มาถึง…..

วันนี้ที่ผมไม่อาจรั้งความรู้สึกไว้อีกต่อไป วันที่ผมรู้สึกว่าผมต้องทำอะไรสักอย่างไม่ให้หัวใจของผมต้องเจ็บไปมากกว่านี้ นั่นคือการสารภาพตรงๆ กับมัน

อาร์ม กูชอบมึงนะ”

เป็นประโยคสั้นๆ ง่ายๆ แต่กลับทำให้ผมต้องเสียหยดน้ำตา เพราะอาจด้วยการอัดอั้นและความกลัวตลอดหลายเดือน และการต้องรับมือกับเส้นทางเดินชีวิตครั้งใหม่กับการที่เพื่อนผู้ชายและทุกคนในห้องเรียนจะรู้ว่าเรา ‘ชอบผู้ชาย’ ยังไม่รวมกับแฟนเก่าที่เป็นผู้หญิง ที่บ้าน พ่อ แม่ ถ้ารู้เรื่องนี้ คงเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่รอวันปะทุขึ้น

ผมใช่เวลาอีก 1 ปีกว่าในการทำใจต่อบทบาทของผมที่เปลี่ยนแปลงไป แก๊งเพื่อนผู้ชายของผมปลีกตัวออกไป และผมเริ่มเข้าใจว่าการเป็นอะไรก็ได้ ด้วยยังหยัดยืนการเป็นตนเองไว้นั้น มันมีราคาที่สูงค่า ราคาของมันคือความสุขที่อาจหายไปจากช่วงเวลานั้น โดยเฉพาะชีวิตวันมัธยมต้นที่แทบไม่ต้องคิดอะไรให้มาก ไม่มีภาระอะไรที่ต้องแบกบนบ่ามากนัก

จนเวลาผ่านมาหลายปี ผมสอบเข้าที่ธรรมศาสตร์ ที่นี่ผมมีพื้นที่และตัวตนได้อย่างเต็มที่ อาจด้วยสังคมและความคิดของนักศึกษาที่ต่างเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่รอยปมจากอดีตในวันนั้นกลับมิได้ลบเลือนไป

ผมเล่าเรื่องนี้ให้รุ่นพี่ตรงหน้าฟัง ก่อนจะจบด้วยการส่งสายตามองมันอย่างอ่อนโยน เพื่อจะบอกว่า

“ผมรักพี่นะ แต่ก็รู้ดีว่า พี่อาจไม่ได้ชอบผู้ชาย และผมไม่คาดหวัง เพียงผมต้องตามความรู้สึกตัวเอง….

…. ถ้าผมไม่บอก เท่ากับผมโกหกตัวเอง….”

สุดท้ายแล้ว เรื่องนี้จบลงตรงที่เราไม่ได้คบกันในฐานะแฟน แต่ยังพูดคุยกันได้ปกติในฐานะพี่น้องที่แสนดี

แต่รู้อะไรไหม ผมกลับไม่ได้รู้สึกเสียใจเลย กลับดีใจด้วยซ้ำที่มันไม่เจ็บเหมือนสมัยมัธยมต้นที่ผมเคยเจอมา

ทุกวันนี้พ่อ แม่ ของผมรู้แล้วว่าผมชอบผู้ชาย โดยที่ผมก็เพิ่งเข้าใจว่า แท้จริงแล้วชีวิตคนเราน่ะมันเป็นอะไรก็เป็นไป ต่อให้มีอะไรที่ต้องแลก ผมว่ามันจะกลายเป็นภูมิต้านทานต่อโลกที่ดีเลยแหละ

แล้วคุณล่ะ มีอะไรที่ต้องสารภาพ เพื่อก้าวข้ามแบบผมไหม?

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Writings

Articles

Indie but not independent: การเติบโตของเพลงอินดี้ในไทย จากอัลเทอร์เนทีฟร็อกจุดประกายสู่ทางเลือกที่หลากหลาย

เขียน: ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ภาพประกอบ: ศิรประภา จารุจิตร “รออยู่ตรงนี้แล้วเธออยู่ไหน เธอจะยังคิดถึงฉันบ้างไหม หรือไม่ใช่ กลับมากอดฉันสักทีได้ไหม ขอแค่ครั้งเดียว แม้แค่ครั้งเดียว ก่อนเธอลบฉันไป” เสียงที่เย็นแต่นุ่มของนักร้องพร้อมเมโลดี้ดรีมป๊อป ดนตรีฟังง่าย ให้ความเพลิดเพลิน ผสมกับเสียงกีตาร์และเสียงซินธิไซเซอร์ ...

Features

คุยกับ ‘พนารัตน์ อานามวัฒน์’ ว่าด้วยอัตลักษณ์ นโยบาย และความเป็นไปได้อื่นๆ ผ่านผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024

เขียน: วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ: ศิรประภา จารุจิตร 8 โมงเช้าวันอังคาร ร่างไร้สติของฉันพาตัวเองมายังห้องเรียนจนได้ อาจารย์เริ่มพูดที่หน้าชั้นเรียนไปได้สักพักแล้ว คลาสเรียนวิชาประวัติศาสตร์เฟมินิสต์ในหัวข้อทฤษฎี intersectionality หรือทฤษฎีอัตลักษณ์ทับซ้อน ของ Kimberlé ...

News

ผช.อธิการฯ แจง ใช้ AI สร้างโปสเตอร์งาน TU Open House จริง

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง ผู้ช่วยอธิการฯ ฝ่ายวิชาการแจง โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม Thammasat Open House ใช้ ...

Features

สารบัญปัญหาสำนักพิมพ์

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง และ สิทธิเดช สายพัทลุง สำนักพิมพ์ น. สถานที่ดำเนินธุรกิจจัดพิมพ์และจำหน่ายตำราหรือหนังสือ สารคดี ...

News

อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ระบุ หากรัฐบาลทรัมป์จะขับไล่ผู้อพยพ ต้องเพิ่มงบประมาณหลายล้าน และอาจทำให้ภาคธุรกิจขาดแคลนแรงงาน

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง อาจารย์รัฐศาสตร์มธ.ชี้ รัฐบาลอเมริกาสามารถออกคำสั่งนโยบายเนรเทศผู้อพยพได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก เนื่องจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้อพยพยังขาดความสามารถในการดำเนินการตามนโยบายนี้ อีกทั้งหากขับไล่ผู้อพยพออกจากประเทศจะส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจขาดแรงงาน พร้อมเสริมว่าในบางเมืองนั้น รัฐบาลกลางไม่สามารถแทรกแซงหน่วยงานท้องถิ่นในการดำเนินการกับผู้อพยพได้ . ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save