News

แม่บ้าน-รปภ. ไม่กล้าร้องเรียนบริษัทจ่ายค่าจ้างไม่เป็นธรรม ศูนย์นิติฯ แนะให้รวมกลุ่ม-มธ.ช่วยประสาน

เรื่อง: ตติยา ตราชู 

แม่บ้านและ รปภ.ใน มธ. ไม่กล้าออกมาร้องเรียนบริษัทจ่ายค่าจ้างไม่เป็นธรรม เหตุกลัวมีปัญหาความมั่นคงในหน้าที่การงานและไม่มีหลักฐานเพื่อฟ้อง ศูนย์นิติศาสตร์ มธ. แนะรวมกลุ่มช่วยเพิ่มอำนาจและความกล้า มธ.อาจเข้ามาช่วยให้ข้อมูล และเจรจากับบริษัท 

จากกรณีปัญหาลูกจ้างของบริษัทจ้างเหมาบริการ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ประเภทงานรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย เจอสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งทีมข่าววารสารเพรสได้นำเสนอไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ส.ค. สภานักศึกษา มธ. ได้จัดประชุมออนไลน์สมัยวิสามัญ 1 ครั้งที่ 4 ปีการศึกษา 2564 โดยมีวาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

นายอภินันท์ พัฒนสิริ สมาชิกสภานักศึกษา เจ้าของวาระ กล่าวในที่ประชุมว่า รปภ. และแม่บ้านใน มธ. ศูนย์ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง ส่วนใหญ่ยังได้รับอัตราค่าจ้างต่อวันต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด ซึ่งในกรุงเทพมหานคร และ จ.ปทุมธานี ต้องได้รับ 331 บาทต่อวัน ส่วน จ.ลำปางต้องได้รับ 315 บาทต่อวัน ไม่รวมค่าล่วงเวลา ที่ต้องได้รับไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อ ชม. วันทำงาน กรณีของ รปภ. ถูกยกเว้นไว้ไม่ให้รับค่าล่วงเวลา แต่ต้องได้รับค่าจ้างเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชม. ที่ทำ  

นายอภินันท์ ได้เสนอให้หน่วยงานของ มธ. ระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าจ้าง วันหยุด ตามขั้นต่ำกฎหมายคุ้มครองแรงงาน รวมถึงสวัสดิการอื่น ๆ เพิ่มเติมอย่างละเอียดลงในข้อกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา หรือ TOR (Term of reference) ให้ชัดเจนตั้งแต่ตอนประกาศให้บริษัทจ้างเหมาบริการเข้ามาเสนอราคา เพื่อแก้ปัญหา 

นายอานนท์ มาเม้า (บุคคลด้านซ้าย) นายณภัทร สรอัฑฒ์ (บุคคลด้านขวาบน) นายณัฐกรณ์ ชูช่วย (บุคคลด้านขวาล่าง) ตัวแทนจากฝ่ายบริหาร มธ. เข้าร่วมประชุมสภานักศึกษาผ่าน Microsoft Team 

นายอานนท์ มาเม้า ผู้ช่วยอธิการฝ่ายกฎหมาย มธ. กล่าวในที่ประชุมว่า หากระบุลงใน TOR อาจทำให้ไม่มีบริษัทจ้างเหมาบริการยื่นข้อเสนอราคาตั้งแต่ต้น แต่อาจระบุได้ใน ‘สัญญาจ้างเหมาบริการ’ โดยต้องนำเรื่องขึ้นต่อสำนักงานอัยการสูงสุดก่อน และมหาวิทยาลัยไม่ได้มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับลูกจ้าง จึงเป็นได้เพียงตัวกลางอำนวยความสะดวกในการร้องเรียนทางกฎหมาย หรือเจรจากับบริษัทผู้ว่าจ้าง พร้อมเสนอช่องทางร้องเรียนให้ลูกจ้าง ได้แก่ หน่วยงานหรือคณะที่ลูกจ้างทำงานอยู่ และศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ซึ่งศูนย์นี้ ช่วยไปถึงขั้นดำเนินคดีฟ้องร้องได้ด้วย 

นายณภัทร สรอัฑฒ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารท่าพระจันทร์ มธ. กล่าวในที่ประชุมว่า TOR ได้ระบุให้บริษัทปฏิบัติตามขั้นต่ำของกฎหมายคุ้มครองแรงงานทุกฉบับอยู่แล้ว ซึ่งคิดว่าเพียงพอและครอบคลุม ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดอีก ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ข้อกฎหมาย แต่เป็นเรื่องทางปฏิบัติ ที่ไม่มีลูกจ้างกล้าออกมาร้องเรียน ทำให้ไม่มีหลักฐานมายืนยันมากกว่า 

ที่นั่งพักประจำของพนักงานรักษาความสะอาดบนอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ (SC) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (รูปภาพถ่ายเมื่อเดือน ต.ค. 2563) 

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สอบถามลูกจ้างถึงเหตุผลที่ไม่ออกมาร้องเรียนเมื่อได้รับการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ส่วนหนึ่งปฏิเสธให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าว เนื่องจากกลัวมีปัญหากับบริษัทผู้ว่าจ้าง แต่ยังพอมีบางส่วนให้ข้อมูลถึงเหตุผลดังกล่าว  

ลูกจ้างเอ (นามสมมติ) กล่าวว่า กลัวถูกไล่ออก เพราะอายุมากแล้ว หางานทำยาก แค่มีจะกินก็พอ ส่วนตัวไม่ทราบข้อกฎหมาย และไม่รู้ว่าสามารถร้องเรียนกับหน่วยงานที่ทำงานอยู่ หรือกับศูนย์นิติศาสตร์ได้ด้วย 

ลูกจ้างบี (นามสมมติ) กล่าวว่า ไม่มีใครกล้าออกมาพูด บางคนเก่งกฎหมายก็ไม่กล้าออกมา คนที่เคยออกมาพูด บริษัทก็พยายามหาตัว แล้วสั่งไม่ให้พูดถึงในทางไม่ดีอีก เดิมที่ไม่กล้าอยู่แล้ว ยิ่งไม่กล้าขึ้นไปอีก ความจริงกลายเป็นสิ่งไม่ถูกต้องไป บางครั้งก็ต้องตอบดี ๆ เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด  

“เข้าใจว่านักศึกษาหลายคนมีเจตนาดี อยากช่วยเหลือ แต่จะช่วยเหลืออย่างไร ในเมื่อไม่มีหลักฐานอะไรไปให้เขาเอาไปใช้เพื่อช่วยเราได้เลย หลักฐานอยู่กับนายจ้างหมด สุดท้ายไม่มีใครกล้าออกมาพูด ก็ดักดานกันอยู่อย่างนี้” ลูกจ้างบีกล่าว  

นายกรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ กล่าวว่า เคยมี รปภ.หรือแม่บ้านใน มธ. เข้ามาปรึกษาเรื่องข้อกฎหมายอยู่บ้าง เช่น ข้อบังคับเรื่องชุดเครื่องแบบของบริษัท ที่เขาคิดว่าราคาแพงเกินไป หรือการเก็บค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินเดือน 20 บาท ที่เขารู้สึกว่าทำไมต้องจ่าย แต่ยังไม่เคยมีการเขียนใบคำร้องเพื่อพูดคุยกับทนายความต่อ หรือขอความช่วยเหลือด้านคดี 

“ไม่ทราบเหตุผลแน่ชัด ว่าทำไมเขาไม่ฟ้องร้องต่อ เพราะเป็นการปรึกษาแบบไม่เป็นทางการ ที่ไม่มีการบันทึกรายละเอียดไว้ เข้าใจว่า เพราะหากมีข้อพิพาทกับนายจ้าง กลัวว่าจะทำงานต่อได้ลำบาก แม้ตามกฎหมายแรงงานจะมีการคุ้มครองให้ทำงานที่เดิมต่อได้ แต่ลูกจ้างก็จะมีความกังวลและไม่สบายใจอยู่ดี” นายกรศุทธิ์กล่าวและว่า การรวมกลุ่มกันจะช่วยเพิ่มอำนาจและความกล้าให้ลูกจ้างมากขึ้น อาจเป็นมหาวิทยาลัยเองที่เข้าไปช่วยเหลือและให้ข้อมูลว่า ถ้าลูกจ้างอยากรวมกลุ่มกันจะทำอย่างไร ติดต่อขอความช่วยเหลือได้จากใคร หรือกลุ่มอาจสะท้อนปัญหามาทางฝ่ายบริหารของ มธ. เพื่อให้ มธ.ที่เป็นคู่สัญญากับบริษัทจ้างเหมา เข้าไปเจรจาพูดคุย 

นายกรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มธ.

“ส่วนหนึ่งเพราะ มธ. ไม่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานเอง แต่ทำการจ้างผ่านบริษัทภายนอก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม สุดท้ายเขาไม่มีสถานะเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัย  แต่ในทางกฎหมายแรงงานก็มีประเด็นว่าลูกจ้างเหล่านี้มีสถานะเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ เพราะการพิจารณาว่าเป็นสัญญาอะไร ไม่ได้พิจารณาจากชื่อสัญญาที่ลงนาม แต่เป็นลักษณะเนื้อหาของสัญญานั้นจริง ๆ ” นายกรศุทธิ์กล่าว 

นายกรศุทธิ์ กล่าวว่า ศูนย์นิติศาสตร์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ การให้คำปรึกษาหรือตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมาย โดยในสถานการณ์โควิด-19 นี้ สามารถสื่อสารได้ผ่านอีเมล เว็บไซต์ และเพจเฟซบุ๊กของศูนย์นิติศาสตร์ กับกรณีการช่วยเหลือด้านคดี หากต้องการฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้อง โดยจะต้องเข้าเงื่อนไขที่ศูนย์นิติศาสตร์กำหนดไว้ด้วย “ต้องไม่มีส่วนในการกระทำผิด มีโอกาสชนะคดี ไม่ใช่ข้อพิพาทคดีครอบครัว และไม่มีทุนทรัพย์จ้างทนายความ” 

นายสรรค์พัศ ปราบปัญจะ อนุกรรมาธิการการเมืองและส่งเสริมประชาธิปไตย สมาชิกสภานักศึกษา กล่าวว่า แรงงานบางคนรู้ว่าโดนเอาเปรียบอย่างไร แต่ไม่รู้จะสู้กลับอย่างไร เพราะไม่มีการรวมกลุ่มในมหาวิทยาลัย อาจารย์อยู่ส่วนอาจารย์ นักศึกษาอยู่ส่วนนักศึกษา แรงงานที่เสียงเบาจึงถูกผลักให้ไปอยู่ชายขอบ 

“ไม่มองว่า (การเสนอเรื่องนี้ในที่ประชุม) เป็นเรื่องของการพูดแทน แต่เป็นเรื่องของการต่อสู้ทางชนชั้น นักศึกษาเองก็เป็นแรงงานเหมือนกันในระบบทุนนิยม เพราะฉะนั้นการมาส่งเสียงเรื่องนี้ เป็นการต่อสู้ร่วมกันของแรงงานที่เป็นรปภ. แม่บ้าน และนักศึกษา ต่อความไม่เป็นธรรมและการโดนเอาเปรียบ” นายสรรค์พัศกล่าว 


อีเมลศูนย์นิติศาสตร์ 

lawcenter@tu.ac.th  

เว็บไซต์ศูนย์นิติศาสตร์

https://www.law.tu.ac.th/about/tulawcenter

เพจเฟซบุ๊กศูนย์นิติศาสตร์

https://www.facebook.com/tulawcenter.org/

สามารถชมการประชุมสภานักศึกษา สมัยวิสามัญ 1 ครั้งที่ 4 ปีการศึกษา 2564 เรื่อง สภาพการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมของพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) และพนักงานรักษาความสะอาดในมธ. ได้ที่ 

https://fb.watch/7QN_w-Mt0K/

แม่บ้าน รปภ. โอด ชม.ทำงานมากไป.. อ่านข่าวต่อที่ 

https://shortest.link/Z5W

ประธานกมธ.แรงงาน แนะเลิกจ้าง subcontract.. อ่านข่าวต่อที่  

https://shortest.link/Z5R

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
4
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
2

More in:News

News

ประธานสภามธ.ส่งหนังสือลาออกกลางการประชุม ด้านการสอบสวนกรณีความผิดทางเพศยังไม่มีความคืบหน้า

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ในการประชุมพิจารณาญัตติถอดถอนประธานสภานักศึกษา ธรรมศาสตร์ สมาชิกพรรคโดมก้าวหน้าเสนอให้เลื่อนญัตติพิจารณาออกไป แต่เพราะประธานสภามธ. ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งระหว่างประชุม จึงต้องจบการประชุม เนื่องจากไม่มีญัตติให้พิจารณาแล้ว . จากกรณีที่มีการเสนอญัตติถอดถอนประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สภา ...

News

ประธานสภามธ.ยุติการทำงานชั่วคราว เหตุถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดทางเพศ

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง นักศึกษามธ.ยื่นญัตติถอดถอนประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากมีพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดทางเพศ ล่าสุดประธานได้ยื่นหนังสือขอยุติการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเพื่อเข้าสู่กระบวนการสอบสวนวินัยนักศึกษาแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม เวลาประมาณ 01:00 น. ...

News

ฐปณีย์ย้ำคนทำสื่ออย่าละทิ้งความน่าเชื่อถือ หลังนักข่าวจำลองกินไก่ดิบออกอากาศ

เรื่องและภาพ : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ฐปณีย์ย้ำ การสร้างความน่าเชื่อถือและทำงานอย่างมีมาตรฐานคือสิ่งที่คนทำสื่อต้องหนักแน่น เหตุผู้สื่อข่าวช่องดังจำลองเหตุการณ์เสี่ยแป้งกินไก่ดิบออกอากาศ  จากกรณีคดีเสี่ยแป้ง นาโหนด หรือ เชาวลิต ทองด้วง นักโทษชายซึ่งเป็นผู้ต้องโทษในคดีความผิดฐานเข้าปล้นผู้ต้องหาจากตำรวจสืบสวนขณะเข้าจับกุมคดียาเสพติด และยังมีประวัติอาชญากรรมเกี่ยวข้องกับคดีอาวุธปืน คดียาเสพติด ...

News

บัณฑิต มธ. หวั่นประเดิมรับปริญญารังสิต ฝ่ายบริหารฯ แจงความพร้อม เตรียมระบบขนส่ง-จุดรับเหตุฉุกเฉินแล้ว

เรื่องและภาพ : กัญญพัชร กาญจนเจตนี บัณฑิต มธ.ถามถึงแผนรับมือความแออัดในงานวันรับปริญญา เนื่องจากมหาลัยฯประกาศย้ายมาจัดที่ศูนย์รังสิตเป็นครั้งแรก ด้านฝ่ายรองปธ.ประสานงานจัดเตรียมงานรับปริญญา มธ.แจงได้เพิ่มรถขนส่งทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย เพิ่มที่จอดรถ จุดรับรองและจุดปฐมพยาบาลสำหรับวันงานแล้ว จากกรณีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้มีการประกาศกำหนดการพิธีพระราชทานปริญญาบัตร สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา ...

News

นักสิทธิมนุษยชน ชี้ มายาคติโทษเหยื่อยังมี ปม สส. ปูอัด คุกคามทางเพศ 

เขียน : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : กัญญาภัค วุฒิรักขจร นักสิทธิมนุษยชนชี้มายาคติโทษผู้ถูกกระทำทางเพศยังมีอยู่ในสังคมเหตุผู้ช่วยสส.ค้านเป็นเพียงเรื่องชู้สาว กรณีสส.ก้าวไกลคุกคามทางเพศเพื่อนร่วมงาน   จากกรณีที่ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ ปูอัด สส.กทม.พรรคก้าวไกล ...

News

ตัวแทนคนรุ่นใหม่ย้ำจุดยืนแก้ รธน.ทั้งฉบับ หลังรัฐปฏิเสธแก้หมวด 1และ2

เขียน : กัญญพัชร กาญเจตนี ภาพ : กัญญาภัค วุฒิรักขจร ตัวแทนนักศึกษา-คนรุ่นใหม่ย้ำจุดยืนแก้รธน.ทั้งฉบับ เหตุรัฐบาลยืนกรานปฏิเสธการแก้หมวด 1และ 2 แนะหาก รธน.ถูกจำกัดการแก้ไขอาจเกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนระลอกใหม่ เมื่อวันที่ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save