Interview

ข่าวในยุคสมัยใหม่ – สื่อทางเลือก ที่เลือกได้

เขียน              สมิตา พงษ์ไพบูลย์

ภาพ             ศิรประภา ศรีดาจันทร์ประเภท            สัมภาษณ์

 ข่าวทางเลือก ที่เลือกได้ข่าวที่เสพอยู่ จริง ๆ แล้วเป็นแค่ความคิดเห็น หรือเป็น fact (ข้อเท็จจริง)  วินาทีที่ทวิตหนึ่งทำให้คล้อยตาม เกิดอารมณ์ร่วมจะต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าทำไมถึงเกิดความรู้สึกอย่างนั้น”ในยุคที่เรื่องของข่าว เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่แค่ในทีวีจอแก้ว หรือบนหน้าหนังสือพิมพ์กระดาษอีกต่อไป การเป็นคนรุ่นใหม่จึงมีสื่อทางเลือกให้ตัดสินใจได้เอง และถึงแม้ไม่เลือก ข่าวก็จะโผล่ขึ้นมาบนหน้าจอที่ไถไปมาอย่างไม่ได้ตั้งใจเอง ข่าวจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งเพราะสื่อข่าวที่หลายหลายขึ้น จึงเกิดการถกเถียงว่าแท้จริงแล้ว แบบไหนคือข่าว สิ่งไหนคือข่าวที่ดี แล้วช่องทางติดตามข่าวที่ดีที่สุดมีอยู่จริงหรือไม่จากการสัมภาษณ์ มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ นักวิชาการทางด้านความรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาเชื่อว่ารายการข่าวที่ดีที่สุด สำหรับคนรุ่นใหม่ คือรายการที่พวกเขาเลือกเองโดยเหตุผลคือการมองที่ประโยชน์ระยะยาว เชื่อว่าเมื่อคนรุ่นใหม่มีสิทธิในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่อยากเข้าถึง เลือกสื่อเองแล้ว จะมีศักยภาพ และความสามารถที่หากเกิดประสบการณ์ตรงก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อถ้าสิ่งที่เขาเคยแชร์เป็น fake news (ข่าวลวง) ประสบการณ์นี้สำคัญที่จะทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ และมองต่อไปว่า ถ้าไม่อยากตกหลุมพรางสิ่งเหล่านี้อีก ควรจะไปเสาะแสวงหาจากแหล่งข้อมูลไหน มันสำคัญกว่าที่จะบอกว่า ไปดูแหล่งนี้เถอะ”“เมื่อเขาคลิก หรือติดตามใครที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ (ผู้มีอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์) เพื่อที่จะทำให้ไม่ตกประเด็นใหม่ ๆ หรืออยู่ดี ๆ เขาอาจจะรู้สึกอินกับบางสิ่งมาก เช่น อินกับข่าวการเมือง แล้วก็คล้อยตามอินฟลูเอนเซอร์คนนั้น การได้คิดว่าทำไมถึงคล้อยตาม ควรคล้อยตามจริงไหม และข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือจริงไหม เป็นกระบวนการที่สำคัญ ถ้าเจอแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ ต้องบอกกับตัวเองได้ว่านี่เป็นแหล่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง มีอคติอยู่ เป็นข่าวลวงอยู่ มันอาจจะยาก แต่ประสบการณ์จะช่วยเอง”อาจารย์มนต์ศักดิ์ยังเชื่อว่า หมดหน้าที่ที่ผู้ใหญ่จะต้องบอกว่าคนรุ่นใหม่ควรบริโภคข่าวสารแบบใด เพราะเชื่อว่าคนรุ่นใหม่เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ดีกว่า ผู้ใหญ่ควรจะให้เวลาคนอีกรุ่นได้ทดลองบริโภคข่าวสารจากแหล่งข่าวที่คนรุ่นเดิมไม่ถูกใจ อย่างไม่ตัดสิน เพื่อได้ค้นหาว่าจริง ๆ แล้วข้อมูลนั้นมันทำให้เกิดผลกระทบอย่างไร “บางที แหล่งข่าวหรือสำนักข่าวในปัจจุบัน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง 100%มันก็ยังมีความคิดเห็นอยู่ในเนื้อหา” พร้อมยกตัวอย่างว่า ยังมีสื่อที่ เอาเรื่องราวจากโซเชียล จากติกตอกมานำเสนอเป็นข่าวอยู่ ดังนั้น เขาจึงมองว่า ทำไมคลิปติกตอกเป็นข่าวได้ เพราะฉะนั้นมันไม่ได้สำคัญแล้วว่าแหล่งข่าว จะเป็นอย่างไรอาจไม่ได้สำคัญอีกต่อไป  แต่ หัวใจสำคัญคือการตั้งคำถามกับที่มาน่าจะดีที่สุด”อาจารย์วารสารฯ มองว่าการหาแหล่งข้อมูล  อาจจะเริ่มต้นจากความอยากรู้ เขาค่อนข้างมั่นใจว่า ทันทีที่กระบวนการ ทำให้เจนซีอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อ หรือปัญหาใด จะเกิดกระบวนการค้นหาเองโดยอัตโนมัติผมกล้าการันตีได้เลย เพราะพวกเขาใช้แพลตฟอร์มอยู่แล้ว พื้นฐานก็มีทวิตเตอร์ (X) ติกตอก อินสตาแกรม อย่างน้อยบนทวิตเตอร์ก็จะเห็นการขับเคลื่อนของข่าวสารบ้านเมืองอยู่ตลอดเวลา” “สำหรับคำว่าข่าว ขึ้นอยู่กับวิธีการให้คำนิยาม  ตอนนี้มันเหมือนเป็นการต่อสู้ระหว่างความเก่ากับความใหม่ ถ้าเอาจริง ๆ ตอนนี้ก็มีอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นตัวแทนข่าว เช่น พี่แยม (ฐปณีย์ เอียดศรีไชย) มีเฟสส่วนตัวแล้วแชร์เนื้อหาว่า ตามนายกอยู่อเมริกาแล้วเจอเหตุการณ์นี้ แบบนี้เป็นข่าวหรือเปล่า หรือ ชัยนนท์ ชัยนนท์ (ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์) ที่ทวิตอยู่ตลอด นั่นเป็นข่าวหรือเปล่า มันลื่นไหลมากเลย อย่างเช่นสรยุทธ (สรยุทธ สุทัศนะจินดา) พูดในห้องส่ง พอมันมีการตัดทอน มาโพสในเฟสต่อ แล้วคนก็แชร์ต่อ ตีความต่อ ก็ต้องถามว่านี่คือข่าวหรือเปล่า มันอาจจะเป็นข่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง แต่อาจจะไม่ได้สอดรับกับคำนิยามแบบเก่าแล้ว เด็กก็อาจจะชอบเสพ ติดตามชัยนนท์ แล้วก็รู้ว่ามันเกิดเรื่องราวนี้อยู่ ถ้าเขาอยากหาข้อมูลต่อ เขาอาจจะเสิร์ชหาแหล่งข่าวต่อ หรือแค่รู้สึกว่าเพียงพอที่จะติดตามข่าวแค่นี้ ก็พอแล้ว

 

หลักการคือ สื่อที่เราตาม มีจุดยืนที่นิยามตัวเองว่าเป็นอะไร แล้วหากเป็นสื่อ อินฟลูเอนเซอร์ หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ควรมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ คือ การขออนุญาต หรือขอความยินยอมจากเจ้าของเรื่อง เจ้าของภาพก่อนเผยแพร่ ปัจจุบันรูปแบบการนำเสนอข่าว หรือเนื้อหาเป็นเบลอร์แอเรีย(ความคลุมเครือ) การเกิดประเด็นร้อนของชัยนนท์ที่สรุปข่าวของฐปณีย์นี้ ช่วยให้สังคมออกมาถก วิพากษ์วิจารณ์ เป็นปรากฎการณ์ที่ดี ทำให้สื่อต้องปรับตัวเอง ซึ่งเป็นไปตามพลวัต (มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด) ถ้าชัยนนท์ไม่ปรับตัวยังคงคิดว่าวิธีการนี้ถูกต้อง ผู้รับสารก็จะเป็นคนพิจารณาเองว่าจะติดตามต่อด้วยเหตุผลอะไร หรือเลิกติดตามเพราะว่าชัยนนท์  ไม่สอดคล้องกับมุมมองของผู้รับสารในประเด็นจรรณยาบรรณของการทำงาน”นอกจากนี้สิ่งที่เขาใช้เป็นเครื่องมือของตัวเอง คือการสังเกตอยู่ตลอดว่า เมื่อไหร่เนื้อหาที่อ่านอยู่ทำให้ ถูกใจ จนสะใจ หรือ ไม่ถูกใจ จนโกรธ นั่นคือช่วงเวลาที่เขาจะถอยหลังออกไป แล้วตั้งคำถาม “ทำไมถึงรู้สึกแบบนี้” ข่าวที่เสพอยู่ จริง ๆ แล้วเป็นแค่ความคิดเห็น หรือเป็นข้อเท็จจริงนอกจากอิสระที่ควรได้เลือกสื่อเองแล้ว ยังมีแนวทางที่ช่วยให้เห็นภาพขึ้น จากการสัมภาษณ์ ถมทอง ทองนอก อาจารย์คณะวารสารฯ ผู้ให้ฐานะตนเองว่าเป็นชาวบ้านคนหนึ่งที่ดูข่าว ผู้คิดว่าความยากของคนดูข่าวในสมัยนี้คือการที่ไม่สามารถรับข่าวสารจากช่องทางเดียวได้อีกต่อไป ข่าวที่เขามีแนวทางในการเลือกเสพคือ 1.         ข่าวไวคือสื่อที่ลงพื้นที่ไว ไลฟ์เก่ง แต่เชื่อทั้งหมดไม่ได้ เนื่องจากความไวในการนำเสนอ อาจไม่มีเวลาตรวจสอบข้อมูล การไลฟ์ก็ทำให้เห็นได้แค่จากมุมที่ผู้สื่อข่าวยืนอยู่ ซึ่งอาจไม่ใช่มุมที่จะทำให้เห็นเรื่องราวทั้งหมด การสัมภาษณ์มีเพียงจากมุมของคนที่อยู่ ณ จุดนั้น กับความรู้สึก ณ ตอนนั้น2.         ข่าวลึกสื่อต่อมา ไม่ใช่สื่อที่มีจุดแข็งเรื่องความไว แต่เป็นสื่อที่เน้นทำงานเชิงลึก คือรอรวบรวมข้อมูลก่อน ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในข่าวมีโอกาสพูดครบทุกฝ่าย ข่าวลึกหรือข่าวช้าจะช่วยให้เข้าใจข่าวนั้นๆ ครบขึ้น รอบด้านขึ้น ส่วนข้อเสียคือช้า ตอบสนองความอยากรู้ได้ไม่ทันใจ3.         ข่าววิเคราะห์สื่ออีกรูปแบบยคือสื่อที่ให้ผู้รับสารมากกว่าข้อมูล ทำสัมภาษณ์ได้ดี มีการวิเคราะห์ประเด็นแม่น เลือกผู้เชี่ยวชาญมาคุยเหมาะสมกับประเด็น เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกคนจะเข้าใจประเด็นข่าวทุกประเภทแตกฉาน เราต้องการนักข่าว ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาอธิบาย ร้อยเรียงประเด็นในข่าวให้ฟัง เพื่อให้เข้าใจชัดขึ้นว่าข่าวนั้นเกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างไร มีแนวทางว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องกังวล หรือควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรต่อไป แต่สื่อเช่นนี้ต้องมีความเท่าทัน ต้องแยกให้ได้ ว่าตรงไหนคือเนื้อข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง และตรงไหนคือความเห็น หรือการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูล “แต่ความจริงของปัจจุบันคือ สื่อเป็นธุรกิจ คนทำสื่อเองก็ต้องอยู่รอด ดังนั้นจึงอาจจะไม่สามารถทำทุกอย่างตามเงื่อนไขของ ข่าวที่ดี’ ตามทฤษฎีได้ สุดท้ายการเลือกสื่อจะกลับมาที่รสนิยม ว่าเราชอบรับข่าวสารแบบไหน จะบังคับให้คนรุ่นใหม่อ่านข่าวสารขนาดยาว สไตล์ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ และบอกว่าแบบนั้นดีที่สุด คงไม่ได้อีกแล้ว เพราะเขาชินกับการอ่านข่าวสั้นใน X หรือก็จะเห็นว่าสื่อที่พยายามเป็นทางการ ให้ผู้ประกาศอ่านข่าวแบบไม่ใส่ความเห็นหรืออารมณ์ลงไป ไม่มีลูกเล่นเลย มีแต่เนื้อล้วนๆ ก็ไม่ได้รับความสนใจเท่ากับผู้ประกาศที่ ‘เล่าข่าว’ ด้วยสไตล์ของตัวเอง ดังนั้น หากถามว่ารับข่าวสารจากทางไหนบ้าง คำตอบคือ รับทุกทางเลยค่ะนอกจากนี้ยังมีเกณฑ์ของตัวเองอีกว่าข่าวนั้นควรผลิตเอง มีความเป็นวารสารศาสตร์ คือผลิตเองหลักๆ จะเลือกรับข่าวสารจากสื่อที่ผลิตเนื้อหาเอง อย่างน้อยสื่อนั้นต้องส่งนักข่าวของเขาลงพื้นที่ ต้องเชิญคนมาสัมภาษณ์เองมีระบบและถ้าเป็นไปได้ต้องมีกระบวนการทำงานแบบวารสารศาสตร์ คือข่าวหนึ่งชิ้น ก่อนเผยแพร่ต้องมีคนช่วยตรวจสอบมากกว่าหนึ่งคน เพราะถ้าข่าวผิด เรารู้ว่าจะมีผู้รับผิดชอบ และแก้ไข จะไม่ค่อยตามข่าวจากสื่อที่แค่แชร์เนื้อหาคนอื่น

 

ทั้งสองแนวทางจากสองอาจารย์ อาจช่วยให้ผู้อ่านมีเกณฑ์เป็นของตัวเองได้ จนถึงตอนนี้แล้วคงจะนึกภาพสื่อที่สนใจติดตาม หรือเลือกให้เป็นสื่ออันดับแรกที่จะไว้ใจในเรื่องข่าว ข้อดีของคนรุ่นใหม่ในตอนนี้ คือไม่จำเป็นต้องรับสารจากช่องทางไม่กี่ช่องทางอีกต่อไป

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Interview

Writings

Dream Hunter ปฏิบัติการล่าเงินแสน ต่อยอดฝัน วัยรุ่นเจน Z

เรื่องและภาพ : กัญญาภัค วุฒิรักขจร Dream Hunter ปฏิบัติการล่าเงินแสน ต่อยอดฝัน วัยรุ่นเจน Z “สวัสดีค่ะ ชื่อตันหยง เสาชัย ตอนนี้อยู่ปี 4 ...

Writings

เสียงสะท้อนจากคนในระบบการศึกษา เมื่อตำรวจคุมศึกษาธิการ

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : กัญญาภัค วุฒิรักขจร แด่นักเรียนผู้ต้องไม่ยอมจำนน อำนาจนิยม หรือระบอบที่มีชนชั้นระหว่างผู้บังคับบัญชา – ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นระบอบที่จำกัดเสรีภาพทางความคิดและการกระทำของบุคคลใต้บังคับบัญชา เช่น ...

Interview

การสันทนาการในปัจจุบันยังจำเป็นอยู่หรือไม่?

เรื่องและภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ การสันทนาการในปัจจุบันยังจำเป็นอยู่หรือไม่? สันทนาการ หรือ นันทนาการ ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คือกิจกรรมที่ทำตามความสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมใดขึ้นมาเลยมักมีการนำการสันทนาการมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำกิจกรรม แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ...

Interview

‘ชายแท้’ ย้ายถิ่น  ชวนวิเคราะห์พฤติกรรมการคุกคามทางเพศของ ‘ชายแท้’

เรื่อง : จิตริณี  แก้วใจ ภาพ : จิรัชญา นุชมี ‘ชายแท้’ หรือกลุ่มคนที่ถูกนิยามขึ้นผ่านทางโซเชียลมีเดียนั้น แม้จะเป็นนิยามที่ถูกพัฒนาขึ้นมาไม่นาน  แต่ในปัจจุบันมีความหมายเป็นไปในเชิงลบและใช้กันอย่างแพร่หลาย จนสามารถถูกใช้เป็นคำอธิบายหรือคำด่าต่อผู้ที่มีทัศนคติ แนวคิด และพฤติกรรมที่มีความเป็นชาย ...

Writings

ภาพจำการแต่งตัวของนักการเมือง ก่อนเก็บป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566

เขียน        สมิตา พงษ์ไพบูลย์ ภาพ         กัญญาภัค วุฒิรักขจร ภาพจำการแต่งตัวของนักการเมือง  ก่อนเก็บป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 การเลือกตั้งทั่วไปประจำปี 2566 กำลังจะมาถึง ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้  ...

Interview

“ส้มมั้ยจ๊ะ” ข้อความที่มีเสียง ที่เด็กมธ. รังสิตต่างคุ้นเคย

เรื่อง: เจตณัฐ พิริยะประดิษฐ์กุลภาพ: เจตณัฐ พิริยะประดิษฐ์กุล, ณัฐธนาวดี วงศ์วารห้อย และปาณัสม์ จันทร์กลาง “ส้มมั้ยจ๊ะ ส้มมั้ยจ๊ะ ส้มมั้ย ส้มมั้ยจ๊ะ” เสียงพูดเร็วๆ ซ้ำๆ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save