LifestyleWritings

โบกมือลา Pick Me Girl เข้าสู่ยุค Girl’s Girl 

เขียน               สมิตา พงษ์ไพบูลย์

ภาพ                ศิรประภา  สีดาจันทร์

ชายแท้ เป็นคำเรียกที่เพศชายรู้สึกไม่พอใจ แต่ก่อนหน้านั้น ฝั่งผู้หญิงเองก็มีวลี Pick Me Girl (พิคมีเกิร์ล) ซึ่งโด่งดังจากการนิยามผู้หญิงที่มีลักษณะต้องการความสนใจจากเพศชาย

อย่างรูปด้านล่าง เป็นไอคอนพิคมีเกิร์ล หรือเจ้าของวลีเด็ดที่ว่า 

“Pick me, choose me, love me.”

(เลือกฉัน เลือกฉันสิ รักฉัน)

ภาพจากซีรีส์ Grey’s Anatomy

คำว่า พิคมีเกิร์ล เกิดขึ้นในยุคที่ผู้หญิงที่มักแต่งหน้าจัด แต่งตัวเยอะ ผู้หญิงอีกกลุ่มรู้ดีว่าผู้ชายไม่ชอบแบบนี้ จึงมักประกาศหรืออธิบายตัวเองให้ตรงความชอบของผู้ชายว่า “I’m not like the other girls” (ฉันไม่เหมือนผู้หญิงคนอื่น) บอกว่าฉันเป็นประเภทที่คุณชอบ ฉันไม่ใช่ผู้หญิงพวกนั้นหรอก ไม่แต่งหน้า ไม่ชอบทำกิจกรรมแบบผู้หญิง แล้วยังชอบอยู่กับเพื่อนผู้ชายมากกว่า เพราะผู้ชายไม่นินทาเหมือนผู้หญิง

พิคมีเกิร์ลส์เกิดขึ้นเพื่อครอบคำนิยามให้กับคนที่กดผู้หญิงเพื่อแยกตัวเองออกจากผู้หญิงด้วยกัน ไปเข้าหาผู้ชาย เรียกว่าเป็นกระแสตีกลับก็คงถูก

ในช่วงหลังมานี้พิคมีเกิร์ลกลายเป็นศัพท์ที่เบลอจนมีตัวตนอยู่เพื่อกดผู้หญิง เพราะมีการนำพิคมีเกิร์ลไปใช้ จนความหมายเดิมเริ่มเปลี่ยน ขอแค่มีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ถูกใจบางคน เช่นมีไลฟ์สไตล์ของพิคมีเกิร์ลคือ อยากคุยเรื่องบอล หรือใช้น้ำเสียงแอ๊บแบ๊ว ก็โดนเรียกว่าพิคมีเกิร์ลแล้ว แม้คนนั้นจะยังไม่มีพฤติกรรมกดผู้หญิง หรือทำไปเพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่ถูกเรียกด้วยวลีเชิงลบ ถูกผลักให้เป็นคนประเภทที่สังคมไม่ยอมรับ 

จากคำที่ตีกลับคนกดผู้หญิงกลายเป็นเครื่องมือที่กดผู้หญิงด้วยกันเอง

แต่ปีนี้มีคำใหม่ในเชิงบวก Girl’s Girl ที่น่าเอาไปใช้กับเพื่อน ๆ รอบตัว อย่างก่อนหน้านี้เคยมีคำคล้ายกันคือเพื่อนหญิงพลังหญิง และ Home Girl (เพื่อนที่รู้ว่าไว้ใจได้ และพร้อมช่วยเหลือเสมอ)

ส่วน Girl’s Girl มักใช้เมื่อเห็นพฤติกรรมของผู้หญิงที่สนับสนุนผู้หญิงด้วยกัน ทั้งเพื่อน คนใกล้ตัว หรือแม้แต่คนที่ไม่รู้จัก ก็จะได้รับสถานะว่า “She’s a girl’s girl” (เขาเป็นเพื่อนหญิง) เป็นกลุ่มคนที่เลือกให้ความสำคัญเพื่อนผู้หญิงก่อนผู้ชายคนอื่น 

สถานการณ์ที่อาจช่วยให้เข้าใจคำว่าเกิร์ลส์เกิร์ลมากขึ้นคือ ตอนที่เพื่อนช่วยกันแต่งหน้าทำผม ให้ยืมชุดสวยๆ ใส่ออกไปเที่ยว คอยดูแลกันและกัน หรือแม้แต่ในสถานการณ์อย่างห้องน้ำในร้านเหล้า ที่ไม่รู้จักกันก็พร้อมช่วยเหลือทั้งแบ่งผ้าอนามัย ดึงเสื้อที่เกือบหลุด หรือประคองเข้าห้องน้ำ ด้วยเหตุผลแค่เพราะเขาเข้าใจความลำบากของอีกคน 

ซึ่งเกิร์ลส์เกิร์ลเป็นได้ทั้งผู้หญิงไลฟ์สไตล์สาวๆ และมีความแมสคิวลินอย่างชาย แม้จะชอบดูบอล-กินเบียร์ ขอแค่อยู่ในสถานการณ์นั่งเล่นกับเพื่อนชาย (ที่เคยมีความเชื่อว่าไม่ปากร้าย ขี้นินทาเท่าผู้หญิง) ถ้าเพื่อนยกเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งขึ้นมาในเชิงเสียหาย ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่รู้จักก็พร้อมจะช่วยห้าม และพูดแทนผู้หญิงในบทสนทนาเสมอ ถ้าเป็นแบบนี้

“You’re a Girl’s Girl”   : ) 

(คุณเป็นเพื่อนหญิงแล้วแหละ)

คำนิยามทั้งสองนั้นดิ้นไปมา มีคนให้ความหมายแตกต่างกันตามกระแส และประสบการณ์ของผู้ใช้ตลอดเวลา แต่การนั่งพิจารณาว่าใครเป็นพิคมีเกิร์ลส์อยู่ในอดีตข้างหลังไปแล้ว เพราะกลายเป็นคำที่กดผู้หญิงในบรรยากาศเชิงลบ การไฮป์คนให้เป็น Girl’s Girl สนุกสนานและสร้างรอยยิ้ม พลังบวกด้วยการใช้หลักการของการเป็นคนที่เคารพและพร้อมช่วยเหลือคนอื่นเท่านั้นเอง

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Lifestyle

Lifestyle

เมื่อเราไม่อยู่บ้าน หมาจะคิดถึงเราไหมนะ?

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ เทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดยาว เมื่อได้เว้นว่างจากการทำงานและการเรียนอันแสนเหน็ดเหนื่อย หลายคนจึงเลือกจะกลับบ้าน ดังนั้น  หากจะเรียกว่าเป็น ‘วันแห่งการกลับบ้าน’ ก็อาจไม่ผิดนัก  หลายครอบครัวอาจมีสมาชิกอย่างพ่อ แม่ ญาติ หรือใครสักคนที่ทำให้อยากกลับบ้านไปหา ...

Writings

สงกรานต์ทั้งที ไม่มีความสงสัยบ้างไม่ได้หรอ?: เมื่อคำถามจากญาติในช่วงเทศกาลแห่งความสุขสร้างความทุกข์ให้ลูกหลาน

เรื่องและภาพประกอบ: ทยาภา เจียรวาปี หมายเหตุ: ประโยคคำถามในบทความชิ้นนี้ เป็นการรวบรวมจากประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียน และคนรอบตัวของผู้เขียนเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ในสายตาผู้อ่าน ภาพวันสงกรานต์หน้าตาเป็นอย่างไร? เชื่อว่าสำหรับหลายๆ คน คงเห็นภาพการสาดน้ำดับร้อน ภาพความสุข รอยยิ้ม ...

Writings

แตก 4 ซีซัน 4 ประเด็นของซีรีส์เพศศึกษา

เขียน จิรัชญา นุชมี ภาพ กัญญาภัค วุฒิรักขจร Sex Education คือซีรีส์ออริจินัลจาก Netflix ที่โด่งดังและจัดจ้านในประเด็นการเล่าถึงเรื่องเพศศึกษา อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ทว่าไม่ใช่เพียงประเด็นเรื่อง เพศ เท่านั้น ...

Writings

Dear Dorothea ยังมีที่ว่างให้ฉันอยู่ไหม

เขียน กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ กัญญาภัค วุฒิรักขจร บทเปิดจากภาพยนตร์เพื่อน (ไม่) สนิทบอกไว้ว่าทั้งชีวิตคนเราจะมีเพื่อนได้แค่ 150 คน จากการคำนวณด้วยสมการของนักวิทยาศาสตร์ โดยใน 150 คน ...

Writings

ห้ามพลาดกับศึกที่ไม่มีครั้งที่ 2 ใน Haikyuu!!  เดอะมูฟวี่ “ศึกตัดสินแห่งกองขยะ”

เขียนและภาพ : ศิรประภา ศรีดาจันทร์ Haikyuu (ハイキュー!!) หรือ ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน เป็นการ์ตูนเกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอลนักเรียนม.ปลายในญี่ปุ่น ผลงานของอาจารย์ฟุรุดาเตะ ฮารุอิจิ ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร Weekly Shonen ...

Writings

ตุ๊กตาหมีกับการเป็นสัญลักษณ์ความอบอุ่น 

เขียน : จิตริณี แก้วใจ  ภาพ : ศิรประภา ศรีดาจันทร์  หลายคนคงเคยมีช่วงเวลาที่ชื่นชอบสิ่งที่เรียกว่าตุ๊กตาหมี  เพราะการมีตุ๊กตาหมีให้กอดหรืออยู่เคียงข้างกายนั้น สร้างความรู้สึกผ่อนคลาย คลายความเหงา และสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจได้เป็นอย่างดี  ซึ่งอาจเป็นเพราะความสามารถพิเศษเหล่านี้ของเจ้าตุ๊กตาหมี ทำให้มีวันที่เรียกว่า ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save