News

สอบ.ค้าน ‘ต่อสัมปทาน 30 ปี รฟฟ.สายสีเขียว’ เหตุค่าโดยสารแพงขึ้น

ผู้เขียน: กัญญพัชร กาญจนเจตนี และ กัญญาภัค วุฒิรักขจร

ภาพ: สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย และ มติชนออนไลน์

สภาองค์กรของผู้บริโภคค้านการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เหตุจะทำให้ค่าโดยสารแพงขึ้น ชี้คนไทยจ่ายค่ารถไฟฟ้าแพงกว่าคนญี่ปุ่น

จากกรณีมีข้อเสนอที่จะขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ประกอบไปด้วยสายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต-อ่อนนุช) และสายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน) ให้แก่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด (บีทีเอสซี) จากปี 2572 ที่จะสิ้นสุดสัญญา ออกไปอีก 30 ปีจนถึงปี 2602 เพื่อแลกกับหนี้สินกว่า 30,000 ล้านบาท ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่กทม.จ้างบีทีเอสซีให้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 (สถานีสะพานตากสิน-บางหว้า และสถานีอ่อนนุช-แบริ่ง) และส่วนต่อขยายที่ 2 (สถานีแบริ่ง-สมุทรปราการ และสถานีหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และหนี้สินค่าก่อสร้างและงานโยธาที่ กทม.รับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อีกกว่า 70,000 ล้านบาทนั้น

คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านขนส่งและยานพาหนะ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ให้สัมภาษณ์ว่า สอบ. ขอคัดค้านการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งจะหมดสัญญาสัมปทานในปี พ.ศ.2572 เพราะการต่อสัญญาดังกล่าวจะทำให้ค่าโดยสารปรับตัวขึ้น ประชาชนได้รับผลกระทบ

คงศักดิ์ กล่าวว่า ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในประเทศไทยมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับรายได้ขั้นต่ำ เช่น ญี่ปุ่น ประชาชนจะจ่ายค่ารถไฟฟ้าร้อยละ 9 ของรายได้ขั้นต่ำ แต่ประชาชนไทยจะจ่ายค่ารถไฟฟ้าแพงถึงร้อยละ 28 ของรายได้ขั้นต่ำ ส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพียงร้อยละ 2.86 เท่านั้น ปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพงเนื่องจากสัญญาสัมปทานการสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ ขาดการออกแบบการวางโครงข่ายระบบรางร่วมกัน แต่ละหน่วยงานทยอยสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า เกิดสัญญาหลายฉบับ โดยไม่ได้ประสานงานในเรื่องการคิดอัตราค่าธรรมเนียมแรกเข้า และอัตราค่าโดยสารในระบบเดียวกัน

“สัญญาสัมปทานส่วนใหญ่ให้สิทธิกับเอกชนมาก เพราะฉะนั้นการจะให้รัฐได้ประโยชน์ก็เป็นเรื่องยาก อีกทั้งรัฐบาลก็ขาดนโยบายการส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะ รวมถึงขนส่งมวลชนอย่างต่อเนื่อง อัตราการจดทะเบียนของรถส่วนบุคคลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตรารถโดยสารสาธารณะที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกมีจำนวนลดลง” คงศักดิ์กล่าว

ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านขนส่งฯ กล่าวต่อว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ BTS เป็นรถไฟฟ้าสายเดียวที่อยู่ในความดูแลของเอกชน หากหมดสัญญาสัมปทานและสามารถดึงกลับมาอยู่ในการดูแลของรัฐ แล้วจ้างเอกชนเดินรถเพียงอย่างเดียว กทม.ก็จะสามารถควบคุมคุณภาพและอัตราค่าโดยสารได้ อีกทั้ง กทม. ยังมีเวลาอีก 7 ปี กว่าที่สัญญาจะหมดอายุในปี 2572 เพื่อพิจารณาว่าจะเลือกต่อสัญญาสัมปทานหรือไม่ จึงยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการต่อสัญญา โดยควรพิจารณาหาทางออกอย่างรอบคอบเพราะจะมีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก

คงศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กทม.ในยุคของ พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมืองเป็นผู้ว่าฯ มีภาระหนี้ต่อเนื่องรวมกว่า 100,000 ล้านบาท จากการก่อสร้างและจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงมีความพยายามที่ขยายสัญญากับบีทีเอสซีซึ่งเป็นผู้เดินรถออกไปอีก พร้อมกับเงื่อนไขสัญญา 30 ปี กำหนดค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย โดยบีทีเอสซีจะยกภาระหนี้สินให้ทั้งหมด พร้อมกับ กทม. จะได้รับส่วนแบ่งตลอดสัญญารวมเป็นจำนวนกว่า 200,000 ล้านบาท ซึ่งหาก กทม. คำนึงถึงผู้บริโภคมากกว่ากำไร เงินส่วนแบ่งดังกล่าวควรเปลี่ยนมาเพื่อปรับลดค่าโดยสารให้แก่ผู้บริโภค เพื่อที่ผู้บริโภคจะไม่ต้องจ่ายราคา 65 บาทตลอดสัญญา 30 ปี หรือหากภาระหนี้สินเป็นปัญหามาก กทม.อาจส่งคืนส่วนต่อขยายนี้ให้กับรฟม.ได้

“เราไม่ควรจะสร้างภาระให้กับคนรุ่นหลังอีกแล้ว คุณให้เขาต่อสัญญาสัมปทานอีก 30 ปีก็เท่ากับผูกขาดอีก 30 ปี เราจะไปทำอะไรกับเส้นทางหลักเดิมคือเส้นสีเขียวก็ยังทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือคุณต้องให้เขาหมดสัญญาไป ให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ กลับมาเป็นของรัฐ” ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านขนส่งฯ กล่าวและว่า สอบ.ได้เสนอค่าโดยสารใหม่กับชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน คือค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 อยู่ที่ 15 บาท และค่าโดยสารสูงสุดตลอดสาย (สายสีเขียวและส่วนต่อขยาย 1-2) ไม่เกิน 44 บาท 

คงศักดิ์ กล่าวว่า เฉลี่ยแล้วผู้บริโภคจะโดยสารไม่เกิน 10-12 สถานี ค่าโดยสารที่เหมาะสมจึงควรเป็นค่าโดยสารที่ไม่แพงจนเกินไป การจะให้คนที่จ่ายไหวไปใช้บริการรถไฟฟ้า และคนจนก็ไปใช้บริการรถเมล์เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ เพราะนั่นคือการสร้างความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม เราต้องทำให้ขนส่งมวลชนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องขึ้นได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมัยที่ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม.ในขณะนั้น มีการว่าจ้างบีทีเอสซีให้เป็นผู้ลงทุนโครงการรถไฟฟ้า เส้นทางหลักจากสถานีหมอชิต-อ่อนนุช และจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน มีสัญญาสัมปทาน 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2572 จนต่อมา กทม. เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่ 1 จากสถานีอ่อนนุช-แบริ่ง และจากสถานีสะพานตากสิน-บางหว้า และว่าจ้างให้ BTS เป็นผู้เข้ามาเดินรถ และหลังจากนั้น รฟม.เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติมของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 คือจากสถานีหมอชิต-คูคต และจากสถานีแบริ่ง-เคหะฯ จึงทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้ง 3 ช่วงจนถึงปัจจุบัน มีเส้นทางครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ มีระยะทางรวม 52.65 กิโลเมตร และจะมีสถานีรวมทั้งสิ้น 57 สถานี

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
2
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

รองอธิการฯ ศูนย์รังสิตเผย ผู้ร้ายแก๊งตบทรัพย์ถูกออกหมายเรียกแล้ว พร้อมเพิ่มรปภ.ในพื้นที่เพื่อป้องกันเหตุในอนาคต

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ รองอธิการฯ ศูนย์รังสิตเผย ตำรวจออกหมายเรียกผู้ร้ายแก๊งตบทรัพย์แล้ว หลังกล้องวงจรปิดจับภาพผู้ก่อเหตุไว้ได้ พร้อมเพิ่มรปภ.ชุดใหม่ภายใต้การดูแลของกองบริหารศูนย์รังสิตโดยตรงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่นอกเหนือการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากกรณีมิจฉาชีพขี่รถจักรยานยนต์ตามรถยนต์ของหนึ่งในอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่ออ้างว่าผู้เสียหายขับรถเบียดจนเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บที่บริเวณขา ...

News

อาจารย์วารสารฯ มธ. คาดคนดังระวังการรับงานมากขึ้น-แนะ 4 วิธีตรวจสอบก่อนเป็นพรีเซนเตอร์

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ และ วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร อาจารย​์วารสารศาสตร์ฯ มธ. คาดคนดังจะระวังการรับงานพรีเซนเตอร์มากขึ้น หลังกรณี ...

News

ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ชี้คดีตากใบขาดอายุความส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ 

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ชี้คดีตากใบขาดอายุความส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เพราะประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ด้านที่ปรึกษากม. มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เสนอรัฐฯ ต้องนำกรณีตากใบมาถอดบทเรียน ...

News

ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์คาด นโยบายเพิ่มจำนวนเด็กอาจไม่ได้ตามเป้า หากประกันสังคมไม่เอื้อให้คนท้องทำโอที

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งให้บริการสายด่วน 1663 ปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม คาดนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ เพื่อเพิ่มจำนวนการเกิด อาจไม่ถึง ...

News

เครือข่ายธุรกิจอาหารทะเลยั่งยืนเผย ประมงอวนลาก ทำลายนิเวศทะเล แต่หยุดไม่ได้เพราะธุรกิจอาหารสัตว์

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร กก.ผจก.บริษัทปลาออร์แกนิกฯ ซึ่งทำเครือข่ายธุรกิจอาหารทะเลยั่งยืน ชี้ประมงอวนลากกระทบระบบนิเวศทางทะเล เหตุธุรกิจอาหารสัตว์รับซื้อปลาเป็ดจากประมงอวนลาก แนะผู้บริโภคเลือกซื้อหมูไก่ที่เลี้ยงระบบปล่อยอิสระ สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ ...

editorial

Editor’s Note : ‘ตากใบ’ บทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาล 

ในวันที่ 25 ตุลาคมที่จะถึงนี้ จะเป็นวันครบรอบ 20 ปีของ ‘คดีตากใบ’ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ที่รัฐกระทำต่อชาวตากใบ จ.นราธิวาส อย่างไร้มนุษยธรรมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 85 ราย ทั้งจากช่วงสลายการชุมนุมและช่วงขนย้ายผู้ร่วมชุมนุม หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อหาผู้กระทำผิด แต่การดำเนินการทางกฎหมายยังเดินทางไปไม่ถึงขั้นที่สามารถลงโทษใครได้ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save