Art & CultureSocialWritings

ได้โปรดอย่าปิดกั้นการมองเห็นของฉัน – ปาเลสไตน์

เรื่อง : จิรัชญา นุชมี

ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์

เนื่องในวันที่ 29 กันยายนของทุกปี ถือเป็นวัน International Day of Solidarity with the Palestinian People หรือในชื่อภาษาไทยที่เรียกว่า ‘วันสากลว่าด้วยความเป็นปึกแผ่นกับชาวปาเลสไตน์’ เป็นวาระพิเศษที่ริเริ่มและดำเนินการโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อรำลึกถึงวันครบรอบข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 181 โดยสมัชชาใหญ่ ว่าด้วยรัฐบาลปาเลสไตน์ในอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งการยอมรับการมีอยู่ของประเทศปาเลสไตน์ ประเทศเล็ก ๆ อันเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ หนึ่งในดินแดนที่เป็นศูนย์รวมของทั้ง 3 ศาสนา อิสลาม คริสต์ และยิว และทำให้เกิดการแก่งแย่งพื้นที่จนเกิดเหตุการณ์ไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง และเป็นประเทศที่ถูกพยายามทำให้ลืมเลือน

ผู้อ่านเคยตั้งคำถามกับสื่อหรือไม่ ว่าทำไมในหนึ่งวันนอกจากข่าวสารชีวิตประจำวันในบ้านเกิดตัวเองแล้ว ก็จะเป็นข่าวจากชาติตะวันตกทีมีให้เราได้เสพ เรียกได้ว่าเป็นอันดับรองลงมาจากข่าวในประเทศและประเทศบริเวณใกล้เคียงเสียด้วยซ้ำ แล้วข่าวในภูมิภาคใดที่คุณรู้สึกว่าไม่คุ้นชิน ไม่ค่อยเห็นได้บ่อยนักหากไม่เกิดเหตุการณ์ใหญ่ ๆ หรือ เหตุความรุนแรง … ?

เกริ่นเพียงเท่านี้ก็สามารถตอบคำถามข้างต้นได้ทันทีว่า ข่าวจากประเทศแถบตะวันออกกลาง ภาพจำที่ผู้คนมีต่อประเทศเหล่านี้ที่สื่อได้ถ่ายทอดออกมาก็ไม่ใช่อะไรเลยนอกจาก ‘ความรุนแรง’ ซึ่งทำให้ความน่าสนใจของประเทศแถบนี้มีแต่เรื่องราวในลักษณะเดิมซ้ำไปซ้ำมา จนคนเริ่มเอาตัวออกห่าง และไม่ให้ความสนใจไปในที่สุด 

ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์ความรุนแรงเหล่านั้นมันสงบเสียเมื่อไหร่ เมื่อประเทศปาเลสไตน์ยังมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นแทบทุกวัน มีระเบิด มีการรุกรานของทหารอิราเอลถึงเนื้อถึงตัวชาวปาเลสไตน์ เพียงแต่เสียงระเบิดเหล่านั้นไม่ดังมากพอที่จะให้คนมาสนใจเสียที

ทำไมกันล่ะ … ?

จูดิธ บัทเลอร์ นักปรัชญาและนักทฤษฎีชาวอเมริกัน กล่าวว่า “สื่อใช้สองมาตรฐานเมื่อพูดถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวปาเลสไตน์ ขณะเดียวกันก็ปิดบังอาชญากรรมสงครามของอิสราเอลโดยใช้ความคลุมเครือ โดยส่วนใหญ่ไม่สนใจกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศและบริบทการยึดครองของอิสราเอลที่กำลังเกิดขึ้น และเทียบเคียงกับอำนาจทั้งสอง โดยใช้ความเข้าใจผิด “ทั้งสองฝ่าย” ราวกับว่าชาวปาเลสไตน์และอิสราเอลมีอำนาจเท่ากัน” (Abeer Al-Najjar 2564 ,The Palestinian struggle to be seen in the media)

หมายความว่าภาพสื่อที่มีออกมาให้เห็นโดยสื่อตะวันตกมักเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความคลุมเครือของสถานการณ์ และมีออกข่าวที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการปะทะที่สูสีกัน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วนั้น อำนาจ อาวุธ และพละกำลังของฝั่งปาเลสไตน์เสียเปรียบอย่างมาก และภาพถูกโจมตีมักไม่ถูกนำเสนอเท่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น

ด้วยประเด็นนี้ทำให้ผู้เขียนต้องการนักวารสารศาสตร์ที่มีความเข้าใจบริบทของการเมืองปาเลสไตน์-อิสราเอล มาอธิบายและชี้แนะเกี่ยวกับทิศทางความเป็นไปของข่าวของปาเลสไตน์ในอนาคต และมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่ผู้เสพข่าวจะให้ความสนใจและต้องการรับรู้มากขึ้น

อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ นักวารสารศาสตร์ผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อมามากกว่าสิบปี และมีประสบการณ์การลงพื้นที่ไปทำข่าวในประเทศแถบตะวันออกกลาง ให้คำอธิบายเป็นภาพใหญ่ว่า ประเทศตะวันตกต้องการจะครองโลก เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและทรัพยากรที่มหาศาล และเพื่อกำหนดทิศทางเศรษฐกิจ การเมือง ดังนั้นการควบคุมสื่อถือเป็นภารกิจสำคัญที่จะทำให้พวกเขาสามารถควบคุมประชากรโลกและสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ 

อีกหนึ่งเหตุผลคือเป็นเพราะคนเสพข่าว ไม่ได้ให้ความสนใจและไม่เข้าใจบริบทการปะทะกันของปาเลสไตน์ – อิสราเอล มองว่าเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นเท่านั้น เป็นความภาพจำที่คนมีต่อชาวตะวันออกกลาง บริบทที่คนไม่เข้าใจ อีกทั้งผู้คนก็ไม่ได้คิดที่จะศึกษาเพิ่มด้วย  ที่สำคัญคือนักข่าวที่มีความเป็นนักสื่อสารมวลชนมากกว่านักวารสาร มองว่าขายไม่ได้ เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ค่อยมีข่าวความรุนแรงเหตุการณ์บ้านเมืองในพื้นที่ปาเลสไตน์ออกมา ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนก็ตาม อีกทั้งทัศนคติที่คนหมู่มากมีต่อประเทศตะวันออกกลางไปในทางลบ จึงไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องมาเสพสื่อในแถบประเทศที่ตนไม่ได้มีความรู้สึกรื่นรมย์ด้วยนั่นเอง

โดย อภิรักษ์ได้ให้ไอเดียอยู่ 3 ประเด็นหลักที่น่าสนใจได้แก่ 

  1. ความยิ่งใหญ่ของสื่อตะวันตก
  2. คนรุ่นใหม่กับการสร้างความเปลี่ยนแปลง
  3. การเรียกร้องของคนรุ่นใหม่คือตามกระแสหรือไม่

Middle East is big but not bigger than power of The Western

ตะวันออกกลางเป็นเขตแดนที่ใหญ่ แต่ยิ่งใหญ่ได้ไม่เท่าพลังของ(สื่อ)ตะวันตก 

“ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อตะวันตกมีอำนาจในการควบคุมความคิดของประชากรโลกมากที่สุดในปัจจุบัน ข่าวต่างประเทศที่ออกเผยแพร่ในสื่อบ้านเราต้องยอมรับว่าเป็น สื่อในระดับทุติยภูมิ กล่าวคือ ไม่ได้เป็นสื่อที่ลงไปทำมาเองแต่เป็นการซื้อมาแปล โดยต้นฉบับแน่นอนว่าเป็นของสื่อตะวันตกที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นไม่ว่าความพยายามในการจะให้พื้นที่สื่อกับประเทศแถบตะวันออกกลางจะมากแค่ไหน มุมมองที่ถูกถ่ายทอดออกไปก็เป็นเลนส์ของชาวตะวันตกอยู่ดี” อภิรักษ์กล่าว

จากการสัมภาษณ์ผู้เขียนมองต่อว่าเมื่อตะวันตกมีอำนาจในการควบคุมสื่อไว้แล้วในมือ การทำให้ผู้คนคล้อยตามจึงไม่ใช่เรื่องยาก และประเทศอื่น ๆ ไม่ได้อยากมีปัญหากับประเทศที่ใหญ่กว่าอยู่แล้ว เมื่อเป็นประการเช่นนี้ทำให้สื่อในประเทศที่เล็กกว่าไม่ได้ต้องการมุมมองอื่นเพิ่มเติมมากกว่าที่ได้รับจากตะวันตก

ฉะนั้นถึงแม้จะมีสื่ออย่าง Al-Jazeera (อัลจาซีร่า) ที่เป็นสำนักข่าวอาหรับเน้นทำข่าวประเทศตะวันออกกลางก็จริง แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่สำนักข่าวที่สื่อไทยจะซื้อไปทำข่าวต่อและให้ความสนใจมากเท่าสื่อตะวันตกอื่น ๆ ในปัจจุบันอัลจาซีร่าและสื่อเฉพาะในพื้นที่ต่างๆ เองก็พยายามที่จะสร้างเรื่องราวในมุมมองของตัวเองออกมาให้คนเสพข่าวยุคใหม่ได้ศึกษากัน

 

New Generation Turns Away from Mainstream

คนรุ่นใหม่หันหลังให้สื่อหลัก

อภิรักษ์มองว่าคนรุ่นใหม่ในฐานะคนดู อาจเป็นความหวังใหม่กับการถูกมองเห็นขึ้นของประเทศแถบตะวันออกกลาง และอาจจะสามารถพลิกกลับมาเป็นสื่อที่มีพลังเทียบเท่ากับสื่อตะวันตกได้ เนื่องจากคนรุ่นใหม่พยายามที่จะปฏิเสธสื่อหลักและหันไปเสพสื่อที่หลากหลายแทน หมายถึงเลิกดูข่าวจากช่องหลักหรือสื่อแมส และหันไปตามข่าวจากโลกออนไลน์ โดยนักข่าวพื้นที่รายงานเองก็ดี หรือ สื่อเฉพาะประเทศนั้นเองก็ดี หรือสื่อเฉพาะกลุ่ม เช่น คนในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ เป็นต้น ซึ่งล้วนมาจากสื่อที่กว้างมากขึ้น ทั้งในและนอกประเทศ และพวกเขาเชื่อว่าข่าวที่ตนเสพอยู่คือข่าวนอกกระแส เพราะเหตุการณ์เหล่านั้นไม่ได้ถูกถ่ายทอดในสื่อกระแสหลัก หรือถึงแม้จะถูกถ่ายทอดในสื่อกระแสหลักก็มักล่าช้ากว่าช่องทางที่พวกเขาเลือกติดตาม 

ผู้เขียนพบว่าจากเหตุการณ์การบ้านการเมืองที่เกิดขึ้นทั่วโลก พบว่าเด็กรุ่นใหม่ที่เลือกติดตามเนื้อหาที่หลากหลาย เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนในสังคมผ่านในโลกออนไลน์ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็น

  • Black Lives Matter
  • Stop Asian Hate 
  • MeToo, 
  • Transwoman is woman
  • แบนสินค้ารัสเซียจากชนวนเหตุสงคราม รัสเซีย-ยูเครน

และอีกหลายกระแสมากมายที่เกิดการพูดถึงมากขึ้นเพราะการเสพข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ จนสื่อหลักบางเจ้ายังต้องเอาไปเผยแพร่ต่อ จึงเป็นที่แน่ชัดว่าหากใช้พลังคนรุ่นใหม่ในการสร้างการมองเห็นขึ้นก็ย่อมมีโอกาสพลิกกระดานวงการสื่อได้ ทว่าสิ่งเดียวที่จะดูเป็นอุปสรรคในเส้นทางความหวังใหม่นี้ก็กลับเป็นตัวเด็กรุ่นใหม่เองเช่นกัน จากการสำรวจพบว่า ถึงแม้พวกเขาจะพยายามปฏิเสธสื่อหลักและหาความหลากหลายทางข้อมูลมากเพียงใดกลับถูกมองว่า เป็นการกระทำที่พยายามจนมากเกินไปแต่สุดท้ายก็กลับมาอีหรอบเดิม คือการเลือกเสพข่าวในสิ่งที่ตัวเองเลือกที่อยากจะเข้าใจเท่านั้น 

“คนรุ่นใหม่หนีไปเจอสิ่งที่ตัวเองอยากจะหนี พวกเขาไม่อยากถูกครอบงำโดยสื่อหลัก แต่หารู้ไม่ว่าสื่อออนไลน์ที่ตนหนีไปตามก็ไม่รอดพ้นจากการถูกครอบงำโดยอะไรเดิม ๆ อยู่ดี” อภิรักษ์กล่าว

Call Out = Fashion 

เรียกร้องตามกระแส ?

อย่างที่อภิรักษ์ให้สัมภาษณ์ว่า เด็กรุ่นใหม่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงทิศทางของสื่อได้หากมีความสนใจใฝ่หาให้กว้างขวางมากกว่าเดิม รวมถึงการ เรียกร้อง รณรงค์ จากโลกออนไลน์ที่สร้างอิมแพคมาสู่ชีวิตจริง แต่กระแสเหล่านั้นมาแล้วก็เงียบหายไป เปรียบได้กับแฟชั่นที่อาจเรียกว่า fast fashion ก็ได้  พอตกเทรนคนก็ลืมไป และมันช่างรวดเร็วเหลือเกิน แต่หากมองกลับมาที่ข่าวปาเลสไตน์ กลับเป็นแฟชั่นที่ไม่อินเทรนเสียที เคยมีการพูดถึง แต่หายไปอย่างรวดเร็วไม่ทันที่คนจะได้ตามกระแสเสียด้วยซ้ำ 

จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนติดตามข่าวและให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับเรื่องปาเลสไตน์มาโดยตลอด พบว่าประเด็นการเรียกร้องแบบมาๆ หายๆ ในโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้นกับประเด็นทางสังคมมาไม่เคยถึงการถูกโจมตีของปาเลสไตน์เนื่องจาก การถูกปิดกั้นการมองเห็น

จากเหตุการณ์ที่ เบลล่า ฮาดิด นางแบบชื่อดังที่มียอดผู้ติดตามในแอพพลิเคชั่นอินสตาแกรมถึง 59.7 ล้านคน เธอมีเชื้อสายปาเลสไตน์แท้ ๆ จากพ่อของเธอ และเธอมักให้ความสนใจและออกมาเรียกร้องเพื่อปาเลสไตน์เสมอ ไม่ใช่แค่ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ แต่คอยให้ความสนใจสถานการณ์บ้านเมืองตลอด ถึงแม้ว่าภูมิลำเนาเธอจะอยู่ที่อมเริกา

เบลล่า เคยออกมาโพสต์ผ่านอินสตาแกรมว่า 

‘เมื่อฉันโพสต์เกี่ยวกับปาเลสไตน์ ฉันจะโดนแบนจากอินสตาแกรมทันที มีผู้ติดตามไม่ถึง 1 ล้านคนด้วยซ้ำที่สามารถดูสตอรี่และโพสต์ในแอคเคาท์ของฉันได้’ 

นอกจากโพสต์ของเบลล่า ฮาดิดที่แสดงให้เห็นว่าอินสตาแกรมตั้งใจปิดกั้นการมองเห็นข่าวสารในปาเลสไตน์แล้ว 

เจ้าของเพจ Loveshare_andgive เพจแชร์คำสอนศาสนาอิสลามและแชร์ข่าวสารเกี่ยวกับประเทศตะวันออกกลาง ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงเดือนรอมาฏอนปี 2565 ที่มีการระเบิดมัสยิตมัสยิดอัล-อักซอในกรุงเยรูซาเล็ม ที่ถือเป็นมัสยิดที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นลำดับ 3 ของศาสนาอิสลาม ทางเพจพยายามแปลและแชร์ข่าวทุกวันและรายงานสถานการณ์สดลงอินสตาแกรมสตอรี่แต่ก็ไม่สามารถโพสต์ได้ และบางโพสต์ที่ลงได้ก็ไม่มีคนมาดู ทั้งที่ผ่านมามียอด engagement ที่สูงมาโดยตลอด นั่นแสดงให้เห็นแล้วว่าแม้แต่โลกออนไลน์ก็ยังมีความพยามที่จะมาให้เรื่องราวของปาเลสไตน์เป็นที่เห็นและพยายามเก็บมันไว้ให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้นั่นเอง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดมีปัจจัยหลายอย่างมากที่แสดงให้เห็นว่าทำไมเราถึงไม่สามารถเสพข่าวจากสื่อตะวันออกกลางและเรื่องสำคัญอย่างเหตุการณ์ความรุนแรงในปาเลสไตน์ที่มีผ่านออกมาให้เห็นได้อย่างง่ายดาย นอกจากการเป็นประเด็นที่คนไม่ได้อยากสนใจ ก็คือการถูกครอบงำโดยสื่อตะวันตกและการปิดกั้นการมองเห็นเมื่อถูกกระทำความรุนแรงและถูกนำเสนอเฉพาะตอนไปกระทำความรุนแรงเท่านั้น โดยเป็นการกรองจากผู้มีอิทธิพลที่มีความเกี่ยวเนื่องกับตะวันตก  หากให้ความสนใจที่ติดตามจะข่าวปาเลสไตน์มากขึ้น ดั้นด้นที่จะหาช่องทางและสื่อที่พอทำข่าวอยู่ที่ให้เห็นถึงเหตุการณ์อีกแง่มุมหนึ่งที่ไม่ได้มาจากสื่อใหญ่

ผู้เขียนได้แต่หวังให้ผู้อ่านรู้สึกสนใจเหตุการณ์ในพื้นที่ปาเลสไตน์-อิสราเอล ให้มากขึ้นและลึกซึ้ง รวมถึงเสพข่าวรอบด้านอย่าให้สื่อใดมาควบคุมเราได้ มิใช่เสพเพียงตามจากสื่อตะวันตกหรือสื่อตะวันออกทางเดียว แต่อยากให้เสพและพิจารณาไปพร้อมๆ กัน หากเป็นไปได้อยากให้มีการถูกพูดถึงในมุมที่กว้างขวางตลอดจนเกิดการเรียกร้องอย่างจริงจัง มิใช่เสียงที่ตะโกนแค่ไหนก้ไม่มีใครได้ยินเฉกเช่นในปัจจุบัน

และพึงระลึกไว้เสมอว่า ปาเลสไตน์ ก็เป็นประเทศหนึ่งของโลกเช่นกัน

อ้างอิง

  • Abeer Al-Najjar , The Palestinian struggle to be seen in the media, สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566

 จาก https://institute.aljazeera.net/en/ajr/article/1495

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0
Writings

Evangelion: 3.0+1.0 Thrice Upon a Time (2021) ลาก่อนเหล่า Evangelion ทั้งหลาย

ผู้เขียน: ปิยะพร สาวิสิทธิ์ 22 พฤษภาคม คือวันเกิดของ ‘ฮิเดอากิ อันโนะ (Hideaki Anno)’ บุคคลสำคัญที่คอยสร้างสรรค์อยู่เบื้องหลังวงการบันเทิงของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน ผลงานของอันโนะนั้นนับว่าให้คุณอย่างมหาศาลต่อทั้งอุตสาหกรรมบันเทิง รวมถึงทำให้ผู้ชมสะท้อนและพิจารณาตนเองอีกด้วย อันโนะมีผลงานหลายอย่าง ตั้งแต่การกำกับภาพยนตร์ ...

Writings

เส้นทางการตกแฟนบอยของนายแบคฮยอน

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง League of Legend หรือ LOL คือเกมออนไลน์ไม่กี่เกมที่ผมยังคงเล่นอยู่ในปัจจุบัน หากเราเล่นกับเพื่อน มันจะเป็นเกมที่สนุกมาก แต่หากเล่นคนเดียว มันอาจจะเหมือนกับการตกนรกทั้งเป็น ด้วยความที่เป็นเกมสไตล์ ...

chinese opera 2024 Writings

ส่องหลังม่านการแสดงงิ้ว โลกหลังเวทีของเหล่า ‘คนแปลกหน้า’

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ นอกจากอากาศที่ร้อนระอุในเดือนเมษายน และต้นข้าวในท้องนาริมถนนที่ถูกเก็บเกี่ยว การเดินทางกลับบ้านในช่วงวันหยุดยาวครั้งนี้ มีสิ่งหนึ่งที่ฉันตั้งตารอ  . ‘ศาลเจ้าแม่ทับทิม’ ริมแม่น้ำบางปะกงได้รับการบูรณะในปี 2560 และในทุกๆ ปี ศาลเจ้าจะจัดการแสดงงิ้ว ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save