MediaShot By ShotWritings

มีงาน มีที่จอดรถ แต่ไม่พอ หรือมักง่าย? ว่าด้วย ม.ธรรมศาสตร์ และที่จอดรถเมื่อมี Event

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย

ระหว่างวันที่ 18 – 29 มีนาคม 2567 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตมีการจัดงาน ‘ธรรมศาสตร์แฟร์’ เป็นครั้งแรก ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘FAIR’ หรือ ‘Food Art Innovation Relax’

สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ต้องมีควบคู่กับงานใหญ่อย่างนี้ก็คือ ‘ที่จอดรถ’ สำหรับผู้ร่วมงาน โดยเมื่อวันที่ 17 มี.ค. หรือก่อนงานจะเริ่ม 1 วัน Facebook เพจ ‘ตลาดนัดธรรมศาสตร์’ ได้โพสต์แจ้งจุดจอดรถต่างๆ ในงานว่า ภายในงานธรรมศาสตร์แฟร์จะมีจุดจอดรถสำหรับผู้ร่วมงานทั้งหมด 6 จุดได้แก่ ศูนย์กีฬาทางน้ำ, สนามอดิเรก, หลังสนามเมนสเตเดียม, สนามฟลิกซ์, ยิมเนเซียม 7 และจุดจอดรถจักรยานยนต์บริเวณประตูเชียงราก 1 ซึ่งรวมแล้วสามารถรองรับรถได้สูงสุดกว่า 1,000 คัน

ภาพประกอบจาก : https://web.facebook.com/photo/?fbid=932013245595196&set=a.507009684762223

อย่างไรก็ตาม หน้างานจริงกลับเกิดภาพรถจักรยานยนต์จอดเรียงรายอยู่เต็มทางเดินไปหมดไม่ว่าจะเป็นริมทางเท้า หลังจุดจอดรถ EV หรือแม้แต่บนพื้นหญ้าใต้ต้นไม้

ด้วยความสงสัย ผู้เขียนจึงเดินสำรวจตามลานจอดรถต่างๆ ภายในงานเพื่อหาสาเหตุในการจอดรถนอกที่จอดที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ว่าเกิดจากอะไร ระหว่างความบกพร่องของมหาวิทยาลัยในการประชาสัมพันธ์ ความไม่เพียงพอของที่จอดรถ หรือความมักง่ายของผู้ร่วมงาน รวมถึงผลกระทบจากการจอดในที่เหล่านั้น

ก่อนจะพบว่าทั้ง 3 สมมติฐานนั้น ‘มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด’

จากการเดินสำรวจจุดจอดรถภายในงาน พบว่าป้ายบอกทางไปยังจุดจอดรถมีไม่ครบถ้วน เช่น กรณีที่ขับรถยนต์มาจากทางด่วนอุดรรัถยาและเข้าประตูบริเวณฝั่งตรงข้าม TU Dome Plaza จะมีป้ายบอกทางไปยังจุดจอดรถเพียงแค่จุดเดียว คือบริเวณหลังสนามเมนสเตเดียม ทำให้บริเวณดังกล่าวมีรถเข้าไปหนาแน่น จนที่จอดไม่เพียงพอ และยังไม่มีป้ายเพื่อนำทางไปยังที่จอดบริเวณศูนย์กีฬาทางน้ำที่อยู่ห่างกันไม่ไกลมาก แต่กลับเป็นจุดเดียวที่ยังมีที่จอดรถว่างอยู่เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ เมื่อเดินเข้าไปถึงบริเวณสมาคมกรีฑาแห่งเอเชีย พบว่ามีรถจอดอยู่บนทางเท้าและข้างทาง แม้ว่าจะมีป้ายห้ามจอดรถและเส้นขอบขาว-แดงที่มีความหมายว่า ‘ห้ามจอด’ ทาไว้ รวมถึงบริเวณด้านหน้าลานสเก็ตบอร์ด Thammasat X-treme Plaza และอาคารยิมเนเซียม 5 ก็พบรถจักรยานยนต์จำนวนมากจอดอยู่บนทางเท้าและพื้นหญ้าใต้ต้นไม้ รวมถึงจุดจอดรถ EV

ลานจอดรถจักรยานยนต์บริเวณประตูเชียงราก 1 ที่มีผู้ร่วมงานมาจอดจนเกือบเต็ม

 

ลานจอดรถบางส่วนในงานถูกนำไปเป็นสถานที่จัดงาน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีรถบางส่วนเข้ามาจอด

 

เนื่องจากทางเข้าบริเวณตรงข้าม TU Dome Plaza มีป้ายนำทางไปยังลานจอดรถเฉพาะบริเวณด้านหลังสนามเมนสเตเดียม ลานจอดรถดังกล่าวจึงไม่เพียงพอกับผู้ร่วมงาน ผิดกับลานจอดบริเวณศูนย์กีฬาทางน้ำใกล้กัน แต่ไม่มีป้ายนำทางไป

 

ลานจอดรถด้านในศูนย์กีฬาทางน้ำ ภาพรวมยังค่อนข้างโล่งและมีที่จอดรถว่างอยู่เป็นจำนวนมาก

 

จุดจอดรถ EV บริเวณ TU Dome Plaza ที่ถูกจอดจักรยานยนต์ไว้จนเต็ม ถ้าหากจะใช้บริการรถ EV ก็จำเป็นต้องเดินเลาะรถจักรยานยนต์ออกไปขึ้นรถ

 

ส่วนด้านหลังจุดจอดรถ EV TU Dome Plaza ซึ่งเป็นลานจอดรถจักรยาน Anywheel แม้จะเจียดพื้นที่ให้รถจักรยานยนต์จอดเพิ่มด้วย แต่ก็ยังมีรถมาจอดจนเต็มพื้นที่

 

 

ลานจอดรถบริเวณสมาคมกรีฑาแห่งเอเชีย คาดว่าลานจอดรถดังกล่าวอยู่ค่อนข้างลึก ทำให้ยังมีที่จอดรถว่างอยู่จำนวนหนึ่ง

 

 

บริเวณสมาคมกรีฑาแห่งเอเชียใกล้เคียงกับลานจอดรถในภาพก่อนหน้า พบรถบางส่วนจอดอยู่บนทางเท้าแม้ลานจอดรถบริเวณใกล้เคียงจะยังมีที่จอดว่างอยู่

 

 

ถ.มิตรภาพ ช่วงระหว่างสมาคมกรีฑาแห่งเอเชียและอาคารยิมเนเซียม 7 สามารถพบเห็นรถจอดคู่กับป้ายห้ามจอดรถได้ตลอดแนว

 

บริเวณลานสเก็ตบอร์ด Thammasat X-treme Plaza ซึ่งเป็นจุดจัดงาน มีรถจักรยานยนต์จอดเรียงอยู่บนทางเท้าจนเลยเข้ามาจนถึงพื้นที่งาน

 

 

บริเวณเดียวกับภาพก่อนหน้า พบว่าจักรยานยนต์ส่วนจอดกินพื้นที่ทับทางเท้าสำหรับคนพิการทางการเห็น

 

รถยนต์จอดริมถนนที่มีขอบขาว-แดงตลอดทางตั้งแต่ลานพญานาคจนถึงอาคารยิมเนเซียม 5

 

 

ถัดจากอาคารยิมเนเซียม 5 แม้จะไม่มีรถยนต์จอดแล้ว แต่เจอรถจักรยานยนต์จอดเรียงรายอยู่แทนไม่ว่าจะเป็นบนทางเท้าฝั่งริมถนน ฝั่งพื้นที่จัดงาน หรือพื้นหญ้าใต้ต้นไม้

 

ในบริเวณอาคารยิมเนเซียม 5 พบรถจักรยานยนต์จอดอยู่เกือบทุกจุด ไม่เว้นแม้แต่หลังจุดจอดรถ EV

 

 

จุดที่มีเวิ้งจอดรับ-ส่งผู้โดยสารรถ EV และรถประจำทางเองก็ถูกรถยนต์จอดจนเต็ม

 

แม้จะเดินออกมานอกพื้นที่มหาวิทยาลัยแล้วก็ยังพบรถจอดอยู่จนเต็มไหล่ทางไม่เว้นว่าจะเป็นทางขนานหรือทางหลัก

 

 

ผลพวงจากการจอดรถนอกเหนือจุดจอดรถที่จัดไว้ นอกจากจะดูไม่เป็นระเบียบแล้ว บางจุดยังมีการจอดบน ทางเท้าสำหรับคนพิการทางการเห็นหรือ ‘Braille Block’ ทำให้ขัดขวางการสัญจรของคนพิการทางการเห็นอีกด้วย

ถ้าหากจะป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอีก ส่วนตัวมองว่าทางมหาวิทยาลัยอาจต้องเข้มงวดในการควบคุมดูแลจุดต่างๆ ที่ไม่ได้จัดไว้เป็นที่จอดรถ รวมถึงประชาสัมพันธ์และเพิ่มจุดจอดให้เหมาะสมมากขึ้น เช่น เพิ่มจุดจอดรถบริเวณอื่นและอาจจัดให้มีรถรับส่งไปยังพื้นที่งาน

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
4
Love รักเลย
1
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
1
Angry โกรธ
0

More in:Media

Media

ชวนมองปรากฏการณ์ความนิยม Unsung heroes ทำไมเราถึงสนใจเรื่องราวของคนธรรมดาที่ไร้พลังวิเศษ

เรื่อง: พนิดา ช่างทอง วิดีโอ: พนิดา ช่างทอง, วรพร รุ่งวัฒนโสภณ และ ชวิน ชองกูเลีย เรียบเรียง: พนิดา ช่างทอง . ...

Media

ชวนคุยกับพริก ‘ผู้ช่วยผู้กำกับ’ อาชีพเบื้องหลังความสำเร็จของงาน Production

เรื่องและวีดีโอ: ภัสรา จีระภัทรกุล . อาชีพผู้ช่วยผู้กำกับคงเป็นอาชีพที่หลายคนเคยได้ยินผ่านหูมามาก แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าอาชีพนี้ต้องทำอะไรบ้าง ทักษะและประสบการณ์แบบใดที่จะหล่อหลอมให้คนคนหนึ่งสามารถควบคุมคนอื่นหลายสิบคน และพากองถ่ายไปข้างหน้าจนสรรค์สร้างสื่อมากมายให้ได้รับชม . วันนี้ Varasarn press จะพาผู้ชมไปจับเข่าคุยกับ ‘พริก อภิชญา ...

Shot By Shot

แผงขายอาหารริมทาง (เท้า) ยามเช้า แผงเสบียงสีเทาราคาย่อมเยาของชาวออฟฟิศ

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ในเช้าวันเร่งรีบของ ‘มนุษย์เงินเดือน’ เหล่ามดงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่แทบจะไม่มีแม้แต่เวลาหยุดพักกินข้าวหรือมีเงินเดือนพอจะแวะกินร้านอาหารดีๆ ได้ตลอด สิ่งที่พอจะช่วยชีวิตให้ยังคงมีเงินเก็บอยู่ ก็คงเป็นอาหารประเภทที่สามารถซื้อและพกพาไปได้ในราคาที่ไม่สูงนัก ซึ่งก็คืออาหารจากรถเข็น หาบเร่ แผงลอยอาหาร หรือที่เรียกรวมกันว่า ‘หาบเร่แผงลอย’ ...

Media

ภาพมันเบลอ หรือ (อุดมการณ์)เธอไม่ชัดเจน

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง และ ชวิน ชองกูเลีย . เมื่อวนมาถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี พื้นที่ส่วนใหญ่ก็จะถูกฉาบไปด้วยสีรุ้ง ไม่ว่าจะเป็นตึกรามบ้านช่อง ...

Media

Bangkok Pride 2024 : เรื่องที่พาเหรดปีนี้อยากบอก

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ . มองไปทางไหนก็เจอแต่สีรุ้ง!  เมื่อถนนถูกปิด เสียงดนตรีเร้าใจบรรเลงขึ้น และมวลชนสีรุ้งก็กำลังเคลื่อนตัว เป็นสัญญาณว่าพาเหรด Bangkok Pride 2024 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ผู้คนต่างแต่งกายและแต่งแต้มเรือนร่างด้วยสีรุ้งอันเป็นสัญลักษณ์ของ ...

Media

สัปเหร่อ: อาชีพผู้ปิดทองหลังพระ (เมรุ)

เรื่องและวีดีโอ: ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ‘ปู่น้อย – บุญศรี ปริวันตา’ เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มชาวบ้านของหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะ ‘สัปเหร่อ’ ประจำหมู่บ้าน ปู่น้อยคอยทำหน้าที่ส่งร่างผู้ตายครั้งสุดท้ายสู่เถ้ากระดูก มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save