Art & CultureWritings

Nobuo Uematsu นักประพันธ์ปีศาจผู้เป็นเงาเบื้องหลังซีรีส์เกม ‘Final Fantasy’

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง

ในที่สุด!! บอสก็ตายสักที”

ผมวางจอยเครื่องเกม PlayStation ลงบนพื้นก่อนที่จะชูมือขึ้นด้วยความดีใจ ด้วยระบบของเกม ‘Final Fantasy VII’ ที่ทำให้ต้องจดจ่ออยู่กับการคิดและตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา ผมเลยรู้สึกว่าการต่อสู้กับบอสตัวนี้ใช้เวลานานและสูญเสียพลังงานไปมากเหลือเกิน

ภาพประกอบจาก : https://jegged.com/Games/Final-Fantasy-VII/Walkthrough/Disc-3/41-Sephiroth.htm

ในขณะที่กำลังตื้นตันใจกับความสำเร็จของตัวเอง จอทีวีหนาเตอะที่วางอยู่ข้างหน้าก็ค่อยๆ ลดเสียงเพลงประจำตัวของบอสที่เพิ่งชนะลง ซึ่งผมก็หวังว่าสิ่งที่ขึ้นตามมาจากหน้าจอทีวีสีดำคงจะเป็นฉากจบของเกมแน่…แต่มันดันไม่ใช่แบบนั้น ดนตรีที่ลดเสียงลงถูกแทนที่ด้วยเสียงซ่าที่ค่อนข้างแสบแก้วหู ก่อนที่จะขึ้นเพลงต่อไป พร้อมกับรูปโฉมใหม่ของบอส ‘เทวทูตปีกเดียว เซฟิลอส’ (Safer Sephiroth The One-Winged Angel)

ภาพประกอบจาก : https://jegged.com/Games/Final-Fantasy-VII/Walkthrough/Disc-3/41-Sephiroth.htm

มันไม่ใช่ความกลัวที่เกิดจากรูปลักษณ์ภายนอก แต่เป็นเพราะเสียงเพลงประจำตัวของบอส และคงเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่เพลงทำให้ผมรู้สึกแบบนี้ได้ เสียงกลองที่ตีด้วยความเร็วเหมือนกำลังกดดันเรา เสียงอันแหลมคมของเครื่องเป่าที่ทิ่มแทงเข้ามาในจิตใจ และเสียงขับร้องประสานระหว่างชายกับหญิงเป็นภาษาละติน ทั้งหมดล้วนทำให้บอสตัวนี้ยิ่งใหญ่สมกับเป็นบอสสุดท้ายของเกม

https://www.youtube.com/watch?v=mYdf0yqK_Fc

นั่นเป็นเหตุการณ์แรกในชีวิตที่ทำให้ผมรู้สึก ‘กลัว’ อะไรสักอย่างจากเกม แต่มันก็สร้างความรู้สึกหลงใหลต่อเสียงดนตรีของผมให้เกิดขึ้นเช่นกัน จนผมได้รู้จักกับผู้ที่สร้างดนตรีนี้ขึ้นมา และรับรู้ได้เลยว่าเขาคือสุดยอดนักประพันธ์จริงๆ ชื่อของเขาคือ ‘โนบุโอะ อุเอมัตสึ’ (Nobuo Uematsu)  นักประพันธ์ปีศาจผู้เป็นเงาเบื้องหลังให้ซีรีส์เกมสุดยิ่งใหญ่อย่าง ‘Final Fantasy’

ภาพประกอบจาก : https://gamingbolt.com/final-fantasy-composer-nobuo-uematsu-doesnt-see-himself-doing-a-full-game-soundtrack-again

จากมือคีย์บอร์ดสู่ผู้ประพันธ์เพลงประกอบเกมชื่อดัง

โนบุโอะ อุเอมัตสึ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 1959 เขารู้สึกหลงใหลในดนตรีตั้งแต่อายุ 12 ปี จนได้มาทำอาชีพเป็นมือคีย์บอร์ดให้กับวงดนตรีสมัครเล่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จจนต้องพักงานเล่นดนตรีและไปทำงานร้านเช่าเทปเพลงแทน

ภาพประกอบจาก : https://www.mobygames.com/person/33339/nobuo-uematsu/shots/41553/

จนวันหนึ่งเพื่อนของเขาได้ชักชวนให้เข้ามาทำงานกับทางบริษัทเกมอย่าง ‘Square’ ในฐานะนักประพันธ์เพลงประกอบเกม และเขาก็ได้ประพันธ์เพลงประกอบให้กับหลากหลายเกม จนกระทั่งเขาได้ถูกเลือกให้มาเป็นผู้ประพันธ์เพลงประกอบให้กับซีรีส์เกมดังอย่าง ‘Final Fantasy’

เสียงดนตรีที่ผู้เล่น ‘Final Fantasy’ ทุกคนต้องจดจำ

ในเกม ‘Final Fantasy’ นั้น จะมีระบบที่เรียกว่า ‘ระบบเลเวล’ ซึ่งจะต้องสะสม ‘ค่าประสบการณ์’ จากการต่อสู้กับมอนสเตอร์ภายในเกมเพื่อเพิ่มเลเวลให้ตัวละครของเราแข็งแกร่งขึ้น และในจุดที่ตัวละครของเราเลเวลเพิ่มขึ้น ก็จะมีเพลงประกอบนี้ขึ้นมา

https://youtu.be/uysCSASvCxw?si=ZKb8b0gE-h6sScZy

‘Fanfare’ เป็นหนึ่งในผลงานที่อุเอมัตสึสร้างขึ้นมาในการทำ Final Fantasy ภาคแรก ด้วยจำนวนตัวโน้ตที่ถูกใช้เพียงน้อยนิด รวมถึงการวางลำดับให้ติดหูผู้ฟังได้ง่าย ส่งผลให้ Fanfare เป็นหนึ่งในผลงานที่กลายเป็นภาพจำของซีรีส์ Final Fantasy ไปโดยปริยาย

อีกผลงานที่น่าสนใจคือบทเพลงประกอบอย่าง ‘The Prelude’ ซึ่งเป็นงานที่ถูกเล่ากันว่า อุเอมัตสึประพันธ์สิ่งนี้ขึ้นมาภายในระยะเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น และแม้จะเป็นเพียงแค่การไล่เสียงของตัวโน้ตขึ้น-ลงไปมา แต่การปรับจูนเสียงให้มีความแหลมและทุ้มสลับกันไปอย่างลงตัวนั้น ทำให้เพลงประกอบนี้กลายเป็นเพลง Title ที่ทุกคนจำได้มากที่สุดในซีรีส์ของ ‘Final Fantasy’

https://youtu.be/EqxxTlkRlPg?si=CFOblI-dsK24V08N

ผู้ทำให้ ‘เทวทูตปีกเดียว’ กลายเป็นร่างที่สมบูรณ์

ผลงานที่พีคที่สุดในการทำงานเป็นนักประพันธ์เพลงประกอบเกมของอุเอมัตสึ คือผลงานที่ทำให้กับ ‘Final Fantasy VII’ เกมภาคหลักลำดับที่ 7 ของซีรีส์ กับเพลงประกอบของบอสสุดท้ายอย่าง ‘Sephiroth’ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘The Rite of Spring’ ของ Igor Stravinsky คีตกวีชาวรัสเซีย ซึ่งมีบทเพลงโด่งดังอย่าง ‘The Firebird’ และ ‘Petrushka’

ภาพประกอบจาก : https://www.liveabout.com/igor-stravinsky-4586368

อุเอมัตสึผสมผสานดนตรีคลาสสิกและร็อคแอนด์โรลในช่วงปี 1960-1970 เข้าด้วยกัน พร้อมกับการแต่งเนื้อร้องที่อ้างอิงมาจากบทเพลงอย่าง ‘Carmina Burana’ ของ Carl Orff จนเกิดเป็น ‘One-Winged Angel’ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การต่อสู้กับบอสสุดท้ายของเกมเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่และครบรสที่สุด

แม้จะเป็นปีศาจ แต่ก็ไม่อาจต้านทานเวลาได้

แม้อุเอมัตสึจะเป็นนักประพันธ์เพลงประกอบเกมที่เก่งขนาดไหน แต่ด้วยอายุก็ทำให้เขาไม่สามารถประพันธ์เพลงประกอบทั้งหมดของเกมได้ไหว (งานล่าสุดอย่าง ‘Fantasian’ เขาประพันธ์เพลงประกอบไปทั้งสิ้น 77 เพลง) 

ล่าสุดก่อนการแสดงดนตรีออร์เคสตรา ‘Merregnon : Heart of Ice’ ซึ่งเป็นงานที่เจ้าตัวรับหน้าที่เป็นผู้ประพันธ์เพลง ตัวของอุเอมัตสึให้สัมภาษณ์ว่า “ผมคิดว่าผมคงไม่มีแรงกายและแรงใจในการทำมันอีกแล้ว” โดยงานล่าสุดที่อุเอมัตสึได้ประพันธ์เพลงประกอบทั้งหมดของเกม คือเกมอย่าง ‘Fantasian’ เมื่อปี 2021 

เขาสัญญาว่าจะยังคงทำเพลงประกอบที่เป็นเพลงหลักของเกมนั้นๆ ต่อไป แต่จะให้เวลากับงาน Merregnon : Heart of Ice กับวงดนตรีของเขาอย่าง Uematsu Nobuo conTIKI มากขึ้น

ภาพประกอบจาก : https://www.konbini.com/internet/le-legendaire-nobuo-uematsu-annonce-ne-plus-avoir-la-force-de-composer-pour-un-final-fantasy/

บทบาทผู้ประพันธ์เพลงของอุเอมัตสึนั้นเป็นบทบาทที่สำคัญ ซึ่งสะท้อนจากงานที่เขาได้รังสรรค์ออกมา แม้ว่าผู้เล่นหลายคนอาจไม่รู้สึกถึงความสำคัญของเสียงดนตรีประกอบมากนัก แต่หากไม่มีเสียงดนตรีประกอบ เราอาจจะไม่รู้สึกอินหรือรู้สึกเข้าถึงอารมณ์ที่เกมนั้นจะสื่อออกมาเลยก็ได้ 

เนื่องในวันที่ 21 มีนาคม ตรงกับวันเกิดของอุเอมัตสึพอดี ทางผู้เขียนก็หวังว่าอุเอมัตสึในวัย 65 ปี จะมีความสุขกับการประพันธ์ดนตรี และยังคงรังสรรค์เพลงที่จรรโลงใจแก่เหล่าผู้เล่นเกมทั้งหลายต่อไปในอนาคต

อ้างอิง

เปิดประวัติ Final Fantasy ปัจฉิมา แฟนตาซี | Game History [First Half]. (3 ธันวาคม 2566).
          Gamer Inside. สืบค้นจาก https://youtu.be/ckMeT1vhLXc?si=HxMehlMvwngQGFkN

Final Fantasy Composer Nobuo Uematsu Doesn’t See Himself Doing a Full Game Soundtrack
          Again. (27 กุมภาพันธ์ 2567). gamingbolt. สืบค้นจาก https://gamingbolt.com/final-fantasy-composer-nobuo-uematsu-doesnt-see-himself-doing-a-full-game-soundtrack-again

Nobuo Uematsu Composer ดนตรีประกอบเกมผู้ร่วมสร้างโลกให้กับ Final Fantasy.
        (15 มิถุนายน 2566). Very cat sound. สืบค้นจาก https://verycatsound.com/blog-nobuo-uematsu-life/

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0
Articles

เรื่องราวของผีที่มีมากกว่าความน่ากลัวโดย ‘Mike Flanagan’

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ กิจกรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ในช่วงเทศกาลฮาโลวีนก็คงหนีไม่พ้นการแต่งหน้าแต่งตัวเป็นผี ไปยืนเคาะประตูหน้าบ้านคนอื่น พร้อมตะโกนคำว่า Trick or Treat! เพื่อขอขนมหวานแสนอร่อย แต่นี่คือประเทศไทย ดินแดนแห่งเวทมนตร์ หากเดินไปเคาะประตูบ้านคนอื่นยามค่ำคืนก็คงจะได้ไปเล่นกับตำรวจ ไม่ก็เจ้าที่แทน ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็มีเพียงแค่การดูหนังมาราธอนจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ...

Articles

Blackstar : คำร่ำลาจาก (เหล่า) มนุษย์ตาสองสีผู้มาจากต่างดาว

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ‘ความตาย’ เป็นสิ่งที่เราจะต้องพบในสักวัน ทั้งของครอบครัว เพื่อน หรือแม้แต่ความตายของตัวเองที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาทุกวินาที โดยเราไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามันจะมาถึงตัวของเราเมื่อไหร่ จนอาจกลายเป็นความหวาดกลัวที่ทำให้ไม่อยากจะใช้ชีวิตบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินแห่งนี้อีกต่อไป แต่ไม่ใช่กับชายคนหนึ่ง ชายผู้แม้ความตายจะมาเคาะประตูหน้าห้อง ...

Articles

The substance: การฉายซ้ำของภาพยนตร์ที่ว่าด้วยการติดหล่มความงาม มองข้ามความจริง และ Ageism ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

เรื่อง : ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร “You were amazing” “เธอ ‘เคย’ ยอดเยี่ยม” คือคำเขียนในการ์ดที่ถูกแนบมาพร้อมดอกไม้ช่อโต ...

Writings

จดหมาย 3 ฉบับถึงงานหนังสือ

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง, ชวิน ชองกูเลีย และ ศิรประภา จารุจิตร จดหมาย 3 ฉบับถึงงานหนังสือ คำนำ งานหนังสือ ...

Articles

Look Back: มองย้อนไป…กับหัวใจที่ต้องเดินหน้าต่อ

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ Spoiler Alert: บทความชิ้นนี้มีการสปอยล์เนื้อหาของ ‘Look Back’ “ถ้าตอนนั้นทำอีกแบบหนึ่ง มันจะเป็นยังไงนะ?” ...

Articles

เราจำเป็นต้องร้องไห้เมื่อมีคนตายไหม? ชวนสำรวจความไร้แก่นสารของชีวิตผ่านหนังสือ ‘คนนอก’

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ *เนื้อหาต่อไปนี้มีการสปอยล์* “วันนี้สินะที่แม่ตาย หรือว่าเมื่อวานนี้ฉันก็ไม่รู้แน่” ประโยคเปิดของหนังสือ ‘คนนอก’ จากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส ‘L’Étranger’ ได้รับรางวัลโนเบลใน ค.ศ. 1957 เขียนโดย ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save