MediaShot By ShotSocialWritings

เพราะธรรมศาสตร์ (แฟร์) สอนให้ฉันรักสัตว์?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์

ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย, วรพร รุ่งวัฒนโสภณ และ สิทธิเดช สายพัทลุง

หลายคนคงทราบกันว่าช่วงวันที่ 18 – 29 มีนาคมที่ผ่านมา มีการจัดงาน ธรรมศาสตร์แฟร์ (Thammasat Fair) เป็นครั้งแรก ซึ่งรวมร้านค้าไว้อย่างมากมายในอาณาจักรทุ่งรังสิตอันไกลโพ้นแห่งนี้ ทั้งร้านอาหาร เสื้อผ้า ของใช้ และเครื่องเล่น

 ทว่าท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุข กลับมี ‘สินค้า’ ชนิดหนึ่งที่ดูจะไม่ใช่แค่สิ่งของทั่วไปที่ไร้ซึ่งชีวิต นั่นคือ ‘สัตว์เลี้ยง’

สินค้าประเภทสัตว์เลี้ยงในงานมีทั้ง สุนัข แมว ปลา นก ฯลฯ รวมไปถึง สัตว์ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ (Exotic Pet) อย่าง กบ เต่า ยิ่งกว่านั้นยังมีบริการเสริมอื่นๆ นอกจากการซื้อไปเลี้ยง อย่างการจ่ายเงินเพื่อให้อาหารหรือถ่ายรูปกับสัตว์ เช่น แพะ หมูแคระ งู แพรี่ด็อก ฯลฯ ราวกับว่าทุ่งรังสิตแห่งนี้ได้ถูกเนรมิตให้เป็นสวนสัตว์

เมื่อพิจารณาสภาพแวดล้อมที่แทบจะไม่มีแม้กระทั่งพื้นที่ให้หยุดยืน เรียกได้ว่าต้องเดินแบบไหล่ชนไหล่ รวมถึงอุณหภูมิที่พุ่งสูงชวนให้อารมณ์ร้อนตาม การนำสัตว์เลี้ยงที่มีเงื่อนไขมากมายในการดูแลมายังสถานที่แบบนี้ ก็ทำให้สงสัยว่าอาจจะไม่เหมาะสมหรือเปล่า

เพื่อหาคำตอบแล้วสวัสดิภาพของสัตว์ควรจะเป็นยังไง?

กองบรรณาธิการ Varasarn Press จึงติดต่อทำการสัมภาษณ์ ‘ชุติกาญจน์ กิตติสุนทรพิศาล’ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับประเด็นนี้

มีความคิดเห็นอย่างไรต่อกรณีการขายสัตว์เลี้ยงในงานธรรมศาสตร์แฟร์ ครั้งที่ 1 ?

อันนี้พูดโดยอ้างอิงตามหลัก ‘Animal Welfare’ คือ สัตว์ต้องมีสวัสดิภาพตาม ‘หลัก 5 Freedoms’ นะ 

คือหากดูจากในรูป สัตว์อาจจะได้รับน้ำและอาหารไม่เพียงพอเพราะจุดวางถ้วยน้ำอยู่นอกกรง ด้วยอากาศที่ร้อนก็ยิ่งควรจะให้เขาได้กินน้ำ ข้อสอง อย่างที่บอกว่าอากาศร้อน ก็อาจทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว สุนัขสามารถอยู่ในกรงได้นะ แต่ควรมีพื้นที่ให้อย่างเหมาะสม และการไม่อยู่ในกรงคือตัวเลือกที่ดีที่สุด 

ข้อสาม การที่เขาอยู่ในกรงรวมกันหลายตัวอย่างแออัดมีโอกาสที่จะติดโรคติดต่อสูง ยิ่งเป็นลูกสุนัขยิ่งต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการดูแล ยกตัวอย่างโรคที่ติดกันเยอะในพื้นที่ที่มีการขายสัตว์เลี้ยง ก็เช่น Canine Parvovirus (CPV) ที่ทำให้ลูกสุนัขท้องเสียอย่างรุนแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ข้อสี่ อย่างที่บอกว่าอากาศน่าจะร้อน รวมทั้งอยู่กันอย่างแออัด มีความเป็นไปได้ที่เขาจะเครียด และสุดท้าย ข้อที่ห้า จากที่เห็นในรูป เขานอนซึมและไม่ค่อยร่าเริง อาจจะไม่ได้แสดงพฤติกรรมตามปกติของสุนัขขนาดนั้น ปกติเขาจะต้องเดิน ต้องวิ่ง ร่าเริง ลองนึกภาพสุนัขที่เดินเล่นตามสนามก็ได้ คือเขาควรแสดงออกตามพฤติกรรมอย่างเหมาะสม

ผู้เขียนได้ทำการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับหลัก 5 Freedoms ที่สัตว์ควรมีตามหลัก Animal Welfare มีดังนี้

1. ปราศจากความหิวโหย (Freedom from hunger and thirst)

2. ไม่รู้สึกอึดอัด (Freedom from discomfort)

3. ปราศจากความเจ็บปวดและโรคภัย (Freedom from pain, injury and disease)

4. ปราศจากความกลัวและความเครียด (Freedom from fear and distress)

5. แสดงออกถึงพฤติกรรมที่ควรจะเป็น (Freedom to express normal behavior)

สัตว์ที่ขายตามงานแฟร์หรือตลาดนัด กับสัตว์ที่ขายในห้างสรรพสินค้า มีสวัสดิภาพต่างกันหรือไม่?

คิดว่าน่าจะต่างกันเรื่องสภาพอากาศ อย่างน้อยในห้างน้องหมาอาจจะสบายตัวขึ้นมานิดนึง แต่ว่าสภาพแวดล้อมอย่างอื่นจะคล้ายคลึงกันหมดเลย มีโอกาสเกิดความเครียดและโรคติดต่อมีเช่นเดิม

เวลามีคนมุงดูเป็นจำนวนมาก จะทำให้สุนัขเครียดไหม?

แล้วแต่ลักษณะนิสัยของบางตัวเลย บางตัวก็เครียดและไม่อยากเจอคนเยอะ หรือบางตัวก็อาจจะโอเคกับการได้เจอคนเยอะ

หากจะขายสัตว์เลี้ยงในงานแบบนี้ พอจะมีวิธีจัดการให้สัตว์เลี้ยงมีสวัสดิภาพดีขึ้นไหม?

คิดว่าในทางปฏิบัติเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะนี่ถือเป็นธุรกิจที่ต้องมีการทำกำไรระดับหนึ่ง การจะทำให้ตรงตามหลักต้องใช้ต้นทุนสูงพอสมควร หากจะทำให้สวัสดิภาพสัตว์ดีแบบที่สุด อาจจะต้องเพิ่มจุดระบายความร้อนให้แก่สัตว์ เป็นพัดลมหรือแอร์เคลื่อนที่ เพิ่มขนาดกรงหรือพื้นที่ต่อตัวสัตว์ให้มากขึ้นเพื่อลดความเครียด นอกจากนี้ควรเพิ่มจุดวางน้ำและอาหารให้มากขึ้น รวมถึงหมั่นทำความสะอาดกรงเพื่อลดโอกาสในการเกิดโรค

ถ้าอยากเลี้ยงสัตว์ควรทำยังไง?

ถ้าใครต้องการน้องๆ ตรงตามสายพันธุ์ก็อาจจะมีการติดต่อซื้อจากฟาร์มโดยตรงเลยก็ได้ นอกจากนี้ การรับมาเลี้ยงก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ อย่างที่คณะสัตว-แพทยศาสตร์ จุฬาฯ ก็จะมี ‘ชมรมจรจัด’ หรือ ‘ชมรมนิสิตสัตวแพทย์จุฬาฯ เพื่อสวัสดิภาพสัตว์’ ที่มีจุดประสงค์ในการควบคุมประชากรสัตว์จรจัด โดยการส่งน้องหมาและน้องแมวจรไปทำหมันยังคลินิกที่ชมรมได้ติดต่อไว้ ในบางครั้งชมรมจะรับน้องๆ เข้ามารอหาบ้าน หากใครสนใจน้องหมาน้องแมวก็สามารถสามารถติดตามได้ทางเพจของเราซึ่งจะมี 2 ช่องทางหลักคือ facebook : JohnJud และ Instagram : johnjud_cu 

เมื่อพิจารณาถึงเงื่อนไขที่สัตว์ต้องการแล้ว เห็นได้ชัดว่าการนำสัตว์เลี้ยงไปวางขายในงานแฟร์หรือตลาดนัดดูจะไม่เหมาะสมนัก ด้วยทั้งสภาพอากาศร้อนและความแออัดที่เสี่ยงต่อการติดโรค 

สุดท้ายแล้วเราอาจจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองแล้วว่า

เรามีความสุขกับการเห็นเหล่าสัตว์เลี้ยงที่เปรียบเสมือนครอบครัวที่เรารักในสภาพแบบนั้นจริงหรือ?

 
บรรณานุกรม

วิศิษฎ์ อาศัยธรรมกุล. (2566). หลักสวัสดิภาพสัตว์…ที่สัตวแพทย์ควรเข้าใจ. สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 43, 21.

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
3
Love รักเลย
2
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
9
Angry โกรธ
0

More in:Media

Shot By Shot

แผงขายอาหารริมทาง (เท้า) ยามเช้า แผงเสบียงสีเทาราคาย่อมเยาของชาวออฟฟิศ

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ในเช้าวันเร่งรีบของ ‘มนุษย์เงินเดือน’ เหล่ามดงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่แทบจะไม่มีแม้แต่เวลาหยุดพักกินข้าวหรือมีเงินเดือนพอจะแวะกินร้านอาหารดีๆ ได้ตลอด สิ่งที่พอจะช่วยชีวิตให้ยังคงมีเงินเก็บอยู่ ก็คงเป็นอาหารประเภทที่สามารถซื้อและพกพาไปได้ในราคาที่ไม่สูงนัก ซึ่งก็คืออาหารจากรถเข็น หาบเร่ แผงลอยอาหาร หรือที่เรียกรวมกันว่า ‘หาบเร่แผงลอย’ ...

Media

ภาพมันเบลอ หรือ (อุดมการณ์)เธอไม่ชัดเจน

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง และชวิน ชองกูเลีย . เมื่อวนมาถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี พื้นที่ส่วนใหญ่ก็จะถูกฉาบไปด้วยสีรุ้ง ไม่ว่าจะเป็นตึกรามบ้านช่อง ผู้คน ...

Media

Bangkok Pride 2024 : เรื่องที่พาเหรดปีนี้อยากบอก

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ . มองไปทางไหนก็เจอแต่สีรุ้ง!  เมื่อถนนถูกปิด เสียงดนตรีเร้าใจบรรเลงขึ้น และมวลชนสีรุ้งก็กำลังเคลื่อนตัว เป็นสัญญาณว่าพาเหรด Bangkok Pride 2024 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ผู้คนต่างแต่งกายและแต่งแต้มเรือนร่างด้วยสีรุ้งอันเป็นสัญลักษณ์ของ ...

Media

สัปเหร่อ: อาชีพผู้ปิดทองหลังพระ (เมรุ)

เรื่อง: ปิยะพร สาวิสิทธิ์ วีดิโอและตัดต่อ: ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ‘ปู่น้อย – บุญศรี ปริวันตา’ เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มชาวบ้านของหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะ ‘สัปเหร่อ’ ประจำหมู่บ้าน  ...

chinese opera 2024 Writings

ส่องหลังม่านการแสดงงิ้ว โลกหลังเวทีของเหล่า ‘คนแปลกหน้า’

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ นอกจากอากาศที่ร้อนระอุในเดือนเมษายน และต้นข้าวในท้องนาริมถนนที่ถูกเก็บเกี่ยว การเดินทางกลับบ้านในช่วงวันหยุดยาวครั้งนี้ มีสิ่งหนึ่งที่ฉันตั้งตารอ  . ‘ศาลเจ้าแม่ทับทิม’ ริมแม่น้ำบางปะกงได้รับการบูรณะในปี 2560 และในทุกๆ ปี ศาลเจ้าจะจัดการแสดงงิ้ว ...

Writings

When the party’s over, what do we need to recover? งานธรรมศาสตร์แฟร์ ทิ้งปัญหาอะไรไว้ให้เราบ้าง

เรื่องและภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง “ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ” คำพูดที่มีความหมายว่า แม้จะเจออะไรที่แย่ขนาดไหน แต่หลังจากที่มันผ่านไป ก็จะมีสิ่งดีตามมาเสมอแต่สำหรับงานธรรมศาสตร์แฟร์ (Thammasat Fair) เหมือนว่าจะไม่ใช่แบบนั้น งานธรรมศาสตร์แฟร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save