MediaShot By ShotWritings

When the party’s over, what do we need to recover? งานธรรมศาสตร์แฟร์ ทิ้งปัญหาอะไรไว้ให้เราบ้าง

เรื่องและภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง

“ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ”

คำพูดที่มีความหมายว่า แม้จะเจออะไรที่แย่ขนาดไหน แต่หลังจากที่มันผ่านไป ก็จะมีสิ่งดีตามมาเสมอ
แต่สำหรับงานธรรมศาสตร์แฟร์ (Thammasat Fair) เหมือนว่าจะไม่ใช่แบบนั้น

งานธรรมศาสตร์แฟร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม – 29 มีนาคมที่ผ่านมา หากใครเคยเข้าไปเดินในงานสักครั้งก็คงจะทราบว่า งานนี้ให้ความรู้สึกไม่ต่างกับการเดินตลาดนัด มีร้านขายของ ขายอาหารมากมาย (ที่ไม่ค่อยจะหลากหลายเท่าไร) ซึ่งพอเป็นงานแบบนี้ สิ่งที่เกิดตามมาก็คงหนีไม่พ้น ‘ขยะ’ จำนวนมหาศาล

แน่นอนว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นทั้งมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าและ ‘ผู้เคร่งครัด’ ในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGs ก็คงต้องมีมาตราการจัดการขยะที่เกิดจากงานในพื้นที่ของตัวเองไว้อยู่แล้ว…แต่นั่นมันเพียงพอหรือยัง ?

จากข้อมูลเบื้องต้นที่ได้มาจากคนรู้จักผู้ทำงานในส่วนนี้ เราทราบว่าก่อนการจัดงานธรรมศาสตร์แฟร์มีการวางแผนจุดทิ้งขยะไว้ทั้งหมด 13 จุดทั่วพื้นที่งาน โดยมีการแยกถังทิ้ง และมีเจ้าหน้าที่ประจำการเพื่อเปลี่ยนถุงขยะเมื่อเต็มอยู่เสมอ แต่ด้วยผลตอบรับของผู้คนที่ล้นหลาม ทำให้ต่อมาต้องเพิ่มจุดทิ้งขยะเป็นทั้งหมด 17 จุด

เมื่อหมดวัน ขยะทั้งหมดจะถูกนำไปรวมที่จุดพักขยะ ที่มีการเตรียมไว้ประมาณ 5-6 จุด เช่นบริเวณหลัง Class Cafe ตรงเชียงรากหนึ่ง หรือข้างลานพญานาค เป็นต้น เพื่อรอให้รถขยะนำไปจัดการต่อที่โรงพักขยะของทางมหาวิทยาลัย ก่อนจะนำส่งให้กับทางเทศบาลต่อไป 

หากอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะคิดว่า “ปกตินี่นา ก็ดูไม่มีปัญหาอะไร” ซึ่งคิดแบบนั้นก็ไม่ผิด เพราะปัญหามันไม่ได้เกิดระหว่างงาน แต่เกิดหลังจากนี้ต่างหาก…

ปัญหาแรกที่เกิดคือ ‘ขยะล้นโรงพักขยะ’ แน่นอนอยู่แล้วว่างานแฟร์แบบนี้จะสร้างขยะระดับที่สามารถทำให้ล้นโรงพักขยะได้ และมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ

เมื่อขยะล้น โรงพักขยะไม่สามารถจัดการขยะได้ทัน ส่งผลให้การส่งต่อขยะจากโรงพักขยะไปเทศบาลล่าช้า ในขณะที่งานก็กำลังสร้างขยะจำนวนมหาศาลขึ้นมาจ่ออย่างต่อเนื่องทุกวัน ส่งผลให้ระหว่างวันมีขยะที่ไม่สามารถถ่ายเข้าโรงพักขยะได้ และจะนอนกองกันอยู่ที่จุดพักขยะ สภาพแวดล้อมจึงไม่น่าอภิรมย์สุดๆ

อย่างต่อมาคือ ‘สภาพแวดล้อม’ โดยในพื้นที่ของร้านขายอาหารนั้น มีหลายจุดมากที่ตั้งอยู่ใกล้บ่อน้ำและเมื่อมีขยะที่ไม่ทราบที่มาว่าลอยมาตกได้อย่างไร หรืออาจเป็นความละเลยของผู้ร่วมงาน ส่งผลให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นตลอดเวลา ด้วยความที่เป็นบ่อน้ำที่เป็นลักษณะปิด จึงจำเป็นต้องนำน้ำที่เน่าเสียออกและถ่ายน้ำใหม่ลงไปแทน

นอกจากนี้ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อนักศึกษามากอีกอย่าง ก็คงเป็นทางเดินที่เต็มไปด้วยคราบของขยะเปียกที่ถูกหมักหมมจนเป็นรอย ซึ่งหากเดินไปเหยียบก็อาจจะรู้สึกแขยงเท้าและทำให้พื้นรองเท้าเหนียวนิดหน่อย (ไม่หน่อย)

และหากรวมกลิ่นของขยะเปียกเข้ากับพื้นดินที่เต็มไปด้วยของเสียจากขยะหมักหมม ก็จะได้กลิ่นเหม็นที่อาจทำให้ต้องกลั้นหายใจโดยไม่รู้ตัว

แต่ถึงอย่างนั้น ก็ทราบมาว่าจะมีการจัดการทำความสะอาดอย่างแน่นอน และต้องมารอดูกันอีกทีว่าทางเดินเท้าจะกลับมาสะอาดและน่าเดินเหมือนเดิมได้หรือไม่

นั่นคือปัญหาสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นผลกระทบจากงานธรรมศาสตร์แฟร์ ทั้งนี้ แม้จะค่อนข้างมั่นใจว่าขยะจะลดเพราะงานจบแล้ว และปัญหาความสกปรกน่าจะได้รับการแก้ไข  แต่ก็ยังคงเกิดคำถามว่า “ถ้าแก้ปัญหาได้ ทำไมถึงป้องกันปัญหาไม่ได้” เพราะถ้าสามารถดูแลไม่ให้ขยะถูกทิ้งลงน้ำได้ หรือจัดการขยะดีจนไม่เกิดคราบสกปรกบนทางเดินตั้งแต่ต้น เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งแก้ปัญหา และรอให้มันกลับสู่สภาพเดิม

ก็หวังว่าการจัดงานอื่นใดในอนาคตของมหาวิทยาลัยจะมีแผนการและมาตรการการจัดการกับปัญหาขยะที่ดีกว่านี้ นักศึกษาและสิ่งแวดล้อมจะได้ไม่ต้องมารับผลกระทบอะไรแบบนี้อีก

อย่างน้อยที่สุด จะได้สามารถใช้คำว่า ‘ผู้เคร่งครัด’ ใน SDGs ได้อย่างเต็มอก ไม่รู้สึกกระดากปากเวลาที่พูดออกไป 🙂

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Media

Writings

เพราะธรรมศาสตร์ (แฟร์) สอนให้ฉันรักสัตว์?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย, วรพร รุ่งวัฒนโสภณ และ สิทธิเดช สายพัทลุง หลายคนคงทราบกันว่าช่วงวันที่ 18 ...

Shot By Shot

Finding Braille Block ธรรมศาสตร์แฟร์กับเบรลล์บล็อกที่หายไป

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ระหว่างทางเดินจากประตูเชียงราก 1 เข้าไปยังงานแฟร์ครั้งแรกของมหาวิทยาลัยรัฐชื่อดังย่านรังสิต ปรากฏเส้นทางของแผ่นกระเบื้องจัตุรัสสีเหลืองกว้างราว 30 ซม. วางต่อกันยาวไปตามทางเท้า บ้างเป็นแผ่นที่สมบูรณ์ บ้างก็เป็นแผ่นที่แตกหัก ก่อนเส้นทางจะขาดหายไปอย่างไร้เหตุผล ทั้งที่ข้างหน้าไม่ใช่ทั้งทางม้าลาย ...

Shot By Shot

มีงาน มีที่จอดรถ แต่ไม่พอ หรือมักง่าย? ว่าด้วย ม.ธรรมศาสตร์ และที่จอดรถเมื่อมี Event

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ระหว่างวันที่ 18 – 29 มีนาคม 2567 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตมีการจัดงาน ‘ธรรมศาสตร์แฟร์’ เป็นครั้งแรก ภายใต้คอนเซ็ปต์ ...

Media

A walk at night in Thammasat Rangsit (The Romantic Campus)

เขียนและภาพ สมิตา พงษ์ไพบูลย์ เพราะธรรมศาสตร์เป็นมหา(วิทยา)ลัยที่โรแมนติก การเดินเล่นในตอนกลางคืนช่วงฤดูฝน แทนที่จะนอนอยู่ห้อง ไปเจอเพื่อน หรือแม้แต่ตั้งใจอ่านหนังสือ ดูจะเป็นตัวเลือกที่ไม่แย่(นัก) ช่วงกลางวันไม่น่าอยู่นาน ทั้งแดดแรง รถติด และคนเยอะ  คนที่เรียนจบแล้วอาจเคยคุ้นในบางจุด แล้วคนที่ยังเรียนอยู่คุ้นเคยจุดไหนในนี้บ้าง ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save