NewsSocietyWritings

รองอธิการฯ ศูนย์รังสิตเผย ผู้ร้ายแก๊งตบทรัพย์ถูกออกหมายเรียกแล้ว พร้อมเพิ่มรปภ.ในพื้นที่เพื่อป้องกันเหตุในอนาคต

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง

ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์

รองอธิการฯ ศูนย์รังสิตเผย ตำรวจออกหมายเรียกผู้ร้ายแก๊งตบทรัพย์แล้ว หลังกล้องวงจรปิดจับภาพผู้ก่อเหตุไว้ได้ พร้อมเพิ่มรปภ.ชุดใหม่ภายใต้การดูแลของกองบริหารศูนย์รังสิตโดยตรงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่นอกเหนือการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ

จากกรณีมิจฉาชีพขี่รถจักรยานยนต์ตามรถยนต์ของหนึ่งในอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่ออ้างว่าผู้เสียหายขับรถเบียดจนเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บที่บริเวณขา ก่อนที่จะร้องเรียกค่ารักษาพยาบาลแบบไม่ระบุจำนวนเงิน แต่เมื่อผู้เสียหายเสนอจำนวนเงินที่ 500 บาท ทางมิจฉาชีพก็ขอเพิ่มจำนวนเงินเป็น 800-900 บาทแทน ก่อนที่ผู้เสียหายจะโอนเงินเข้าบัญชีของมิจฉาชีพที่ชื่อว่า ‘นายภฤศ สมทรัพย์’ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 500 บาท โดยเหตุเกิดที่บริเวณอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ 3 (SC3) มธ. ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม เวลาประมาณ 13:00-13:35 น. ที่ผ่านมานั้น

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา ธีร เจียศิริพงษ์กุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิต มธ. ให้สัมภาษณ์ว่า ในตอนนี้สามารถระบุตัวตนของผู้ก่อเหตุได้แล้ว โดยทางตำรวจได้ออกหมายเรียกและจะดำเนินการติดตามจับกุมต่อไป รวมถึงระบุเพิ่มเติมว่า ผู้ก่อเหตุไม่ใช่นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย “เราเห็นพฤติกรรมเขาตั้งแต่บริเวณ Main Stadium แล้ว โดยเขาพยายามที่จะไปตบทรัพย์แถวนั้นแต่เหมือนจะไม่สำเร็จ เลยเลือกขี่รถจักรยานยนต์ไปที่อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ 3 (SC3) แล้วก็ไปทำสำเร็จที่นั่น”

ธีร กล่าวว่า สำหรับการป้องกันในอนาคต ทางกองบริหารศูนย์รังสิตกำลังจะเพิ่มพนักงานรักษาความปลอดภัยชุดใหม่ที่อยู่ภายใต้กองบริหารศูนย์รังสิต เพื่อเข้ามาดูแลในพื้นที่มหาวิทยาลัยที่อยู่นอกเหนือการดูแลของพนักงานรักษาความปลอดภัยภายใต้สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นทำงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

“ทางเราเคยคุยกับทางบริษัทรักษาความปลอดภัยไว้แล้วว่าเราอยากได้กล้องวงจรปิดที่มี AI ในการตรวจจับหน้า สมมุติว่าเราเอาใบหน้าของคนที่มีคดีทั้งหลายในลิสต์ของตำรวจใส่เข้าไป เวลากล้องพวกนี้มันจับภาพคนเหล่านี้ได้มันจะแจ้งเตือนทันที” ธีรกล่าวและว่าไม่สามารถใช้ AI นี้ได้กับทุกกล้องวงจรปิดภายในมหาวิทยาลัย แต่อาจเริ่มใช้งานตามพื้นที่ที่เป็นจุดสำคัญๆ ก่อน

ธีรกล่าวอีกว่า นอกจากการเพิ่มปริมาณยามและติดตั้งกล้องวงจรปิด AI แล้วนั้น ในอนาคตจะมีการติดตั้งไฟส่องสว่างตามพื้นที่ภายในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อป้องกันการเกิดเหตุล่วงละเมิดทางเพศด้วย แต่อาจไม่สามารถเพิ่มกล้องวงจรปิดภายนอกมหาวิทยาลัยได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของภาคส่วนอื่น เช่น ทางหลวงชนบทหรือกรมทางหลวง “เวลากลางค่ำกลางคืน ในมหาวิทยาลัยมันไม่สามารถทำทุกพื้นที่ให้สว่างได้ทั้งหมด จุดไหนที่มืดเกินไปก็อยากให้พยายามเลี่ยงพื้นที่เหล่านั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวนักศึกษาเอง”

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

อ.รัฐศาสตร์ มธ. ชี้ ปัญหาการแจ้งเตือนภัยเกิดจากระบบราชการไทย รัฐต้องกำหนดบทบาทให้แต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจน

เรื่อง : จุฑาภัทร ทิวทอง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ชี้ปัญหาการแจ้งเตือนภัยเกิดจากความไม่เป็นเอกภาพกันของหน่วยงานรัฐ แนะรัฐบาล การเตรียมพร้อม แจ้งเตือนและรับมือภัยพิบัติต้องแก้ไขด้วยการกำหนดบทบาทและภารกิจที่ชัดเจนให้แต่ละหน่วยงาน เพื่อสร้างความชัดเจนในระบบเตือนภัยแห่งชาติ ...

News

อาจารย์วารสารฯ มธ. คาดคนดังระวังการรับงานมากขึ้น-แนะ 4 วิธีตรวจสอบก่อนเป็นพรีเซนเตอร์

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ และ วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร อาจารย​์วารสารศาสตร์ฯ มธ. คาดคนดังจะระวังการรับงานพรีเซนเตอร์มากขึ้น หลังกรณี ...

News

ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ชี้คดีตากใบขาดอายุความส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ 

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ชี้คดีตากใบขาดอายุความส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เพราะประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ด้านที่ปรึกษากม. มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เสนอรัฐฯ ต้องนำกรณีตากใบมาถอดบทเรียน ...

News

ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์คาด นโยบายเพิ่มจำนวนเด็กอาจไม่ได้ตามเป้า หากประกันสังคมไม่เอื้อให้คนท้องทำโอที

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งให้บริการสายด่วน 1663 ปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม คาดนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ เพื่อเพิ่มจำนวนการเกิด อาจไม่ถึง ...

News

เครือข่ายธุรกิจอาหารทะเลยั่งยืนเผย ประมงอวนลาก ทำลายนิเวศทะเล แต่หยุดไม่ได้เพราะธุรกิจอาหารสัตว์

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร กก.ผจก.บริษัทปลาออร์แกนิกฯ ซึ่งทำเครือข่ายธุรกิจอาหารทะเลยั่งยืน ชี้ประมงอวนลากกระทบระบบนิเวศทางทะเล เหตุธุรกิจอาหารสัตว์รับซื้อปลาเป็ดจากประมงอวนลาก แนะผู้บริโภคเลือกซื้อหมูไก่ที่เลี้ยงระบบปล่อยอิสระ สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ ...

editorial

Editor’s Note : ‘ตากใบ’ บทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาล 

ในวันที่ 25 ตุลาคมที่จะถึงนี้ จะเป็นวันครบรอบ 20 ปีของ ‘คดีตากใบ’ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ที่รัฐกระทำต่อชาวตากใบ จ.นราธิวาส อย่างไร้มนุษยธรรมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 85 ราย ทั้งจากช่วงสลายการชุมนุมและช่วงขนย้ายผู้ร่วมชุมนุม หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อหาผู้กระทำผิด แต่การดำเนินการทางกฎหมายยังเดินทางไปไม่ถึงขั้นที่สามารถลงโทษใครได้ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save