SocietyWritings

ค่าใช้จ่ายแฝงของการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

เรื่อง : ธนัชชา สิริคุณานันทน์กุล

ภาพประกอบ : ปาณิสรา ช้างพลาย

ว่ากันว่า การก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยถือเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการใช้ชีวิตเป็นผู้ใหญ่อย่างแท้จริง เพราะเราจะได้ออกมาใช้ชีวิตด้วยตัวเอง ได้รับเงินเป็นรายเดือนและวางแผนบริหารจัดการเงินนั้นด้วยตัวเอง

ค่าใช้จ่ายในการเรียน เช่น ค่าเทอม ค่าอาหาร อุปกรณ์การเรียน ค่าที่พัก หรือค่าเดินทาง เราต่างทราบกันดีว่าเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไปที่จำเป็นต้องจ่ายเมื่อก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย แต่มองลงไปให้ลึกอีกหน่อยจะเห็นว่ายังมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่นที่ไม่เคยถูกพูดถึง และไม่เคยคิดว่าจำเป็นต้องมี จนกระทั่งได้เข้ามาเรียนเองถึงรู้ว่ามีอยู่ด้วย

เราอยากชวนสำรวจตัวอย่างค่าใช้จ่ายแฝงที่ซ่อนอยู่ในการศึกษา จากตัวแทน 4 สายคณะในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ สายสังคมศาสตร์ สายมนุษยศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ/สุขศาสตร์ ว่าเมื่อเข้ามาเรียนมีค่าใช้จ่ายใดซ่อนอยู่ และต้อง ‘พร้อมจ่าย’ หลังเลือกเข้ามาเรียนบ้าง

เริ่มด้วยสายสังคมศาสตร์ ธนกร ไทยราช (โอปอ) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์ เล่าว่า นอกจากค่าเทอมแล้ว ในปีสูงๆ จะมีภาษีสังคม หรือรายจ่ายเพื่อการเข้าสังคม เช่น ค่ากินเลี้ยงของคณะ ค่าโต๊ะ (กิจกรรมคล้ายสายรหัส) ที่จะช่วยให้ได้เข้าสังคม พูดคุย และทำความรู้จักกับรุ่นพี่ รุ่นน้อง หรือเพื่อนๆ ประมาณ 300-500 บาท แล้วแต่ความสมัครใจเข้าร่วม

ส่วนรายจ่ายหลักๆ จะเป็นค่าหนังสือ เพราะหนังสือในห้องสมุดมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้ต้องเสียเงินซื้อหนังสือเองอยู่หลายครั้ง “ตลอดระยะเวลาที่เรียนมา 3 ปี เสียค่าหนังสือไปประมาณ 3,000-5,000 บาทได้” โอปอเสริมว่า หนังสือที่จำเป็นต้องซื้อจริงๆ คือหนังสือประมวลกฎหมายทั้งหลาย เช่น แพ่ง อาญา วิธีพิจารณาความแพ่ง และหนังสือคำอธิบายตัวบทกฎหมาย ส่วนหนังสืออื่นๆ บางเล่มสามารถยืมที่ห้องสมุดได้ (ถ้ายืมทัน)

เช่นเดียวกันกับสายมนุษยศาสตร์ พิชามญชุ์ พิสิฐศุภโชคกุล (มาย) นักศึกษาปี 4 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส เองก็ต้องซื้อหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-books) สำหรับเรียนในรายวิชาบังคับ อย่างวิชารหัส EG (วิชาภาษาอังกฤษของคณะศิลปศาสตร์) ประมาณ 800 บาทต่อเทอม โดยนักศึกษาทุกคนต้องซื้อไฟล์ e-books ในแอปพลิเคชัน SE-ED “มันเป็นไฟล์ที่ไม่สามารถส่งต่อได้ เลยต้องซื้อไว้เป็นของตัวเองกันทุกคน” ส่วนหนังสือคู่กายสุดคลาสสิกของคนเรียนภาษาอย่างพจนานุกรม ไม่ได้มีการบังคับซื้อ แต่ถ้ามีก็จะสามารถนำเข้าห้องสอบได้ จึงขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน

นอกจากนี้ยังมีค่าสัมมนาคณะ หรือ workshop วิชาเลือกฝึกภาคปฏิบัติของสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพที่จำเป็นสำหรับการต่อยอดอาชีพของสายภาษา รายวิชาละ 150 บาท และการรวมเงินกันเพื่อจัดกิจกรรมรับน้องให้กับรุ่นน้องอีกคนละ 300 บาท

ในส่วนของสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นราวิชญ์ เอียดช่วย (อ๊าก) นักศึกษาปี 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสถิติประยุกต์ เล่าว่า ช่วงปี 1 จะมีกิจกรรมต้อนรับรุ่นน้องที่รุ่นพี่จัดให้ เป็นค่ายนอกสถานที่แบบไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่จะมีเสื้อโต๊ะและเสื้อสาขาออกมาขายในราคาตัวละประมาณ 500-700 บาท คาดว่าเพื่อใช้เป็นต้นทุนในการจัดค่าย แต่จะซื้อหรือไม่ซื้อก็ได้ ไม่ได้บังคับ

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษา จะมีค่าหนังสือประกอบการเรียนประมาณปีละ 500 บาท ซึ่งสามารถยืมหรือหารกับเพื่อนเพื่อซื้อมาแสกนเป็นไฟล์อ่านในแท็บเล็ตแทนได้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ในการทำงานก็สามารถใช้แบบฟรีได้เช่นกัน “แต่ถ้าเป็นโปรแกรมทางสถิติแบบที่ดีๆ เลย ราคาจะสูงหน่อย ประมาณ 2,850 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งในการทำวิจัย โปรแกรมพวกนี้มันจะน่าเชื่อถือกว่า” และอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ขาดไปไม่ได้เลยสำหรับสายนี้ก็คือ เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ เครื่องละประมาณ 900 บาท ซึ่งจะต้องใช้ในตอนสอบและตอนทำควิซ

สุดท้าย ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ/สุขศาสตร์ ภัทรกฤต พุทธเมธา (ลีโอ) นักศึกษาปี 2 คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เล่าว่า เมื่อขึ้นปี 2 จะต้องมีเครื่องแต่งกาย หรือเสื้อกาวน์ ทั้งเสื้อกาวน์ปักชื่อแบบสั้น ซึ่งเป็นชุดที่จะต้องใส่ไปเรียนในรายวิชาของคณะแทนชุดนักศึกษา ราคาตัวละ 700 บาท และเสื้อกาวน์แบบยาว ที่จะต้องใส่เมื่อมีการทำแล็บ ราคาตัวละ 500 บาท จะซื้อกี่ตัวก็ขึ้นอยู่กับวิชาที่ลงเรียนและความสะดวกในการซักรีดของแต่ละคน ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าหนังสือแล็บฟิสิกส์ 100 บาท ค่าเครื่องคิดเลขเช่นเดียวกันกับคณะวิทยาศาสตร์ (900 บาท) และค่ากองกลางสำหรับรับน้องอีก 150 บาท เป็นต้น

.

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า นอกจากค่าเทอมในอัตรา 13,000-22,100 บาท ซึ่งไม่ใช่จำนวนเงินที่ทุกคนจะพร้อมจ่าย แม้จะสามารถขอผ่อนผันค่าเทอม หรือขอทุนช่วยเหลือการศึกษาได้แล้ว ค่าหนังสือ หรือค่าอุปกรณ์ที่เอื้อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็ยังเป็นเรื่องที่นักศึกษาต้องควักเงินออกเองด้วย ยังไม่นับค่าใช้จ่ายแฝงต่างๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมรับน้องของคณะ ค่าเครื่องแต่งกายสำหรับเข้าเรียน ซึ่งไม่สามารถนำไปเขียนอธิบายพ่วงเป็นสาเหตุที่ต้องขอทุนได้อีก

ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่ประสบกับภาวะเงินเฟ้อ สินค้าราคาสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคก็สูงขึ้น ลำพังรายได้ต่อเดือนเพื่อใช้ครองชีพก็ยากแล้ว การต้องเตรียมเงินหลักหมื่นไว้สำหรับจ่ายค่าเทอม รวมถึงค่าใช้จ่ายแฝงที่เป็นต้นทุนในการมีสังคม หรือช่วยทำให้การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยสะดวกขึ้น จึงอาจหมายถึงโอกาสที่คนไม่พร้อมจ่ายนั้นจะหลุดออกจากระบบการศึกษามีเพิ่มขึ้นอีก

‘สวัสดิการด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษา’ จึงควรเป็นสิ่งที่รัฐจะต้องยกมาพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างจริงจังได้แล้ว

.

.

อ้างอิง

รายชื่อหลักสูตร/สาขาวิชา ที่เปิดสอนในแต่ละระดับการศึกษา ของ มธ. (299 หลักสูตร). สืบค้นจาก https://acrd.tu.ac.th/course/documents/publish/รายชื่อหลักสูตรทั้งหมด/รายชื่อหลักสูตรทั้งหมด%20(299)_27%20ธ.ค.%2064.pdf

หลักเกณฑ์การสมัครขอรับทุนส่งเสริมการศึกษา (ทุนทั่วไป). สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/18gKq1Km1gj1AzQpPoRIc96c83ToQ6SOR/view

ฉบับ พ.ศ. 2555 (ค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายของแต่ละคณะ). สืบค้นจาก https://www.reg.tu.ac.th/th/post/read/159

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Society

News

อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ระบุ หากรัฐบาลทรัมป์จะขับไล่ผู้อพยพ ต้องเพิ่มงบประมาณหลายล้าน และอาจทำให้ภาคธุรกิจขาดแคลนแรงงาน

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง อาจารย์รัฐศาสตร์มธ.ชี้ รัฐบาลอเมริกาสามารถออกคำสั่งนโยบายเนรเทศผู้อพยพได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก เนื่องจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้อพยพยังขาดความสามารถในการดำเนินการตามนโยบายนี้ อีกทั้งหากขับไล่ผู้อพยพออกจากประเทศจะส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจขาดแรงงาน พร้อมเสริมว่าในบางเมืองนั้น รัฐบาลกลางไม่สามารถแทรกแซงหน่วยงานท้องถิ่นในการดำเนินการกับผู้อพยพได้ . ...

Features

AD เทคโนโลยีเพื่อคนตาบอดในสื่อไทย มาไกลพอแล้วหรือยัง ?

เขียน : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ หากลองหลับตาดูหนังหรือซีรีส์สักเรื่อง สิ่งที่เห็นตรงหน้าตรงหน้าคงเป็นสีดำ มืดสนิท ได้ยินเพียงเสียงตัวละครพูดคุยกัน แต่ไม่มีทางรู้ได้เลยว่านักแสดงบนจอกำลังแสดงสีหน้า ขยับตัวยังไง หรือกำลังจะเกิดอะไรในช่วงไคลแม็กซ์ ...

Articles

GAY CHARACTERS, NOT GAY ACTORS : เมื่อ ‘ตัวละครเกย์’ ไม่จำเป็นต้องรับบทโดย ‘นักแสดงเกย์’

เขียน : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ สายตา จังหวะการพูด และการเคลื่อนไหวของเธอ บอกเป็นนัยว่าบทบาท ‘Bette Porter’ ใน ...

Articles

พรรคเล็กในสังเวียนใหญ่: ชวนรู้จักพรรค Third party ในศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ และโลกคู่ขนานหากไม่มี Democrats และ Republican

เรื่อง : ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ แน่นอนว่าการจัดการดูแลประเทศที่มีประชากรมากถึง 355 ล้านคน อย่าง ‘สหรัฐอเมริกา’ ภาครัฐจะต้องเข้าใจความต้องการและจัดสรรสวัสดิการที่เหมาะสมแก่ประชาชนทุกคน แต่ด้วยความที่มีประชากรจำนวนมาก ...

News

อ.รัฐศาสตร์ มธ. ชี้ ปัญหาการแจ้งเตือนภัยเกิดจากระบบราชการไทย รัฐต้องกำหนดบทบาทให้แต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจน

เรื่อง : จุฑาภัทร ทิวทอง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ชี้ปัญหาการแจ้งเตือนภัยเกิดจากความไม่เป็นเอกภาพกันของหน่วยงานรัฐ แนะรัฐบาล การเตรียมพร้อม แจ้งเตือนและรับมือภัยพิบัติต้องแก้ไขด้วยการกำหนดบทบาทและภารกิจที่ชัดเจนให้แต่ละหน่วยงาน เพื่อสร้างความชัดเจนในระบบเตือนภัยแห่งชาติ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save