ArticlesSociety

ภัยพิบัติในไทยกับความสนใจ ‘แค่กรุงเทพ’

เรื่อง: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ

ภาพ: Wiroj Sidhisoradej จาก Freepik

28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เกิดเหตุแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เวลา 13.20 น. ส่งแรงสะเทือนถึงประเทศไทย เกิดความเสียหายบริเวณกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดแถบภาคเหนือหลายจังหวัด เกิดอาฟเตอร์ช็อคความรุนแรงต่ำรวม 77 ครั้ง ส่วนใหญ่ได้รับแรงสั่นสะเทือนที่จังหวัดแถบภาคเหนือ ภาครัฐเร่งเข้าให้ความช่วยเหลือ เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 22 ราย บาดเจ็บ 34 ราย และสูญหาย 72 ราย ทั่วประเทศ (ข้อมูลจากศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 2 เมษายน เวลา 08.00 น.)

เวลาค่ำวันเดียวกัน แฮชแท็ก #ไฟป่า ติดเทรนด์ในแอปพลิเคชั่น X (Twitter) กระจายข่าวเหตุไฟไหม้ที่จังหวัดลำปาง และประชาสัมพันธ์การเปิดรับบริจาคอุปกรณ์ดับไฟ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กลุ่มอาสาดับไฟป่า เช่น อาหารแห้ง กระเป๋าน้ำ โดรนตรวจจับความร้อน เป็นต้น

ปัจจุบัน ไฟป่ากำลังลามไปหลายจุดในแถบภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน จังหวัดที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู กาญจนบุรี และเพชรบูรณ์ 

30 มีนาคม พ.ศ. 2568 เกิดฝนตกหนักช่วงเช้ามืด ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขัง บางพื้นที่มีน้ำกัดเซาะถนนขาด ชาวบ้านไม่สามารถสัญจรได้ เบื้องต้นผู้ใหญ่บ้านได้นำกำลังชาวบ้านนำแผงกั้นเพื่อเตือนอันตรายไม่ให้ชาวบ้านผ่านเส้นทาง และได้แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อเข้าซ่อมแซมเป็นการด่วน

จากเนื้อหาข้างต้น จะเห็นว่า ภายในช่วงเวลาเพียง 3 วันประเทศไทยเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติถึง 3 ครั้งด้วยกัน แต่ความสนใจส่วนใหญ่กลับมุ่งไปที่ ‘แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ’ เพียงแค่สถานการณ์เดียว

ภาครัฐและสื่อมวลชนต่างเร่งแก้ไข รายงาน และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่กรุงเทพมหานคร ขณะที่จังหวัดอื่นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เดียวกันกลับไม่ได้รับความสนใจมากเท่ากับกรุงเทพมหานคร ทั้งๆ ที่ภาคเหนือเองก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน

ข้อมูลจากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุวิทยา ประจำวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2568 เวลา 8.00 น. เผยว่าประเทศไทยเกิดอาฟเตอร์ช็อคไปแล้วกว่า 60 ครั้ง โดยบริเวณภาคเหนือเป็นจุดเดียวที่ได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น 

ถึงแม้ว่าอาฟเตอร์ช็อคบริเวณภาคเหนือเป็นความรุนแรงระดับต่ำ และไม่ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงเท่าเหตุการณ์ตึกสำนักงานตรวงเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม แต่ชาวภาคเหนือก็ต้องอยู่กับความหวาดกลัวที่ไม่อาจรู้ได้ว่าเมื่อไหร่จะเกิดแรงสั่นสะเทือนอีกครั้ง และครั้งต่อไปความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นหรือไม่

ในวันเดียวกันนั้นเอง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาโพสต์ผ่านบัญชีเฟซบุ๊ค ‘Ink Shinawatra’ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีผู้คนอพยพออกจากตึกในจังหวัดกรุงเทพมหานครว่า “ข้อมูลจากกรมอุตุวิทยา รายงานไม่มีแผ่นดินไหวในประเทศไทย และ after shock จากเมียนมา ไม่กระทบต่อประเทศไทยใดๆ ทั้งสิ้น” พร้อมยืนยันว่าตนเองได้ตรวจสอบกับทุกหน่วยงานอย่างทุกต้อง และยืนยันให้ประชาชนรอข่าวจากทางการ 

การที่นายกฯ ออกมายืนยันด้วยตนเองว่าไม่มีแผ่นดินไหวในไทย ขณะที่มีข้อมูลจากกรมอุตุวิทยาระบุว่ามีอาฟเตอร์ช็อคในจังหวัดทางภาคเหนือถึง 6 ครั้งนั้น อาจแสดงให้เห็นว่านายกฯ มุ่งความสนหลักใจไปที่เมืองหลวง และไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

การเฝ้าระวังและเพิ่มการสังเกตการณ์พื้นที่กรุงเทพฯ เป็นพิเศษเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะเป็นพื้นที่อันตราย มีความเสียหายรุนแรง ทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สิน แต่การแทบไม่กล่าวถึงภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากที่สุด อาจทำให้ชาวภาคเหนือรู้สึกได้ว่าตนเองไม่สำคัญเท่ากับ ‘คนกรุงเทพฯ’

การกระทำของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในครั้งนี้จึงยิ่งตอกย้ำสิ่งที่มีการพิพากษ์วิจารณ์กันตลอดมาว่า ประเทศไทยให้ความสนใจแค่เมืองหลวงเท่านั้น

ไฟป่าภาคเหนือเป็นอีกเหตุการณ์ที่ตอกย้ำถึงความ ‘ไม่ใช่กรุงเทพฯ’ ขณะนี้เจ้าหน้าที่อาสาดับไฟป่ายังคงเป็นกำลังหลักสำคัญในการเข้าควบคุมไฟที่ภาคเหนือ ทะเลเพลิงที่กินพื้นที่ยาวถึง 8 จังหวัด ทำให้ค่าฝุ่น PM 2.5 ขึ้นสูงสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ถึง 625 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม เวลา 08.00น.) อยู่ในระดับอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

จนถึงวันนี้ (2 เมษายน) สถานการณ์ไฟป่ายังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่อาสาดับไฟป่าต้องทนสู่กับความร้อนและควันไฟ อุปกรณ์จำเป็นหลายๆ อย่างขาดแคลน เจ้าหน้าที่หลายคนได้รับบาดเจ็บจากการเสี่ยงชีวิตเข้าควบคุมไฟป่าในครั้งนี้ ประชาชนช่วยกันประชาสัมพันธ์ มูลนิธิต่าง ๆ เปิดรับบริจาคเพื่อเป็นตัวแทนนำสิ่งของไปช่วยเหลือเจ้าหน้าที่

แถลงการณ์ล่าสุดจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่านายกฯ มีคำสั่งให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบภัย และเตรียมพร้อมป้องกัน กำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการรับมือกับภัยพิบัติทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว อุทกภัย สึนามิ รวมไปถึงไฟป่า อีกทั้งยังเผยว่านายกฯ มีกำหนดการลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำรวจสถานการณ์ไฟป่าในวันที่ 5 เมษายน ที่จะถึงนี้

เมื่อยังคงไร้วี่แววว่าจะรับมือได้อย่างทันถ่วงที กว่าจะถึงวันที่ 5 ภาคเหนือก็ต้องเผชิญกับทะเลเพลิงไปกว่า 9 แล้ว ความช่วยเหลือที่บอกว่าจะทำ หรืออาจจะทำไปแล้ว เห็นได้ชัดว่ายังไม่มากพอ เจ้าหน้าที่ดับไฟป่ายังคงต้องเปิดรับบริจาคสิ่งของจำเป็นอยู่เรื่อยๆ โดรนตรวจจับความร้อน ชุดกันความร้อน หรือหน้ากากอนามัย N95 ก็ยังคงต้องขอรับบริจาค เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์พื้นฐานที่เพียงพอ

ด้านสถานการณ์อุทกภัยในประเทศก็น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน นอกจากสถานการณ์น้ำท่วมโคราชแล้ว ภาคใต้ก็ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม และน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากมีฝนตกหนักถึงหนักมาก และหลายพื้นที่ฝนตกสะสม คำเตือนจากกรมอุตุวิทยาเป็นสัญญาณเตือนให้พี่น้องชาวใต้เตรียมพร้อมรับมือได้ในระดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อมาตรการการรับมือจากรัฐบาลยังไม่ชัดเจนมากพอ หากในอนาคตอันใกล้ภาคใต้เกิดน้ำท่วมขึ้นจริง ความช่วยเหลือจะทันถ่วงทีหรือไม่ หรือต้องให้ชาวบ้านรับมือกันเองไปก่อนแบบโคราช ก็เป็นคำถามที่น่าสนใจ

การที่ภาครัฐเทความสนใจให้เพียงแค่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกรุงเทพฯ ทำให้เกิดกระแสในโซเชียลมีเดียที่ว่า ‘ต้องให้เกิดที่กรุงเทพฯ ก่อนถึงจะสนใจ’ สัมผัสได้ถึงความน้อยใจและการเสียดสีอันมาจากความรู้สึกของการได้รับความสำคัญที่ไม่เท่ากันของประชาชนในประเทศเดียวกัน เกิดเป็นคำถามที่ว่าภาครัฐให้ความสำคัญพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ เพียงพอแล้วหรือไม่ และเป็นคนไทยเหมือนกัน ทำไมถึงได้รับการปฏิบัติที่ไม่เท่ากัน?

เราทุกคนยกอำนาจของเราให้รัฐดูแล เราเสียภาษีเพื่อให้รัฐมีเงินจัดการและบริหารประเทศ ประชาชนจากทุกจังหวัดย่อมมีสิทธิที่จะได้รับความมั่นใจว่ารัฐจะคอยจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุม ไม่ใช่ต้องคอยลุ้นว่ารัฐบาลจะเห็นความสำคัญของปัญหาภายในจังหวัดเราเมื่อไหร่ นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งก็ควรดูแลประชาชนทั้งประเทศให้สมกับหน้าที่ของตัวเอง ไม่ใช่เป็นเพียง ‘นายกเมืองหลวง’ เหมือนที่เป็นอยู่ทุกวันนี้


รายการอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์.(30 มีนาคม 2568). ฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำหลายพื้นที่ใน “โคราช” เจอน้ำท่วมขัง-ถนนถูกกัดเซาะจนขาด. วันที่สืบค้น 30 มีนาคม 2568.https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2850182

Thai PBS.(29 มีนาคม 2568). อาฟเตอร์ช็อก 77 ครั้ง แผ่นดินไหวรอยเลื่อนสะกายในเมียนมา. วันที่สืบค้น 30 มีนาคม 2568.https://www.thaipbs.or.th/news/content/350702

ไทยรัฐออนไลน์.(31 มีนาคม 2568). 60 เหตุการณ์แรงสะเทือน จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวไทย. วันที่สืบค้น 31 มีนาคม 2568.https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2850283?gallery_id=2&fbclid=IwY2xjawJZqLhleHRuA2FlbQIxMAABHaT_Z6X3SB7rXSvRD6BVKKMlXx1GzPrBgG8blcMwVqte3YNHPCSHiFh8Ag_aem_tTgozffvQiG1cFVpryCTsw

ประชาชาติธุรกิจ.(31 มีนาคม 2568). แผ่นดินไหวล่าสุดในไทย วันนี้ 6 ครั้ง-สรุปอาฟเตอร์ช็อกรวม 207 ครั้ง. วันที่สืบค้น 31 มีนาคม 2568. https://www.prachachat.net/general/news-1784322

NATIONAL GEOGRAPHIC.(31 มีนาคม 2568). ไฟป่าภาคเหนือยังวิกฤต จุดความร้อนพุ่ง – ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน. วันที่สืบค้น 2 เมษายน 2568. https://ngthai.com/environment/77233/march-2025-wildfire/

ไทยรัฐออนไลน์.(2 เมษายน 2568). นายกฯถกครม. รับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกประเภท เตรียมแผนยกระดับ. วันที่สืบค้น 2 เมษายน 2568.https://www.thairath.co.th/news/politic/2850730

ไทยรัฐออนไลน์.(2 เมษายน 2568). ประกาศฉบับ 4 เตือน “ฝนตกหนักมาก” บริเวณภาคใต้ เช็กจังหวัดเตรียมรับมือ. วันที่สืบค้น 2 เมษายน 2568.https://www.thairath.co.th/news/local/2850748

เชียงใหม่นิวส์.(2 เมษายน 2568). นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เชียงใหม่ ตรวจไฟป่า แก้หมอกควัน-ยาเสพติด. วันที่สืบค้น 2 เมษายน 2568.https://www.chiangmainews.co.th/social/3624385/

Infoquest.(2 เมษายน 2568). กทม. สรุปยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุตึก สตง.ถล่ม 15 ราย. วันที่สืบค้น 2 เมษายน 2568.https://www.infoquest.co.th/2025/483660

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
7
Love รักเลย
9
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
4
Angry โกรธ
0

More in:Articles

Articles

หลอดไฟในดงไม้ แสงสว่างที่ระบบนิเวศไม่ต้องการ

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ในเมืองกรุงอันแสนกว้างใหญ่ แม้จะเป็นเวลากลางคืนที่ฟ้ามืดสนิท แสงจากไฟถนนและตึกยังคงส่องสว่างเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญ และในเมืองที่ไม่มีวันดับแสงนี้ การจะเห็นดาวที่ลอยอยู่เต็มผืนฟ้าช่างยากเหลือเกิน แม้แสงไฟจะเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ แต่ไม่ใช่ทุกที่จะเหมาะสมกับความสว่างไสวนี้ ...

Articles

 I’m cringe but I’m free สะเหล่อแล้วไง ไม่แคร์แล้วกัน

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี “โอ้ยยย ทำไมตอนนั้นสะเหล่อจัง” ความคิดที่โผล่เข้ามาในหัวขณะที่ล้มตัวลงนอนหลับตาเตรียมฝันดี แต่สมองไม่รักดีกลับขุดภาพความทรงจำอันน่าอับอายขึ้นมาฉาย ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เล่นมุกแล้วคนทั้งห้องกริบ ทักคนผิดเพราะนึกว่าเป็นเพื่อนตัวเอง ส่งข้อความหาคนที่ชอบเขาอ่านแต่ไม่ตอบ ...

Articles

ต้องอายุเท่าไหร่ ถึงควรจะประสบความสำเร็จ?: ชวนสำรวจนิยามความสำเร็จผ่านตัวละครหลักหลากวัยจาก Only murders in the building

เรื่องและภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์ คุณเคยรู้สึกว่าชีวิตตัวเองว่างเปล่าหรือไร้ค่าบ้างไหม? คุณเคยรู้สึกเจ็บช้ำจากความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าบ้างหรือเปล่า? คุณเคยมองความสำเร็จของคนอื่นแล้วถามตัวเองหรือไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่? หากคุณเคยรู้สึกหรือเคยถามตัวเองแบบนั้น คุณอาจเป็นเหมือนสามตัวละครหลักจาก Only murders in the ...

Articles

ผม (ไม่) เคย เฉยชากับความตาย

เรื่องและภาพประภาพ: Amphea Warning : บทความชิ้นนี้มีการพูดถึงเนื้อหาของการพยายามอัตวินิบาตกรรมและการสูญเสียของคนใกล้ตัว โปรดอ่านอย่างระวัง ‘อาม่า’ ของผมเสียไปตั้งแต่ตอนที่ผมอยู่ในวัยประถม แม้ช่วงบั้นปลายชีวิต เธอจะเริ่มหลงลืมลูกหลานและอารมณ์รุนแรงไปบ้าง แต่สำหรับลูกทั้ง 8 คนแล้ว เธอยังคงเป็นคนที่ทุกคนในครอบครัวรักมากที่สุดคนหนึ่ง ส่วนผมนั้นไม่ได้มีความทรงจำเกี่ยวกับอาม่ามากนัก ...

Articles

ออกเดินทางมาแล้วแต่ยังไกลจุดหมาย : ตอนนี้ Universal Design พาคนพิการเดินทางไปได้เท่าไหนในไทย

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย เป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้วที่คนพิการต้องเรียกร้องสิทธิต่างๆ ทั้งในประเด็นสิทธิในการเข้าทำงาน มุมมองด้านลบที่คนพิการเคยถูกมองว่าไม่มีความสามารถ หรือเคยทำกรรมไว้จึงพิการ และปัญหาความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของพวกเขาหลังจากที่ต้องสูญเสียทักษะบางอย่างไป การเดินทางเองก็เป็นอุปสรรคอันดับต้นๆ ที่คนพิการต้องพบเจอและมีการเรียกร้องมาเป็นเวลานาน จนมีกฎหมายเกี่ยวกับ Universal Design ...

Articles

โลกกำลังจะแตก เรายังควรแย่งวัฒนธรรมกันอยู่ไหม?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ชัยชนะของพรรคฝ่ายขวาในหลายประเทศทำให้เห็นการกลับมาของแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่เริ่มมีมากขึ้นในปัจจุบัน ด้านประเทศไทยเองถึงแม้กลุ่มที่นิยามตนเองว่า ‘หัวก้าวหน้า (Progressive)’ ซึ่งเป็นแนวคิดการเมืองแบบฝั่งซ้ายจะเริ่มมีพื้นที่และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทว่าหากพิจารณาตามจุดประสงค์ของการเกิดกลุ่มแนวคิดนี้ ก็อาจยังไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจและความต้องการต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะหากประเทศไทยเต็มไปด้วยกลุ่มคนหัวก้าวหน้าจริงเราคงไม่ได้เห็นคนในสื่อสังคมออนไลน์ตบตีแย่งชิงวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน “รักกันไว้เถิด ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save