UncategorizedWritings

When I live at Dome

เรื่อง : จิตริณี แก้วใจ

ภาพ : กัญญาภัค วุฒิรักขจร

ความฝันอย่างการได้ใช้ชีวิตด้วยตัวเองภายในหอพักนั้นอาจเป็นสิ่งที่เหล่านักศึกษาหลายคนใฝ่ฝัน แม้จะไม่ใช้พื้นที่อบอุ่นและสะดวกสบายเทียบเท่ากับบ้าน  แต่การอยู่หอนอกจากจะสนับสนุนการเรียนแล้ว ยังสนับสนุนเรื่องของการมีสังคม ซึ่งจะจริงหรือไม่ รูปแบบใดบ้าง รวมไปถึงการจัดการค่าใช้จ่ายที่ตามมาด้วยการกู้ยืมเพื่อการศึกษา  เราจึงตัดสินใจมาพูดคุยกับนักศึกษาคนหนึ่งอย่าง กนกนันท์ แสนทำพล นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ตัดสินใจมาอยู่หอพัก แม้ว่าแต่ก่อนจะอยู่บ้านก็ตาม 


มีหลายคนพูดว่าอยู่บ้านดีกว่าอยู่หอ แล้วทำไมถึงมาอยู่หอเหรอ

แต่ก่อนเราเดินทางไปกลับจากบ้านทำให้บางครั้งมันส่งผลต่อการเรียนเนื่องจากความเหนื่อยจากการเดินทางที่ใช้เวลาค่อนข้างเยอะ เวลาที่เราควรจะเอาไปอ่านหนังสือหรือทำการบ้านก็น้อยลง ไม่ค่อยสะดวกในการเรียนหรือทำกิจกรรมภายในมหาวิยาลัยตอนที่ไปกลับบ้าน การที่ประสิทธิภาพการเรียนของเราน้อยลงจึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลหลัก 

ส่วนสาเหตุที่สองคือเรื่องของสังคมเพื่อน ตอนที่เดินทางไปกลับบ้านทุกวันรู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีสังคมเท่าไร จนบางครั้งก็รู้สึกเหมือนตัวเองถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะมันจะมีบทสทนาบางอย่างระหว่างกลุ่มเพื่อนที่เราไม่ได้รับรู้เรื่องนั้น หรือพลาดการติวสอบกับเพื่อนที่ติวกันหลังเลิกเรียน หรือติววันหยุดต่าง ๆ ทำให้บางครั้งรู้สึกเหมือนไม่มีสังคมและเรียนเอาตัวรอดไปวัน ๆ เพื่อให้ได้ใบปริญญา ซึ่งการเดินทางไปกลับส่งผลต่อความรู้สึกที่ว่าเราไม่ได้ใช้ชีวิตในการเป็นนักศึกษาเลยตัดสินใจอยู่หอพักดีกว่า 

เลือกหอพักยังไงเหรอ

วิธีการของเรา อย่างแรกคือเลือกว่าจะอยู่หอนอกหรือหอใน ซึ่งก็ได้คำตอบมาเป็นหอนอกดีกว่า เพราะมันจะไม่มีปัญหาห้องหรือเรื่องรูมเมทที่เราอาจไม่รู้จักก็ได้ เช่น ปัญหาไดร์ผมดังเกินไป อีกคนไม่ยอมปิดไฟ เป็นต้น

ต่อไปคือเรากำหนดราคาหอที่เราจะไปอยู่แล้วไปเดินดูตามหอต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งเราค้นพบว่าหอพักที่อยู่ใกล้ ๆ หรือติดกับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมีค่าเช่ารายเดือนที่แพง แต่โชคดีที่เราหาหอพักได้ตรงกับที่คิดไว้คือจ่ายเดือนละ 3000 บาทถือว่าถูกที่สุดเท่าที่หาได้และระยะทางการเดินทางจากหอพักถึงมหาวิทยาลัยก็ไม่ไกลมาก

และตอนนี้ได้เงินกยศ. (กู้ยืมเพื่อการศึกษา) มาสนับสนุนค่าใช้จ่ายตรงนี้ด้วย เพราะช่วงก่อนหน้าที่เลือกเดินทางไปกลับคือครอบครัวเรามีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจภายในบ้าน ตอนนั้นมีปัญหาที่กระทบทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อมาเรียนและค่าเทอม ซึ่งทำให้ตลอดปีหนึ่งเราไม่ได้อยู่หอเพราะไม่มีเงินมาใช้จ่ายตรงนี้ จนปี 2 เทอมที่ผ่านมาก็ได้พูดคุยกับพ่อแม่ว่าจะยื่นกู้กยศ.เลยได้ค่าครองชีพที่เอามาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอยู่หอนอกเหนือจากที่แม่ให้อีกเดือนละ 3000 บาท ตลอดทั้งเทอม

พอมาอยู่หอแล้วเป็นอย่างไร แล้วการอยู่หอสนับสนุนการเรียนและสังคมจริงไหม

เราได้ทำหลายเรื่องที่ไม่มีโอกาสได้ทำมาก่อน เช่น ไปเที่ยวใช้เวลากับเพื่อน ๆ กินข้าว เดินเล่น ร้องคาราโอเกะ สังสรรค์ ซึ่งแต่ก่อนเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถทำได้ ทำให้รู้สึกว่าความสัมพันธ์เรื่องของสังคมเพื่อนดีขึ้น ชีวิตก็ร่าเริงขึ้น รวมถึงได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น นั่งรถ EV เพื่อเดินทางไปเรียน  หรือนั่งวินมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น 

พออยู่หอเหมือนได้เรียนแบบที่มีสังคมเพื่อนด้วย เพราะแต่ก่อนเหมือนเรียนเพื่อเอาตัวรอด เรียนเพื่อให้ได้ใบปริญญา

ส่วนเรื่องการเรียน เราสามารถจดจ่อกับการเรียนได้มากขึ้น เพราะมันมีสิ่งอำนวยความสะดวกเรื่องความรู้อยู่ใกล้ตัวขึ้น เช่น หนังสือในห้องสมุด และมีเวลาให้กับการเรียนมากขึ้น เพราะสามารถประหยัดเวลาเดินทางได้ ซึ่งส่วนตัวมองว่าการอยู่หอพักสนับสนุนการเรียนและสังคมจริง

หลังมาอยู่หอจริงๆ มีปัญหาอะไรบ้างไหม 

คงเป็นเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะการอยู่หอมีค่าใช้จ่ายเยอะ อย่างแรกคือค่าหอ  ค่าครองชีพอื่น ๆ  อย่างค่าข้าว 1 มื้อก็อาจจะตกอยู่ที่ 50 บาท เราเลยประหยัดด้วยการกินข้าววันละ 2 มื้อแทน คือมื้อกลางวันและเย็นหรือต้มมาม่าด้วยหม้อต้มไฟฟ้าที่เราพกมา 1 ใบถ้วน ซักผ้าครั้งหนึ่งก็เกือบจะ 100 บาท  เราเลยเลือกที่จะเอากะละมังมาจากบ้าน 1 ใบ เพื่อใช้ซักผ้าในหอพัก แต่บางครั้งก็เอากลับไปซักที่บ้านดีกว่าจะได้ประหยัดส่วนตรงนี้ พวกตู้เย็นหรือน้ำดื่มก็ขนมาจากบ้านแทนเหมือนกันนะ (ขำตลก) คือเราจะขี้งกไว้ก่อน  เพราะจะได้ไม่เกินงบประมาณค่าใช้จ่ายรายสัปดาห์ที่ผู้ปกครองให้ไว้ คือสัปดาห์ละ 1000 บาท

อีกเรื่องคงเป็นความปลอดภัย เพราะบางทีมีคนแปลกหน้าเดินเข้าออกหอพักหรือมีคนนอกมาขโมยพัสดุไปทั้งที่อยู่บริเวณหอทำให้กังวลเรื่องความปลอดภัยเหมือนกัน ซึ่งเหตุการณ์พวกนี้จริง ๆ ก็เกิดขึ้นที่หอในที่ว่าบางทีมีคนแปลกหน้าเดินเข้ามาในบริเวณ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอยู่หอ

การอยู่หอทำให้เราโตขึ้น เพราะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการหลายเรื่องด้วยตัวเอง เช่น การบริหารเงิน ได้เงินมา 1000 บาท จะต้องใช้ยังไงพอดีต่อ 1 สัปดาห์ แล้วจะต้องใช้ไปกับอะไรบ้าง อันไหนต้องใช้จ่าย อันไหนต้องงดเพื่อประหยัด หรือการจัดการเวลา เพราะไม่มีใครปลุกตอนไปเรียนแล้ว ไม่มีใครเตือนว่าเราต้องทำอะไรบ้าง  ต่างจากการอยู่บ้านที่ในบางครั้งเรามีแม่มาคอยช่วยเตือน ทุกอย่างคือต้องทำเองเลยรู้สึกว่าได้พัฒนาตัวเองในหลายด้าน ทำให้ตัวเองมีวุฒิภาวะมากขึ้น  แต่ชีวิตร่าเริงขึ้นกว่าเดิมเพราะมีเรื่องของสังคมเพื่อนมาเกี่ยวข้อง การได้เริ่มใช้เวลาสร้างความทรงจำการเป็นนักศึกษาแบบที่ไม่ได้เรียนเพื่อเอาตัวรอดไปวัน ๆ มันทำให้เราได้เรียนรู้ความร่าเริงหรือความสนุกที่สมวัย

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0
Ready-to-read

ศาสนา ป้ายหาเสียง การเลือกตั้ง

เขียนโดย จิรัชญา นุชมี ภาพโดย จิรัชญา นุชมี ใกล้เข้ามามากแล้วสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี 2566 ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ จึงเป็นเรื่องปกติที่เราจะได้เห็นป้ายหาเสียงติดตามเสาไฟ กำแพง ตามท้องถนน โดยแต่ละพรรคการเมืองก็เลือกใช้สีที่โดดเด่นและเขียนชูนโยบายของพรรคอย่างชัดเจน ...

Art & Culture

ตารางงาน เลือกตั้ง ของเหล่า T-POP

เขียนโดย จิรัชญา นุชมี ภาพโดย จิรัชญา นุชมี ในวันที่ 14 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ จะถึงวันที่สำคัญที่สุดของประชาชนคนไทย ที่ทุกคนตั้งนหน้าตั้งตาและตั้งใจออกไปเลือกตั้ง แสดงแนวทาง เส้นทาง ที่อยากเห็นประเทศไทยพัฒนามากกว่านี้ ...

Uncategorized

เมนูคนบาป (จานโปรดสำหรับคนใจร้าย) : มนุษย์ในยามอ่อนไหว ข่าวลือใดก็กลายเป็นความจริง

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา หนังสือ “เมนูคนบาป (จานโปรดสำหรับคนใจร้าย)” ถูกตีพิมพ์ในปี 2009 เป็นหนึ่งในผลงานของ “ฌอง ...

Uncategorized

“ส้มมั้ยจ๊ะ” ข้อความที่มีเสียง ที่เด็กมธ. รังสิตต่างคุ้นเคย

เรื่อง: เจตณัฐ พิริยะประดิษฐ์กุลภาพ: เจตณัฐ พิริยะประดิษฐ์กุล, ณัฐธนาวดี วงศ์วารห้อย และปาณัสม์ จันทร์กลาง “ส้มมั้ยจ๊ะ ส้มมั้ยจ๊ะ ส้มมั้ย ส้มมั้ยจ๊ะ” เสียงพูดเร็วๆ ซ้ำๆ ...

Uncategorized

ในวันที่ สงกรานต์-รังสรรค์ เป็นมากกว่าศิลปิน

สัมภาษณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2563 “หนักใจ จะรักษามาตรฐานตรงนี้เอาไว้ได้อย่างไร” นั่นคือคำที่ สงกรานต์–รังสรรค์ ปัญญาเรือง ตอบ เมื่อถามถึงความรู้สึกจากการเป็นเจ้าของเพลงไทยเพลงที่ 3 ที่มียอดวิวบนยูทูบถึง 100 ล้านวิว จากเมื่อ 8 ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save