LifestyleSocietyWritings

ย้อนดู Billy Elliot (2000): ว่าด้วยเด็กชาย ชนชั้น และบัลเลต์

เรื่อง: วีริสา ลีวัฒนกิจ

ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา

ภาพยนตร์ทุกเรื่องนับได้ว่าเป็นผลผลิตของสังคม ณ ชั่วเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นสิ่งบันทึกความคิด อารมณ์และเรื่องราวของสังคมนั้น ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งทางตรงและทางอ้อม

เช่นเดียวกับภาพยนตร์อายุมากกว่ายี่สิบปีเรื่องนี้ที่สร้างชื่อให้กับผู้กำกับอย่าง Stephen Daldry (ที่เราอาจรู้จักในฐานะผู้กำกับซีรีส์ชุด The Crown ใน Netflix) การันตีได้เลยว่า Billy Elliot (2000) สามารถถ่ายทอดทุกประเด็นได้อย่างประณีตและทรงพลัง โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้ง นับตั้งแต่ปมความขัดแย้งในใจของเด็ก 11 ขวบไปจนถึงการปะทะกันระหว่างอุดมการณ์ของสังคมนิยมและทุนนิยม

และจะยิ่งระเบิดพลังหากเราย้อนดูการช่วงชิงนิยามของ ‘ความเป็นอังกฤษ’ ของฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาผ่านสื่อภาพยนตร์!

 Billy Elliot เป็นภาพยนตร์ประเภท Coming of Age ที่ถูกสร้างบนฉากหลังของการประท้วงหยุดงานของคนงานเหมืองต่อนโยบายของ Margaret Thatcher นายกรัฐมนตรีฝั่งอนุรักษนิยมที่ต้องการลดอำนาจของสหภาพแรงงานและสั่งปิดเหมืองถ่านหินระหว่าง
ปี 1984

‘บิลลี่’ เป็นเด็กชายอายุ 11 ขวบที่มีพ่อและพี่ชายเป็นคนงานเหมืองที่ร่วมประท้วงหยุดงาน เด็กชายบิลลี่ถูกพ่อส่งให้ไปเรียนต่อยมวยเหมือนเด็กผู้ชายคนอื่นๆ ในเมือง แต่เขากลับพบว่าเขามีพรสวรรค์กับคลาสเรียนบัลเลต์มากกว่า บิลลี่จึงแอบโดดเรียนมวยไปเรียนบัลเลต์และต้องเก็บความลับนี้ไม่ให้พ่อกับพี่ชายรู้เด็ดขาด เพราะไม่อยากถูกคนอื่น ๆ โดยเฉพาะครอบครัวมองว่าเป็น ‘ตุ๊ด’

ยิ่งไปกว่านั้น ครูสอนบัลเลต์เห็นเด็กชายมีความสามารถ จึงอยากผลักดันบิลลี่ให้ไปออดิชั่นที่ Royal Ballet School ซึ่งเป็นที่ๆ จะถูกครอบครัวของเขา (ที่มีพื้นเพจากชนชั้นแรงงาน) มองว่าเป็นสังคมของ ‘พวกชนชั้นสูง’ แน่ ๆ

ภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งคำถามถึงความหมายของ ‘ความเป็นชาย’ ได้อย่างน่าสนใจ
บิลลี่ที่พบว่าตนเองมีความสามารถในการเต้นบัลเลต์ แต่กลับไม่สามารถยอมรับว่าเขาชอบเต้นบัลเลต์ได้เต็มปาก เพราะว่าตัวเขาเองยังรู้สึกว่าการเต้นบัลเลต์นั้น ‘เป็นของเด็กผู้หญิง’

อีกทั้งอิทธิพลกดดันจากสังคมรอบตัวที่ยึดถือความเป็นชายผ่านกีฬามวย ความรุนแรงและการใช้แรงงาน รวมถึงความกลัวที่จะถูกมองว่า ‘ไม่แมน’ จากเพื่อนๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง – ครอบครัว ทำให้บิลลี่เกิดความสับสนในตัวเอง

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สะท้อนถึงค่านิยมที่กดทับทางเพศ โดยเฉพาะในมุมของเพศชาย ผ่านสายตาของเด็กชายวัยเพียง 11 ปีจากครอบครัวชนชั้นแรงงาน ทำให้มีกลิ่นอายของความดิบผสมกับความไร้เดียงสาที่สามารถจับหัวใจผู้ชมได้ไม่ยาก

และเป็นที่ชวนคิดว่ายี่สิบปีผ่านไปหลังจากหนังเรื่องนี้ฉาย เรายังคิดว่าเด็กผู้ชายเต้นบัลเลต์นั้น ‘แปลก’ อยู่หรือไม่? และนิยามของความเป็นชายคืออะไรกันแน่?

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ Billy Elliot เป็นหนังที่น่าจดจำของใครหลายคนคือการเล่นกับประเด็นเรื่องชนชั้นและอุดมการณ์ ทั้ง ‘ใน’ และ ‘นอก’ บท

ก่อนอื่นต้องเล่าถึงลักษณะของภาพยนตร์จากฝั่งอังกฤษเล็กน้อย ภาพยนตร์ของอังกฤษในยุค 1980’s ถึง 2000’s แบ่งออกเป็นสอง ‘ค่าย’ ที่สะท้อนถึงอุดมการณ์แนวคิด รวมถึงความขัดแย้งในเรื่องชนชั้นของสังคมอังกฤษ ณ ขณะนั้นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ ค่ายอนุรักษนิยมและค่ายสังคมนิยม

ค่ายอนุรักษนิยมที่ชูคุณค่าความเป็นอังกฤษผ่านภาพยนตร์ที่เรียกว่า ‘Heritage Cinema’ ซึ่งให้ความหมายของ ‘ความเป็นอังกฤษ’ ว่าหมายถึง ความเป็นผู้ดี เช่นในเรื่อง Pride and Prejudice (1995), Hamlet (1996) หรือ Elizabeth (1998) โดยเน้นเล่าย้อนไปถึงอดีตอันสวยงามของอังกฤษผ่านสุนทรียภาพของงานศิลปะ งานวรรณกรรมคลาสสิกหรือเล่าชีวประวัติของราชวงศ์

ในขณะที่อีกค่ายอย่างค่ายสังคมนิยม นำโดยผู้กำกับ Ken Loach และ Mike Leigh จะนำเสนอ ‘ความเป็นอังกฤษ’ ผ่านแนวคิด Realism โดยเน้นเล่าเรื่องผ่านสายตาของชนชั้นแรงงานและสะท้อนปัญหาสังคมอย่างตรงไปตรงมา โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากรัฐบาลและการเมืองของชนชั้นสูง

Billy Elliot (2000) เป็นภาพยนตร์ที่เล่นกับอุดมการณ์ทั้งสองฝั่งได้อย่างเฉียบแหลม ทั้ง ‘ใน’ เรื่องที่เป็นเด็กชายเต้นบัลเลต์อย่างงดงามชวนฝัน แต่ก็เป็น ‘บัลเลต์คลุกฝุ่น’ ที่มีฉากหลังเป็นการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและคนงานเหมือง

ส่วน ‘นอก’ เรื่อง คือการวางตำแหน่งของภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้ระหว่างสองแนวคิดกระแสหลักของภาพยนตร์อังกฤษในสมัยนั้น จึงกล่าวได้ว่า Billy Elliot เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนถึง ‘ความเป็นอังกฤษ’ ในช่วงปี 1984 (หรือแม้แต่ปี 2000) ได้อย่างไม่ธรรมดา

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดูครั้งแรกอาจดูเป็นเรื่องราวที่อบอุ่นหัวใจและชวนให้ขบคิดในประเด็นเกี่ยวกับเพศ ครั้งที่สองอาจชวนมองในเรื่องของการปะทะกันของแนวคิดต่างๆ  ครั้งถัดไปจะเป็นอาจเป็นเรื่องของบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้อาจกลายเป็นเรื่องโปรดของใครหลายคนเสมอมา

ความสัมพันธ์ระหว่างภาพยนตร์กับสังคมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ หลายครั้งภาพยนตร์ก็ทำหน้าที่รับใช้อุดมการณ์บางอย่าง โดยที่ผู้ชมหรือแม้แต่ตัวผู้ผลิตภาพยนตร์เองอาจไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ได้เคลือบคุณค่าอันเป็นที่ยึดถือในสังคมหนึ่ง (หรืออยากให้สังคมหนึ่งยึดถือ) ลงไปด้วย

และทำให้เราย้อนกลับมามองถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยด้วยว่า นิยามของ ‘ความเป็นไทย’ ที่ถูกฉายผ่านสื่อภาพยนตร์คืออะไรกันแน่?

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
2
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
1

More in:Lifestyle

Lifestyle

เพลย์ลิสต์แนะนำ ‘เพลงเถื่อน’ จากนักดนตรีในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เรื่องและภาพประกอบ : เปรมชนก พฤกษ์พัฒนรักษ์ เพลงเถื่อน คือเพลงที่มีเนื้อหา ที่มา หรือดนตรีที่ดิบ รุนแรง ล่อแหลม รวมถึงเพลงที่อยู่ใต้ดิน เราอยากชวนคุณลองเปิดใจฟังเพลงเถื่อนๆ ทั้งในและนอกกระแส ผ่านมุมมองของนักดนตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มองว่าความ ...

Lifestyle

อนาคตอยู่ในมือใคร

เรื่องและภาพประกอบ: ณฐนนท์ สายรัศมี เพราะกลัวว่าทางเลือกที่เลือกเองจะผิดไปเพราะสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเพราะอยากรู้ว่าชีวิตข้างหน้าจะเป็นอย่างไรเพราะทนไม่ได้ที่จะไม่รู้ว่าปัญหาที่เผชิญอยู่จะจบลงแบบไหนและที่สำคัญ เพราะวุ่นวายกับคำถามว่าประสบความสำเร็จไหม ในโลกที่ทุกคนดูเหมือนจะทำทุกอย่างสำเร็จได้ง่ายๆเจนเนอเรชัน ‘เรา’ ซึ่งคุ้นเคยกับการประกาศตัวว่า ‘ไม่มีศาสนา’ และตั้งคำถามกับอะไรที่ ‘งมงาย’ เสมอจึงกลับกลายเป็นเจนที่พุ่งหาที่พึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการหยิบไพ่ดูดวง ลองเปิดแอปทำนาย หรือสวดมนต์ขอพร ...

Lifestyle

5 เพลงฮิตติดหู ที่สายมูต้องฟัง

เรื่อง : ฐิดาพร พิมพ์สีโคตร ภาพประกอบ : สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ รู้ไหมว่าเพลงเพราะๆ ที่ทุกคนฟังอยู่ อาจมีเรื่อง ‘มู’ ซ่อนอยู่เช่นกัน  วันนี้ผู้เขียนจะพาทุกคนไปเปิดเพลย์ลิสต์ 5 ...

Lifestyle

แฟชั่น + ความเชื่อ : เสื้อผ้าสีมงคลมาจากไหน

เรื่อง : เปรมชนก พฤกษ์พัฒนรักษ์ ภาพประกอบ : สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ เสื้อสีมงคลประจำวัน, สีผมมงคล, เล็บเจลสีมงคลตามวันเกิด หรือแม้แต่ชุดชั้นในสีมงคลกำลังที่นิยมต่อเนื่องกันมาในช่วงหลายปีหลังนี้ หลายคนเลือกใช้สีเหล่านี้เพื่อเสริมความมั่นใจผ่านแฟชั่น ผู้เขียนเองก็ใช้สีมงคลในวันสำคัญเพื่อเรียกขวัญกำลังใจเหมือนกัน แต่ก็แอบมีคำถามในใจว่า ...

Lifestyle

ปาจื่อ: เปิดรหัสลับแห่งโชคชะตาด้วยศาสตร์จีนโบราณ

เรื่อง: ณฐนนท์ สายรัศมี ภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ เคยรู้สึกไหมว่าชีวิตของคุณถูกกำหนดไว้แล้ว? ทำไมบางคนเกิดมาพร้อมความโชคดี ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่บางคนต้องดิ้นรนอย่างหนัก แผ่นดินก็ไหวพร้อมกัน แต่ห้องเราพังห้องเดียว เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบุคลิก นิสัย ...

Lifestyle

เหตุผลของคนไม่มู

เรื่อง: อชิรญา ปินะสา ภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ “เดี๋ยวย่าให้พ่อปู่คอยปกปักรักษาให้รอดพ้นจากเรื่องร้าย ๆ ภัยอันตรายนะลูก” คำพูดจากย่าในวันที่ฉันต้องจากบ้านมาไกลเพื่อมาเรียนต่อ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ย่าขอให้พ่อปู่คุ้มครองหรือช่วยเหลือ เพราะกระทั่งในวันที่ฉันต้องสอบขอทุนเพื่อเรียนต่อ ย่าก็ยังคงบอกกับฉันว่า “เดี๋ยวจะขอให้พ่อปู่ช่วย” ฉันโตมากับย่าที่เชื่อในสิ่งลี้ลับ เชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นและพิสูจน์ไม่ได้ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save