SocietyWritings

ทางเลือกที่คนไทยอาจไม่ได้เลือก เมื่อวัคซีนที่ดีที่สุดตอนนี้คือวัคซีน

เรื่อง: สายธาร สุวรรณเรือง

ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา

 

‘เราไม่มีทางเลือก’

ประโยคข้างต้นคงเป็นสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะบอกกับผู้อ่านทุกคนในช่วงวิกฤตโรคระบาดเช่นนี้ แน่นอนว่าตอนนี้กระแสความลังเลในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงพบเห็นและได้ยินกันอย่างหนาหู คนไทยจำนวนไม่น้อยไม่ไว้ใจวัคซีนที่รัฐบาลนำเข้ามา ซึ่งก็คือวัคซีน Sinovac และ AstraZeneca

สำหรับ AstraZeneca คงไม่มีกระแสในแง่ลบมากนัก ถึงแม้ว่าจะพบผลข้างเคียงที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในกลุ่มคนอายุน้อย แต่อย่างกรณีศึกษาในประเทศอังกฤษที่ฉีดยี่ห้อนี้เป็นหลัก ก็พบว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคและลดการแพร่ระบาดได้จริง ส่วน Sinovac คนก็พากันสงสัยในเชิงประสิทธิภาพ

คำถามคือ แล้วทำไมผู้เขียนจึงบอกว่าเราไม่มีทางเลือก? แล้วเราคนไทยไม่มีทางเลือกจริงๆ หรือ

ในภาวะโรคระบาดเช่นนี้ สิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) โดยหากประเทศหนึ่งมีจำนวนประชากรซึ่งมีภูมิคุ้มกันคิดเป็นร้อยละ 60-70 ของประชากรทั้งหมด จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ จนทำให้เชื้อมีโอกาสน้อยลงในการไปติดผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนดังนั้นการจะทำให้แต่ละคนเกิดภูมิได้ จึงต้องใช้วัคซีนเข้ามาเป็นตัวช่วย และในเมื่อวัคซีนที่มีอยู่ในตอนนี้ยังมีเพียงสองยี่ห้อ ก็คงจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ เพราะการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ เป็นเรื่องของพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ย่อมมีการการ์ดตกกันได้บ้าง

ความเห็นของคนจำนวนหนึ่งมองว่า รัฐบาลสามารถเลือกวัคซีนยี่ห้อไหนนำเข้ามาก็ได้ แต่ทำไมจึงต้องเป็น Sinovac แน่นอนว่าเราคงไม่อาจย้อนกลับไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เพื่อให้รัฐบาลจองซื้อวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ เพิ่ม จากแผนการนำเข้าวัคซีนเดิมของไทยจะมีวัคซีนสองยี่ห้อดังกล่าว ที่นำเข้ามาและถูกฉีดให้ประชาชนมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงกุมภาพันธ์จนถึงตอนนี้ และล็อตที่จะนำเข้าได้แน่นอนและรวดเร็วที่สุดตั้งแต่พฤษภาคมเป็นต้นไป ก็ยังคงมีเพียงสองยี่ห้อนี้เช่นกัน

แม้ว่าวัคซีนจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่จนทำให้ทุเลาการระบาดจนโรคสงบลงได้ แต่กลุ่มคนที่ลังเลจะฉีดวัคซีนอาจจะไม่ได้รู้จักคำว่าภูมิคุ้มกันหมู่ บางส่วนมองว่าตัวเองอยู่บ้านเฉยๆ อย่างไรก็คงไม่ติดโรค การเอาตัวเข้าไปฉีดวัคซีนจะ ‘ยิ่งเสี่ยง’ ตายมากกว่า

แต่นั่นไม่เป็นความจริง

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยงานวิจัยเกี่ยวกับ Sinovac พบว่าค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพวัคซีนอยู่ที่ร้อยละ 67 คือเมื่อฉีดครบ 2 โดสแล้วจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้แน่นอน รวมถึงช่วยลดความรุนแรงของโรค และกรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างในชิลี คนฉีด Sinovac จะได้รับผลข้างเคียงรุนแรงในอัตราส่วน 2.67 คน ต่อ 100,000 คน ซึ่งต่ำกว่าวัคซีนอีกบริษัทหนึ่งที่ทดลองในชิลี ในขณะที่การระบาดระลอกเมษายน 2564 ในไทยทำสถิติมีผู้เสียชีวิตสะสมสูงกว่าสองระลอกก่อนหน้า และจำนวนผู้ติดเชื้อในช่วงหนึ่งสัปดาห์นี้ยังคงอยู่ในช่วง 2,000-3,000 คนต่อวัน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ประเทศฝรั่งเศสที่มัวแต่กังวลเรื่องอาการข้างเคียง และการได้รับวัคซีนน้อยกว่าประเทศอังกฤษมากกว่าครึ่ง ทำให้ขณะนี้ยังมีผู้ป่วยเป็นหลักหมื่น และมีการเสียชีวิตเป็นหลักหลายร้อยคนต่อวัน ทั้งที่วัคซีนในประเทศก็ไม่ได้ขาดแคลนแบบบ้านเรา จะเห็นได้ว่าการเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากวัคซีนย่อมดีกว่าติดโควิด อย่างน้อยการมีวัคซีนให้ฉีดเพื่อลดความรุนแรงของโรค ก็ยังดีกว่าไม่ฉีดเลย

ก่อนหน้านี้การอยู่แต่บ้าน ไม่ออกไปไหน อาจมั่นใจได้ว่าคงไม่ได้ติดเชื้อ แต่ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเผยว่า สาเหตุการเสียชีวิตร้อยละ 58 ติดจากคนในครอบครัว หรือญาติมาเยี่ยม (ข้อมูลวันที่ 11 พฤษภาคม) ดังนั้นการอยู่แต่บ้านก็อาจทำให้ติดเชื้อได้ อีกทั้งการฉีดวัคซีน เมื่อติดเชื้อแล้วจะลดความรุนแรงลง ผู้ป่วยไอซียูน้อยลง จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเตียงสนามด้วย

เหตุผลสำคัญอีกประการที่บุคลากรทางการแพทย์สนับสนุนให้คนฉีดวัคซีน นอกจากจะเป็นเรื่องของโควิด-19 แล้ว ยังมีอีกมุมมองหนึ่งที่สื่อไม่ค่อยพูดถึง คือสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงเช่นปัจจุบัน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องถ่ายเทไปช่วยวอร์ดคนไข้โควิดมากขึ้น ทำให้วอร์ดอื่นถูกดูแลลดลง ทั้งบุคลากรและทรัพยากรเริ่มเกิดการขาดแคลน ดังนั้นอย่างน้อยการฉีดวัคซีน ก็คงส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน

หากเราหันมาพิจารณาการสื่อสารของรัฐเกี่ยวกับกับวัคซีน เราจะพบว่า อาจไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนนัก เพราะรัฐสื่อสารกลับไปกลับมา เช่น ทีแรกจะไม่ให้ภาคเอกชนนำเข้าวัคซีน แต่ตอนหลังก็บอกว่าให้เอกชนมีส่วนร่วมกับรัฐในการนำเข้าได้ หรือการแจ้งประชาชนว่าจะเปิดให้วอล์คอินรับวัคซีนได้ แต่วันถัดมาก็บอกว่าวอล์คอินไม่ได้ ฯลฯ  อีกทั้งคีย์เวิร์ดที่ได้ยินกันเป็นประจำคือ ‘ฉีดวัคซีนช่วยชาติ’ ซึ่งคำว่าวัคซีนช่วยชาติก็คงไม่ได้ช่วยอะไร เพราะวินาทีเช่นนี้ประชาชนน่าจะห่วงตัวเองก่อนห่วงชาติ ยิ่งไปกว่านั้นการอ้างถึงความรักชาติมากกว่าข้อเท็จจริงจะเป็นการลดความเชื่อมั่นของประชาชน จนเกิดความลังเลที่จะฉีดวัคซีนมากขึ้นไปอีก

ก่อนหน้านี้ วัคซีนที่ดีที่สุดคือการใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง แต่สุดท้ายทุกคนก็คงไม่อาจปฏิเสธความจริงได้ว่า วัคซีนที่ดีที่สุดตอนนี้ก็คือวัคซีน แม้ว่าเราจะไม่มีทางเลือกสำหรับการเลือกวัคซีนที่มั่นใจที่สุดให้กับตัวเองได้ แต่หากการควบคุมโรคระบาดคืองานกลุ่มครั้งใหญ่ที่ต้องทำกันทั้งโลก ในเมื่อเรามีผู้นำที่ไม่ค่อยรู้จักการสื่อสารในภาวะวิกฤต สิ่งที่ทำได้ก็คงจะเป็นการทำเท่าที่ทำได้

และเลือกทางที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะเลือกได้

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Society

Articles

ต้องอายุเท่าไหร่ ถึงควรจะประสบความสำเร็จ?: ชวนสำรวจนิยามความสำเร็จผ่านตัวละครหลักหลากวัยจาก Only murders in the building

เรื่องและภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์ คุณเคยรู้สึกว่าชีวิตตัวเองว่างเปล่าหรือไร้ค่าบ้างไหม? คุณเคยรู้สึกเจ็บช้ำจากความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าบ้างหรือเปล่า? คุณเคยมองความสำเร็จของคนอื่นแล้วถามตัวเองหรือไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่? หากคุณเคยรู้สึกหรือเคยถามตัวเองแบบนั้น คุณอาจเป็นเหมือนสามตัวละครหลักจาก Only murders in the ...

Articles

ผม (ไม่) เคย เฉยชากับความตาย

เรื่องและภาพประภาพ: Amphea Warning : บทความชิ้นนี้มีการพูดถึงเนื้อหาของการพยายามอัตวินิบาตกรรมและการสูญเสียของคนใกล้ตัว โปรดอ่านอย่างระวัง ‘อาม่า’ ของผมเสียไปตั้งแต่ตอนที่ผมอยู่ในวัยประถม แม้ช่วงบั้นปลายชีวิต เธอจะเริ่มหลงลืมลูกหลานและอารมณ์รุนแรงไปบ้าง แต่สำหรับลูกทั้ง 8 คนแล้ว เธอยังคงเป็นคนที่ทุกคนในครอบครัวรักมากที่สุดคนหนึ่ง ส่วนผมนั้นไม่ได้มีความทรงจำเกี่ยวกับอาม่ามากนัก ...

Articles

ออกเดินทางมาแล้วแต่ยังไกลจุดหมาย : ตอนนี้ Universal Design พาคนพิการเดินทางไปได้เท่าไหนในไทย

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย เป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้วที่คนพิการต้องเรียกร้องสิทธิต่างๆ ทั้งในประเด็นสิทธิในการเข้าทำงาน มุมมองด้านลบที่คนพิการเคยถูกมองว่าไม่มีความสามารถ หรือเคยทำกรรมไว้จึงพิการ และปัญหาความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของพวกเขาหลังจากที่ต้องสูญเสียทักษะบางอย่างไป การเดินทางเองก็เป็นอุปสรรคอันดับต้นๆ ที่คนพิการต้องพบเจอและมีการเรียกร้องมาเป็นเวลานาน จนมีกฎหมายเกี่ยวกับ Universal Design ...

Features

เคยได้ยินเรื่องราวจากสายส่งหนังสือไหม?

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย สายส่ง น. ผู้ดำเนินกิจการเป็นตัวแทนในการส่งหนังสือหรือสินค้าอื่นให้แก่ผู้รับ. เคยได้ยินชื่ออาชีพสายส่งไหม? ฉันรู้ว่านักเขียนเป็นผู้สร้างสรรค์เรื่องราวในหนังสือ ฉันรู้ว่าสำนักพิมพ์เป็นผู้นำเรื่องราวจากนักเขียนมาผลิตหนังสือ และรู้ว่าร้านหนังสือเป็นผู้ส่งหนังสือมาให้ถึงมือเหล่าคนอ่าน แต่ฉันกลับไม่รู้เลยว่าสายส่งคืออะไร… จนกระทั่งเมื่อฉันมีโอกาสทำความรู้จักกับคุณน้าคนหนึ่ง ผู้เป็นนักเขียนและบรรณาธิการอยู่ในวงการหนังสือมาอย่างยาวนาน ...

Articles

โลกกำลังจะแตก เรายังควรแย่งวัฒนธรรมกันอยู่ไหม?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ชัยชนะของพรรคฝ่ายขวาในหลายประเทศทำให้เห็นการกลับมาของแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่เริ่มมีมากขึ้นในปัจจุบัน ด้านประเทศไทยเองถึงแม้กลุ่มที่นิยามตนเองว่า ‘หัวก้าวหน้า (Progressive)’ ซึ่งเป็นแนวคิดการเมืองแบบฝั่งซ้ายจะเริ่มมีพื้นที่และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทว่าหากพิจารณาตามจุดประสงค์ของการเกิดกลุ่มแนวคิดนี้ ก็อาจยังไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจและความต้องการต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะหากประเทศไทยเต็มไปด้วยกลุ่มคนหัวก้าวหน้าจริงเราคงไม่ได้เห็นคนในสื่อสังคมออนไลน์ตบตีแย่งชิงวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน “รักกันไว้เถิด ...

Articles

Car-Centric City: เมืองที่รถยนต์ใหญ่กว่าคน

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย หากคุณเป็นคนที่ไม่ได้ขับรถ คุณอาจเคยหงุดหงิดเวลาที่ต้องมาเดินหลบรถยนต์เวลาเดินอยู่ในซอยแคบๆ จนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมาทนเสี่ยงตายอยู่บนสภาพถนนแบบนี้ หรือหากคุณเป็นคนที่ขับอยู่ตลอด คุณอาจเคยหงุดหงิดที่ต้องมาทนรอคนเดินข้ามทางม้าลาย และไม่เข้าใจว่าทำไมบางคนจึงออกมาเรียกร้องหาทางเท้า ทางจักรยานที่ดี เพราะจะทำให้คุณใช้เวลาบนรถนานขึ้นเนื่องจากต้องสูญเสียเลนถนนไปเพื่อสร้างทางเท้าเพิ่มเติม ทั้ง 2 เหตุการณ์อาจเป็นมุมมองที่ไม่มีทางเกิดขึ้นในคนคนเดียวกันแต่ก็มีที่มาไม่ต่างกัน นั่นเป็นเพราะเรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแห่ง ...

%

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save