Writings

ต้องเดินอีกกี่ก้าว ทางม้าลายจึงจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยของคนข้ามถนน

เรื่อง ปาณัสม์ จันทร์กลาง

ภาพ เก็จมณี ทุมมา

จากเหตุการณ์การเสียชีวิตของพญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือหมอกระต่ายที่ถูก ส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดกขับรถจักรยานยนต์ชนเสียชีวิตขณะข้ามถนน กลายเป็นประเด็นที่สร้างความตื่นตัวให้กับคนไทยทั้งประเทศ ทั้งเรื่องความปลอดภัยในการใช้ทางม้าลายและเรื่องการบังคับใช้กฎหมายจราจร ที่ประชาชนหวังว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำให้การข้ามถนนเป็นเรื่องที่ปลอดภัยเสียที

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไปไม่นาน ประชาชนได้เริ่มเห็นการทำงานอย่างเข้มงวดกวดขันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างการทดสอบข้ามทางม้าลาย (จุดเดียวกับหมอกระต่าย) ของคณะรอง ผบ.ตร. ที่กว่าจะได้ข้ามถนนก็ยังทุลักทุเล และยังคงอันตรายทั้งๆ ที่มีตำรวจจราจรคอยโบกรถให้ หรือการเร่งปรับปรุงทางม้าลายให้มองเห็นเด่นชัด แต่คราวใช้จริงกลับยังมีรถจอดคร่อมรอสัญญาณไฟแดงเช่นเคย ทำเอาประชาชนเห็นแล้วได้แต่ยิ้มหน้าเจื่อนๆ แล้วมองซ้ายขวาหน้าหลังก่อนข้ามกันต่อไป

ในเมื่อกฎและมาตรการของไทยยังไม่ดีพอ เราสามารถปรับแก้อะไรได้บ้างเพื่อให้ทางม้าลายกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยของคนข้ามถนน

ในการขับขี่ยานพาหนะ ใบอนุญาตขับรถหรือที่เรียกกันว่าใบขับขี่เป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เพราะเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้ผ่านการอบรมและทดสอบ เป็นผู้มีความพร้อมและได้รับอนุญาตให้ขับรถ แต่ทั้งนี้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร หากละเมิดก็จะได้รับโทษตามกฎหมาย

สำหรับประเทศไทย ประชาชนทั่วไปที่ทำผิดกฎจราจรจะมีเพียงโทษปรับเท่านั้น และไม่ส่งผลใดๆ ต่อใบขับขี่ ไม่มีการพัก ไม่มีการเพิกถอน ถ้าโดนจับปรับแล้วมีเงินจ่ายก็จบ แถมกลับมาขับรถต่อได้ทันที ทำให้คนไทยไม่เกรงกลัวกฎจราจร

PPTVHD36 ได้รวบรวมเกณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้ระบบ “คะแนน” เข้ามาเป็นเกณฑ์การลงโทษอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือใกล้ๆ อย่างญี่ปุ่น ที่เมื่อถูกตัดคะแนนสะสมถึงจุดหนึ่งในระยะเวลาที่กำหนด จะถูกยึดใบขับขี่และไม่สามารถขับรถได้ เมื่อขับรถไม่ได้ การใช้ชีวิตลำบากขึ้นเพราะต้องเข้าอบรมและสอบใบขับขี่ใหม่อีกครั้ง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คนของประเทศเหล่านี้เคารพกฎจราจร แต่ในอนาคตระบบคะแนนอาจถูกบังคับใช้ในประเทศไทย เพราะเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาได้ประเดิมระบบนี้กับผู้ที่ขับรถขนส่ง-รถสาธารณะแล้วเรียบร้อย

การออกแบบทางม้าลายก็มีผลต่อความปลอดภัยของคนเดินเท้า เพียงแค่การตีเส้นที่ชัด และสัญญาณไฟอาจยังไม่พอ นอกจากแสงสีแล้วเรายังใช้ “เสียง” ที่เป็นจังหวะสื่อให้คนขับรถรับรู้ได้อีกด้วย “PB/5” (พีบีไฟฟ์) หรือที่รู้จักกันในปุ่มกดสัญญาณไฟคนข้ามถนน ที่เมื่อกดแล้วจะมีสัญญาณไฟพร้อมเสียงที่ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบถึงสถานะของทางม้าลาย โดยเสียงจังหวะช้าหมายถึงให้รถผ่านไปได้และคนรอข้ามถนน ส่วนเสียงจังหวะรัวหมายถึงให้รถหยุดและคนข้ามถนนได้ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้พิการทางสายตาอีกด้วย

PB/5 มีจุดเริ่มต้นจากประเทศออสเตรเลียและได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีการใช้ทางม้าลาย PB/5 ในบางพื้นที่แล้ว หากรัฐบาลสามารถยึดเป็นมาตรฐานและนำไปใช้ คาดว่าจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้คนข้ามถนนได้ไม่น้อย

นอกจากการปรับปรุงทางข้ามแล้ว “จิตสำนึก” ของคนก็เป็นอีกองค์ประกอบที่ต้องช่วยกันดูแล  จิตสำนึกเป็นสิ่งที่ถูกคาดหวังและรณรงค์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนมี ว่ากันว่าการที่คนมีจิตสำนึกจะทำให้คนปฏิบัติตามกฎหมาย

แต่จะมีใครมองกลับกันบ้างหรือไม่ ว่าจริงๆ แล้วจิตสำนึกเกิดขึ้นได้จากกฎหมายที่บังคับใช้อย่างจริงจังต่างหาก

เพราะนอกเหนือจากบทลงโทษทางกฎหมายและการออกแบบทางม้าลายแล้ว การบังคับใช้กฎหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เราควรจะมีเจ้าหน้าที่ที่คอยจับปรับผู้ที่ทำผิดกฎจราจรอย่างจริงจัง ทว่าวัฒนธรรม “พับเล็กๆ” ของเจ้าหน้าที่บางส่วน บวกกับความเป็นกันเองของคนไทยบางคน ทำให้กฎหมายที่ควรจะบังคับใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมกลายเป็นดีลต่อรองของคนสองคน

ปัญหาการทุจริตและการปล่อยปละละเลยนี้เองที่หล่อหลอมให้คนไทยจำนวนหนึ่งเคยชินกับการติดสินบนเจ้าหน้าที่ และไม่ตระหนักที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้จิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนนค่อยๆ จางหายไป

หากกฎหมายถูกบังคับใช้โดยเจ้าหน้าที่อย่าง “จริงจัง” ตามที่รอง ผบ.ตร. ประกาศไว้เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 จิตสำนึกที่ควรมีก็จะกลับมา

และเป็นก้าวสำคัญที่นำความปลอดภัยมาสู่ท้องถนนได้ดีที่สุด


บรรณานุกรม

Julian O’Shea. Why Australia’s Crosswalk Buttons are the Best (ft. Billie Eilish) [YouTube]. 2021. [cited 2022 Feb 2]. Available from: https://www.youtube.com/watch?v=FwbNFRbqwfg

PPTVHD36. 2565. เทียบบทลงโทษแต่ละประเทศ “หากรถไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย”. เข้าถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565. https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/165225

The Sydney Morning Herald. Louis Challis, acoustics expert with an ear for bad vibrations [Internet]. 2017. [cited 2022 Feb 2]. Available from: https://www.smh.com.au/national/louis-challis-acoustics-expert-with-an-ear-for-bad-vibrations-20170620-gwug6p.html

กรมขนส่งทางบก. 2564. กรมการขนส่งทางบก ขานรับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำระบบตัดแต้มมาพิจารณาพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ สำหรับผู้ขับรถสาธารณะและรถขนส่งเท่านั้น. เข้าถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565. https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2991

กรุงเทพธุรกิจ. 2562. เตรียม!ปรับโฉม “ทางม้าลาย” ทั่วประเทศ กทม. มี115 จุดอันตราย. เข้าถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565. https://www.bangkokbiznews.com/politics/985246

กรุงเทพธุรกิจ. 2562. ระบบแต้มความผิดในกฎหมายจราจรญี่ปุ่น. เข้าถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/122330

ประกาศสำนักงานจำรวจแห่งชาติ. 2563. เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๑๑. เข้าถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/195/T_0009.PDF

เรื่องเล่าเช้านี้. 2565. รอง ผบ.ตร. ทดสอบข้ามทางม้าลาย จุดเดียวกับ ‘หมอกระต่าย’ แนะ ตร.อย่าทำผิด จะโดนสังคมตำหนิเป็น 2 เท่า [วิดีโอ]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565. รอง ผบ.ตร. ทดสอบข้ามทางม้าลาย จุดเดียวกับ ‘หมอกระต่าย’ แนะ ตร.อย่าทำผิด จะโดนสังคมตำหนิเป็น 2 เท่า – YouTube

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
1
Angry โกรธ
1

More in:Writings

Art & Culture

วิปลาส เมื่อความเชื่อนำไปสู่โศกนาฏกรรม

เรื่อง : ฐิดาพร พิมพ์สีโคตร และ สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ ภาพประกอบ : สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ “แม่ทำหนูทำไม อย่าทำหนูเลย” เสียงร่ำไห้ของเด็กหญิงดังสะท้านในความมืดมิด…นี่คือเสียงจากละครเวที ‘วิปลาส ...

Lifestyle

เหตุผลของคนไม่มู

เรื่อง: อชิรญา ปินะสา ภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ “เดี๋ยวย่าให้พ่อปู่คอยปกปักรักษาให้รอดพ้นจากเรื่องร้าย ๆ ภัยอันตรายนะลูก” คำพูดจากย่าในวันที่ฉันต้องจากบ้านมาไกลเพื่อมาเรียนต่อ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ย่าขอให้พ่อปู่คุ้มครองหรือช่วยเหลือ เพราะกระทั่งในวันที่ฉันต้องสอบขอทุนเพื่อเรียนต่อ ย่าก็ยังคงบอกกับฉันว่า “เดี๋ยวจะขอให้พ่อปู่ช่วย” ฉันโตมากับย่าที่เชื่อในสิ่งลี้ลับ เชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นและพิสูจน์ไม่ได้ ...

Lifestyle

ไม่ยากถ้าอยากเลี้ยงกุมารทอง

เรื่อง: ภัชราพรรณ ภูเงิน ภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ ไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลาอุ้มท้อง ไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาล ‘กุมารทอง’ ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจสำหรับคนไทยไม่อยากมีลูก ในยุคที่ราคาทองพุ่งสูงปรี๊ดทะลุ 50,000 บาท จะซื้อติดตัวเอาไว้สักเส้นยังต้องคิดแล้วคิดอีก ใครที่ฝันจะแต่งงานสร้างครอบครัว อาจต้องพับเก็บไปก่อน เพราะแค่เลี้ยงตัวเองให้รอดก็แทบสิ้นลม ...

Writings

ตรรกะวิบัติของนายกฯ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

เรื่อง: พิชญา ณ วาโย การอภิปรายไม่ไว้วางใจนับว่าเป็นกลไกสำคัญของรัฐสภาในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย การอภิปรายฯ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลอย่างรอบด้าน ทว่าสิ่งที่มักปรากฏให้เห็นในการอภิปรายคือ ‘ตรรกะวิบัติ’ หรือที่เรียกว่า ‘Logical fallacy’ หมายถึงการบิดเบือนของตรรกะในการชี้แจงข้อกล่าวหา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับรัฐมนตรีทั้งหลายที่มีหน้าที่ต้องอธิบายทุกประเด็นที่ถูกฝ่ายค้านซักฟอก การอภิปรายไม่ไว้วางใจระหว่างวันที่ ...

Lifestyle

 หวังพึ่งดวงเพราะระบบไม่ช่วย: ทำไมแฟนคลับต้องมูให้ได้บัตร?

เรื่อง: แพรพิไล เนตรงาม ภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ ใกล้เข้ามาแล้ว! กับการจองบัตรคอนเสิร์ต 2025 GOT7 CONCERT < NESTFEST > in ...

Articles

ภัยพิบัติในไทยกับความสนใจ ‘แค่กรุงเทพ’

เรื่อง: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ ภาพ: Wiroj Sidhisoradej จาก Freepik 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เกิดเหตุแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save