News

กรมอนามัยแนะโครงการตรวจประเมินโรงอาหาร มธ. รังสิต ควรเพิ่มเกณฑ์ให้ครอบคลุมกฎกระทรวงตัวใหม่

เรื่องและภาพ : ธนัชชา สิริคุณานันทน์กุล

สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬาจัดโครงการตรวจประเมินสุขาภิบาลโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (มธ.) โดยใช้แบบสำรวจ สอรร.7 ตามมาตรฐานกรมอนามัย ด้านนักวิชาการสาธารณสุขแนะควรเพิ่มเกณฑ์การตรวจให้ครอบคลุมกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มธ. จัดโครงการตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารและความปลอดภัยด้านอาหาร ใน 4 ศูนย์อาหารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้แก่ ศูนย์อาหารสังคมศาสตร์ (โรงอาหาร SC) ศูนย์อาหารวิศวกรรมศาสตร์ ศูนย์อาหารวิทยาศาสตร์ และศูนย์อาหารทิวสนโดม โดยเพจสำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มธ. ลงรายละเอียดโครงการไว้ว่า เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของอาหาร ร้านอาหารที่เปิดให้บริการ ต้องผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลโรงอาหาร และปลอดสารปนเปื้อน ตามข้อกำหนดมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สอรร.7) โดยร้านอาหารภายในศูนย์อาหารที่ผ่านการประเมิน จะเริ่มได้รับป้ายรับรองผ่านการตรวจสุขาภิบาลอาหารและความปลอดภัยด้านอาหาร ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

ชัยเลิศ กิ่งแก้วเจริญ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหาร สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แบบสำรวจโรงอาหาร สอรร.7 ของกรมอนามัย เป็นมาตรฐานในการตรวจโรงอาหารแบบเก่า ที่กระทรวงได้ยกเลิกการใช้ไปแล้ว แต่การที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ยังคงนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบโรงอาหารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนี้ก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ แค่ต้องปรับเพิ่มเกณฑ์ในการตรวจสอบให้สอดคล้องและครอบคลุมถึงกฎใหม่ที่ทางกระทรวงได้ประกาศใช้แทน สอรร.7 ด้วย

“กฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 เป็นกฎใหม่ที่กระทรวงออกมาให้ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบสถานที่จำหน่ายอาหาร ว่ามีสุขลักษณะที่ดีและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือไม่ แทนแบบสำรวจโรงอาหารเดิม (สอรร.7)” ชัยเลิศกล่าวและว่า เกณฑ์สำคัญที่เพิ่มมา ได้แก่ เกณฑ์การเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหาร และเกณฑ์กำหนดสุขลักษณะในหมวดสถานที่ เรื่องค่าความเข้มข้นของแสงสว่างบริเวณต่างๆ ในโรงอาหาร

สำหรับเกณฑ์การเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหาร เป็นการตรวจหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร ภาชนะ และมือของผู้สัมผัสอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น โดยจะต้องทดสอบเป็นประจำทุก 3 เดือน หรือ 2 ครั้งต่อภาคเรียนการศึกษา เพื่อให้มั่นใจว่าโรงอาหารเป็นสถานที่ที่ปลอดการปนเปื้อนจากสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารฟอร์มาลีน แบคทีเรียโคลิฟอร์ม และโลหะหนัก รวมทั้งไม่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ

ส่วนเกณฑ์กำหนดสุขลักษณะในหมวดสถานที่ เรื่องค่าความเข้มข้นของแสงสว่างบริเวณต่างๆ ในโรงอาหาร เป็นการกำหนดค่าความสว่างในแต่ละบริเวณภายในโรงอาหาร โดยบริเวณห้องแช่เย็น ห้องเก็บอาหาร และห้องส้วมจะต้องมีค่าความสว่างอย่างน้อย 100 ลักซ์ บริเวณที่บริโภคอาหารจะต้องมีค่าความสว่างอย่างน้อย 215 ลักซ์ พร้อมที่ครอบหลอดไฟ และบริเวณที่เตรียมอาหาร และล้างภาชนะ จะต้องมีค่าความสว่างอย่างน้อย 300 ลักซ์

นายชัยเลิศกล่าวเพิ่มเติมสำหรับรายละเอียดในหมวดอื่นๆ ว่ายังคงมีเนื้อความไม่ต่างจาก สอรร.7 มากนัก สามารถปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละโรงอาหาร และหลังจากดำเนินการตรวจเสร็จสิ้น ผู้ตรวจจะต้องส่งผลตรวจไปให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อออกป้าย เอกสาร หรือประกาศรับรอง ที่จะมีผลรับรองเป็นระยะเวลา 1 ปี

ด้าน จิ๊ เบญ พนักงานร้านอาหารสมใจค้าไข่ โรงอาหาร SC กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีคนมาเดินสำรวจรอบบริเวณโรงอาหารอยู่ 2-3 ครั้ง เขาเข้ามาขอถ่ายภาพอาหาร และหน้าร้านตามแต่ละร้าน บอกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารและความปลอดภัยด้านอาหารของมหาวิทยาลัย เลยให้ความร่วมมือไป และครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นอกจากถ่ายรูปตามปกติแล้วเขายังขอตรวจมือ และอุปกรณ์ประกอบอาหารเพิ่มเติมอีกด้วย

นอกจากนี้ พิมพ์ลภัส ห้วยเรไร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มธ. กล่าวว่า โรงอาหาร SC เป็นสถานที่ที่มีคนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงพักกลางวัน สมควรแล้วที่หน่วยงานในมหาวิทยาลัยจะให้ความสนใจในเรื่องของความสะอาด แต่ส่วนตัวจะตรวจสอบความสะอาดของอาหารโดยการสังเกตด้วยตาเปล่ามากกว่า คิดว่าป้ายรับรองไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านที่จะซื้อเท่าไหร่ ถ้าร้านอาหารที่กินประจำไม่ได้รับป้ายก็ไม่เป็นไร เพราะป้ายก็อาจจะไม่สามารถรับรองความสะอาดของอาหารได้ทุกวันจริงๆ อาจจะสะอาดแค่วันที่มาตรวจก็ได้

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

รองอธิการฯ ศูนย์รังสิตเผย ผู้ร้ายแก๊งตบทรัพย์ถูกออกหมายเรียกแล้ว พร้อมเพิ่มรปภ.ในพื้นที่เพื่อป้องกันเหตุในอนาคต

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ รองอธิการฯ ศูนย์รังสิตเผย ตำรวจออกหมายเรียกผู้ร้ายแก๊งตบทรัพย์แล้ว หลังกล้องวงจรปิดจับภาพผู้ก่อเหตุไว้ได้ พร้อมเพิ่มรปภ.ชุดใหม่ภายใต้การดูแลของกองบริหารศูนย์รังสิตโดยตรงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่นอกเหนือการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากกรณีมิจฉาชีพขี่รถจักรยานยนต์ตามรถยนต์ของหนึ่งในอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่ออ้างว่าผู้เสียหายขับรถเบียดจนเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บที่บริเวณขา ...

News

อาจารย์วารสารฯ มธ. คาดคนดังระวังการรับงานมากขึ้น-แนะ 4 วิธีตรวจสอบก่อนเป็นพรีเซนเตอร์

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ และ วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร อาจารย​์วารสารศาสตร์ฯ มธ. คาดคนดังจะระวังการรับงานพรีเซนเตอร์มากขึ้น หลังกรณี ...

News

ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ชี้คดีตากใบขาดอายุความส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ 

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ชี้คดีตากใบขาดอายุความส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เพราะประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ด้านที่ปรึกษากม. มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เสนอรัฐฯ ต้องนำกรณีตากใบมาถอดบทเรียน ...

News

ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์คาด นโยบายเพิ่มจำนวนเด็กอาจไม่ได้ตามเป้า หากประกันสังคมไม่เอื้อให้คนท้องทำโอที

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งให้บริการสายด่วน 1663 ปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม คาดนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ เพื่อเพิ่มจำนวนการเกิด อาจไม่ถึง ...

News

เครือข่ายธุรกิจอาหารทะเลยั่งยืนเผย ประมงอวนลาก ทำลายนิเวศทะเล แต่หยุดไม่ได้เพราะธุรกิจอาหารสัตว์

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร กก.ผจก.บริษัทปลาออร์แกนิกฯ ซึ่งทำเครือข่ายธุรกิจอาหารทะเลยั่งยืน ชี้ประมงอวนลากกระทบระบบนิเวศทางทะเล เหตุธุรกิจอาหารสัตว์รับซื้อปลาเป็ดจากประมงอวนลาก แนะผู้บริโภคเลือกซื้อหมูไก่ที่เลี้ยงระบบปล่อยอิสระ สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ ...

editorial

Editor’s Note : ‘ตากใบ’ บทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาล 

ในวันที่ 25 ตุลาคมที่จะถึงนี้ จะเป็นวันครบรอบ 20 ปีของ ‘คดีตากใบ’ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ที่รัฐกระทำต่อชาวตากใบ จ.นราธิวาส อย่างไร้มนุษยธรรมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 85 ราย ทั้งจากช่วงสลายการชุมนุมและช่วงขนย้ายผู้ร่วมชุมนุม หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อหาผู้กระทำผิด แต่การดำเนินการทางกฎหมายยังเดินทางไปไม่ถึงขั้นที่สามารถลงโทษใครได้ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save