LifestyleWritings

ตุ๊กตาหมีกับการเป็นสัญลักษณ์ความอบอุ่น 

เขียน : จิตริณี แก้วใจ 

ภาพ : ศิรประภา ศรีดาจันทร์ 

หลายคนคงเคยมีช่วงเวลาที่ชื่นชอบสิ่งที่เรียกว่าตุ๊กตาหมี  เพราะการมีตุ๊กตาหมีให้กอดหรืออยู่เคียงข้างกายนั้น สร้างความรู้สึกผ่อนคลาย คลายความเหงา และสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจได้เป็นอย่างดี  ซึ่งอาจเป็นเพราะความสามารถพิเศษเหล่านี้ของเจ้าตุ๊กตาหมี ทำให้มีวันที่เรียกว่า “National Hug Bear Day” อยู่บนโลกใบนี้ 

ทำไมต้องมี วันกอดตุ๊กตาหมีแห่งชาติ …? 

วันที่ 7 พฤศจิกายนของทุกปี  คือวัน national hug bear day หรือ วันกอดตุ๊กตาหมีแห่งชาติ แม้ว่าในปฏิทินประเทศไทยจะดูเป็นหนึ่งในวันธรรมดาก็ตาม แต่บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกากลับมีวันนี้ขึ้นเพื่อให้ทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย จะได้กลับมากอดตุ๊กตาหมีที่ตนเองชื่นชอบหรือเติบโตมาด้วย เป็นวันพิเศษที่มีกิจกรรมง่ายๆ แต่มีความหมายที่ว่า “การดูแลรักษา” 

ไม่เพียงแค่ตุ๊กตาหมีเท่านั้น ในวันดังกล่าวก็ถือเป็นวันที่มอบโอกาสให้เหล่าผู้คนได้โอบกอดคนที่รักเอาไว้ เพื่อที่ผู้คนจะได้ตระหนักอีกครั้งว่าการกอดนั้นจำเป็นและมีประโยชน์กับมนุษย์อย่างเราเพียงใด โดยเฉพาะต่อจิตใจมนุษย์ เช่น 

การกอดตุ๊กตาหมีสามารถช่วยลดความเครียดและวิตกกังวลได้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่  เนื่องจากการกอดตุ๊กตาช่วยกระตุ้นให้สมองปล่อยฮอร์โมนความสุขอย่าง Oxytocin ออกมา จึงส่งผลต่อความเครียดที่จะลดน้อยลงเมื่อได้กอดหรือสัมผัสความนุ่ม และการนอนกอดตุ๊กตาหมีเองก็ส่งผลดีต่อการนอนหลับสนิท เพราะน้ำหนักหรือแรงกดจากตุ๊กตาส่งผลต่อระบบประสาท ซึ่งทำให้ลดความตื่นตัวจากสัญชาติญาณได้  

และยังช่วยปลอบประโลน เนื่องจากตุ๊กตาหมีส่งผลให้ความรู้สึกกลัว เหงา ซึมเศร้า หรือแม้แต่โดดเดี่ยวน้อยลง ซึ่งการได้กอดตุ๊กตาหมีในเด็กจะทำให้สร้างเสริมความรู้สึกรักและจิตนาการที่สร้างสรรค์ รวมไปถึงยังทำให้รู้สึกกลัวน้อยลงและช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย  อีกทั้งยังช่วยให้เด็กปรับตัวกับการเติบโตได้อีกด้วยเพราะทำให้รู้สึกกล้าที่จะเผชิญกับความกลัว  แต่ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ยอดขายตุ๊กตาหมีหลายบริษัทที่สูงขึ้นกลับไม่ได้มาจากเด็กเท่านั้น แต่กว่า 50% มาจากผู้ใหญ่เพราะตุ๊กตาหมีช่วยปลอบโยนผู้คนในยามที่ต้องทนอยู่คนเดียว เนื่องจากขาดการติดต่อกับครอบครัวหรือสังคม ในขณะเดียวกันเอง ตุ๊กตาหมีก็ยังสามารถช่วยปรับตัวให้เข้าสู่สังคมได้อีกครั้งหลังช่วงโควิด-19  

แม้ในปัจจุบันจะดูเหมือนว่าตุ๊กตาเหมาะสำหรับเด็กหรือผู้หญิงเท่านั้น แต่ในยุคแรกเริ่มของเจ้าตุ๊กตาหมีกลับไม่ได้เกี่ยวข้องกับวัยหรือเพศเลยแม้แต่น้อย ในอดีตช่วงปี 1900 นั้น ตุ๊กตาหมีถูกส่งมอบให้กับทหารมากมายที่ต้องเผชิญกับสงครามด้วยซ้ำ เพื่อที่จะช่วยบำบัดและปลอบโยนจิตใจ

ประวัติตุ๊กตาหมี 

ตุ๊กตาหมีเกิดขึ้นครั้งแรกราวปี 1902-1903 โดยครอบครัวมอริส เจ้าของร้านลูกอมและขนมหวานแห่งหนึ่ง ซึ่งตุ๊กตาหมีตัวแรกทำขึ้นจากเศษผ้าและกระดุมเพื่อเป็นของเล่นให้กับลูกๆ แต่เมื่อตุ๊กตาถูกวางไว้ที่หน้าต่างของร้านพร้อมกับป้ายชื่อที่เขียนเอาไว้ว่า “Teddy Bear” ทำให้ผู้คนสนใจ และท้ายที่สุดแล้ว ครอบครัวก็เริ่มลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับตุ๊กตาหมีจนประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาอีกด้วย ซึ่งในตอนนี้ก็ครบรอบ 120 ปี แห่งการกำเนิดตุ๊กตาหมีตัวแรก และภายใต้ชื่อ Teddy bear ยังซ่อนบุคคลสำคัญที่เป็นเหมือนแรงบันดาลใจตุ๊กตาหมี คือ Theodore Roosevelt หนึ่งในประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 

แม้ว่าจะมีการผลิตตุ๊กตาหมีเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกจากครอบครัวมอริสก็ตาม  แต่อีกซีกโลกหนึ่งหรือที่อียิปต์ถือเป็นสถานที่แรกที่มีการจัดทำสตัฟฟ์สัตว์เกิดขึ้น ไม่ใช่ในรูปแบบของตุ๊กตาแต่เป็นรูปแบบของมัมมี่ ซึ่งสัตว์ดังกล่าวก็ไม่ใช่หมี แต่เป็นแมวที่คนอียิปต์นับถือนั่นเอง เช่นเดียวกันกับที่เยอรมัน ราวปี 1800 ก็มีการริเริ่มทำตุ๊กตาหมีมาก่อนแล้วเช่นกัน แต่ในตอนนั้นไม่ได้มีความน่ารักนุ่มนิ่มแบบที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ กล่าวได้ว่าเจ้าตุ๊กตาหมีมีที่มาค่อนข้างหลากหลายกว่าจะกลายมาเป็นรูปแบบตุ๊กตาหมีขนนุ่มในวันนี้ ทำให้รับรู้ได้ว่าทำไมปัจจุบันถึงมีตุ๊กตาหมีในรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้น ทั้ง Teddy Bear,  Care Bear (จากการ์ตูนในชื่อเดียวกัน) , Duffy, Kuma และอีกมากมาย  

ตุ๊กตาหมีกับการเป็นสัญลักษณ์ความอบอุ่น 

เวลาที่คุณกอดหรือสัมผัสตุ๊กตาหมีที่นุ่มฟูจะทำร่างกายและจิตใจรู้สึกอบอุ่นใจ ปลอดภัย และปลอบโยน เนื่องจากเป็นสิ่งซัพพอร์ตจิตใจ ซึ่งทำให้มันถูกจำหน่ายและส่งมอบเป็นของขวัญได้ในทุกโอกาส ทั้งการพบปะ ยินดี หรือแม้แต่จากลา ซึ่งวัฒนธรรมการมอบตุ๊กตาหมีจากเพื่อนสู่เพื่อน พ่อแม่สู่ลูก นั้นทำให้เกิดคุณค่าที่เรียกว่าความอบอุ่น  

“ เคยมีตุ๊กตาตัวนึงตอนเด็กๆที่พี่ๆทุกคนในบ้านรวมตังซื้อให้ เป็นตุ๊กตาตัวใหญ่ตอนนั้นก็ติดอยู่พักนึง เพราะชอบมาก แต่พอโตแล้วก็กอดแค่ตอนรู้สึกเหงา มันทำให้คิดถึงตอนที่เราไปซื้อด้วยกันเลยรู้สึกอุ่นใจ” พรชิตากล่าว เธอคือคนที่เราถามความรู้สึกเมื่อเห็นว่าเคยเป็นคนที่ชื่นชอบและสะสมตุ๊กตาหมี รวมไปถึงต๊กตาแบบอื่นๆ ทำให้เห็นว่าภายใต้วัตถุนุ่มนิ่มนั้นมักจะถูกใช้เพื่อเป็นตัวแทนคนที่รักหรือช่วงเวลาที่สำคัญ และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับคนที่เผชิญกับสภาวะทางอารมณ์หรือจิตใจ เช่น ซึมเศร้า หรือเครียด  ดังนั้นในวันกอดตุ๊กตาหมีแห่งชาติจึงสนับสนุนให้ผู้คนซื้อตุ๊กตาหมีมอบให้คนที่รัก รวมถึงบริจาคตุ๊กตาหมีแก่เด็กผู้ยากไร้ แน่นอนว่าในวันดังกล่าวการซื้อตุ๊กตาหมีเองจะได้รับส่วนลดตั้งแต่ 13-30% จากทุกร้านค้าในสหรัฐอเมริกา เช่น ร้าน Vermont Teddy bear หนึ่งในร้านขายตุ๊กตาหมีชื่อดังที่รับประกันได้ว่าลูกค้าจะได้ส่วนลดสุดคุ้ม เมื่ออยากจะซื้อตุ๊กตาคุณภาพดีในวันกอดตุ๊กตาหมีแห่งชาติ 

อ้างอิง 

(National hug a bear day,2023) สืบค้นเมื่อ 6 พ.ย. จาก https://nationaltoday.com/national-hug-a-bear-day/  

Surajit Dey, 2566, How much do you know about national hug bear day สืบค้นเมื่อ 6 พ.ย. จาก https://www.proprofs.com/quiz-school/quizzes/national-hug-a-bear-day-quiz  

(What’s the symbolic meaning of teddy bear,2023) สืบค้นเมื่อ 6 พ.ย. จาก https://kinrex.com/blogs/news/what-s-the-symbolic-meaning-of-a-teddy-bear 

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Lifestyle

Writings

ไขรหัสลับ ‘หน้าตั๋วรถเมล์’ เศษกระดาษบ่งชี้ที่แฝงไปด้วยภูมิปัญญา

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย เมื่อเรานั่งรถเมล์ในกรุงเทพฯ สิ่งที่น่าจะเป็นภาพจำก็คงเป็นระบบ ‘ตั๋ว’ รถเมล์ ทั้งเสียง ‘แก๊บๆ’ ที่เป็นสัญญาณเตือนว่าให้เตรียมเงินจ่ายค่าโดยสารได้แล้ว พร้อมกับตั๋วม้วนยาวที่มีตัวเลขล้อมอยู่เต็มไปหมดและการฉีกตั๋วอย่างฉับไวที่ดูไปก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรว่าทำไปทำไม ดูเผินๆ จะไม่ค่อยเห็นประโยชน์อะไรของตั๋วนอกจากจะเป็น ‘เศษกระดาษที่ทำให้โลกร้อนขึ้น’ ...

Writings

‘นักชิมมืออาชีพ’ ผู้อยู่เบื้องหลังทุกความอร่อย

เรื่องและภาพประกอบ : พนิดา ช่างทอง ผู้เขียนและคนส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับอาชีพ ‘นักชิมอาหาร’ หรือ ‘นักวิจารณ์อาหาร’ ในภาพของ Food Critic อาชีพในฝันของผู้ที่ชื่นชอบการกิน แต่สำหรับ ‘นักชิมมืออาชีพ’ หรือ ...

Lifestyle

เมื่อเราไม่อยู่บ้าน หมาจะคิดถึงเราไหมนะ?

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ เทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดยาว เมื่อได้เว้นว่างจากการทำงานและการเรียนอันแสนเหน็ดเหนื่อย หลายคนจึงเลือกจะกลับบ้าน ดังนั้น  หากจะเรียกว่าเป็น ‘วันแห่งการกลับบ้าน’ ก็อาจไม่ผิดนัก  หลายครอบครัวอาจมีสมาชิกอย่างพ่อ แม่ ญาติ หรือใครสักคนที่ทำให้อยากกลับบ้านไปหา ...

Writings

สงกรานต์ทั้งที ไม่มีความสงสัยบ้างไม่ได้หรอ?: เมื่อคำถามจากญาติในช่วงเทศกาลแห่งความสุขสร้างความทุกข์ให้ลูกหลาน

เรื่องและภาพประกอบ: ทยาภา เจียรวาปี หมายเหตุ: ประโยคคำถามในบทความชิ้นนี้ เป็นการรวบรวมจากประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียน และคนรอบตัวของผู้เขียนเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ในสายตาผู้อ่าน ภาพวันสงกรานต์หน้าตาเป็นอย่างไร? เชื่อว่าสำหรับหลายๆ คน คงเห็นภาพการสาดน้ำดับร้อน ภาพความสุข รอยยิ้ม ...

Writings

แตก 4 ซีซัน 4 ประเด็นของซีรีส์เพศศึกษา

เขียน จิรัชญา นุชมี ภาพ กัญญาภัค วุฒิรักขจร Sex Education คือซีรีส์ออริจินัลจาก Netflix ที่โด่งดังและจัดจ้านในประเด็นการเล่าถึงเรื่องเพศศึกษา อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ทว่าไม่ใช่เพียงประเด็นเรื่อง เพศ เท่านั้น ...

Writings

Dear Dorothea ยังมีที่ว่างให้ฉันอยู่ไหม

เขียน กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ กัญญาภัค วุฒิรักขจร บทเปิดจากภาพยนตร์เพื่อน (ไม่) สนิทบอกไว้ว่าทั้งชีวิตคนเราจะมีเพื่อนได้แค่ 150 คน จากการคำนวณด้วยสมการของนักวิทยาศาสตร์ โดยใน 150 คน ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save