Art & CultureArticlesWritings

Renguku Kyojuro เปลวเพลิงผู้มอบแสงสว่างแก่เหล่าผู้หลงทาง

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง

Spoiler Alert : บทความนี้มีการสปอยเนื้อหาของ Kimetsu no Yaiba และ Kimetsu no Yaiba Mugan Train The Movie

“ระหว่างที่เผลอหลับไป มันกลายเป็นเรื่องใหญ่แบบนี้แล้วเหรอ…ไม่น่าเชื่อเลยจริงๆ ช่างน่าอับอายในฐานะเสาหลักยิ่งนัก แทบอยากจะแทรกแผ่นดินหนีเลย”

หนึ่งในคำพูดของนักล่าอสูรผู้มีผมสีทองปลายแดงดั่งเปลวเพลิงสมกับตำแหน่งหน้าที่ของเขา ชายผู้แม้จะมีบทเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่นั่นก็มากพอที่ทำให้เขาถูกคนดูจดจำไปจนถึงตอนจบ ‘เสาหลักเพลิง เรนโงคุ เคียวจูโร่’

ภาพประกอบจาก : https://www.peakpx.com/en/hd-wallpaper-desktop-auhpo

‘Kimetsu no Yaiba’ หรือ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ มังงะที่เล่าเรื่องราวของ ‘คามาโดะ ทันจิโร่’ เด็กหนุ่มที่ครอบครัวถูกฆ่าโดยหัวหน้าของเหล่าอสูร เขาจึงเข้าร่วมหน่วยพิฆาตอสูรเพื่อฝึกปรือฝีมือ และหาทางรักษา ‘เนซึโกะ’ น้องสาวของเขา ก่อนที่เธอจะกลายร่างเป็นอสูรเต็มตัว

เรนโงคุเป็นหนึ่งในหัวหน้าหน่วยพิฆาตอสูร หรือที่เรียกกันในเรื่องว่า ‘เสาหลัก’ โดยตัวเขาเป็นผู้ใช้วิธีการหายใจที่เรียกว่า ‘ปราณเพลิง’ เมื่อเข้ารับตำแหน่งเสาหลัก เขาถึงกลายเป็น ‘เสาหลักเพลิง’ ปรากฏตัวครั้งแรกในมังงะตอนที่ 44 หรืออนิเมชันตอนที่ 21 ในฐานะคนที่คัดค้านไม่ให้รับเนซึโกะเข้าร่วมหน่วยพิฆาตอสูร

ภาพประกอบจาก : https://www.youtube.com/watch?v=YL75j2oLJEw

ก่อนที่จะปรากฏตัวอีกครั้งในมังงะตอนที่ 54 หรือในภาพยนตร์อนิเมชัน ‘Kimetsu no Yaiba Mugan Train The Movie ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่ ศึกรถไฟสู่นิรันดร์’ ซึ่งเป็นเรื่องราวของกลุ่มทันจิโร่ที่ประกอบด้วย ‘ทันจิโร่’ ‘เนซึโกะ’ และเพื่อนอีกสองคนอย่าง ‘อางาซึมะ เซนอิทซึ’ ผู้ใช้ปราณสายฟ้า และ ‘ฮาชิบิระ อิโนะสุเกะ’ ผู้ใช้ปราณสัตว์ป่า โดยทั้งสี่ได้เดินทางมาหาเรนโงคุเพื่อที่จะสอบถามถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘ปราณตะวัน’

จากซ้ายมือ อิโนะสุเกะ, เซนอิทสึ, ทันจิโร่และเนซึโกะ
ภาพประกอบจาก : https://www.deviantart.com/l-dawg211/art/Tanjiro-and-the-crew-892899418

ในระหว่างเดินทางก็ได้มีอสูรเข้ามาโจมตีพวกของทันจิโร่ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เรนโงคุโชว์ความสามารถ เขาได้ใช้ ‘ปราณเพลิง กระบวนท่าที่ 1 เปลวเพลิง ณ เส้นขอบฟ้า’ ตัดเฉือนคอของอสูรลงไปอย่างง่ายดาย

ก่อนที่เรื่องจะเฉลยว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงความฝัน จากความสามารถของ ‘อสูรข้างแรมที่ 1 เอ็นมุ’ ซึ่งกำลังพยายามรวมร่างตัวเองกับรถไฟนี้อยู่

หลังจากจัดการเอ็นมุไปได้ ทุกอย่างก็ดูท่าว่าจะจบลง แต่แล้วอสูรปริศนาที่สวมใส่เพียงเสื้อกั๊กก็ได้ปรากฏตัวขึ้น ‘อสูรข้างขึ้นที่ 3 อาคาสะ’ เข้ามาเชิญชวนให้เรนโงคุไปเป็นอสูรแบบเดียวกับตน เพื่อที่จะได้มีคู่ต่อสู้ที่เหมาะสมและสู้กับเขาต่อไปเรื่อยๆ อีกหลายร้อยปี และเมื่อเรนโงคุปฏิเสธข้อเสนอ ก็ถึงเวลาที่ทั้งคู่จะต้องต่อสู้กัน

ภาพประกอบจาก : https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=6XAPkp5c6nA

ภาพการต่อสู้ของทั้งคู่ที่ปรากฏนั้น ทั้งดุเดือดและงดงาม เปลวเพลิงที่ถูกวาดออกมาอย่างประณีต สีหน้าของตัวละครที่ฝ่ายหนึ่งกำลังรู้สึกสนุกกับการต่อสู้ ขณะที่อีกฝ่ายทุ่มสุดตัวเพื่อปกป้องผู้คน เป็นภาพสะท้อนถึงเจตจำนงที่แตกต่างกันของทั้งสองตัวละครได้เป็นอย่างดี

ภาพประกอบจาก : https://wall.alphacoders.com/big.php?i=1319887

แม้ในวาระสุดท้ายของเรนโงคุ เขาจะไม่สามารถบั่นคออาคาสะลงได้ แต่เขาได้ปกป้องผู้คนบนรถไฟสู่นิรันดร์ไว้ทั้งหมด และในตอนสุดท้ายเขาก็สั่งเสียแก่เหล่าทันจิโร่ ซึ่งคำพูดนั้นเปรียบดั่งการจุดประกายให้พวกเขาเดินหน้าต่อไป แม้ว่าจะพบเจอกับเรื่องราวอันตรายเพียงใดก็ตาม 

.

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือเพลงประกอบที่ใช้ในภาคของศึกรถไฟสู่นิรันดร์ โดยได้เพลงจากนักร้องสาวชาวญี่ปุ่นสุดโด่งดังอย่าง ‘LiSA’ ที่เคยสร้างกระแสเพลงอย่าง ‘Rising Hope’ หรือ ‘Crossing Field’ เพลงประกอบอนิเมชันอย่าง ‘Sword Art Online’

และในครั้งนี้เธอมาพร้อมกับเพลงอย่าง ‘Homura’ กับเรื่องราวที่กล่าวถึงคนที่ต้องสูญเสียคนสำคัญไป แต่แม้จะเศร้าโศกเพียงใด ก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป และสัญญาว่าเมื่อความฝันเป็นจริง เราจะยังคงคิดถึงคนสำคัญคนนั้นเสมอ

.

สำหรับผม ไฟในตัวของเรนโงคุอาจไม่ใช่เปลวเพลิงที่ใช้แผดเผาศัตรูเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเปลวเพลิงที่ช่วยส่องแสงสว่างชี้นำทางให้กับเหล่าผู้หลงทาง เหมือนดั่งกระบวนท่าที่ 1 ที่หากมองเข้าไปใกล้พอ เราจะพบว่ามันเกิดจากคบเพลิงที่วางต่อกัน เพื่อนำทางผู้คนสู่เส้นทางที่ถูกต้องต่างหาก

ภาพประกอบจาก : https://www.peakpx.com/en/hd-wallpaper-desktop-enjmw

เนื่องในวันที่ 10 พฤษภาคม เป็นวันคล้ายวันเกิดของเรนโงคุ เคียวจูโร่ เสาหลักเพลิงแห่งหน่วยพิฆาตอสูร ผู้ซึ่งมีบทเพียงน้อยนิด แต่เปลวไฟที่เขาได้จุดเอาไว้ ยังคงส่องสว่างอยู่ในใจของทันจิโร่และใจของผู้ชมด้วยเช่นกัน

“จงใช้ชีวิตอย่างภาคภูมิ ต่อให้ต้องเผชิญหน้ากับความอ่อนแอและความขลาดกลัวของตน
จงปลุกไฟในตัวให้ลุกโชน กัดฟัน และก้าวต่อไป”

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
1
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
1
Angry โกรธ
0
Writings

เมื่อความตายพาให้กลับบ้าน: พิธีศพอีสานผ่านสายตาคนรุ่นใหม่

เรื่องและภาพประกอบ: ภัชราพรรณ ภูเงิน เสียงแจ้งเตือนข้อความดังขึ้นท่ามกลางความมืด ฉันหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู หน้าจอเรืองแสงบอกเวลา 05.22 น. ข้อความจากแม่ปรากฏขึ้นพร้อมประโยคสั้นๆ ที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นไปชั่วขณะ ‘ยายเสียแล้วนะลูก’ เหมือนเวลาถูกหยุดไว้ ฉันรีบเก็บของใช้ที่จำเป็นก่อนออกเดินทางไปยัง อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ ...

Writings

จนกว่าเราจะพบกันอีก

เรื่อง : วีรนันท์ กมลแมน ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา มองวรรณกรรมเพื่อชีวิตไทยและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยผ่านแนวคิดอัตถิภาวนิยม ศรีบูรพาแต่งเรื่องสั้น “จนกว่าเราจะพบกันอีก” ขึ้นราว ๆ ปี พ.ศ. ...

Writings

ศิลปินหญิงหายไปไหนจากหน้าประวัติศาสตร์

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ท่ามกลางหมู่คนชนผู้ดีฝรั่งเศสที่เดินกันขวักไขว่ในซาลอง (Salon) ‘Marianne’ จิตรกรหญิงในชุดเสื้อคลุมสีน้ำเงินเดินเข้าไปหากรอบรูปสีทองนับสิบตรงหน้า หนึ่งในนั้นคือภาพวาดของเธอ มาเรียนน์หยุดยืนแล้วหันหลังให้ภาพวาด ตอนนี้เธอเป็นเหมือนผู้รักษาความปลอดภัยที่คอยสังเกตการณ์สิ่งต่างๆ ...

Articles

 I’m cringe but I’m free สะเหล่อแล้วไง ไม่แคร์แล้วกัน

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี “โอ้ยยย ทำไมตอนนั้นสะเหล่อจัง” ความคิดที่โผล่เข้ามาในหัวขณะที่ล้มตัวลงนอนหลับตาเตรียมฝันดี แต่สมองไม่รักดีกลับขุดภาพความทรงจำอันน่าอับอายขึ้นมาฉาย ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เล่นมุกแล้วคนทั้งห้องกริบ ทักคนผิดเพราะนึกว่าเป็นเพื่อนตัวเอง ส่งข้อความหาคนที่ชอบเขาอ่านแต่ไม่ตอบ ...

Features

เคยได้ยินเรื่องราวจากสายส่งหนังสือไหม?

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย สายส่ง น. ผู้ดำเนินกิจการเป็นตัวแทนในการส่งหนังสือหรือสินค้าอื่นให้แก่ผู้รับ. เคยได้ยินชื่ออาชีพสายส่งไหม? ฉันรู้ว่านักเขียนเป็นผู้สร้างสรรค์เรื่องราวในหนังสือ ฉันรู้ว่าสำนักพิมพ์เป็นผู้นำเรื่องราวจากนักเขียนมาผลิตหนังสือ และรู้ว่าร้านหนังสือเป็นผู้ส่งหนังสือมาให้ถึงมือเหล่าคนอ่าน แต่ฉันกลับไม่รู้เลยว่าสายส่งคืออะไร… จนกระทั่งเมื่อฉันมีโอกาสทำความรู้จักกับคุณน้าคนหนึ่ง ผู้เป็นนักเขียนและบรรณาธิการอยู่ในวงการหนังสือมาอย่างยาวนาน ...

Articles

มองความตายผ่านเลนส์กล้อง ใน ‘ลาก่อน เอริ’

เรื่องและภาพประภาพ: สิทธิเดช สายพัทลุง Spoiler Alert: บทความชิ้นนี้มีการสปอยล์เนื้อหาของ ‘ลาก่อน เอริ’ หรือ ‘Goodbye Eri’ ‘ภาพยนตร์’ สื่อบันเทิงภาพเคลื่อนไหวที่สามารถเล่าเรื่องราวได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องราวความสุขจนต้องยิ้มตาม หรือเรื่องราวการจากลาที่ทำให้กลั้นน้ำตาแทบไม่ไหว ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งเรื่องจริงและเรื่องแต่ง ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save