ArticlesSocietyWritings

‘SLAPP’ วิธีการปิดปากสื่อรูปแบบใหม่ ไม่เจ็บกาย แต่ร้ายไม่ต่างกัน

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์

ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นว่ามีประเด็นทางการเมืองเกิดขึ้นมากมาย โดยหนึ่งประเด็นที่เรียกได้ว่า ‘สั่นสะเทือน’ วงการสื่อจนหลายองค์กรต้องออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนและยังเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ก็คือ ประเด็นที่นักข่าวประชาไทและช่างภาพถูกจับกุม โดยเหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามอย่างมากในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของสื่อ

ในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 มีนาคม และ วันนักข่าว 5 มีนาคม ที่ผ่านมา โลกพูดคุยถึงประเด็นเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง โดย องค์การ Reporters Without Borders ระบุว่า ปัจจุบันในโลกยังมีผู้สื่อข่าวถูกคุมขัง 533 คน ส่วน เสรีภาพสื่อในไทยยังไม่เป็นไท เท่าไหร่นัก เพราะ ในปี 2023 ข้อมูลดัชนีเสรีภาพสื่อ (World Press Freedom Index) ระบุว่า ไทย มีเสรีภาพสื่อ อยู่ที่อันดับ 87 จาก 180 ประเทศ

นี่จึงเป็นเหตุผลที่อยากจะชวนย้อนกลับไปดู และทำความเข้าใจ กรณีที่สื่อไทยถูกจับกุมอีกครั้ง

โดยเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นักข่าวจากประชาไทและช่างภาพถูกตำรวจจับกุมในข้อหา ‘เป็นผู้สนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหายจากการขีดเขียนข้อความ’ จากกรณีที่พวกเขาได้ติดตามทำข่าวศิลปินคนหนึ่งไปพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2566

เวลาต่อมาได้มีการเผยแพร่ภาพกล้องวงจรปิดจากทางตำรวจ ว่าทั้งนักข่าวประชาไทและช่างภาพ ได้พบเจอกับศิลปินก่อนวันเกิดเหตุ 1 วัน ทั้งนี้ไม่มีเสียงพูดคุยหรือหลักฐานว่าทั้งสื่อและศิลปินมีการสนทนากันในรูปแบบใด นอกจากนั้นแล้ว สถานที่ในภาพกับสถานที่เกิดเหตุเองก็ไม่ใช่สถานที่เดียวกันเสียด้วย

หลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ภาพจากกล้องวงจรปิด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่คล้อยตามและปักใจเชื่อไปในทันทีว่าการพบเจอหรือพูดคุยโดยที่เราไม่ได้ยินบทสนทนาสักประโยคเดียวคือการสนับสนุน เพราะโดยหลักการแล้ว ผู้สื่อข่าวก็ไม่ควรที่ทำตัวจะสนิทชิดเชื้อกับแหล่งข่าว หากแต่การทำงานข่าวในปัจจุบันอาจไม่สามารถเป็นเช่นนั้นเสมอไป กล่าวคือ ในยุคที่การนำเสนอต้องรวดเร็วตามพฤติกรรมของผู้เสพ นักข่าวมีหน้าที่ในการคาดเดาสถานการณ์ให้ได้มากที่สุด เพื่อวางแผนทำข่าว ซึ่งวิธีที่จะเพิ่มความแม่นยำ คือการหาข้อมูลเหตุการณ์ให้ได้มากที่สุด ทั้งด้วยการติดตาม หรือสอบถามจากแหล่งข่าว ฉะนั้นแล้ว การที่นักข่าวจะพบเจอกับแหล่งข่าวอยู่บ่อยครั้งก็เรียกได้ว่าเป็นวิถีธรรมชาติของเหยี่ยวข่าวทั้งหลาย

.

ถ้านักข่าวเจอแหล่งข่าวแบบนี้เป็นปกติ แล้วจุดไหนล่ะ ที่ไม่ปกติ?

นอกจากเรื่องความสมเหตุสมผลในการใช้กฎหมายกับข้อหาว่าด้วยการเป็นผู้สนับสนุนในการทำลายโบราณสถานที่พอได้ทราบแล้ว หากใครได้ติดตามข่าวอาจจะพอทราบว่า หมายจับของทั้งสอง ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2566 แต่กลับมีการจับกุมหลังจากเวลาผ่านมานานข้ามปี

ถึงแม้ว่าทั้งนักข่าวและช่างภาพจะทำงานตามปกติและไม่ได้มีการหลบหนีแต่อย่างใด

ซึ่งเหตุผลที่แท้จริงของการจับคุมล่าช้า เป็นสิ่งที่เราไม่อาจล่วงรู้ได้และคงไม่มีใครมาเฉลยว่าเพราะอะไร

งั้นแบบนี้จะเรียกว่า ‘SLAPP’ ได้หรือเปล่า?

SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation Participation) แปลเป็นภาษาไทยว่า ‘การดำเนินคดีเชิงยุทธ์ศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ’ หรือเรียกได้ง่ายกว่านั้นว่า ‘การฟ้องปิดปาก‘ คือการสร้างความลำบากให้แก่ผู้ถูกฟ้องหรือผู้ถูกกล่าวหาด้วยกระบวนการ (คล้ายจะ) ยุติธรรม โดยการฟ้องดังกล่าวอาจมีหรือไม่มีมูลเหตุก็ได้ และถึงแม้ว่าผู้ถูกกล่าวหาจะพิสูจน์ตัวเองได้ว่าบริสุทธิ์ ทว่ากว่าจะชะล้างข้อกล่าวหานั้นได้ ก็น่าจะเสียทั้งเงินและเวลาไปไม่น้อย สิ่งนี้เองที่เป็นพันธนาการทำให้ผู้ถูกกล่าวหาขยับตัวได้ยาก

นอกจากนี้ จุดประสงค์ของการฟ้องปิดปากก็เป็นไปตามชื่อของมัน คือการทำให้ผู้ถูกฟ้องมีพันธะทางกฎหมายติดตัว เป็นการสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตหรือการทำงาน รวมไปถึงการลดทอนความสามารถและความกล้าที่จะแสดงออกเกี่ยวกับเรื่องบางอย่างที่ส่งผลกระทบกับคนบางกลุ่ม

สำหรับกรณีการฟ้องนักข่าวและช่างภาพนี้ หากมองในภาพรวมแล้ว สิ่งนี้ไม่ใช่แค่การทำลายแค่ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ส่งผลกระทบถึงสถาบันสื่อให้เกิดข้อสงสัยว่า การฟ้องร้องในครั้งนี้เป็นการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ เพื่อกดเพดานการนำเสนอของสื่อให้ต่ำลง ไม่ให้ก้าวล้ำไปยังขอบเขตที่บางคนที่คิดว่าไม่ควรจะแตะต้องหรือไม่

จนกลายเป็นว่าผู้ผลิตหรือผู้นำเสนอสื่อจะต้องปิดกั้นตัวเองจนไม่สามารถนำเสนอความจริงบางประการที่สังคมควรจะรับรู้ และคนที่จะเสียประโยชน์จากสิ่งนี้มากที่สุดก็ไม่ใช่ใคร แต่คือ ‘ประชาชน’

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการตั้งคำถามถึงสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอของสื่ออีกด้วย ว่าถ้าหาการนำเสนอในสิ่งที่ประชาชนทำ ถือว่าเป็นการสนับสนุนหรือสมรู้สมร่วมคิด เช่นนั้นแล้วสื่อจะสามารถนำเสนออะไรได้บ้าง
ประเด็นนี้เองที่ทำให้วงการสื่อมวลชนสั่นสะเทือนจนทำให้องค์กรสื่อมวลชนหลายสถาบันออกแถลงการณ์แสดงจุดยืน รวมไปถึงการยืนประท้วงของกลุ่มนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่แม้จะยืนอยู่คนละจุด แต่มีจุดยืนเดียวกัน คือการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่นักข่าวและช่างภาพที่ถูกดำเนินคดี และการเรียกร้องเสรีภาพในการทำงานสื่อ

สุดท้ายแล้วถ้าสื่อพูดความจริงไม่ได้ แล้วใครล่ะ ที่จะพูดได้?

ปัญหาสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอของสื่อเป็นปัญหาที่ยังคงหาข้อยุติไม่ได้อย่างชัดเจน แต่ก็ใช่ว่าจะสิ้นไร้หนทางในการแก้ปัญหา เพราะจุดเริ่มต้นของปัญหาคือความไม่ตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งคนทั่วไปหรือแม้แต่บุคลากรคนทำสื่อเอง หากผู้คนไม่สยบยอมต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและร่วมกันต่อต้าน นี่ก็อาจจะเป็นหนึ่งในทางออกของเสรีภาพสื่อได้

เหนือสิ่งอื่นใด ‘สื่อ’ ควรจะยึดมั่นในการนำเสนอความจริงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไปเรื่อย ๆ ตามหน้าที่ความเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน ถึงแม้ว่าการนำเสนอนั้นจะอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่า ‘ไต่เส้นเขตแดน’ ที่ไม่อาจข้ามไปก็ตาม

“ยิ่งคนรู้เรื่องมากเท่าไหร่ ยิ่งคนตื่นรู้มากเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งปกครองยากขึ้นเท่านั้น การจัดการก็ยิ่งยากขึ้นเท่านั้น นั่นแหละคือปัญหาสำคัญ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร
อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนกล่าวไว้ขณะที่ยืน ประท้วงหน้าป้ายคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Articles

Articles

ลอยกระทงถึงไม่ได้อะไร แต่ฉันก็ยังอยากลอยอยู่ดี

เรื่องและภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง “วันเพ็ญเดือน 12 น้ำก็นองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริงวันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง…” เพลงคุ้นหูที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่จำความได้ จะทีวีหรือวิทยุทำนองก็เล่นซ้ำวนไปไม่อาจหลีกหนี ฉันจำได้เสมอเมื่อวันนี้เวียนมาถึง แม่ของฉันจะมีกิจวัตรที่เธอทำอยู่ทุกปี ...

Articles

GAY CHARACTERS, NOT GAY ACTORS : เมื่อ ‘ตัวละครเกย์’ ไม่จำเป็นต้องรับบทโดย ‘นักแสดงเกย์’

เขียน : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ สายตา จังหวะการพูด และการเคลื่อนไหวของเธอ บอกเป็นนัยว่าบทบาท ‘Bette Porter’ ใน ...

Articles

พรรคเล็กในสังเวียนใหญ่: ชวนรู้จักพรรค Third party ในศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ และโลกคู่ขนานหากไม่มี Democrats และ Republican

เรื่อง : ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ แน่นอนว่าการจัดการดูแลประเทศที่มีประชากรมากถึง 355 ล้านคน อย่าง ‘สหรัฐอเมริกา’ ภาครัฐจะต้องเข้าใจความต้องการและจัดสรรสวัสดิการที่เหมาะสมแก่ประชาชนทุกคน แต่ด้วยความที่มีประชากรจำนวนมาก ...

Articles

คนบุรีรัมย์มีรถเมล์แอร์นั่งแค่ปีละ 3 วัน : ตัวอย่างสัจธรรมของขนส่งสาธารณะต่างจังหวัด

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ทุกเดือนตุลาคมเป็นช่วงเวลาของการจัดงาน ‘MotoGP’ งานแข่งจักรยานยนต์ทางเรียบที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในสนามแข่งตั้งแต่ปี 2561 (ยกเว้นปี 2563 และ 2564 ที่งดเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19) โดยจัดที่สนามช้าง ...

Articles

เรื่องราวของผีที่มีมากกว่าความน่ากลัวโดย ‘Mike Flanagan’

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ กิจกรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ในช่วงเทศกาลฮาโลวีนก็คงหนีไม่พ้นการแต่งหน้าแต่งตัวเป็นผี ไปยืนเคาะประตูหน้าบ้านคนอื่น พร้อมตะโกนคำว่า Trick or Treat! เพื่อขอขนมหวานแสนอร่อย แต่นี่คือประเทศไทย ดินแดนแห่งเวทมนตร์ หากเดินไปเคาะประตูบ้านคนอื่นยามค่ำคืนก็คงจะได้ไปเล่นกับตำรวจ ไม่ก็เจ้าที่แทน ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็มีเพียงแค่การดูหนังมาราธอนจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save