LifestyleWritings

 หวังพึ่งดวงเพราะระบบไม่ช่วย: ทำไมแฟนคลับต้องมูให้ได้บัตร?

เรื่อง: แพรพิไล เนตรงาม

ภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ

ใกล้เข้ามาแล้ว! กับการจองบัตรคอนเสิร์ต 2025 GOT7 CONCERT < NESTFEST > in BANGKOK ในวันที่ 5 เมษายน 2568 ที่จะถึงนี้ เหล่านกน้อยอากาเซ่มีแพลนจับจองบัตรกันอย่างไรบ้าง? 

เมื่อใกล้ถึงวันจองบัตรคอนเสิร์ตศิลปินวงที่ชอบ เหล่าแฟนคลับมักกังวลว่า เราจะได้บัตรหน้าสุดไหม? เขา (ศิลปิน) จะมองเห็นเราบ้างหรือเปล่า? ถึงระดับที่คาดหวังน้อยที่สุดคือ เราจะได้บัตรสักใบไหม? ทุกความกังวลของเหล่าแฟนคลับก่อให้เกิดปรากฏการณ์ การมูเตลูเพื่อบัตรคอนเสิร์ต 

เราจะเห็นการบนบานศาลกล่าวของเหล่าแฟนคลับได้ง่ายๆ บนแอปพลิเคชัน X (Twitter) ไม่ว่าจะเป็นการบนแจกเงิน บนงดน้ำหวาน หรือบนวิ่งรอบวัดหรือศาลเจ้า เพื่อให้ตัวเองมีกำลังใจในการกดบัตร และยังไม่นับการไปมูขอบัตรคอนเสิร์ตจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพองค์ต่างๆ หรือสวดมนต์ขอพรเพื่อให้ได้บัตรตามที่ใจต้องการ

นับวันการมูเตลูขอบัตรคอนเสิร์ตยิ่งทวีความจริงจังเพื่อให้ได้มาครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นการขอพรกับเทพองค์ต่างๆ พร้อมเขียนรายละเอียดบัตรที่ต้องการแล้วโชว์ให้องค์เทพดู หรือการสวดมนต์ขอให้กดบัตรได้ทุกคืนก่อนนอน จนคนทั่วไปอาจสงสัยและตั้งคำถามว่าต้องทำถึงขนาดนี้เลยหรือ? วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปไขทุกข้อสงสัยถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมแฟนคลับถึงต้องมูขอบัตรคอนเสิร์ต

โปรแกรมบอทช่วยกดบัตร

หลายปีให้หลังมานี้ ‘บอท’ ส่งผลกระทบอย่างมากในการจองบัตรคอนเสิร์ต เพราะบอทมี ‘ระบบ Auto Click’ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถกดจองบัตรคอนเสิร์ตได้อย่างรวดเร็วแค่เสี้ยววินาทีเพียงเท่านั้น หลังจากที่ผู้ใช้โปรแกรมบอทได้บัตรเป็นที่เรียบร้อย ส่วนใหญ่จะขายบัตรต่อในราคาที่สูง ทำให้กลุ่มแฟนคลับที่กดบัตรด้วยความสามารถของตัวเองจริงๆ ไม่พอใจ และเกิดความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้พวกเขาจะกดได้ แต่มันสร้างความกังวลในการกดบัตรคอนเสิร์ตในรอบต่อไปด้วยการแข่งขันสูงขึ้นกว่าเดิม

ระบบการจองที่ไม่เสถียรและไม่สามารถรองรับผู้เข้าใช้งานได้อย่างเพียงพอ

ความเสถียรของเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับการจองบัตรสำคัญต่อการจองบัตรของเหล่าแฟนคลับอย่างมาก โดยเฉพาะศิลปินที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เพราะหากเว็บล่มแค่เพียงวินาทีเดียว อาจทำให้บัตรที่เรากำลังกดเลือกที่นั่งหรือชำระเงินหายไปต่อหน้าต่อตาได้ในทันที

ระบบสุ่มคิวที่ชวนงง

นอกจากต้องแข่งขันกันในเรื่องความเร็วแล้ว เว็บไซต์จองบัตรบางเจ้ามี ‘ระบบสุ่มคิว’ เพื่อใช้ต่อคิวในการเข้าหน้าเว็บเพื่อกดจองบัตร แต่ถึงอย่างนั้น ระบบสุ่มคิวนี้ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อต่อคิวตามความเป็นจริง แต่เป็น การสุ่มคิว ที่แฟนคลับไม่มีทางรู้ได้เลยว่าพวกเขาจะต้องรอคิวเพื่อเข้าหน้าเว็บไซต์จองบัตรไปอีกนานแค่ไหน เพราะถึงแม้เว็บจะเปิดให้ต่อคิว และแฟนคลับกดจองตอน 10:00 น. เป๊ะๆ ก็อาจจะได้คิวหลังคนที่กดต่อคิวตอน 10:05 น. ได้

ราคาบัตรที่สูงกับผังคอนเสิร์ตที่ไม่อำนวย

หลังจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เราจะสังเกตได้ว่าราคาบัตรคอนเสิร์ตแต่ละงานมีราคาเพิ่มสูงขึ้นจาก 6-7 ปีก่อน ที่ราคาสมเหตุสมผล และสอดคล้องกับผังคอนเสิร์ต คืออำนวยให้แฟนคลับได้ใกล้ชิดและมองเห็นศิลปินชัดๆ มาในช่วงนี้ บัตรมีราคาสูงขึ้นพร้อมกับผังคอนเสิร์ตที่ค่อนข้างเอาเปรียบและไม่แฟร์ต่อกลุ่มแฟนคลับ รวมไปถึงการประกาศเปิดจองบัตรที่ปุปปัปเกินเหตุ ทำให้แฟนคลับไม่ได้เตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมเงินไว้ให้พร้อมสำหรับคอนเสิร์ตศิลปินคนโปรดที่ตั้งตารอมากเท่าไรนัก 

ผู้เขียนขอหยิบยกคอนเสิร์ตของวง GOT7 ไว้เป็นกรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผังคอนเสิร์ตในอดีตและปัจจุบัน โดยเราได้สัมภาษณ์ คุณน้ำ อายุ 22 ปี ซึ่งเป็นแฟนคลับของวง GOT7 หรือที่คุ้นหูกันในกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีว่า อากาเซ่ (IGOT7) 

คุณน้ำได้เปรียบเทียบคอนเสิร์ตของวง GOT7 ด้วยกัน 2 ปี นั่นคือ คอนเสิร์ต GOT7 2018 WORLD TOUR ‘EYES ON YOU’ IN BANGKOK และ 2025 GOT7 CONCERT < NESTFEST > in BANGKOK

เธอให้สัมภาษณ์ว่า ผังคอนเสิร์ต EYES ON YOU ที่จัดขึ้นในปี 2018 มีเวทีที่ศิลปินสามารถเดินได้ทั่วถึงมากกว่าคอนเสิร์ต NESTFEST ที่กำลังจะจัดขึ้นในปีนี้ นอกจากนั้น บัตรแพงสุดของทั้งสองปียังมีราคาต่างกันอยู่ที่ 4,000 บาท เลยทีเดียว ทำให้คุณน้ำต้องคิดหนักถึงความคุ้มค่าของเงินที่ต้องเสียไปกับการได้เห็นศิลปินที่รักใกล้ๆ  โดยเราจะเข้าใจคำอธิบายของเธอได้จากรูปโปสเตอร์ผังคอนเสิร์ตของทั้งสองปีเปรียบเทียบกัน

ภาพจากเว็บไซต์: Thai Ticket Major

สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่สร้างความกังวลใจให้กลุ่มแฟนคลับไม่น้อย ผู้เขียนเองก็ยังเคยกังวลใจจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะกลัวไม่ได้เจอศิลปินคนโปรด ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์มูเตลูขอบัตรคอนเสิร์ต เพื่อให้ตัวเองรู้สึกเบาใจลงเมื่อต้องการบัตรในราคาและโซนที่นั่งที่พอใจ

ขณะเดียวกัน เราควรกลับมาตั้งคำถามถึงปัญหาจากระบบที่ไม่เอื้ออำนวยให้กลุ่มแฟนคลับที่ต้องการแค่ช่วยซัพพอร์ตศิลปินที่ตัวเองรัก ว่าเหตุใดโครงสร้างระบบต่างๆ เหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับความยากลำบากในการได้มาของบัตรคอนเสิร์ต แทนที่จะได้จับจองกันอย่างสบายใจและมีความสุข รวมถึงถามต่อไปถึงผู้มีอำนาจจากภาคส่วนต่างๆ ว่าเคยได้ลงมาจัดการ รับฟังความเห็นและปัญหาต่างๆ ของระบบจากปากของแฟนคลับจริงๆ บ้างแล้วหรือยัง?

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Lifestyle

Lifestyle

ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก สถานที่มูคัดคู่แท้ พร้อมตัดคนไม่ดีออกจากชีวิต

เรื่อง : ยลพักตร์ ขุนทอง ภาพประกอบ : วชิราภรณ์ สีจันทร์แก้ว ใครกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ดี หรือสงสัยว่าคนรู้ใจของคุณตอนนี้เป็นคู่แท้ในชีวิตจริงๆ หรือเปล่า  พิกัดมูเตลูที่ห่างจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เพียง 30 ...

Media

ธรรมศาสตร์และการมู

เรื่องและภาพประกอบ: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ  พรุ่งนี้มีสอบ อาทิตย์หน้าต้องเดินทางไกล เมื่อไหร่จะมีแฟน ความกังวลใจของคนเราเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน เพื่อกำจัดความกังวลใจนั้น บางคนทำสมาธิกำหนดลมหายใจ บางคนขอคำแนะนำจากคนใกล้ตัว บางคนเลือกพึ่งศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์คาถาหรือเข้าวัดขอพร บางคนเลือก “การมู” การมู หรือมูเตลู ...

Writings

จะจดหมายรัก หรือ DM ถ้าเขาชอบ เดี๋ยวเขาก็ตอบเอง

เรื่อง : ปิยะวรรณ นาคะสิงห์ เข้าสู่เทศกาลแห่งความรัก หรือ “วันวาเลนไทน์” ใน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่เวียนมาบรรจบอีกครั้งในทุก ๆ ปี วันธรรมดาที่แสนพิเศษ ...

Writings

ในยุคแห่งความไม่แน่นอนนี้ หรือการบนบาน….จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่แสดงตัวตนของคน Gen Z?

เรื่อง : สมิตานันท์ จันสุวงษ์ ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา “ถ้าผลสอบไฟนอลได้ A ล้วนจะงดกินน้ำหวานหนึ่งเดือน” “ถ้ากดบัตรคอนเสิร์ตได้โซนที่ต้องการ เดี๋ยวจะมาแจกเงินให้ follower” ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ...

Lifestyle

ผมไม่อินหนังน้ำเน่า

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ผมไม่อินละครน้ำเน่า แน่นอนว่าผมเป็นคนไทย และคนไทยส่วนใหญ่ย่อมเติบโตมากับละครในตำนานที่ล้วนมีพล็อตแสนโบราณ แต่ผมไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน! ไอ้พวกเรื่องที่มีฉากสำคัญๆ อย่าง นางเอกแสนอาภัพ อยู่ในคฤหาสน์ฐานะคนใช้ โดนโขกสับจากแม่เลี้ยง แต่แล้วเธอก็ไปสะดุดล้มทับพระเอก ทั้งสองตกหลุมรักกันอย่างไม่ทันตั้งตัว แล้วก็ดันบังเอิญไปหลงอยู่ในป่า ...

Features

เคยได้ยินเรื่องราวจากสายส่งหนังสือไหม?

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย สายส่ง น. ผู้ดำเนินกิจการเป็นตัวแทนในการส่งหนังสือหรือสินค้าอื่นให้แก่ผู้รับ. เคยได้ยินชื่ออาชีพสายส่งไหม? ฉันรู้ว่านักเขียนเป็นผู้สร้างสรรค์เรื่องราวในหนังสือ ฉันรู้ว่าสำนักพิมพ์เป็นผู้นำเรื่องราวจากนักเขียนมาผลิตหนังสือ และรู้ว่าร้านหนังสือเป็นผู้ส่งหนังสือมาให้ถึงมือเหล่าคนอ่าน แต่ฉันกลับไม่รู้เลยว่าสายส่งคืออะไร… จนกระทั่งเมื่อฉันมีโอกาสทำความรู้จักกับคุณน้าคนหนึ่ง ผู้เป็นนักเขียนและบรรณาธิการอยู่ในวงการหนังสือมาอย่างยาวนาน ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save