SocietyWritings

‘ช่วยตัวเอง’ หนีปัญหาสู่ความสุขที่จุดสุดยอด ?

เรื่อง : ธนากร ใจกล้า
ภาพประกอบ : จุฑารัตน์ พรมมา, ณลินทิพย์ ตันทักษิณานุกิจ

‘โลกความเป็นจริงมันโหดร้าย’

ผมจำไม่ได้ว่าได้ยินประโยคคลาสสิกนี้ครั้งแรกเมื่อไร รู้ตัวอีกทีก็ยอมรับไปแล้วว่าบางครั้งโลกความเป็นจริงก็ไม่ใช่สถานที่ที่น่าอภิรมย์สักเท่าไร เหมือนว่าชีวิตของมนุษย์มี ‘ปัญหา’ เป็นองค์ประกอบหนึ่งมาตั้งแต่ต้น บางคนเลือกเผชิญหน้าและมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้คลี่คลาย หลายคนเลือกที่จะหลีกหนีแล้วบอกกับตัวเองว่า ‘ขอพักก่อน’ เพราะโลกความเป็นจริงหนักหนาเกินจะรับไหว

การหลีกหนีปัญหา หรือแนวคิดที่ต้องการ ‘วาร์ป’ ออกจากโลกความเป็นจริงในปัจจุบันไปยังที่ใดสักที่   จะเป็นโลกเสมือนในจินตนาการหรือความฝันก็ได้ เรียกว่า ‘Escapism’ วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อหาพื้นที่พักพิงและตัดขาดจากความไม่สบายใจในโลกภายนอกชั่วคราว

กลไกการทำงานของการ escape จะแบ่งโลกออกเป็น 2 ใบ ใบแรกคือโลกความเป็นจริงและใบที่สองคือโลกเสมือน แต่ทั้งสองโลกก็มีสะพานเชื่อมต่อระหว่างกันให้ข้ามไป – มาได้ โดยสะพานที่ว่านั้นมักปรากฏในรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นเกม อ่านหนังสือ ชมภาพยนตร์ หรือการเป็น ‘Nobody’ บนสื่อสังคมออนไลน์

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมที่กล่าวมาส่วนใหญ่ล้วนมีต้นทุนที่ต้องจ่าย การมีเครื่องเล่นเกมสักเครื่อง หนังสือสักเล่ม หรือได้ดูหนังสักเรื่อง ล้วนมีค่าใช้จ่าย และเงินก็เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ทำให้อยากหลบหนีจากโลกความเป็นจริงอยู่ดี แต่ช้าก่อน! ยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมที่ว่ากันว่า ‘ฟิน’ แบบไม่ต้อง ‘จ่าย’ อะไรมากมายนัก และยังเป็นกิจกรรมง่ายๆ ที่ใครก็สามารถทำได้ (นี่ไม่ใช่การขายตรงแต่อย่างใด) นั่นคือ ‘เซ็กซ์’ แต่เซ็กซ์ในที่นี้กินความถึงแค่ ‘การช่วยตัวเอง’ เพียงอย่างเดียว เพราะการมีเพศสัมพันธ์แบบอื่นถือว่ามีต้นทุนที่ต้องจ่ายไม่มากก็น้อยเช่นกัน

การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเป็นกิจกรรมตามธรรมชาติ ว่ากันว่ามนุษย์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์และอาจไม่ต้องสอน How to ให้กัน จุดขายของกิจกรรมที่ว่านี้คือ วินาทีแรกจากจุดสตาร์ตไปถึง ‘เส้นชัย’ ผู้ปฏิบัติจะทราบว่ารูปแบบใดตอบสนองความต้องการของตนเองได้ดีที่สุด เพียงมีมือ เวลาสักครู่ และสถานที่ส่วนตัว ห้วงความคิดขึ้นอยู่กับจินตนาการส่วนบุคคลที่สามารถกำหนด ‘ภาพ’ ในหัวได้ตามรสนิยม โดยปราศจากการถูกตัดสิน กฎเกณฑ์ และศีลธรรมใดของสังคม

มนุษย์ใช้การสำเร็จความใคร่เป็นกิจกรรมเพื่อแสวงหาความสุขทางอารมณ์ ช่วยให้ผ่อนคลายและปลดปล่อยความต้องการทางเพศมานาน ทางวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อสำเร็จความใคร่ ร่างกายจะหลั่งสารโดพามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้รู้สึกพึงพอใจและกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (endorphin) ช่วยให้สุขภาพกายและจิตดีขึ้น และเนื่องจากการช่วยตัวเองเป็นวิธีการธรรมชาติที่อนุญาตให้มนุษย์เข้าถึงความสุขได้ง่ายๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่กิจกรรมดังกล่าวจะกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการ escape

ถึงตรงนี้อย่าเพิ่งคิดว่าผมมาเชิญชวนให้ทุกคน ‘มาช่วยตัวเองกันเถอะ’ ตลอดเวลา เพราะกิจกรรมดังกล่าวก็มีสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือเมื่อ เหตุผลของการกระทำเปลี่ยนไป จากเดิม เพื่อเข้าถึงความสุขทางเพศอย่างบริสุทธิ์ (ทำเพราะอยากทำโดยธรรมชาติ) มาเป็นการทำเพื่อหลีกหนีปัญหา ทำเพื่อทดแทนความรู้สึกไม่สบายใจ หรือความต้องการที่จะเลิกคิดถึงความเป็นจริงของชีวิตที่น่าอดสู

หากมนุษย์เลือกใช้การสำเร็จความใคร่เพื่อหลีกหนีปัญหาอยู่เรื่อยไป ก็มีแนวโน้มว่าความสุขที่ได้รับอาจจะกลายร่างเป็นปัญหาใหม่ที่วกกลับมาซ้ำเติมชีวิตอีกครั้ง เพราะการเรียกหาความสุขจากโดพามีนด้วยการ ‘ช่วยเหลือตัวเอง’ เพื่อหลีกหนีปัญหาเป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายเว้าวอนกิจกรรมนั้นในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ คล้ายกับฤทธิ์ของสารเสพติด การช่วยตัวเองอย่างไม่บันยะบันยังจึงสร้างความเคยชินต่อความรู้สึก จนความ ‘เสียว’ ระดับเดิมอาจไม่ตอบโจทย์ และบีบบังคับให้ต้องแสวงหาความสุขทางเพศในรูปแบบที่อาจรุนแรงมากขึ้น หวือหวามากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่อาการเสพติดและลุกลามถึงขั้น ‘คลั่งเซ็กซ์’ ได้

ผู้คนจำนวนไม่น้อยมีอาการเสพติดการช่วยตัวเองและต้องเข้าสู่กระบวนการบำบัดภายหลังใช้มันเป็นเครื่องมือหลีกหนีเกินพอดี เจน หญิงวัย 28 ปี เปิดเผยกับ kossie นิตยสารออนไลน์สำหรับผู้หญิงของอังกฤษว่า เธอมักจะใช้เวลากับตัวเองประมาณหนึ่งชั่วโมงหรือมากกว่าในการสำเร็จความใคร่ เพราะมันช่วยให้เธอลืมปัญหาเรื่องงานหรือลืมเรื่องที่เธอทะเลาะกับแม่ และหลังจากจบแต่ละครั้ง เธอก็ได้แต่คิดว่าเมื่อไรจะได้ทำอีก โดยเธอรู้ตัวดีว่าสิ่งที่เพิ่งจะทำลงไปไม่ใช่เพราะชื่นชอบ ‘เซ็กซ์’ แต่เพราะเธอมีความเครียดจากปัญหาต่างๆ ในที่สุดเธอเริ่มสบายใจกับการหลีกหนีมากกว่าเผชิญกับปัญหา พฤติกรรมดังกล่าวจึงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและย้อนกลับมาเป็นปัญหาทางการเข้าสังคมของเธอ

นอกจากนี้อาการเสพติดการช่วยตัวเองยังส่งผลให้กำแพงของโลกความเป็นจริงและโลกที่สมองสร้างขึ้นของนักหลบหนีความจริง (escapist) แข็งแกร่งขึ้น และอาจเลวร้ายถึงขั้นทำให้หลายคนปฏิเสธการกลับออกมาเผชิญหน้ากับปัญหา เมื่อโลกเสมือนจริงที่หลีกหนีไปเริ่มน่าอยู่มากกว่าโลกแห่งความเป็นจริง จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะโน้มน้าวให้ตื่นจากวังวนจินตนาการเพื่อออกมาสู้กับชีวิตข้างนอก อย่างมากก็แค่ออกไปกินข้าว ขับถ่าย นอนหลับพักผ่อน หลังจากนั้นก็หนีกลับเข้าไปอีกครั้ง

เป็นที่น่าสังเกตว่ากระบวนการหลีกหนีโลกความจริงที่ปราศจากการควบคุมและยับยั้งชั่งใจ มีโอกาสแปรเปลี่ยนเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สั่นสะเทือนไปถึงโลกความเป็นจริงของผู้หลบหนี Jeremy E. Sherman นักชีวปรัชญาและผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาแนะนำว่า การหลีกหนีจากโลกความเป็นจริงด้วยการช่วยตัวเองเป็นวิธีการที่น่าสนุกไม่น้อย แต่ต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมให้ดี เหมือนเวลาขึ้นเครื่องบินลำหรูเพื่อออกไปนอกประเทศ เราสัมผัสได้ถึงความรู้สึกกระชุ่มกระชวยหัวใจและมีความสุข แต่เราก็ต้องไม่ลืมตั๋วขากลับที่จะมาส่งที่โลกแห่งความจริงเช่นกัน

วิธีการที่ปลอดภัยที่สุดในการ ‘จองตั๋วขากลับ’ คือการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริง เริ่มต้นสร้างสมดุลการใช้ชีวิตท่ามกลางโลกความเป็นจริงที่โหดร้ายกับโลกแห่งจินตนาการ รู้เท่าทันว่าตนเองกำลังหนีจากอะไร และต้องไม่ลืมให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คู่รัก เพื่อน คนรอบข้างหรือแม้แต่สัตว์เลี้ยง

ท้ายที่สุดควรใช้เซ็กซ์และการสำเร็จความใคร่เป็นเครื่องมือสร้างความสุขที่ยั่งยืน แทนการใช้เพื่อซ่อนตัวจากปัญหา การหลีกหนีควรเป็นทาง (เผื่อ) เลือกยามจำเป็นมากกว่า ‘ทางหลัก’ ในการรับมือ และต้องไม่ลืมว่าการหนีไม่ช่วยให้ความยุ่งเหยิงในโลกความเป็นจริงคลี่คลายไป

แต่การยืดอกและเผชิญหน้ากับมันอย่างมั่นใจต่างหากคือวิธีจัดการกับปัญหาที่ดีที่สุด

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
2
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Society

Articles

ผม (ไม่) เคย เฉยชากับความตาย

เรื่องและภาพประภาพ: Amphea Warning : บทความชิ้นนี้มีการพูดถึงเนื้อหาของการพยายามอัตวินิบาตกรรมและการสูญเสียของคนใกล้ตัว โปรดอ่านอย่างระวัง ‘อาม่า’ ของผมเสียไปตั้งแต่ตอนที่ผมอยู่ในวัยประถม แม้ช่วงบั้นปลายชีวิต เธอจะเริ่มหลงลืมลูกหลานและอารมณ์รุนแรงไปบ้าง แต่สำหรับลูกทั้ง 8 คนแล้ว เธอยังคงเป็นคนที่ทุกคนในครอบครัวรักมากที่สุดคนหนึ่ง ส่วนผมนั้นไม่ได้มีความทรงจำเกี่ยวกับอาม่ามากนัก ...

Articles

ออกเดินทางมาแล้วแต่ยังไกลจุดหมาย : ตอนนี้ Universal Design พาคนพิการเดินทางไปได้เท่าไหนในไทย

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย เป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้วที่คนพิการต้องเรียกร้องสิทธิต่างๆ ทั้งในประเด็นสิทธิในการเข้าทำงาน มุมมองด้านลบที่คนพิการเคยถูกมองว่าไม่มีความสามารถ หรือเคยทำกรรมไว้จึงพิการ และปัญหาความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของพวกเขาหลังจากที่ต้องสูญเสียทักษะบางอย่างไป การเดินทางเองก็เป็นอุปสรรคอันดับต้นๆ ที่คนพิการต้องพบเจอและมีการเรียกร้องมาเป็นเวลานาน จนมีกฎหมายเกี่ยวกับ Universal Design ...

Features

เคยได้ยินเรื่องราวจากสายส่งหนังสือไหม?

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย สายส่ง น. ผู้ดำเนินกิจการเป็นตัวแทนในการส่งหนังสือหรือสินค้าอื่นให้แก่ผู้รับ. เคยได้ยินชื่ออาชีพสายส่งไหม? ฉันรู้ว่านักเขียนเป็นผู้สร้างสรรค์เรื่องราวในหนังสือ ฉันรู้ว่าสำนักพิมพ์เป็นผู้นำเรื่องราวจากนักเขียนมาผลิตหนังสือ และรู้ว่าร้านหนังสือเป็นผู้ส่งหนังสือมาให้ถึงมือเหล่าคนอ่าน แต่ฉันกลับไม่รู้เลยว่าสายส่งคืออะไร… จนกระทั่งเมื่อฉันมีโอกาสทำความรู้จักกับคุณน้าคนหนึ่ง ผู้เป็นนักเขียนและบรรณาธิการอยู่ในวงการหนังสือมาอย่างยาวนาน ...

Articles

โลกกำลังจะแตก เรายังควรแย่งวัฒนธรรมกันอยู่ไหม?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ชัยชนะของพรรคฝ่ายขวาในหลายประเทศทำให้เห็นการกลับมาของแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่เริ่มมีมากขึ้นในปัจจุบัน ด้านประเทศไทยเองถึงแม้กลุ่มที่นิยามตนเองว่า ‘หัวก้าวหน้า (Progressive)’ ซึ่งเป็นแนวคิดการเมืองแบบฝั่งซ้ายจะเริ่มมีพื้นที่และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทว่าหากพิจารณาตามจุดประสงค์ของการเกิดกลุ่มแนวคิดนี้ ก็อาจยังไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจและความต้องการต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะหากประเทศไทยเต็มไปด้วยกลุ่มคนหัวก้าวหน้าจริงเราคงไม่ได้เห็นคนในสื่อสังคมออนไลน์ตบตีแย่งชิงวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน “รักกันไว้เถิด ...

Articles

Car-Centric City: เมืองที่รถยนต์ใหญ่กว่าคน

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย หากคุณเป็นคนที่ไม่ได้ขับรถ คุณอาจเคยหงุดหงิดเวลาที่ต้องมาเดินหลบรถยนต์เวลาเดินอยู่ในซอยแคบๆ จนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมาทนเสี่ยงตายอยู่บนสภาพถนนแบบนี้ หรือหากคุณเป็นคนที่ขับอยู่ตลอด คุณอาจเคยหงุดหงิดที่ต้องมาทนรอคนเดินข้ามทางม้าลาย และไม่เข้าใจว่าทำไมบางคนจึงออกมาเรียกร้องหาทางเท้า ทางจักรยานที่ดี เพราะจะทำให้คุณใช้เวลาบนรถนานขึ้นเนื่องจากต้องสูญเสียเลนถนนไปเพื่อสร้างทางเท้าเพิ่มเติม ทั้ง 2 เหตุการณ์อาจเป็นมุมมองที่ไม่มีทางเกิดขึ้นในคนคนเดียวกันแต่ก็มีที่มาไม่ต่างกัน นั่นเป็นเพราะเรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแห่ง ...

News

อาจารย์รัสเซียศึกษา มธ. คาดสงครามรัสเซีย-ยูเครนไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์พลังทำลายล้างสูง หวังเจรจายุติต้นปีหน้า

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย อาจารย์รัสเซียศึกษา มธ. ชี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครนไม่รุนแรงเพิ่มขึ้นจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์พลังทำลายล้างสูง เพราะไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อฝ่ายใด และคาดว่าสงครามจะจบลงด้วยการเจรจาไม่ให้ยูเครนเข้าร่วม NATO ตามที่รัสเซียต้องการ เมื่อวันที่ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save