Writings

หากม็อบชาวนายังคงถูกละเลย

เรื่อง สุธินันท์ พลทรัพย์

ภาพ เก็จมณี ทุมมา

ปัญหาหนี้สินและคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยที่ไม่ได้รับการแก้ไขมานานหลายปีส่งผลให้ชาวนาจากหลายพื้นที่เข้าร่วมชุมนุมตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 ที่กรุงเทพฯ โดยมีข้อเรียกร้องจากเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) 3 ข้อ ได้แก่ 1. ขอให้สถาบันทางการเงินเจ้าหนี้ชะลอการฟ้องบังคับคดี ยึดทรัพย์ ขายทอดตลาด และเร่งดำเนินการโอนหนี้สินเพื่อเข้าสู่กระบวนการการจัดการหนี้สินของสำนักกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) 2. ขอให้ลดหนี้ปลดหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิก กฟก. ที่เสียชีวิต พิการ ทุพพลภาพ ชราภาพ เจ็บป่วยเป็นโรค ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 25 และ 3. ตรวจสอบปัญหาการทุจริตพร้อมกับปฏิรูปการบริหารงานของสำนักงาน กฟก. อาจกล่าวได้ว่า ม็อบชาวนาในครั้งนี้เป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ที่สำคัญ และมีผลต่อวิถีชีวิตของพวกเราทุกคน แต่น่าสังเกตว่าข่าวม็อบชาวนากลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรทั้งจากสำนักข่าวและจากสังคมในสื่อสังคมออนไลน์

ข้อเรียกร้องเหล่านี้ยังคงอยู่ในระหว่างการเสนอให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติก่อน แล้วจึงจะเสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติอีกครั้ง ซึ่งอันที่จริงกระบวนการนี้ควรจะเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2564 แล้วที่ กฟก. ได้ส่งหนังสือเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินชาวนาให้กระทรวงการคลัง ตั้งแต่ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2564 แต่จนถึงบัดนี้การแก้ไขปัญหาก็ยังคงไม่คืบหน้า กลายเป็นกระบวนการที่ยาวนานและไม่มีความชัดเจนแน่นอน ม็อบชาวนาจึงยังคงปักหลักชุมนุมกันต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าปัญหาจะรับการแก้ไข ขณะที่ความสนใจของประชาชนที่มอบให้แก่ม็อบชาวนาก็ลดน้อยลงทุกที อาจเป็นเพราะมีข่าวที่ได้รับความสนใจมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงหญิง หรือข่าวการโจมตียูเครนของรัสเซีย อย่างไรก็ตามสังคมไทยควรให้ความสำคัญกับม็อบชาวนามากกว่านี้หรือไม่ เพราะถ้าหากยังปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อสังคมได้ในระยะยาว

ในม็อบชาวนาครั้งนี้ หากพวกเราลองสังเกตเกษตรกรที่เข้าร่วมชุมนุมส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยกลางคน และผู้สูงอายุ แทบไม่มีคนวัยหนุ่มสาวไปร่วมชุมนุมเลย รายงานสถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2563 จากกระทรวงเกษตรฯ พบว่า เกษตรกรอายุ 18 ถึงอายุ 35 ปี มีสัดส่วนร้อยละ 21.88 จากเกษตรกรทั้งหมด และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้านหนี้ครัวเรือนเกษตรกรไทยนับวันก็ยิ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานว่า หนี้สินครัวเรือนเกษตรกรไทยในปี 2563/64 อยู่ที่ครัวเรือนละ 262,317 บาท หรือเพิ่มขึ้น 16.5% จากปี 2562/63 และยังคงไม่มีการเยียวยาที่เหมาะสมจากรัฐบาลให้กับกระดูกสันหลังของชาติจนถึงบัดนี้ เรื่องหนี้สินที่เพิ่มขึ้นทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่พอต่อรายจ่าย ขาดการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทำให้ได้ผลผลิตและผลตอบแทนต่ำ แล้วใครที่ไหนจะอยากประกอบอาชีพนี้ต่อ ในอนาคตพวกเราอาจจะต้องซื้อข้าวราคาสูงจากต่างประเทศ เพราะปริมาณข้าวในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ ค่าครองชีพก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย กลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับปากท้องของคนไทย

นอกจากเรื่องปัญหาของเกษตรกรไทยและปริมาณข้าวไทยไม่เพียงพอแล้ว ความภาคภูมิใจของคนไทยในเรื่องข้าวก็อาจจะหายไปอีกด้วย แม้ว่าสถิติการส่งออกข้าวของไทยจะติดอันดับโลกมาตลอดหลายปี แต่สถิติการส่งออกข้าวไทยนั้นลดลงต่อเนื่องทุกปี ทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าสินค้า ข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยรายงานว่า ในปี 2564 ประเทศไทยส่งออกข้าวในปริมาณ 6.11 ล้านตัน มีมูลค่า 1.07 แสนล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก แต่ในอดีตข้าวไทยเคยส่งออกได้มีมูลค่าและปริมาณมากกว่านี้ เช่น ในปี 2562 ประเทศไทยส่งออกข้าวในปริมาณ 7.58 ล้านตัน มีมูลค่า 1.30 แสนล้านบาท ลดลงจาก 2564 ถึง 1.47 ล้านตัน มีมูลค่าลดลงถึง 2.3 หมื่นล้านบาท และถ้าหากปัญหาหนี้สินและคุณภาพชีวิตของชาวนายังไม่ได้รับการแก้ไข สถิติปริมาณการส่งออก และมูลค่าราคาข้าวที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยก็อาจจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

ชาวนาเป็นอาชีพที่สำคัญต่อประเทศ แต่พวกเขากลับไม่ได้รับความสำคัญเท่าที่ควรจะเป็น ปัญหาหนี้สินและคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ของพวกเขาไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่ปัญหานี้ถูกสั่งสมมานานหลายปี และปรากฏให้เห็นอยู่ตลอด ในช่วงที่ประชาชนให้ความสำคัญกับข่าวอื่นๆ อย่างท่วมท้น พวกเราไม่ได้บอกว่าข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงหญิงท่านนี้ไม่สำคัญ เพราะชีวิตทุกปัจเจกบุคคลล้วนมีความสำคัญ ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกรับฟังข่าวสารตามความสนใจ เพียงอยากให้ทุกคนแบ่งความสนใจไปที่ม็อบชาวนาบ้าง เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับคนไทยทุกคน ความสนใจของพวกเราจะสามารถช่วยเหล่าชาวนาได้ ในอนาคต พวกเราจะได้ไม่ต้องซื้อข้าวราคาแพงจากต่างประเทศ กินอาหารในราคาที่สูงขึ้น และยังคงจะได้ภาคภูมิใจกับข้าวไทยต่อไป ชาวนาจะได้กลายเป็นกระดูกสันหลังของชาติที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
2
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
1

Comments are closed.

More in:Writings

Writings

สงกรานต์ทั้งที ไม่มีความสงสัยบ้างไม่ได้หรอ?: เมื่อคำถามจากญาติในช่วงเทศกาลแห่งความสุขสร้างความทุกข์ให้ลูกหลาน

เรื่องและภาพประกอบ: ทยาภา เจียรวาปี หมายเหตุ: ประโยคคำถามในบทความชิ้นนี้ เป็นการรวบรวมจากประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียน และคนรอบตัวของผู้เขียนเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ในสายตาผู้อ่าน ภาพวันสงกรานต์หน้าตาเป็นอย่างไร? เชื่อว่าสำหรับหลายๆ คน คงเห็นภาพการสาดน้ำดับร้อน ภาพความสุข รอยยิ้ม ...

Writings

‘Dark souls III’ จุดสูงสุดของไตรภาคอันยิ่งใหญ่ ผู้จะสถิตอยู่ในดวงใจของผู้เล่นตลอดไป

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง TW : ในบทความชิ้นนี้มีภาพตัวละครศัตรูที่ทำให้รู้สึกขยะแขยงได้ หากผู้อ่านท่านใดรู้สึกไม่สบายใจ สามารถข้ามหัวข้อ “เหล่าศัตรูที่เห็นแล้วต้องร้องอ๋อ (ไม่ก็ อี๋)” เพื่ออ่านหัวข้อถัดไปได้เลย ตัวละครของผมตื่นขึ้นมาในสถานที่ที่คล้ายคุก ไม่มีอะไรติดตัวนอกจากดาบหักๆ หนึ่งเล่ม ...

Writings

‘RICE สาระ’ เรื่องข้าวๆ ของคนวิจัยข้าว

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ นี่สินะที่เรียกว่า ‘ความเงียบที่ดังที่สุด’ ความเงียบก่อตัวขึ้นในกองบรรณาธิการเล็กๆ ของเรา หลังสิ้นคำถามของฉันว่า “มีใครรู้จักศูนย์วิจัยข้าวไหม” แม้จะคาดหวังคำตอบว่า ‘รู้จัก’ อยู่เล็กน้อย แต่ความเงียบก็ได้ตอบคำถามแล้วว่า ‘ไม่มีใครรู้จักเลย’ ...

Writings

สำรวจความสำคัญ พร้อมตั้งคำถามถึงค่านิยมแบบไท๊ย ไทย ที่ทำให้วัตถุสนองความอยากทางเพศ ถูกปฏิเสธการมีอยู่

เรื่อง: ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ: นภัสสร ยอดแก้ว จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมาสักระยะ ผู้เขียนพบสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา นั่นคือ ‘การเปิดเผยเรื่องทางเพศอย่างตรงไปตรงมา’ จากเดิมที่แค่พูดแตะๆ เรื่องใต้สะดือก็มีสิทธิ์โดนแบนได้ง่ายๆ ตอนนี้กลับสามารถพูดได้อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ประสบการณ์เซ็กซ์ การบอกเทคนิคลีลาเด็ดมัดใจคู่นอนในโลกโซเชียล ...

Writings

When the party’s over, what do we need to recover? งานธรรมศาสตร์แฟร์ ทิ้งปัญหาอะไรไว้ให้เราบ้าง

เรื่องและภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง “ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ” คำพูดที่มีความหมายว่า แม้จะเจออะไรที่แย่ขนาดไหน แต่หลังจากที่มันผ่านไป ก็จะมีสิ่งดีตามมาเสมอแต่สำหรับงานธรรมศาสตร์แฟร์ (Thammasat Fair) เหมือนว่าจะไม่ใช่แบบนั้น งานธรรมศาสตร์แฟร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ...

Writings

ผู้ดูแลคนพิการคือสมาชิกในครอบครัวของฉัน

เรื่องและภาพประกอบ : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ย้อนกลับไปเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ ขณะที่ฉันกำลังทำความสะอาดข้าวของเก่าๆ ในห้องเก็บของอยู่ สายตาก็พลันเหลือบไปเห็นกล่องพลาสติกใสมีฝาปิด ด้านในอัดแน่นไปด้วยอัลบั้มรูปภาพตั้งเรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ  ฉันตัดสินใจนั่งลงบนพื้นแล้วเปิดฝากล่องออก ค่อยๆ หยิบอัลบั้มแต่ละเล่มออกมาเปิดดูด้วยความสงสัย รูปทั้งหมดหลายร้อยใบล้วนเป็นรูปครอบครัวของฉัน มันได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีในซองพลาสติกใสของอัลบั้ม ทว่าน่าเสียดายที่ไม่มีใครเขียนวันเดือนปีระบุเอาไว้ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save