Art & Culture

Cancel Culture มีอิทธิพลแค่ไหนในวงการแฟนคลับ

เขียน มานิตา คิดนุนาม

รูปภาพ มานิตา คิดนุนาม

วัฒนธรรมที่ประชาชนในสังคมคว่ำบาตร เท แบน หรือบอยคอต นโยบาย กฎหมาย หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หลังจากสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้น ได้กระทำ ‘บางสิ่ง’ ที่ไม่เป็นไปที่ประสงค์ ไม่ว่า ‘บางสิ่ง’ นั้นจะเป็นการกระทำผิดจริงๆ หรือเป็นเพียงการทำไม่ถูกใจ จนทำให้ประชาชนกลุ่มนั้นไม่ต้องการสนับสนุน ไม่อยากรับรู้เรื่องราวจากสิ่งนั้นหรือคนนั้นต่อไป กระทั่งตัดขาดความสัมพันธ์ ทั้งในการพูดถึง การสนับสนุน และการติดตาม หรือหากจะพูด ก็พูดถึงในเชิงลบ คือความหมายของคำว่า ‘Cancel Culture’    

Cancel Culture เป็นการกระทำของประชาชนในทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งนี้ไม่เคยหายไปและเกิดขึ้นใหม่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะตอนนี้ที่เห็นได้บ่อยในวงการคนดัง ดารา ศิลปิน นักร้อง นักการเมือง และผู้มีชื่อเสียงต่าง ๆ 

นอกจากนี้ยังเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งอิทธิพลต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบุคคลสาธารณะ ไม่ว่าจะเด่นดังแค่ไหน เมื่อเจอ ‘การคว่ำบาตร’ ไป ก็มีสิทธิดับเกือบทุกราย เพราะไม่มีผลงาน ไม่มีคนสนับสนุน ไม่ได้รับรายได้ 

อย่างไรก็ตาม มีคนดังที่ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะแฟนคลับบางส่วนยังติดตามและมอบความรักให้อย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าสิ่งที่ผู้คนภายนอกครหาคนดังเหล่านั้นจะมีความจริงอยู่บ้างหรือไม่ก็ตาม 

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการทำงานของ Cancel culture ไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัว และอาจไม่ได้ส่งผลเลวร้ายถึงที่สุดอย่างที่คนมักคิดว่าจะเป็นเสมอไป

Cancel Culture กับวงการบันเทิงไทย

บทบาทของ Cancel culture ที่ส่งผลกับวงการคนดังมีตัวอย่างมากมาย โดยเฉพาะในวงการบันเทิง หากพูดถึงเฉพาะในวงการบันเทิงไทยก็จะมีให้เห็นเรื่อย ๆ ตัวอย่างเมื่อปี 2555 มีข่าวใหญ่โตของนักร้อง – นักแสดงหนุ่มที่กำลังมาแรงอย่าง ‘ฟิล์ม-รัฐภูมิ โคตงทรัพย์’ ถูกกล่าวหาว่าทำดาราสาว ‘แอนนี่ บรู๊ค’ ท้อง เมื่อเกิดข่าวนั้นขึ้น ก็เป็นกระแสใหญ่โตไปในทางลบ และเนื่องจากหนุ่มฟิล์มไม่ได้ออกตัวทันทีว่าจะรับผิดชอบเรื่องดังกล่าว เหล่าคนที่ได้รับรู้ข่าวสารจึงกล่าวโทษฟิล์ม จนดาราหนุ่มค่อย ๆ หายหน้าไปจากวงการบันเทิงไทยอย่างเงียบ ๆ และไม่มีผลงานโดดเด่นประจักษ์แก่สายตาผู้ชมนานหลายปี นี่เป็นตัวอย่างการทำงานของ Cancel culture ในอดีต

ปัจจุบันก็มีประเด็น Cancel Culture กับดาราอีกหลายคน เช่น ข่าวของนักแสดงซีรีส์วัยรุ่นอย่าง ‘บิว -จักรพันธ์ พุทธา’ ที่กำลังดังมากในชุมชนแฟนคลับซีรีส์วาย มีบุคคลหนึ่งออกมาแฉถึงวีรกรรมที่ดาราหนุ่มทำ โดยบุคคลนั้นเป็นแฟนเก่า และเป็นนักเขียนนิยายเรื่อง ‘KinnPorsche The Series’ ที่หนุ่มบิวร่วมแสดงด้วย เธอออกมาพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเธอกับหนุ่มบิว ทั้งประเด็นเรื่องการทำร้ายร่างกาย การได้เข้าร่วมแสดงซีรีส์ด้วยวิธีการที่ไม่สะอาด การหยิบยืมเงิน ขอเงิน หรือการรับสิ่งของที่มีมูลค่า ทั้งหมดถูกนำมากล่าวแก่มวลชนในเชิงลบ ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในหมู่แฟนคลับบางกลุ่ม ประชาชนทั่วไปที่เสพข่าว รวมถึงบุคคลที่อยู่ในชุมชนซีรีส์วาย 

ผลกระทบที่ตามมาคือบิวต้องออกจากสังกัด Be on Cloud ถูกยกเลิกตารางงานทั้งปัจจุบันและอนาคต และได้รับความคิดเห็นที่รุนแรงมากมายจากประชาชน 

ทั้งสองกรณีที่กล่าวมานั้น หลังจากเกิดเรื่องขึ้น ก็ได้มีกระบวนการขอโทษแก่สังคมและคู่กรณี ซึ่งเป็นการทำผ่านสื่อสารมวลชนเพื่อให้รับทราบโดยทั่วกันถึงความสำนึกผิดของพวกเขา

นั่นแสดงให้เห็นว่า Cancel Culture เป็นวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นอิทธิพลของกลุ่มมวลชนต่อสื่อและวงการบุคคลมีชื่อเสียง โดยเฉพาะวงการบันเทิง วัฒนธรรมดังกล่าวอาจทำให้บุคคลหนึ่งหมดสิ้นทุกอย่างที่ได้สร้างไว้ ทั้งชื่อเสียง เงินทอง ภาพลักษณ์ และความไว้เนื้อเชื่อใจ แม้แต่ในกลุ่มแฟนคลับเองก็ยังเกิดการแตกหัก จากรักกลายเป็นเกลียด หรือเลิกสนับสนุนไปโดยปริยาย

ความรุนแรงทางความคิดเห็นของกลุ่มคนทั่วไปและแฟนคลับ

หากกล่าวถึงกลุ่มคนนอกแฟนด้อมที่เสพข่าวเกี่ยวกับบุคคลมีชื่อเสียงที่ตกเป็นเหยื่อของ Cancel Culture กระแสความคิดเห็นของคนทั่วไปจะมีความรุนแรงตั้งแต่เลิกสนับสนุน ไปถึงระดับการด่าทอโดยไม่ให้เกียรติแม้สักนิด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้คนทั่วไปที่ไม่ใช่แฟนคลับมักจะกระทำ เพราะไม่เคยมีความรู้สึกดีหรือผูกพันธ์กับตัวศิลปินมากนัก 

แต่ถ้าหากพูดถึงกลุ่มแฟนคลับซึ่งเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวที่สุดต่อเรื่องที่เกิดขึ้น คนกลุ่มนี้จะถูกคนนอกกลุ่มเพ่งเล็งอย่างมีนัยสำคัญถึงการแสดงความรู้สึกและการกระทำที่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับรู้เรื่องเลวร้าย (ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้) ของศิลปินผู้เป็นที่รัก ว่าจะมีท่าทีและรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น

เหตุการณ์ทั้งสองกรณีที่ยกขึ้นมาพูดถึงนั้น ศิลปินได้มีวิธีการขอโทษที่แตกต่างกัน กรณีของฟิล์ม เขาได้ขอโทษแก่คู่กรณีโดยตรง และมีแม่เป็นตัวแทนในการขอโทษแฟนคลับ ส่วนบิวนั้นได้ออกมาขอโทษแฟนคลับและคู่กรณีด้วยตัวของเขาเอง 

อย่างไรก็ตาม กลวิธีของทั้งคู่ไม่ได้สร้างความแตกต่างด้านความรู้สึกที่เกิดขึ้นในหมู่แฟนคลับมากนัก เพราะผลคือมีทั้งคนที่พร้อมรับคำขอโทษไม่ว่าจะรูปแบบใด และมีอีกกลุ่มที่พร้อมจะปัดทิ้งทุกคำพูดของศิลปินเมื่อปักใจเชื่อข่าวที่เกิดขึ้น 

เมื่อเจาะลึกไปยังกระแสของแฟนคลับหลังจากเกิดข่าว Cancel Culture นี้ มีเรื่องที่น่าสนใจแฝงอยู่ในความสับสนวุ่นวาย

แฟนคลับ คือกลุ่มคนที่ให้การสนับสนุนหลักแก่ศิลปินที่ตนรัก มีคำกล่าวไว้ว่า รักมากย่อมเกลียดมาก ซึ่งสามารถอธิบายการคว่ำบาตรได้ดี การที่กลุ่มแฟนคลับผิดหวังเสียใจเป็นเรื่องปกติธรรมดา อาจเพราะสิ่งที่ศิลปินของพวกเขาทำลงไปนั้นแย่เกินจะรับไหว และไม่สมควรได้รับการให้ภัยใด ๆ หรืออาจจะมาจากปัจจัยเรื่องการแก้ไขสถานการณ์หลังจากที่เกิดกระแสข่าวขึ้น หากศิลปินออกหน้ารับข่าวไม่ดี แก้ไขสถานการณ์ได้ไม่ดี แน่นอนว่าความคิดเห็นเชิงลบจะเกิดขึ้นอย่างมากมาย และถือเป็นสิ่ง ‘ปกติ’ ที่ควรจะเกิดขึ้นได้แม้จะเป็นในหมู่แฟนคลับ 

แต่ความน่าสนใจคือ มีแฟนคลับ ‘บางกลุ่ม’ ที่สามารถยอมรับทุกความผิดพลาดของศิลปินที่พวกเขารักได้โดยไม่มีเงื่อนไข หรือหากมีเพียงเงื่อนไขเดียวคือการกล่าวคำว่า ‘ขอโทษ’ ก็พร้อมจะจบทุกปัญหา

“ก็เขาขอโทษแล้ว คนเราต้องเดินหน้าต่อ สามารถแก้ตัวได้ เราไม่ได้มองว่าต้องจมอยู่กับความผิดขนาดนั้นหรอก เดินหน้าต่อไปดีกว่า”

คำพูดของคุณเมย์ แฟนคลับกลุ่มซีรีส์วายที่ผู้เขียนได้สัมภาษณ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นสั้น ๆ กล่าวไว้ เธอมองว่าบุคคลที่ทำผิดพลาดแล้วขอโทษแก่คู่กรณีหรือกลุ่มแฟนคลับ – ประชาชนทั่วไป ไม่ควรจะต้องก้มหน้ายอมรับความผิดและการประณามตลอดชั่วชีวิต เธอเลือกที่จะให้อภัยแก่ศิลปินที่เธอชื่นชอบหรือใครก็ตามที่ทำผิด โดยมีเงื่อนไขว่าต้องขอโทษและยอมสำนึกผิดแล้วเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เธอไม่สนใจที่จะมานั่งวิเคราะห์โดยละเอียดว่าการขอโทษนั้นได้มีความจริงใจและสมควรมาก – น้อยเพียงใด เพียงแค่ขอโทษ รับรู้ถึงความสำนึกผิดได้มากพอแล้ว

“ให้อภัยนะ เพราะคนเราต้องเคยพลาดแหละ ไม่มีทางที่เราจะดีได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ลองนึกกลับกันถ้าเป็นเราสิ กูขอโทษแล้วจะให้กูทำอะไรอีก แบบนี้อะ สำนึกแล้วไง”

การตัดสินใจให้อภัยของคุณเมย์นั้น เธอไม่ได้มองว่าตนเองทำไปเพราะรักศิลปินมาก แต่คิดในพื้นฐานความเป็นจริง นำมาเปรียบเทียบกับชีวิตเธอว่า ถ้าหากโดนวัฒนธรรมการแคนเซิลแบนนี้เล่นงาน เธอก็คงอยากได้รับการให้อภัย และอยากให้คนเข้าใจว่าเธอขอโทษอย่างจริงใจแล้ว

นอกจากนี้คุณเมย์ยังให้ความเห็นอีกว่า “ไม่มีทางที่เราจะพิสูจน์ความจริงใจของคนได้จริง ๆ หรอก” เพื่อเป็นการย้ำว่าการนั่งจับผิดสิ่งที่ศิลปินออกมาขอโทษนั้นไม่มีประโยชน์สำหรับเธอ

อาจบอกได้ว่า การทำงานของ Cancel Culture มีเหตุและผลในตัวของมันเอง ความแตกต่างของคนสองกลุ่มมีเหตุผลที่สนับสนุนอย่างมีน้ำหนักทั้งคู่ จึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าวิธีของคนกลุ่มใดคือวิธีที่ถูกต้อง ผู้เขียนมองว่าเรื่องนี้ไม่มีตรงกลางที่แท้จริง และอยากเสนอแนวคิดเรื่องของการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกันมากกว่าจะแก่งแย่งความถูกต้องให้กับความคิดเห็นของตนเอง

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0
Features

สารบัญปัญหาสำนักพิมพ์

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง และ สิทธิเดช สายพัทลุง สำนักพิมพ์ น. สถานที่ดำเนินธุรกิจจัดพิมพ์และจำหน่ายตำราหรือหนังสือ สารคดี ...

Articles

เรื่องราวของผีที่มีมากกว่าความน่ากลัวโดย ‘Mike Flanagan’

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ กิจกรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ในช่วงเทศกาลฮาโลวีนก็คงหนีไม่พ้นการแต่งหน้าแต่งตัวเป็นผี ไปยืนเคาะประตูหน้าบ้านคนอื่น พร้อมตะโกนคำว่า Trick or Treat! เพื่อขอขนมหวานแสนอร่อย แต่นี่คือประเทศไทย ดินแดนแห่งเวทมนตร์ หากเดินไปเคาะประตูบ้านคนอื่นยามค่ำคืนก็คงจะได้ไปเล่นกับตำรวจ ไม่ก็เจ้าที่แทน ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็มีเพียงแค่การดูหนังมาราธอนจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ...

Articles

Blackstar : คำร่ำลาจาก (เหล่า) มนุษย์ตาสองสีผู้มาจากต่างดาว

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ‘ความตาย’ เป็นสิ่งที่เราจะต้องพบในสักวัน ทั้งของครอบครัว เพื่อน หรือแม้แต่ความตายของตัวเองที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาทุกวินาที โดยเราไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามันจะมาถึงตัวของเราเมื่อไหร่ จนอาจกลายเป็นความหวาดกลัวที่ทำให้ไม่อยากจะใช้ชีวิตบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินแห่งนี้อีกต่อไป แต่ไม่ใช่กับชายคนหนึ่ง ชายผู้แม้ความตายจะมาเคาะประตูหน้าห้อง ...

Articles

The substance: การฉายซ้ำของภาพยนตร์ที่ว่าด้วยการติดหล่มความงาม มองข้ามความจริง และ Ageism ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

เรื่อง : ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร “You were amazing” “เธอ ‘เคย’ ยอดเยี่ยม” คือคำเขียนในการ์ดที่ถูกแนบมาพร้อมดอกไม้ช่อโต ...

Writings

จดหมาย 3 ฉบับถึงงานหนังสือ

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง, ชวิน ชองกูเลีย และ ศิรประภา จารุจิตร จดหมาย 3 ฉบับถึงงานหนังสือ คำนำ งานหนังสือ ...

Articles

Look Back: มองย้อนไป…กับหัวใจที่ต้องเดินหน้าต่อ

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ Spoiler Alert: บทความชิ้นนี้มีการสปอยล์เนื้อหาของ ‘Look Back’ “ถ้าตอนนั้นทำอีกแบบหนึ่ง มันจะเป็นยังไงนะ?” ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save