News

หอสมุดโอด iPad หาย ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจบแล้วยังไม่คืน

เรื่อง : ศิรประภา สีดาจันทร์

ภาพ : จิรัชญา นุชมี

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โอด iPad หายราว 60-70 เครื่อง ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจบแล้วยังไม่คืน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม เพจหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกาศตามหา iPad ที่ถูกยืมไปบนเฟซบุ๊กและขอให้นักศึกษาที่ยืมไปนำมาคืนเมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมานั้น เมื่อวันที่ 12 กันยายน ชัยสิทธิ์ อังคะปัญญาเดช หัวหน้างานบริการท่าพระจันทร์ และหัวหน้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า ยอด iPad ที่หอสมุดเปิดให้ยืมเพื่อการศึกษาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2564 – 2566) หายไปรวมราว 60-70 เครื่อง นับตั้งแต่เปิดให้ยืมเพื่อความสะดวกในการเรียนช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และหายสะสมเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้นักศึกษาปัจจุบันไม่สามารถยืมได้และในอนาคตปริมาณเครื่องที่ให้ยืมอาจลดน้อยลง

ชัยสิทธิ์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่ามาตรการในการคืน iPad ต้องล้างข้อมูลเครื่องก่อนคืน หากเครื่องชำรุดหรือเข้าข่ายกับที่หอสมุดกำหนดไว้ต้องซื้อใช้หอสมุด และคืนช้ากว่ากำหนดถูกคิดค่าปรับในอัตรา 10 บาทต่อวัน ปัจจุบันมีนักศึกษาติดค่าปรับอยู่ที่ประมาณ 10,000 กว่าบาท จึงขอความร่วมมือหากนักศึกษาติดปัญหาใด สามารถติดต่อหอสมุดเพื่อพูดคุยก่อนได้

“นักศึกษาบางคนที่เขาซิ่วไปแล้วไม่คืน เพราะเข้าใจผิด นึกว่ามหาลัยให้ iPad ไปใช้เลยก็มี และมันก็จะมีที่นักศึกษาติดปัญหาและมีความจำเป็น อันนี้เราก็จะดูเป็นกรณีไป ขอเพียงแค่ติดต่อมาหน่อย ติดต่อมาก่อนเราคุยกันได้” ชัยสิทธิ์ กล่าว

ด้านปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์ หัวหน้างานบริการรังสิตและภูมิภาค และหัวหน้าหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์กล่าวว่า จำนวน iPad ที่หอสมุดได้รับจากมหาวิทยาลัย ทั้ง 3 ศูนย์ (ท่าพระจันทร์, รังสิต และลำปาง) นั้นมีทั้งหมด 879 เครื่อง ปัจจุบันไม่สามารถยืมได้แล้ว เนื่องจากเครื่องถูกยืมจนครบโควตา อีกทั้งนักศึกษาที่ยังไม่คืนส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่จบไปแล้ว แต่ยังไม่ขึ้นทะเบียนจบ หรือพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

ปทุมทิพย์ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการติดตามนักศึกษาที่ยืม iPad ไปเพื่อนำมาคืนว่า ใช้ทั้งการส่งอีเมล แชทถามในไลน์แอดของหอสมุด โทรศัพท์หานักศึกษาโดยตรง หรือกรณีติดต่อนักศึกษาไม่ได้จะโทรศัพท์หาผู้ปกครอง และส่งจดหมายไปตามคณะของนักศึกษา ตามลำดับ “ไม่อยากโทรหาผู้ปกครองเท่าไหร่ เกรงใจเขา บางทีโทรไปผู้ปกครองก็เสียงสั่น เพราะไม่คิดว่าลูกเขาจะทำแบบนี้” ปทุมทิพย์ กล่าว

ขณะที่สราวุธ พรหมหาญ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า เขาได้ยืม iPad ของหอสมุด การขอยืมใช้เวลาไม่นาน ทางหอสมุดดำเนินการเร็ว แต่ถ้าหากต้องการยืมตอนนี้ไม่สามารถยืมได้ เพราะหอสมุดแจ้งว่าเต็ม

ด้านจิตริณี แก้วใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวารสารศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า เป็นนักศึกษาที่ต้องการยืม iPad เนื่องจากอุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม จนสุดท้ายแล้วไม่ได้ยืม เหตุเพราะถูกยืมครบจำนวนไม่สามารถให้ยืมได้ “ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าต้องทำเอกสาร แต่พอรู้ว่าต้องทำแล้วจะมายืมอีกที เครื่องก็หมด เลยซื้อ iPad ส่วนตัวเลย” จิตริณี กล่าว

เยาวลักษณ์ อู๊ดเอม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการจัดการกีฬา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า สาเหตุที่อยากยืม iPad เพราะการเรียนการสอนช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นรูปแบบออนไลน์ ซึ่งรู้สึกว่า iPad มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียน แต่เพราะไม่รู้วิธีติดต่อยืม iPad ช่องทางอื่น นอกจากไปห้องสมุดโดยตรงเท่านั้น ทำให้พลาดข่าวสารในการยืม จึงตัดสินใจซื้อ iPad เป็นของตัวเอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หอสมุดเปิดให้บริการ iPad เพื่อการศึกษาตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2564 หรือช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 หลังจากมหาวิทยาลัยปรับการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ โดยในช่วงแรกมีเกณฑ์การยืมให้เฉพาะนักศึกษาโครงการธรรมศาสตร์ช้างเผือกและทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาหรือ กยศ. เท่านั้น ต่อมาหลังจากสถานการณ์
โควิด-19 ดีขึ้น การเรียนการสอนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จึงเปลี่ยนเกณฑ์ให้นักศึกษาทุกคนสามารถยืมได้ ระยะเวลาการยืมในช่วงแรกเป็นการให้ยืมตลอด 1 เทอมการศึกษา และเมื่อปี 2566 ได้เพิ่มตัวเลือกระยะเวลาการยืม คือเป็นรายสัปดาห์หรือ 7 วันได้ ทั้งนี้ก่อนจบภาคการศึกษา ทางหอสมุดจะมีการเรียกคืน iPad และตรวจสอบข้อมูลของผู้ยืมว่าในเทอมการศึกษาหน้า นักศึกษามีการลงทะเบียนเรียนจริงหรือไม่ เพื่อป้องกันการแอบอ้างสิทธิ์ขอยืม iPad

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ชี้ ไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับสื่อสตรีมมิง  แม้มีแผนแม่บทแต่ไม่นำเข้าที่ประชุมกสทช.

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ และ วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ชี้ ไทยไม่มีการกำกับดูแล OTT เพราะร่างแผนแม่บทไม่ถูกนำเข้าที่ประชุมกสทช. กระทบสื่อทีวี-ผู้บริโภค จากกรณีเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ...

News

ศาลตัดสิน คุก 2 ปี ‘พิรงรอง’ หลัง ทรูไอดี ฟ้อง กสทช.

เรื่อง : ยลพักตร์ ขุนทอง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษา ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต ...

News

ทีมผลิตคลิปงานแรกพบเพื่อนใหม่ มธ. เผยยังได้ค่าจ้างไม่ครบ ด้านอมธ. แจงจ่ายช้าเพราะกำลังพิจารณาสาเหตุของค่าใช้จ่ายที่เกินงบ

เรื่องและภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี กลุ่มนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ ทีมผลิตคลิปประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย เผยได้รับค่าจ้างผลิตคลิปประชาสัมพันธ์งาน TU universe: Merging of the galaxies ไม่ครบ ทางผู้อำนวยการกองถ่ายคาด ...

News

ภาคประชาชนชี้ รัฐควรปรับปรุง ‘ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2024)’ เพราะอาจดันค่าไฟสูงขึ้น เหตุตั้งกำลังผลิตเกินจำเป็น

เรื่อง : ณัฐกานต์ บุตรคาม ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง “โครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย” ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่รณรงค์เรื่องพลังงาน ชี้ภาครัฐควรปรับปรุงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2024)  เนื่องจากกำหนดกำลังผลิตไฟฟ้าเกินความจำเป็น ซึ่งจะทำให้ค่าไฟสูงขึ้น ...

News

ผอ. กองนโยบายภาษีชี้หนี้ครัวเรือนไทย เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยม ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว แนะรัฐฯ ปฏิรูประบบการศึกษาสร้างทักษะติดตัว

เรื่อง : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ผอ. กองนโยบายภาษีชี้หนี้ครัวเรือนไทยเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมและค่านิยมในสังคม  ทำให้ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว แนะรัฐฯ ปฏิรูปโครงสร้างตั้งแต่ระบบการศึกษาเพื่อสร้างทักษะติดตัวประชาชน เพราะดิจิทัลวอลเล็ตไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว เมื่อวันที่ ...

News

รมช.คลัง เดินหน้าแจกเงินหมื่นเฟส 3 เป็นดิจิทัลวอลเล็ต ยันกระตุ้นการใช้จ่ายได้มากกว่าเงินสด 

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี รมช.คลัง เดินหน้าแจกเงินหมื่นเฟส 3 เป็นดิจิทัลวอลเล็ต ยืนยันกระตุ้นการใช้จ่ายได้มากกว่าเงินสด เหตุตั้งเงื่อนไขการใช้เงินได้และต้องการให้ประชาชนเปิดรับเทคโนโลยี  เมื่อวันที่ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save