ArticlesSocietyWritings

การ ‘ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’ ชาวปาเลสไตน์ ภายใต้คำกล่าวอ้างว่าทำไปเพื่อกำจัด ‘ฮามาส’ แต่ชาวปาเลสไตน์ ≠ ฮามาส

เรื่อง: พรวิภา หิรัญพฤกษ์

ALL EYES ON RAFAH

รูปภาพที่มีตัวอักษรเล็กๆ ราวสิบบรรทัด ถูกแชร์ซ้ำไปมาอยู่บนสตอรี่ หน้าอินสตาแกรมของใครหลายคน ด้วยจุดประสงค์เพื่อให้ผู้คนรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในเมืองราฟาห์ เขตพื้นที่สุดท้ายที่ชาวปาเลสไตน์สามารถอาศัยอยู่ได้ในฉนวนกาซ่า

สิ่งนี้คืออะไร ทำไมเราถึงต้องจับตามอง ?

มาเริ่มกันที่จุดที่เรียกว่า ‘ฉนวนกาซา’ (Gaza Strip) พื้นที่ปกครองตัวเองของชาวปาเลสไตน์ ซึ่งมีขนาดพอๆ กับจังหวัดสมุทรสงครามของไทย ตะวันตกติดอยู่กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันตกเฉียงใต้อยู่ติดกับอียิปต์ ส่วนที่เหลือล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิสราเอล ซึ่งนับตั้งแต่เดือนตุลาคมของปีที่แล้วถูกอิสราเอลโจมตีอย่างต่อเนื่อง และกระชับเขตพื้นที่ให้เล็กลงเรื่อยๆ จนขณะนี้ชาวปาเลสไตน์สามารถอยู่ได้แค่ใน ‘ราฟาห์’ (Rafah) พื้นที่ใต้สุดของฉนวนกาซา ซึ่งติดอยู่กับพรมแดนของอียิปต์ และเป็นช่องทางเดียวที่จะสามารถส่งความช่วยเหลือจากภายนอกเข้าไปยังค่ายพักพิงของผู้ลี้ภัย

เพราะเป็นพื้นที่ปกครองตัวเองของชาวปาเลสไตน์ที่มีกลุ่ม ‘ฮามาส’ เป็นเหมือนรัฐบาล นั่นคือเหตุที่ทำให้อิสราเอลมุ่งเป้ามาโจมตีฉนวนกาซาอย่างหนัก โดยให้เหตุผลว่าต้องการจะปราบล้างกลุ่มฮามาสให้สิ้นซาก จากความขัดแย้งที่มีมาอย่างต่อเนื่องของอิสราเอลและปาเลสไตน์ รวมไปถึงเหตุจลาจลต่างๆ ที่ทางอิสราเอลเป็นผู้ถูกกระทำ และต่างฝ่ายต่างก็ต้องเสียพลเมืองผู้บริสุทธิ์ไปไม่น้อย ทว่าในตอนนี้ความสูญเสียที่เกิดในฉนวนกาซาตลอดระยะเวลาราว 10 เดือนที่ผ่านมามากและโหดร้ายเกินกว่าที่จะเรียกว่าสงคราม แต่มันคือการ ‘ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’1

นี่ไม่ใช้คำพูดเพื่อปรักปรำอิสราเอลอย่างเลื่อนลอย หากแต่อยู่บนความเป็นจริงจากสิ่งที่อิสราเอลกระทำต่อชาวปาเลสไตน์ แม้แต่สหภาพยุโรปเองยังเรียกว่ามันคือการสังหารหมู่ เพราะทั้งการโจมตีหน่วยพยาบาล ทำลายมหาวิทยาลัยและโรงเรียน การทิ้งระเบิดในเขตที่ตนเองประกาศว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย สังหารเด็กเล็ก หรือแม้กระทั่งการขัดขวางการช่วยเหลือด้านพยาบาลและอาหารที่จะส่งไปยังค่ายของผู้ลี้ภัย การกระทำเหล่านี้ล้วนมีส่วนที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้นะ ‘อนุสัญญาเจนีวา’ ซึ่งเป็นเหมือนกฎสากลของการทำสงคราม

ทั้งนี้ อิสราเอลได้ลงนามในอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3 อันว่าด้วยการคุ้มครองเชลยสงคราม แแต่ไม่ได้ลงนามไว้ในอนุสัญญา ฉบับที่ 4 ที่ระบุเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนผู้ไม่เกี่ยวข้องในสงครามไว้ แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่อิสราเอลทำยังคงเรียกได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสิทธิในการมีชีวิตอยู่ของชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในกาซา

หากจะบอกว่าการกระทำเหล่านี้ทำไปเพื่อกำจัดกลุ่มฮามาส เพื่อปกป้องคนในประเทศของตน เช่นนั้นแล้ว หมายความว่าชาวปาเลสไตน์ทุกคน คือ ‘ฮามาส’ งั้นหรือ

และถ้าไม่ใช่ แล้วพวกเขายังคงควรได้รับสิทธิในฐานะความเป็น ‘มนุษย์’ อยู่หรือไม่

จริงอยู่ที่ฮามาสไม่ใช่เหยื่อที่ขาวสะอาด เขาก่อการร้าย และจับผู้บริสุทธิ์ไปเป็นตัวประกัน แต่พวกเขาไม่ใช่ทั้งหมดของชาวปาเลสไตน์ ฮามาสคือชาวปาเลสไตน์กลุ่มหนึ่งที่ก่อการร้าย แต่สิ่งที่อิสราเอลกำลังทำ คือการทำลายเมือง และทำร้ายชาวปาเลสไตน์ อย่างไม่สนจริยธรรมในสังคม หรือกฎการทำสงครามเสียด้วยซ้ำ             

นับตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในฉนวนกาซามีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 35,000 ราย และคงมีเพิ่มอีกเรื่อยๆ หากยังไม่มีการหยุดโจมตี ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีการเสนอแผนหยุดยิงแล้ว แต่จนถึงวันนี้แผนดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และไม่รู้ว่ากว่าจะถูกอนุมัติและใช้ได้จริง จะต้องมีผู้บริสุทธิ์อีกกี่คนที่จะต้องสังเวยชีวิตให้กับเกมล้างแค้นสนามนี้

ประวัติศาสตร์สงครามอันยาวนานของทั้งสองประเทศมีหลายมิติและหลากมุมมองที่อาจยากต่อการทำความเข้าใจ แต่เรื่องของสิทธิมนุษยชนนั้นเข้าใจง่ายกว่านั้นมาก เพราะไม่ว่าใครก็มีสิทธิในการมีชีวิตอยู่และไม่มีใครควรจะถูกสังหารเพียงเพราะศาสนาหรือเชื้อชาติที่ติดตัวพวกเขาอยู่

ท้ายที่สุดไม่ว่าใครจะเป็นผู้กระทำในเรื่องนี้ แต่ผู้ถูกกระทำที่แท้จริงมีเพียง ‘ประชาชนผู้บริสุทธิ์’ ที่ต้องรับชะตากรรมที่ผู้มีอำนาจจัดสรรอย่างหลีกไม่ได้เลี่ยงไม่พ้น
  1. *การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หมายถึง การกำจัดคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งให้หมดสิ้นไป ↩︎

อ้างอิง

https://www.thaipbs.or.th/news/content/332652

https://thestandard.co/gaza-strip

https://thematter.co/brief/226707/226707#google_vignette

https://www.thaipbs.or.th/news/content/333081

https://www.aljazeera.com/news/liveblog/2024/6/9/israels-war-on-gaza-live-nightmare-as-hospital-copes-with-nuseirat-dead

https://www.youtube.com/watch?v=QO6pHR_WNg8

https://blogs.icrc.org/th/2021/08/13/gcs1949-72

https://www.bbc.com/thai/international-60984709

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Articles

Articles

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อ คำทำนาย: เครื่องมือพยุงจิตใจในสภาวะหมดศรัทธาในตนเอง?

เรื่อง: ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ: พรวิภา หิรัญพฤกษ์ ในทศวรรษที่ 21 โลกกำลังหมุนไปพร้อมกับการพัฒนาของวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligent หรือ AI) ...

Articles

Metal Gear Solid V: รุ่งอรุณสุดท้ายของราชาแห่ง Konami

เรื่องและภาพประกอบ: สิทธิเดช สายพัทลุง เกมซีรีส์ Metal Gear หรือ Metal Gear Solid (MGS) คือชื่อที่เรียกได้ว่าเป็นเกมที่ทำเงินได้มากที่สุดของบริษัทเกมจากแดนอาทิตย์อุทัยอย่าง ‘Konami’ ที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยเกมตู้หยอดเหรียญ ซึ่ง ...

Writings

Slacktivism แค่คลิกก็สุขใจ ในโลกที่ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยการแชร์ ?

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ เปิดมาเจอไลฟ์สไตล์สุดหรูผ่านไอจี  เลื่อนไปเจอข่าวคนที่ไม่มีแม้แต่อันจะกิน สไลด์ไปเจอหมีเนย ไถอีกทีเจอสงคราม ภายในเสี้ยววินาทีต่อมาเราก็ปัดไปเจอหมูเด้งเสียแล้ว ท่ามกลางโลกที่เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากมาย เราต่างเรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ...

Articles

สรุป 3 ประเด็นน่าสนใจ ดีเบตรองประธานาธิบดี “วอลซ์ vs แวนซ์”

เรื่อง : จุฑาภัทร ทิวทอง ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง เมื่อวันที่ 2 ต.ค. CBS สถานีโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา ได้จัดเวทีดีเบตสำหรับผู้ลงสมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างเจมส์ ...

editorial

Editor’s Note : รัฐไทยจะถอดบทเรียนอีกกี่ครั้งก็คงไม่เกิดความเปลี่ยนแปลง ตราบใดที่ยังแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษาของโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเป็นนักเรียนและคุณครูจำนวน 23 ราย ในวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ทาง Varasarn Press ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้คนในสังคมเกิดความสะเทือนใจ และเป็นกังวลต่อการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาที่จำเป็นต้องเดินทางด้วยรถโดยสารประเภทรถบัส จึงมีการออกคำสั่งงดทัศนศึกษาจาก ...

Articles

บรรณ (บัน) ลือโลก

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง “บรรณ (บัน) ลือโลก”เสียงอื้ออึงถึงปัญหาจากวงการหนังสือที่น้อยคนนักจะได้ยิน คำนำ บันลือ ก. เปล่งเสียงดังก้อง เช่น ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save