Art & CultureArticlesWritings

เราจำเป็นต้องร้องไห้เมื่อมีคนตายไหม? ชวนสำรวจความไร้แก่นสารของชีวิตผ่านหนังสือ ‘คนนอก’

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์

*เนื้อหาต่อไปนี้มีการสปอยล์*

“วันนี้สินะที่แม่ตาย หรือว่าเมื่อวานนี้ฉันก็ไม่รู้แน่”

ประโยคเปิดของหนังสือ ‘คนนอก’ จากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส ‘L’Étranger’ ได้รับรางวัลโนเบลใน ค.ศ. 1957 เขียนโดย อัลแบรต์ กามูส์ (Albert Camus) นักเขียนและนักปรัชญาคนสำคัญด้านอัตภาวนิยม (Existentialism) นวนิยายเรื่องนี้อุดมไปด้วยปรัชญาว่าด้วยเรื่อง ‘ความไร้แก่นสาร (Absurdity)’ ที่ว่ามนุษย์เกิดมามีเสรีภาพและมีทางเลือกในการหาความหมายของชีวิต โดยคนดำเนินเรื่องอย่าง ‘เมอร์โซลต์ (Meursault)’ ถูกลงโทษประหารชีวิตเพียงเพราะเขาไม่ร้องไห้ในงานศพแม่

เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อเมอร์โซลต์ได้รับแจ้งจากบ้านพักคนชราว่าแม่ของเขานั้นเสียชีวิต เขาจึงต้องเดินทางไปร่วมงานศพแม่ หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนบันทึกในชีวิตประจำวันของเมอร์โซต์ที่เล่าเรื่องราวตั้งแต่การไปร่วมงานศพแม่ หลังจากนั้นก็กลับมาใช้ชีวิตปกติ เที่ยวเล่น ว่ายน้ำ ดูหนังตลก กับหญิงสาวชื่อ ‘มารี (Marie)’ ที่เขากำลังดูใจอยู่โดยไม่มีการไว้ทุกข์ให้กับการจากไปของแม่ ราวกับไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น

เขาใช้ชีวิตปกติต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้พบกับ ‘เรมอนด์ (Raymond)’ เพื่อนบ้านที่ถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นแมงดา จนในภายหลังทั้งสองคนได้กลายเป็นเกลอกันในที่สุด เรมอนด์มีคนรักชาวอาหรับที่สังคมเรียกว่าเป็น ‘เมียเก็บ’ ทั้งสองทะเลาะกันจนเกิดการทำร้ายร่างกาย ทำให้พี่ชายของฝ่ายหญิงนั้นตามแก้แค้นเรมอนด์และเมอร์โซลต์

จนกระทั่งวันหนึ่งเรมอนด์ได้ชวนเมอร์โซลต์และมารีไปพักผ่อนที่บ้านริมหาดของ ‘มาสซอง (Masson)’ เพื่อนของเรมอนด์ กลุ่มของพี่ชายหญิงสาวอาหรับคนนั้นก็ติดตามทั้งสามคนไปยังบ้านริมหาดเพื่อแก้แค้น สถานการณ์ไปไกลจนอยู่เหนือการควบคุม ในชั่วพริบตาเมอร์โซลต์ก็ได้กลายเป็นฆาตกรที่ลงมือปลิดชีวิตชายชาวอาหรับคนนั้น

กระบวนการพิจารณาคดีนั้นดำเนินมาเรื่อยๆ เนื่องด้วยการเล่าเรื่องนั้นเป็นเหมือนไดอารีของเมอมร์โซลต์ เราจะได้เห็นว่าการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ที่ผ่านมานั้นต่างส่งผลต่อการพิจารณาคดี ทั้งการที่เขาจำอายุแม่ที่เสียชีวิตไม่ได้ การสูบบุหรี่และดื่มกาแฟในงานศพ การไปเที่ยวเล่น ดูหนัง ว่ายน้ำหลังงานศพแม่ หรือแม้กระทั่งการไม่ร้องไห้ในงานศพแม่ ทุกอย่างล้วนนำไปสู่การอนุมานว่า เมอร์โซลต์นั้นเป็นคนที่ ‘ไร้วิญญาณ’ และสุดท้ายศาลก็ต้องทำหน้าที่ชี้ชะตาของเมอร์โซลต์กับความผิดพลาดที่เขาได้ก่อ

นวนิยายเรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงและวิจารณ์กันอย่างแพร่หลาย โดยส่วนท้ายของหนังสือนั้นเป็นบทวิจารณ์ของนักคิดหลายคน เช่น ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ (Jean-Paul Sartre) นักปรัชญาสายอัตภาวนิยม (Existentialism) ว่าด้วยการให้คุณค่ากับการใช้ชีวิต ซึ่งหากใครคุ้นเคยบทสนทนาในวงปรัชญามาบ้างก็อาจจะเคยได้ยินคำถามอภิปรัชญา (Big Question) อย่าง “เราเกิดมาทำไม?” 

คำถามนี้เป็นเหมือนกับการบอกว่าเราเกิดมาด้วยอิสระและความว่างเปล่า การให้คุณค่าและการตามหาความหมายของชีวิตนั้นเป็นเหมือนการเติมน้ำให้ถ้วยใบหนึ่งให้เต็ม เมื่ออ่านจนจบเราจะเห็นว่ากามูส์เขียนให้ตัวละครเมอร์โซลต์นั้นเป็นเหมือนกับถ้วยเปล่าที่ไร้ซึ่งความคิด ความเห็น หรือมุมมองต่อสิ่งต่างๆ เขาเป็นเหมือนคนที่จะมีคำว่า ‘อะไรก็ได้’ เปล่งออกจากปากเสมอ และยิ่งทำให้เห็นว่าชีวิตนั้นไร้แก่นสารเพียงใด สิ่งที่เขาทำไปนั้นเกิดจากเงื่อนไข ณ เพียงชั่วขณะนั้น คือเขาสูบบุหรี่และดื่มกาแฟในงานศพแม่เพราะง่วง เขาช่วยเป็นพยานให้เรมอนด์จากข้อหาทำร้ายร่างกายคนรักเพียงเพราะเรมอนด์ขอให้ช่วย เขาไปดูหนังตลกหลังจากงานศพแม่เพียงเพราะว่ามารีชวน และเขาไม่ร้องไห้ในงานศพแม่เพราะว่าไม่รู้จะร้องไปทำไม

“บุคคลที่ฆ่ามารดาทางจิตใจก็ควรจะถูกตัดขาดจากสังคมมนุษย์ เท่าๆ กับ บุคคลที่ลงมือฆ่าผู้บังเกิดเกล้าของตนเอง”

อีกหนึ่งสิ่งที่กามูส์พยายามนำเสนอคือ มุมมองของคนในสังคมหรือคนที่เมอร์โซลต์พบเจอว่าคนรอบข้างนั้นมีบรรทัดฐานและ ‘คาดหวัง’ ให้เมอร์โซลต์ต้องเป็นไปในแบบที่พวกเขาคิด คนรอบข้างคาดหวังให้เขาไม่สูบบุหรี่และดื่มกาแฟในงานศพแม่เพื่อแสดงความเคารพ คาดหวังให้เมอร์โซลต์ไม่ไปเป็นพยานให้เรมอนด์เพราะต้องทำตามจริยธรรมที่สังคมตั้งขึ้น คาดหวังให้เขาไม่ไปดูหนังหลังงานศพแม่เพราะต้องการให้เขาไว้ทุกข์ และคาดหวังให้เขาร้องไห้ในงานศพแม่เพราะอยากให้เขาแสดงความเสียใจ กลับกลายเป็นว่า ‘ความไร้แก่นสาร’ ในจิตใจของเมอร์โซลต์เป็นสิ่งที่สังคมให้ความหมายว่าเป็นความไร้จริยธรรมจนนำไปสู่การก่อเหตุน่าสลด ดังนั้นเมื่อความไร้แก่นสารของเขานั้นไม่ได้เป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง จึงทำให้เมอร์โซลต์กลายเป็น ‘คนนอก’ ในสังคมที่เต็มไปด้วยบรรทัดฐาน เหมือนอย่างการไม่ร้องไห้ในงานในศพใครสักคน

เมื่อมองในมุมอัตภาวนิยมที่ว่ามนุษย์นั้นเกิดมาด้วยความเสรีและไร้แก่นสาร จึงมีทางเลือกในการสร้างแก่นสารและตามหาความหมายให้กับชีวิต ทว่าในหลายครั้งเรากลับยึดติดกับ ‘คุณค่า’ ของชีวิตมากเกินไป จนกลายเป็นความคาดหวังที่มีอยู่อย่างไม่สิ้นสุด สุดท้ายแล้วแม้ว่าหลายคนจะพยายามตามหาความหมายของชีวิตตามบรรทัดฐานสังคมตั้งขึ้น ก็ยังมีคนที่พึงพอใจกับความว่างเปล่าและไม่กระตือรือร้นจะตามหานิยามของชีวิตอย่างเมอร์โซลต์ ซึ่งทั้งหมดนั้นก็ไม่มีถูกไม่มีผิด เพียงแค่ว่าทุกคนควรมีอิสระในการคิดและเลือกที่จะใช้ชีวิตในแบบที่ตนเองพึงพอใจโดยไม่ต้องมีมาตรฐานที่สังคมสร้างขึ้น

“ในยามดึกซึ่งท้องฟ้าเต็มไปด้วยดาวและสัญลักษณ์ เป็นครั้งแรกที่ฉันเปิดใจออกไปสัมผัสความเฉยชา แต่ทว่าอ่อนโยนของโลก ฉันรู้สึกว่าโลกนี้ละม้ายคล้ายฉันเสียนี่กระไร เหมือนกันกับราวพี่น้อง ฉันรู้สึกว่าฉันได้มีความสุขมาตลอด และยังเป็นอยู่แม้ในขณะนี้…”

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
2
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0
Articles

เรื่องราวของผีที่มีมากกว่าความน่ากลัวโดย ‘Mike Flanagan’

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ กิจกรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ในช่วงเทศกาลฮาโลวีนก็คงหนีไม่พ้นการแต่งหน้าแต่งตัวเป็นผี ไปยืนเคาะประตูหน้าบ้านคนอื่น พร้อมตะโกนคำว่า Trick or Treat! เพื่อขอขนมหวานแสนอร่อย แต่นี่คือประเทศไทย ดินแดนแห่งเวทมนตร์ หากเดินไปเคาะประตูบ้านคนอื่นยามค่ำคืนก็คงจะได้ไปเล่นกับตำรวจ ไม่ก็เจ้าที่แทน ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็มีเพียงแค่การดูหนังมาราธอนจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ...

Articles

Blackstar : คำร่ำลาจาก (เหล่า) มนุษย์ตาสองสีผู้มาจากต่างดาว

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ‘ความตาย’ เป็นสิ่งที่เราจะต้องพบในสักวัน ทั้งของครอบครัว เพื่อน หรือแม้แต่ความตายของตัวเองที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาทุกวินาที โดยเราไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามันจะมาถึงตัวของเราเมื่อไหร่ จนอาจกลายเป็นความหวาดกลัวที่ทำให้ไม่อยากจะใช้ชีวิตบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินแห่งนี้อีกต่อไป แต่ไม่ใช่กับชายคนหนึ่ง ชายผู้แม้ความตายจะมาเคาะประตูหน้าห้อง ...

Articles

The substance: การฉายซ้ำของภาพยนตร์ที่ว่าด้วยการติดหล่มความงาม มองข้ามความจริง และ Ageism ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

เรื่อง : ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร “You were amazing” “เธอ ‘เคย’ ยอดเยี่ยม” คือคำเขียนในการ์ดที่ถูกแนบมาพร้อมดอกไม้ช่อโต ...

Writings

จดหมาย 3 ฉบับถึงงานหนังสือ

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง, ชวิน ชองกูเลีย และ ศิรประภา จารุจิตร จดหมาย 3 ฉบับถึงงานหนังสือ คำนำ งานหนังสือ ...

Articles

Look Back: มองย้อนไป…กับหัวใจที่ต้องเดินหน้าต่อ

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ Spoiler Alert: บทความชิ้นนี้มีการสปอยล์เนื้อหาของ ‘Look Back’ “ถ้าตอนนั้นทำอีกแบบหนึ่ง มันจะเป็นยังไงนะ?” ...

Articles

Metal Gear Solid V: รุ่งอรุณสุดท้ายของราชาแห่ง Konami

เรื่องและภาพประกอบ: สิทธิเดช สายพัทลุง เกมซีรีส์ Metal Gear หรือ Metal Gear Solid (MGS) คือชื่อที่เรียกได้ว่าเป็นเกมที่ทำเงินได้มากที่สุดของบริษัทเกมจากแดนอาทิตย์อุทัยอย่าง ‘Konami’ ที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยเกมตู้หยอดเหรียญ ซึ่ง ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save