Writings

อคติสู่มุมมองใหม่: การเปลี่ยนแปลงของสื่อไทยกับภาพลักษณ์ของเมียฝรั่งในเพลงลูกทุ่ง

เรื่อง : โอปอล ศิริภัสษร ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา ลักษณะของเมียฝรั่ง แวบแรกในความคิดของท่านเป็นอย่างไร เมื่อได้ยินคำว่า “เมียฝรั่ง” เชื่อว่าหลายคนอาจมีภาพจำบางอย่างปรากฏขึ้นในใจทันที โดยภาพจำของเมียฝรั่งที่ถูกสื่อตี กรอบจะมีผิวดำ ยากจน หวังรวยทางลัด หรือใด ๆ ก็ตามที่ถูกเชื่อว่าลักษณะแบบนี้คือเมียฝรั่ง แล้วเหตุใด พวกเรา ทั้งหลายถึงมีภาพจำเหล่านี้ได้คล้ายกัน บทความนี้จะพาท่านไปหาคำตอบเกี่ยวกับการประกอบสร้างภาพเหมารวมเมียฝรั่ง ทั้งนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อเป็นชนวนสำคัญที่ก่อเกิดการสร้างภาพตัวแทนของ “เมียฝรั่ง” ผ่านการสร้าง ตอกย้ำ ขยายภาพในรูปแบบต่าง ๆ และหนึ่งในสื่อที่ทรงพลังอย่างยิ่งคือเพลงลูกทุ่ง เนื่องจากเพลงลูกทุ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภูมิภาค ซึ่งสะท้อนเรื่องราวชีวิตจริงของคนในชนบท และมักบอกเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุค เพลงลูกทุ่งไม่ได้เพียงแต่เป็นความบันเทิง ...

Writings

งานศพแบบมนุษย์นิยม: บอกลาอย่างไรสำหรับคนไร้ศาสนา

เรื่อง : รณรต วงษ์ผักเบี้ย ‘ความตาย’ เป็นคำที่ให้ความรู้สึกห่างไกลในขณะเดียวกันก็ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คิด สุญญากาศแห่งความตายนั้นยากแท้หยั่งถึงเกินจิตสำนึกของมนุษย์คนหนึ่ง แต่มัจจุราชก็เฝ้ารอทุกชีวิตอยู่ทุกหัวมุมถนนเช่นกัน เมื่อร่างกายของเราหยุดทำงานและทิ้งไว้เพียงลมหายใจสุดท้าย บรรยากาศรอบตัวปกคลุมไปด้วยความโศกเศร้าของคนที่รัก สุดท้ายมนุษย์เราก็ปลดปล่อยความเศร้าและความทรงจำผ่านพิธีกรรมแห่งการบอกลาที่เรียกว่า ‘งานศพ’ วันปีใหม่เพิ่งจะผ่านพ้นมาไม่นาน ผู้คนนึกถึงการเริ่มต้นใหม่ ความสุขที่จะได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ การเริ่มต้นปีใหม่ที่ทำงานกับจิตใจเราอย่างมากแม้เป็นเพียงเส้นเวลาสมมติที่แบ่งกั้นปีนี้และปีที่แล้วเพียงชั่วข้ามคืน นอกจากจะเป็นช่วงที่ดีในการเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ แล้ว ก็อาจจะยังเป็นเวลาที่ดีที่จะย้อนกลับไปใคร่ครวญถึงสิ่งที่อยู่คู่กับการเริ่มต้นคือการดับสูญหรือในที่นี้ก็คือความตาย และสิ่งที่มาคู่กับความตายเสมอก็คืองานศพ ถ้าหากงานปีใหม่เป็นดั่งการจุดพลุแห่งความหวัง งานศพก็เหมือนกับเปลวเทียนที่ลุกไหวในความทรงจำ ทั้งสองต่างเป็นช่วงเวลาที่เราหยุดและมองชีวิตจากมุมที่แตกต่าง มนุษย์มีชีวิตเคียงคู่กับงานศพมานานแสนนานนับตั้งแต่สมัยของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลจนถึงยุคปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตคืองานศพในวัฒนธรรมต่าง ๆ มักถูกผูกเข้ากับศาสนาด้วยความเชื่อโลกหลังความตายอย่างตัดกันไม่ขาด อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันผู้คนนับถือศาสนาน้อยลงทุกวัน และมีแนวคิดสสารนิยม (Materialism) เข้ามามีบทบาทแทน สสารนิยมเป็นแนวคิดที่เชื่อว่าไม่มีจิตอยู่ภายในร่างกายของเรา ชีวิตมนุษย์ประกอบขึ้นจากวัตถุสสาร ...

Lifestyle

ผมไม่อินหนังน้ำเน่า

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ผมไม่อินละครน้ำเน่า แน่นอนว่าผมเป็นคนไทย และคนไทยส่วนใหญ่ย่อมเติบโตมากับละครในตำนานที่ล้วนมีพล็อตแสนโบราณ แต่ผมไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน! ไอ้พวกเรื่องที่มีฉากสำคัญๆ อย่าง นางเอกแสนอาภัพ อยู่ในคฤหาสน์ฐานะคนใช้ โดนโขกสับจากแม่เลี้ยง แต่แล้วเธอก็ไปสะดุดล้มทับพระเอก ทั้งสองตกหลุมรักกันอย่างไม่ทันตั้งตัว แล้วก็ดันบังเอิญไปหลงอยู่ในป่า พวกเขาเจอกระท่อมร้างท่ามกลางสายฝน…ภาพตัดไปที่โคมไฟ ก่อนที่ในตอนจบนางเอกก็จะพบความจริงว่า เธอนี่แหละคือทายาทที่แท้จริงของตระกูล และทวงคืนทุกอย่างที่ควรเป็นของเธอตั้งแต่แรก แม่เลี้ยงใจร้ายกรีดร้องด้วยความโมโหจนกลายเป็นบ้าคว้าปืนขึ้นมาจะยิงนางเอก แต่พระเอกก็มาขวางไว้ สรุปตัวร้ายโดนจับ พระเอกพ้นขีดอันตราย และแล้วทั้งคู่ก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดไป หึ! อะไรแบบนี้ผมไม่เคยดูสักเรื่อง ถ้าหากผมเคยดูจริงๆ ผมก็ต้องเล่าได้อีกว่าในเรื่องมีฉากที่นางเอกปลอมตัวติดหนวดใส่วิกเพื่อตบตาพระเอกว่าตัวเองเป็นผู้ชาย แล้วพยายามล้วงความลับบางอย่างจากพระเอก… เห็นไหม ฉัน เอ้ย! ผม คือผมไม่ได้ดูละครน้ำเน่าจริงๆ นะครับ ...

Shot By Shot

แม่คนที่สอง

เรื่องและภาพ: ปิยะพร สาวิสิทธิ์ “แม่ หล่าอยากกินไอติม” เสียงเจื้อยแจ้วของเด็กน้อยในหมู่บ้านที่เปล่งออกมาอย่างกระตือรือร้นเมื่อเห็นรถขายไอศกรีมซิ่งผ่านหน้า ทว่าเมื่อมองกลับไปหาคนที่เด็กน้อยเรียกว่า ‘แม่’ ก็เห็นเพียงแต่หญิงที่มีรอยย่นบนผิวหนังและดูมีอายุเกินกว่าที่เด็กราว 5 – 6 ขวบจะเรียกว่าแม่ได้  เมื่อพิจารณาดูแล้วก็คงเป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไปในชนบท ภาพของเด็กๆ ที่อยู่กับผู้สูงอายุแทนที่จะเป็นพ่อแม่ ซึ่งก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พ่อแม่ของเด็กๆ เหล่านั้นที่ยังพอมีแรงในการทำงานต้องหลั่งไหลกันเข้ามาที่เมืองใหญ่ เพื่อหาเงินและส่งกลับมาที่บ้านให้ลูกๆ ของพวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีโอกาสกลับบ้านเฉพาะแค่ช่วงเทศกาลสำคัญ ผู้ที่รับหน้าที่ดูแลเด็กๆ เหล่านั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นปู่ย่าตายายที่อาศัยอยู่ในชนบทซึ่งทำหน้าที่ดูแลเด็กๆ ราวกับเป็นพ่อและแม่อีกคน FacebookFacebookXXLINELine

Media

ป้าดา นางฟ้าของแมวจร

เรื่องและภาพ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ในวันที่อ่อนล้าจากการไปถ่ายงานที่ทรงวาดในช่วงฤดูฝน เป็นเวลาดึกมากแล้ว ฉันหิ้วท้องกิ่วนั่งรถไฟฟ้ากลับไปหาของกินที่สยามเซนเตอร์ หลังจากที่ฉันและเพื่อนอิ่มหมีพีมันก็ได้เวลากลับ แต่ระหว่างทางฉันได้พบกับแมวเหมียวนับสิบตัว มีทั้งขนาดเล็กจิ๋วและโตเต็มวัย กำลังโซ้ยอาหารเม็ดและเนื้อสัตว์ที่มีคนวางไว้บนถาด นั่นทำให้ฉันได้มีโอกาสเจอกับ ‘ป้าดา’ ผู้ที่เป็นมากกว่าคนให้อาหารแมว หลังจากวันนั้นฉันก็ได้ไปหาป้าดาอีกครั้งฉันเห็นคุณป้าเดินหิ้วถุงผ้าพะรุงพะรังเต็มสองมือในทุกๆ ครั้งที่ฉันเจอ ในกระเป๋าเต็มไปด้วยอาหารเม็ดสำหรับแมว อาหารเปียก 1 กระป๋อง และอกไก่ที่ถูกต้มมาอย่างดี  . ป้าดา นางฟ้าของแมวจร “เนี่ย ไม่มีใครทำอย่างป้าหรอกที่ต้องมานั่งฉีกไก่ให้แมวแต่ละถาดๆ อาหารที่ให้ก็ไม่ใช่เศษอาหารทั่วไป” ป้าดาพูดขณะกำลังจัดเรียงอาหารในถาดที่ทำมาจากฝากล่องรองเท้าที่ถูกทิ้ง ป้าดาอายุ 72 ปี ...

Writings

ศิลปินหญิงหายไปไหนจากหน้าประวัติศาสตร์

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ท่ามกลางหมู่คนชนผู้ดีฝรั่งเศสที่เดินกันขวักไขว่ในซาลอง (Salon) ‘Marianne’ จิตรกรหญิงในชุดเสื้อคลุมสีน้ำเงินเดินเข้าไปหากรอบรูปสีทองนับสิบตรงหน้า หนึ่งในนั้นคือภาพวาดของเธอ มาเรียนน์หยุดยืนแล้วหันหลังให้ภาพวาด ตอนนี้เธอเป็นเหมือนผู้รักษาความปลอดภัยที่คอยสังเกตการณ์สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเบื้องหน้าภาพวาดเหล่านั้น  ชายคนหนึ่งเดินมาบอกเธอว่าภาพวาดนี้ช่างยอดเยี่ยม “พ่อของเธอนี่เก่งจริงๆ” “ฉันวาดค่ะ แค่ใส่ชื่อพ่อลงไป” มาเรียนน์ตอบกลับชายตรงหน้า เพราะเธอใช้ชื่อพ่อส่งงานนี้เข้าแสดงในซาลอง และเท่าที่เห็นเธอก็แทบจะเป็นเพียงผู้หญิงคนเดียวในที่แห่งนี้ เรื่องที่เล่าไปนั้นเป็นซีนท้ายๆ จากภาพยนตร์เรื่อง ‘Portrait of a Lady on Fire’ (2020) ของ Céline Sciamma ...

Articles

หลอดไฟในดงไม้ แสงสว่างที่ระบบนิเวศไม่ต้องการ

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ในเมืองกรุงอันแสนกว้างใหญ่ แม้จะเป็นเวลากลางคืนที่ฟ้ามืดสนิท แสงจากไฟถนนและตึกยังคงส่องสว่างเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญ และในเมืองที่ไม่มีวันดับแสงนี้ การจะเห็นดาวที่ลอยอยู่เต็มผืนฟ้าช่างยากเหลือเกิน แม้แสงไฟจะเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ แต่ไม่ใช่ทุกที่จะเหมาะสมกับความสว่างไสวนี้ เราจึงจำเป็นต้องมี ‘เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ . มลภาวะจากแสงไฟ ภัยร้ายที่คุกคามธรรมชาติ การที่เราจะอนุรักษ์อะไรสักอย่าง นั่นหมายความว่าสิ่งนั้นมีอยู่น้อยหรือว่าเป็นสิ่งที่ควรสงวนไว้ เพราะมีความสำคัญ ‘ท้องฟ้ามืด’ เองก็เช่นกัน แต่มันก็ชวนให้นึกสงสัยว่าทำไมเราต้องอนุรักษ์ท้องฟ้ายามค่ำคืนตามวัฏจักรของการหมุนรอบตัวเองของโลก ที่วนมาทุกวันและไม่มีทางจะแปรเปลี่ยนไป แท้จริงแล้วสิ่งที่เราจะต้องอนุรักษ์ไม่ใช่ชั้นบรรยากาศบนท้องฟ้า ทว่าเป็นพื้นโลกในเขตที่ไร้ซึ่งแสงไฟสังเคราะห์จากมนุษย์ เพราะไฟสังเคราะห์หรือแสงจากหลอดไฟนับเป็นมลภาวะชนิดหนึ่ง หรือเรียกง่ายๆ ว่า มลภาวะทางแสง (light pollution) ...

News

ทีมผลิตคลิปงานแรกพบเพื่อนใหม่ มธ. เผยยังได้ค่าจ้างไม่ครบ ด้านอมธ. แจงจ่ายช้าเพราะกำลังพิจารณาสาเหตุของค่าใช้จ่ายที่เกินงบ

เรื่องและภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี กลุ่มนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ ทีมผลิตคลิปประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย เผยได้รับค่าจ้างผลิตคลิปประชาสัมพันธ์งาน TU universe: Merging of the galaxies ไม่ครบ ทางผู้อำนวยการกองถ่ายคาด อมธ. ได้นำเงินบางส่วนของโครงการดังกล่าว ไปจัดงานสัมมนานอกสถานที่ก่อน ด้านอมธ. แจงจ่ายช้าเพราะไม่ได้รับการแจกแจงเรื่องค่าใช้จ่าย และอยู่ระหว่างพิจารณาสาเหตุที่ทำให้ค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ จากกรณีที่ กลุ่มนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้รับการว่าจ้างจากองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (อมธ.) ให้จัดทำคลิปประชาสัมพันธ์เพื่อใช้ในงาน TU universe: merging of the galaxies ...

Articles

 I’m cringe but I’m free สะเหล่อแล้วไง ไม่แคร์แล้วกัน

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี “โอ้ยยย ทำไมตอนนั้นสะเหล่อจัง” ความคิดที่โผล่เข้ามาในหัวขณะที่ล้มตัวลงนอนหลับตาเตรียมฝันดี แต่สมองไม่รักดีกลับขุดภาพความทรงจำอันน่าอับอายขึ้นมาฉาย ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เล่นมุกแล้วคนทั้งห้องกริบ ทักคนผิดเพราะนึกว่าเป็นเพื่อนตัวเอง ส่งข้อความหาคนที่ชอบเขาอ่านแต่ไม่ตอบ ยกมือตอบคำถามแล้วพบว่ามันผิดมหันต์แถมเป็นคนละเรื่องเลยด้วยซ้ำ และอื่นๆ อีกมากมายตั้งแต่อดีตยันปัจจุบันหลอกหลอนในหัวซ้ำๆ จนอยากร้องกรี๊ด . ความรู้สึก Cringe คืออะไร? ในเชิงจิตวิทยา “Cringe” มีความหมายว่า ความรู้สึกอับอาย และบางครั้งก็เป็นความรู้สึกอายแทน (vicarious  embarassment) มันคือความรู้สึกไม่ดี อึดอัด กระอักกระอ่วน เมื่อเห็นคนตกที่นั่งลำบากเชิงสังคม อย่างการอยู่ในสถานการณ์ที่น่าอับอาย ...

Articles

ต้องอายุเท่าไหร่ ถึงควรจะประสบความสำเร็จ?: ชวนสำรวจนิยามความสำเร็จผ่านตัวละครหลักหลากวัยจาก Only murders in the building

เรื่องและภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์ คุณเคยรู้สึกว่าชีวิตตัวเองว่างเปล่าหรือไร้ค่าบ้างไหม? คุณเคยรู้สึกเจ็บช้ำจากความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าบ้างหรือเปล่า? คุณเคยมองความสำเร็จของคนอื่นแล้วถามตัวเองหรือไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่? หากคุณเคยรู้สึกหรือเคยถามตัวเองแบบนั้น คุณอาจเป็นเหมือนสามตัวละครหลักจาก Only murders in the building ซีรีส์คอมเมดี้ – ดราม่าสัญชาติอเมริกัน ว่าด้วยมนุษย์ต่างวัย 3 คนในอะพาร์ตเมนต์ ‘the Arconia’ ที่นอกจากจะมีจุดร่วมเดียวกันคือการชอบฟังพอดแคสต์สืบสวนเรื่องฆาตกรรมแล้ว พวกเขายังเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต จนวันหนึ่งเกิดเหตุฆาตกรรมขึ้นในตึก พวกเขาจึงตัดสินใจร่วมมือกันทำพอดแคสต์และสืบคดีที่เกิดขึ้น ทว่าสิ่งที่พวกเขาได้ไขไม่ใช่แค่ปริศนาของเหตุฆาตกรรมเพียงอย่างเดียว แต่กลับเป็นนิยามของคำว่า ‘สำเร็จ’ ที่ชวนให้คนดูอย่างเราได้เรียนรู้และเข้าใจว่าแท้จริงแล้วความสำเร็จคืออะไร   ตลอด 4 ซีซัน ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save