ArticlesLifestyleWritings

สารภาพบาปนักชอปกระเป๋าแฟบ กับคู่มือไม่ให้ตัวเองต้องกินมาม่าในสิ้นเดือนนี้

เรื่องและภาพประกอบ: จุฑาภัทร ทิวทอง

นักช็อปสายบิวตี้อาจเคยสังเกตหลายแบรนด์ที่ออกเครื่องสำอางคอลเลกชันใหม่กันแทบทุกเดือน พร้อมเหล่าอินฟลูมากมายที่โฆษณากันเกรียวกราวว่า ‘ของมันต้องมี’ พ่วงกับโปรโมชันลดราคาที่ดูเหมือนจะจำกัด แบบที่นานๆ ครั้งจะมาที ทั้งที่ในความเป็นจริงก็วนมาอยู่ทุกเดือน

หลายคนก็อาจเป็นเหมือนฉัน ที่ตื่นเต้นทุกคราเมื่อได้เห็น ได้ดู และได้ยินปรากฏการณ์ข้างต้น สุดท้ายก็เผลอใจกดสินค้าลงตระกร้าในแอปสั่งของออนไลน์แทบทุกครั้งไป จนเมื่อรู้ตัวอีกครั้ง มองไปรอบๆ ห้อง ก็เห็นเครื่องสำอางเป็นกองพะเนินละลานตาไปหมด ไม่ว่าจะเป็นแป้ง ลิปสติก ลิปกลอสสีชมพูโทน MLBB, นู้ดส้ม, แดงเข้มอมเย็น, ม่วงนางฟ้าอ่าวไทยและอีกมากมาย แต่ช่างน่าเศร้าเหลือเกินที่พวกมันได้ออกมาละเลงแต้มสีสันบนริมฝีปากฉันได้ไม่ถึงสิบครั้ง

ไหนจะ ‘เงิน’ ที่ใช้จ่ายเพื่อได้ครอบครองสารพัดของกุ๊กกิ๊กเหล่านี้ รวมๆ แล้วทำใจฉันเจ็บแปล๊บ ซ้ำเติมความช้ำด้วยระบบซื้อก่อนจ่ายทีหลัง ที่ทำลายความฝันอายุน้อยร้อยล้าน กลายเป็นอายุ(ไม่)น้อยร้อยหนี้ไปเสียแล้ว  

ฉันจึงตั้งคำถามกับตัวเองว่านี่เรามาถึงจุดที่เครื่องสำอางล้นห้อง สวนทางกับรายรับได้ยังไงกันและจะมีวิธีใดบ้างที่จะสามารถทุเลาวังวนตลกร้ายของพฤติกรรมกดของลงตระกร้าแสนดุดันเยี่ยงสัตว์ป่า ที่ดูแล้วในระยะยาวคงไปไม่รอดแน่ๆ 

ขุดหน้าดินลึกลงไป ที่มาของพฤติกรรมการซื้อของอันแสนน่าอดสูและสู้หน้าพ่อแม่ไม่ได้ของนักเขียนการศึกษารุมเร้าอย่างตัวฉัน ก็คงจะเป็นความผ่อนคลายเมื่อได้เปิดกล่องพัสดุ ความรู้สึกของของชิ้นใหม่บนอุ้งมือของฉันช่างแสนสดชื่นเหมือนได้ดื่มน้ำเย็นยามกระหาย ‘ความกระหายความสุข’ เมื่อชีวิตประจำวันกดดันเราจนแทบจะระเบิดเป็นเสี่ยงๆ มีงานอะไรที่ยังเหลือบ้างนะ ในอนาคตจะทำมาหากินอย่างไร อายุมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ทำไมชีวิตฉันนั้นยังติดกับอยู่ที่เดิม… 

การชอปปิงจึงเหมือนการหลีกหนีจากความจริงชั่วคราว เป็นการสนองความต้องการที่ไร้สาระของตัวฉันเอง เมื่อชีวิตบังคับให้เราต้องเป็นคนจริงจัง มีความเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบ แต่ก็ด้วยการถูกบังคับให้เป็นผู้ใหญ่นี่แหละ ทำให้ฉันเริ่มจะสำเหนียกตัวเองว่าพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของตัวเริ่มออกนอกลู่นอกทางไปไกลโข การที่ฉันต้องห้ามใจตัวเองไม่ให้กินข้าวอร่อยๆ ปฏิเสธเมื่อเพื่อนชวนไปเที่ยวด้วยเหตุผลว่าจะเก็บเงินไปจ่ายหนี้ค่าชอปปิงออนไลน์ที่ค้างไว้ มันน่าเศร้ามากๆ และฉันต้องเปลี่ยนแปลงมันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ในเมื่อมันคือความสุข และโลกธุรกิจยังคงจะหมุนเวียนต่อไป ของใหม่ๆ ก็พร้อมใจกันลงวางขายจนทำให้กระเป๋าตังค์แฟบลงตามธรรมชาติ นักช็อปอย่างเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไรได้บ้าง ให้พอจะเหลือข้าวกินตอนสิ้นเดือน ฉันจึงอยากจะลองแชร์วิธีการที่ตัวเองใช้อยู่ แน่นอนมันอาจจะไม่ใช่วิธีที่การันตีว่าจะช่วยได้ แต่ถ้ามีข้อไหนที่พอจะสอดคล้องกับวิธีคิดส่วนตัว ฟังดูน่าทำตาม โน้มน้าวความคิดคุณได้เหมือนอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ก็โปรดนำมันไปใช้ได้เลย ไม่คิดเงินนะจ๊ะ

1. รีวิวคือมิตรหาใช่ศัตรู

เมื่อซื้อของออนไลน์แน่นอนว่าเราไม่สามารถทดลองสินค้าด้วยมือของตนเองได้ ฉะนั้นรีวิวจึงเป็นเพื่อนคู่ใจที่ทุกคนเสาะหาเพื่อพิจารณาการตัดสินใจซื้อของตัวเอง แต่หลายๆ ครั้งที่การรีวิวฟังดูแล้วละม้ายคล้ายคลึงกับการโฆษณาเสียเหลือเกิน จนเราอาจหลงคารม (ใส่ชื่อดาราหรืออินฟลูเอนเซอร์ตรงนี้) ว่าดีหนูก็ว่าดีไปเสียอย่างงั้น ฟังดูแล้วหลายคนอาจคิดว่า ก็เลิกดูไปเลยสิ! แต่ในเมื่อรีวิวเหล่านี้คือที่พึ่งที่เดียวของเราในการซื้อของออนไลน์ สิ่งที่เราทำได้อาจจะเป็นการ ‘ดูแหล่งที่มา’ และไม่ลืมว่าสุดท้ายแล้วฉันคือคนที่จะใช้มัน 

การดูแหล่งที่มาในที่นี้คือการพิจารณาว่าผู้รีวิวที่เรากำลังรับชมอยู่นี้มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าแบบไหน? เขาถูกจ้างมาให้โฆษณาหรือเปล่า แล้วในการโฆษณาเขามีอิสระในการแสดงความคิดเห็นต่อตัวสินค้ามากแค่ไหน เพราะสุดท้ายจะจ้างมากี่ล้าน ด้วยกฎหมายที่คลุมพวกเรา พื้นฐานของเนื้อหาที่นำเสนอก็ต้องตั้งอยู่บนความจริง ที่นี้ก็อยู่ที่ความสามารถของผู้รีวิวแต่ละคนแล้วในการสรรหาคำอวยยศเพื่อส่งเสริมความน่าซื้อของสินค้านั้นๆ 

ในฐานะผู้รับชม หน้าที่ของเราคือการปัดเศษกลิตเตอร์ที่เคลือบความจริงเกี่ยวกับสินค้าออกไป จากนั้นความคิดที่ว่า ‘สุดท้ายแล้วฉันคือคนใช้มัน’ ก็จะผุดขึ้นมา 

คุณชอบอะไรกันแน่หรือหาอะไรอยู่ ลิปกลอสเนื้อบางสีส้มเหรอ? ลองเปรียบเทียบสิ่งที่คุณตามหากับข้อมูลความเป็นจริงของผลิตภัณฑ์ดูสิ น่าจะช่วยทำให้การพิจารณาว่าสินค้านี้เหมาะสมกับเราจริงๆ ไหม

2. ดองของเหมือนดองงาน

วิธีโปรดของตัวฉันเอง คือการทิ้งสินค้าไว้ในตระกร้าซักระยะ เมื่อเราได้เห็นโฆษณาสวยๆ และรีวิวในแง่ดี ในตอนแรกอาจกลายเป็นความตื่นเต้น กระตุ้นให้อยากซื้อจนปล่อยใจกดจ่ายเงินไป พร้อมให้เหตุผลกับตัวเองมากมายว่าฉันซื้อมาเพื่อความสุขของตัวเอง แต่การดองของในตระกร้านี้จะช่วยตัดความรู้สึกตื่นเต้นแรกเริ่มของการได้เห็นสินค้าใหม่ๆ แล้วเพิ่ม ‘สติ’ และเวลาในการพิจารณาการซื้อขึ้นเยอะ คุณอาจจะตกใจเลยก็ได้ว่าเมื่อความตื่นเต้นในช่วงแรกเหือดแห้งไปแล้ว มีของเหลืออยู่กี่ชิ้นที่คุณอยากได้มันจริงๆ แหม ฟังดูแล้วก็เหมือนความรักที่มีช่วงโปรโมชันความหวานอยู่เหมือนกันนะเนี่ย!

3. ฉันทาสีนี้ได้คนเดียว

สายบิวตี้หลายๆ คนอาจเคยได้ยินแนวคิด ‘Personal Color’ ว่าด้วยการเลือกใช้เครื่องสำอางและเสื้อผ้าที่เหมาะสมให้เราดูดีมากขึ้น โดยพิจารณาจากทฤษฏี ‘สี’ ของตัวเราไม่ว่าจะสีผิว สีตา สีผมว่ามีความเข้มอ่อนมากแค่ไหนและเป็นสีโทนเย็นหรือโทนอุ่น เพื่อให้เราสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่สีซึ่งส่งเสริมกัน ทำให้หน้าผ่องดูมีสง่าราศี นอนครบแปดชั่วโมง 

วิธีการนี้ของฉันได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดดังกล่าว เพื่อให้ตั้งคำถามว่าสิ่งที่กำลังจะซื้อนั้นมีประโยชน์ส่งเสริมตัวเราอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือมันเป็นเพียงความอยากที่เกิดขึ้นจากการเห็นผู้อื่นใช้งานแล้วดูดี? สำหรับฉันแล้วมันฟังดูโรแมนติกไม่ใช่น้อย แทนที่จะซื้อหว่านทุกอย่างที่ดูสวยงามบนโฆษณา เราควรซื้อเฉพาะลิปสติก น้ำหอม หรือเสื้อผ้าชิ้นโปรด ที่ใช้ตอนไหนก็รู้ว่าดูดี กลายเป็นไอเทมเฉพาะตัว จนเราสามารถตอบได้อย่างเต็มปากว่า สิ่งนี้แหละคือ ‘Signature’ ของตัวฉันเอง

4. ตัวเลข phobic

วิธีสุดท้ายที่จะนำเสนอในบทความนี้ พูดไปแล้วอาจดูเป็นเหมือนวิธีเขกกบาลให้รู้สึกตัว แต่บางครั้งยาที่ดีก็อาจจะเป็นยาขม หากจะให้ผูกเข้ากับบริบทของการซื้อของออนไลน์ก็คงจะหมายถึงการเปิดบัญชีเข้าไปยลโฉมจำนวนเงินที่เหลืออยู่ และถ้าจะดียิ่งขึ้นไปอีก คุณลองคำนวณค่าใช้จ่ายจำเป็นอย่างค่าข้าว หรือค่าหอ ที่ยังไงก็ต้องปลิวออกจากกระเป๋าแน่ๆ 

เป็นไงบ้าง? เหลือเงินเท่าไหร่กันเอ่ย ส่วนตัวแล้วรอยยิ้มฉันหายกลายเป็นหน้าซีดกันเลยทีเดียว

การรู้จำนวนเงินที่มีอยู่อาจดูคล้ายการทำสมุดบันทึกรายรับ-รายจ่ายวัยประถม แต่หารู้ไม่ว่ากิจกรรมที่เราทำส่งๆ เพื่อเอาคะแนนในเวลานั้น คือสกิลสำคัญในการเอาตัวรอดในวัยผู้ใหญ่ พูดแล้วหาซื้อสมุดรายรับรายจ่ายสวยๆ ย้อนวัยเยาว์ซักเล่มก็คงจะ…(ตีมือตัวเอง)

เป็นยังไงกันบ้างทุกคน มีวิธีที่พอจะช่วยได้บ้างไหม? สุดท้ายแล้วหวังว่าทุกคน (รวมถึงตัวฉันเอง) จะไม่ต้องใช้วิธีวาดรูปปลาทู นั่งมองแล้วกินข้าวเปล่าประทังชีวิตเหมือนในหนังสือการ์ตูนที่เคยอ่านตอนเด็กๆ อีกทั้งนอกจากผลกระทบใกล้ตัวอย่างไม่มีเงินกินข้าวแล้ว ในระยะยาวเราก็อาจสามารถช่วยพระแม่ธรณีให้มีความสุขขึ้น จากการลดขยะที่เกิดขึ้นจากการซื้อของแบบเกินพอดีได้ด้วยนะ

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
1
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Articles

Articles

หลอดไฟในดงไม้ แสงสว่างที่ระบบนิเวศไม่ต้องการ

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ในเมืองกรุงอันแสนกว้างใหญ่ แม้จะเป็นเวลากลางคืนที่ฟ้ามืดสนิท แสงจากไฟถนนและตึกยังคงส่องสว่างเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญ และในเมืองที่ไม่มีวันดับแสงนี้ การจะเห็นดาวที่ลอยอยู่เต็มผืนฟ้าช่างยากเหลือเกิน แม้แสงไฟจะเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ แต่ไม่ใช่ทุกที่จะเหมาะสมกับความสว่างไสวนี้ ...

Articles

 I’m cringe but I’m free สะเหล่อแล้วไง ไม่แคร์แล้วกัน

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี “โอ้ยยย ทำไมตอนนั้นสะเหล่อจัง” ความคิดที่โผล่เข้ามาในหัวขณะที่ล้มตัวลงนอนหลับตาเตรียมฝันดี แต่สมองไม่รักดีกลับขุดภาพความทรงจำอันน่าอับอายขึ้นมาฉาย ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เล่นมุกแล้วคนทั้งห้องกริบ ทักคนผิดเพราะนึกว่าเป็นเพื่อนตัวเอง ส่งข้อความหาคนที่ชอบเขาอ่านแต่ไม่ตอบ ...

Articles

ต้องอายุเท่าไหร่ ถึงควรจะประสบความสำเร็จ?: ชวนสำรวจนิยามความสำเร็จผ่านตัวละครหลักหลากวัยจาก Only murders in the building

เรื่องและภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์ คุณเคยรู้สึกว่าชีวิตตัวเองว่างเปล่าหรือไร้ค่าบ้างไหม? คุณเคยรู้สึกเจ็บช้ำจากความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าบ้างหรือเปล่า? คุณเคยมองความสำเร็จของคนอื่นแล้วถามตัวเองหรือไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่? หากคุณเคยรู้สึกหรือเคยถามตัวเองแบบนั้น คุณอาจเป็นเหมือนสามตัวละครหลักจาก Only murders in the ...

Articles

ผม (ไม่) เคย เฉยชากับความตาย

เรื่องและภาพประภาพ: Amphea Warning : บทความชิ้นนี้มีการพูดถึงเนื้อหาของการพยายามอัตวินิบาตกรรมและการสูญเสียของคนใกล้ตัว โปรดอ่านอย่างระวัง ‘อาม่า’ ของผมเสียไปตั้งแต่ตอนที่ผมอยู่ในวัยประถม แม้ช่วงบั้นปลายชีวิต เธอจะเริ่มหลงลืมลูกหลานและอารมณ์รุนแรงไปบ้าง แต่สำหรับลูกทั้ง 8 คนแล้ว เธอยังคงเป็นคนที่ทุกคนในครอบครัวรักมากที่สุดคนหนึ่ง ส่วนผมนั้นไม่ได้มีความทรงจำเกี่ยวกับอาม่ามากนัก ...

Articles

ออกเดินทางมาแล้วแต่ยังไกลจุดหมาย : ตอนนี้ Universal Design พาคนพิการเดินทางไปได้เท่าไหนในไทย

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย เป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้วที่คนพิการต้องเรียกร้องสิทธิต่างๆ ทั้งในประเด็นสิทธิในการเข้าทำงาน มุมมองด้านลบที่คนพิการเคยถูกมองว่าไม่มีความสามารถ หรือเคยทำกรรมไว้จึงพิการ และปัญหาความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของพวกเขาหลังจากที่ต้องสูญเสียทักษะบางอย่างไป การเดินทางเองก็เป็นอุปสรรคอันดับต้นๆ ที่คนพิการต้องพบเจอและมีการเรียกร้องมาเป็นเวลานาน จนมีกฎหมายเกี่ยวกับ Universal Design ...

Articles

โลกกำลังจะแตก เรายังควรแย่งวัฒนธรรมกันอยู่ไหม?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ชัยชนะของพรรคฝ่ายขวาในหลายประเทศทำให้เห็นการกลับมาของแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่เริ่มมีมากขึ้นในปัจจุบัน ด้านประเทศไทยเองถึงแม้กลุ่มที่นิยามตนเองว่า ‘หัวก้าวหน้า (Progressive)’ ซึ่งเป็นแนวคิดการเมืองแบบฝั่งซ้ายจะเริ่มมีพื้นที่และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทว่าหากพิจารณาตามจุดประสงค์ของการเกิดกลุ่มแนวคิดนี้ ก็อาจยังไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจและความต้องการต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะหากประเทศไทยเต็มไปด้วยกลุ่มคนหัวก้าวหน้าจริงเราคงไม่ได้เห็นคนในสื่อสังคมออนไลน์ตบตีแย่งชิงวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน “รักกันไว้เถิด ...

%

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save