ArticlesWritings

สรุป 3 ประเด็นน่าสนใจ ดีเบตรองประธานาธิบดี “วอลซ์ vs แวนซ์”

เรื่อง : จุฑาภัทร ทิวทอง

ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง

เมื่อวันที่ 2 ต.ค. CBS สถานีโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา ได้จัดเวทีดีเบตสำหรับผู้ลงสมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างเจมส์ เดวิด แวนซ์ หรือเจ.ดี. แวนซ์  จากพรรครีพับลิกัน (James David Vance, J.D. Vance, Republican) และทิม วอลซ์ จากพรรคเดโมแครต (Tim Walz, Democrat) หากผู้ชมในไทยต้องการชมการถ่ายทอดย้อนหลัง ช่องทางที่สะดวกที่สุดคือการดูผ่านเว็บไซต์ YouTube ทางช่อง CBS News โดยกฎของของการดีเบต ที่ผู้เข้าร่วมทั้งสองได้ยอมรับมีรายละเอียดดังนี้

  1. ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งจะได้รับคำถามจากผู้ดำเนินรายการ 1 คำถาม โดยจะมีเวลา 2 นาทีในการตอบ 
  2. ผู้เข้าร่วมฝ่ายตรงข้ามจะมีเวลา 2 นาทีในการโต้แย้ง
  3. หลังจากนั้นแต่ละฝ่ายจะมีเวลา 1 นาทีในการขยายความที่ต้องการสื่อ และหากผู้ดำเนินรายการเห็นสมควร ทั้งสองฝ่ายจะได้รับเวลาเพิ่ม 1 นาทีในการอธิบาย
  4. ผู้ดำเนินรายการมีหน้าที่ในการกระตุ้นการดีเบตระหว่างทั้งสองฝ่าย บังคับใช้กฎ รวมทั้งให้โอกาสผู้เข้าร่วมในการตรวจสอบความถูกต้องของคำกล่าวอ้างของอีกฝ่าย

ประเด็นคำถามที่ปรากฏในการดีเบตครั้งนี้ เป็นประเด็นที่กำลังถูกพูดถึง และเป็นข้อถกเถียงในสหรัฐฯ เช่น อิสราเอลและตะวันออกกลาง, เฮอริเคนเฮลีนและภาวะโลกร้อน, ผู้อพยพ, เศรษฐกิจ, สิทธิในการสืบพันธุ์หรือยุติครรภ์, การควบคุมอาวุธปืน, ราคาที่อยู่อาศัย, ระบบการดูแลสุขภาพ, การลางานเพื่อดูแลลูก, ประชาธิปไตยในอเมริกา และคำถามจากประเด็นส่วนตัวของผู้เข้าร่วม ก่อนที่ผู้เข้าร่วมการดีเบตทั้งสองจะกล่าวคำปิดท้าย

ทั้งนี้ เราได้สรุปใจความสำคัญของเนื้อหาที่แวนซ์ และวอลซ์ดีเบตกันใน 3 ประเด็นคำถามที่น่าสนใจ ดังนี้

ประเด็นอิสราเอลและตะวันออกกลาง

วอลซ์ ได้รับคำถามเกี่ยวกับการที่อิหร่านโจมตีอิสราเอล แต่ไม่สำเร็จ เพราะความร่วมมือทางการป้องกันของสหรัฐฯ และอิสราเอล ผู้ดำเนินรายการอธิบายถึงสถานการณ์ทางการทหารและการเมืองของอิหร่านจากมุมมองของสหรัฐฯ เพิ่มเติม โดยคำถาม คือ “หากท่านเป็นเสียงสุดท้ายในการตัดสินใจ ท่านจะสนับสนุนหรือต่อต้านหากอิสราเอลจะโจมตีอิหร่าน” 

วอลซ์ และแวนซ์แสดงความเห็นชอบในการสนับสนุนอิสราเอลทั้งคู่ โดยวอลซ์ กล่าวว่า อิสราเอลมีสิทธิพื้นฐานในการป้องกันตนเอง ช่วยเหลือตัวประกัน และยุติวิกฤตด้านมนุษยธรรมในกาซา การเติบโตของอิสราเอลและประเทศตัวแทนคือความจำเป็นขั้นพื้นฐานของสหรัฐฯ เพื่อแสดงถึงการมีอำนาจและการเป็นผู้นำที่มั่นคงในภูมิภาค ซึ่งมีความสำคัญ พร้อมกล่าวถึงกมลา แฮร์ริส (Kamala Harris) ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีพรรคเดโมแครตและรองประธานาธิบดีในสมัยของประธานาธิบดีโจ ไบเดน (Joe Biden)

วอลซ์ กล่าวว่า กมลาแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่มั่นคงดังกล่าวในข้างต้น โดยการสร้างความร่วมมือของแนวร่วม แสดงถึงความเข้าใจความสำคัญของพันธมิตร ในขณะเดียวกันวอลซ์ กล่าวว่า โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีพรรคริพับลิกันและอดีตประธานาธิบดี แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำที่ไม่มีความแน่นอนในการดึงแนวร่วมให้แข็งแรง จากการร่วมมือกับประเทศเกาหลีเหนือ 

และวลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีประเทศรัสเซีย

แวนซ์ ตอบคำถามในการดีเบตว่า ขึ้นอยู่กับอิสราเอลว่าจะทำอะไรเพื่อให้ประเทศของเขาปลอดภัย ซึ่งสหรัฐฯ ควรสนับสนุนพันธมิตรของตนเอง เขาโต้แย้งว่า ในสมัยที่กมลาดำรงตำแหน่ง อิหร่านได้รับการสนับสนุนเงิน และใช้เงินเหล่านั้นในการซื้ออาวุธที่ปัจจุบันถูกนำมาโจมตีแนวร่วม และเป็นไปได้ที่จะใช้โจมตีสหรัฐฯ 

แวนซ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุการณ์การร่วมมือกันของอิหร่านและฮามาสเกิดขึ้นในสมัยการดำรงตำแหน่งของกมลา“ทรัมป์มองเห็นว่า การสร้างสันติสุขนั้นเป็นผลพ่วงมาจากความแข็งแกร่ง ดังนั้นการป้องกันและปราบปรามที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้คนอยู่กับร่องกับรอยได้”

ประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

แวนซ์ ได้รับคำถามเกี่ยวกับกรณีเฮอริเคนเฮลีน หนึ่งในเฮอริเคนที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อระดับความรุนแรงของเฮอริเคน จากผลสำรวจโดยสำนักข่าว CBS เผยว่า 7 ใน 10 ของชาวสหรัฐฯ และกว่าร้อยละ 60 ของผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกัน สนับสนุนให้สหรัฐฯดำเนินการเพื่อลดผลกระทบสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

คำถามคือ “ในการบริหารของทรัมป์จะมีความรับผิดชอบการลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างไรบ้าง” 

แวนซ์ กล่าวว่าเขาและทรัมป์สนับสนุนสิ่งแวดล้อม อากาศ และน้ำที่สะอาด ปลอดภัย เขาสังเกตเห็นฝั่งพรรคเดโมแครตแสดงความกังวลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คำตอบของปัญหาอยู่ที่การย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตสหรัฐฯ กลับเข้ามาในประเทศ และผลิตพลังงานในสหรัฐฯ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะสหรัฐฯ เป็นเศรษฐกิจที่สะอาดที่สุดในโลก ในขณะที่นโยบายของกมลา เพิ่มการผลิตพลังงานในประเทศจีน, ผลิตสินค้าในต่างประเทศ และทำธุรกิจในพื้นที่ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยเศรษฐกิจมากที่สุดของโลก ฉะนั้นหากใส่ใจกับอากาศและน้ำที่สะอาด ทางออกคือการลงทุนกับแรงงาน และชาวอเมริกัน

วอลซ์ โต้แย้งว่า ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีกมลา ได้เห็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์กับร่างกฎหมายการลดเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act, มีเป้าหมายในการลดเงินเฟ้อภายในประเทศ พร้อมกับแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระตุ้นการใช้พลังงานสะอาดของภาคครัวเรือน) โดยยกตัวอย่างผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือในรัฐมินนิโซตา และเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดและถั่วเหลือง พร้อมใช้พลังงานจากลม

วอลซ์กล่าวเพิ่มเติมว่า สหรัฐฯ ผลิตพลังสะอาดมากขึ้น ฉะนั้นทางออกคือการเดินหน้านโยบายต่อไป  “การลดผลกระทบที่เราก่อต่อสิ่งแวดล้อมสำคัญ และสามารถปฏิบัติได้พร้อมกับการสร้างงานในประเทศ และสหรัฐฯ กำลังกลายเป็นมหาอำนาจด้านพลังงาน”

ประเด็นด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (Reproductive Rights)

วอลซ์ ได้รับคำถามเกี่ยวกับปัญหาด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ หลังกรณีล้มคำวินิจฉัยคดี ‘Roe v Wade’ (คำวินิจฉัยรับรองสิทธิในเลือกการยุติครรภ์)  เขาได้อนุมัติร่างนิติบัญญัติที่กลายเป็นข้อกฎหมาย ซึ่งทำให้รัฐมินนิโซตากลายเป็นรัฐที่มีการควบคุมการยุติครรภ์น้อยที่สุดในสหรัฐฯ โดยในการดีเบตครั้งก่อนของทรัมป์ กล่าวว่า วอลซ์ไม่มีปัญหากับการยุติครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 9 เดือน

คำถามคือ “จากคำกล่าวของทรัมป์คือสิ่งวอลซ์สนับสนุนจริงหรือไม่”

วอลซ์ กล่าวว่า สิ่งที่ทรัมป์กล่าวมาไม่ใช่เนื้อหาของร่างนิติบัญญัติ และทรัมป์คือบุคคลที่ทำให้เกิดปัญหาในปัจจุบัน โดยการจัดวางผู้พิพากษาของตนในการพิจารณา และล้มคำวินิจฉัยคดี ‘Roe v Wade’ กล่าวว่า เขายกตัวอย่างผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกคำวินิจฉัย โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐมินนิโซตาคือการยึดคำวินิจฉัยคดีเป็นแบบเดิม ที่ให้สิทธิกับผู้หญิงในการควบคุมการดูแลสุขภาพของตนเอง

นอกจากนี้เขาได้ยกประเด็น ‘Project 2025’ (แนวทางการบริหารแบบอนุรักษ์นิยม ที่ถูกลือว่าพรรครีพับลิกันและทรัมป์จะนำมาใช้) ขึ้นมา โดยกล่าวว่าแนวทางดังกล่าวจะทำให้การคุมกำเนิดเข้าถึงยาก จำกัดสิทธิรักษาการมีบุตรยาก ซึ่งวอลซ์กล่าวว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่รัฐแต่ละรัฐสามารถตัดสินใจแตกต่างกันได้ เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

แวนซ์ โต้แย้งว่า จะไม่การสร้างหน่วยงานรัฐเพื่อตรวจสอบดูแลการตั้งครรภ์ตามข่าวลือ  ‘Project 2025’ เขายกตัวอย่างประสบการณ์ในชีวิตที่ได้พบเจอและมีคนใกล้ตัวได้ตัดสินใจยุติครรภ์ แวนซ์กล่าวว่าผู้หญิงหลายคนตัดสินใจยุติครรภ์ เพราะรู้สึกว่านั่นคือทางออกทางเดียวของชีวิต พร้อมระบุว่าพรรครีพับลิกันต้องการปกป้องชีวิตผู้บริสุทธิ์ และแวนซ์กับทรัมป์มีเป้าหมายในการดึงความเชื่อใจของชาวสหรัฐฯ ในประเด็นปัญหาที่ประชาชนไม่เชื่อใจให้พรรคดูแล กลับคืนมา 

แวนซ์ กล่าวว่า เขาต้องการให้พรรครีพับลิกันเป็นพรรคที่สนับสนุนครอบครัวในด้านต่างๆ (Pro-Family) ไม่ว่าจะเป็นการรักษาการมีบุตรยาก, ช่วยให้มารดาสามารถดูแลค่าใช้จ่ายในการมีบุตรได้, ผู้คนสามารถเอื้อมถึงราคาที่อยู่อาศัยสำหรับสร้างครอบครัว หรือสร้างนโยบายที่ให้ทางเลือกกับผู้หญิงมากขึ้น แวนซ์เพิ่มเติมว่า ทรัมป์ชัดเจนกับนโยบายการยุติครรภ์ที่ให้สิทธิกับรัฐในการกำกับควบคุม เพราะผู้คนในแต่ละรัฐต่างก็มีความคิดที่หลากหลาย โดยเป็นสิทธิของประชาชนในรัฐนั้นๆ ที่จะเลือกตั้งผู้คนซึ่งสะท้อนความคิดของตนเองไปดูแลนโยบาย

อ้างอิง

Inflation Reduction Act : สหรัฐ ปฏิวัติภาษี หนีโลกร้อน | สุมาพร มานะสันต์, กรุงเทพธุรกิจ

https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1021039

Read the full VP debate transcript from the Walz-Vance showdown, CBS News

https://www.cbsnews.com/news/full-vp-debate-transcript-walz-vance-2024

ยกเลิก Roe VS Wade: ‘เถียงกันเรื่องแท้ง’ ในประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน+เสรีนิยม, The101.Worldhttps://www.the101.world/overturn-of-roe-v-wade/

“ทรัมป์2 จะใช้ Project 2025 ทำรัฐประหารอเมริกา?”, กรุงเทพธุรกิจ

https://www.bangkokbiznews.com/blogs/politics/1138535

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Articles

Articles

ออกเดินทางมาแล้วแต่ยังไกลจุดหมาย : ตอนนี้ Universal Design พาคนพิการเดินทางไปได้เท่าไหนในไทย

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย เป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้วที่คนพิการต้องเรียกร้องสิทธิต่างๆ ทั้งในประเด็นสิทธิในการเข้าทำงาน มุมมองด้านลบที่คนพิการเคยถูกมองว่าไม่มีความสามารถ หรือเคยทำกรรมไว้จึงพิการ และปัญหาความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของพวกเขาหลังจากที่ต้องสูญเสียทักษะบางอย่างไป การเดินทางเองก็เป็นอุปสรรคอันดับต้นๆ ที่คนพิการต้องพบเจอและมีการเรียกร้องมาเป็นเวลานาน จนมีกฎหมายเกี่ยวกับ Universal Design ...

Articles

โลกกำลังจะแตก เรายังควรแย่งวัฒนธรรมกันอยู่ไหม?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ชัยชนะของพรรคฝ่ายขวาในหลายประเทศทำให้เห็นการกลับมาของแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่เริ่มมีมากขึ้นในปัจจุบัน ด้านประเทศไทยเองถึงแม้กลุ่มที่นิยามตนเองว่า ‘หัวก้าวหน้า (Progressive)’ ซึ่งเป็นแนวคิดการเมืองแบบฝั่งซ้ายจะเริ่มมีพื้นที่และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทว่าหากพิจารณาตามจุดประสงค์ของการเกิดกลุ่มแนวคิดนี้ ก็อาจยังไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจและความต้องการต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะหากประเทศไทยเต็มไปด้วยกลุ่มคนหัวก้าวหน้าจริงเราคงไม่ได้เห็นคนในสื่อสังคมออนไลน์ตบตีแย่งชิงวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน “รักกันไว้เถิด ...

Articles

มองความตายผ่านเลนส์กล้อง ใน ‘ลาก่อน เอริ’

เรื่องและภาพประภาพ: สิทธิเดช สายพัทลุง Spoiler Alert: บทความชิ้นนี้มีการสปอยล์เนื้อหาของ ‘ลาก่อน เอริ’ หรือ ‘Goodbye Eri’ ‘ภาพยนตร์’ สื่อบันเทิงภาพเคลื่อนไหวที่สามารถเล่าเรื่องราวได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องราวความสุขจนต้องยิ้มตาม หรือเรื่องราวการจากลาที่ทำให้กลั้นน้ำตาแทบไม่ไหว ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งเรื่องจริงและเรื่องแต่ง ...

Articles

Car-Centric City: เมืองที่รถยนต์ใหญ่กว่าคน

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย หากคุณเป็นคนที่ไม่ได้ขับรถ คุณอาจเคยหงุดหงิดเวลาที่ต้องมาเดินหลบรถยนต์เวลาเดินอยู่ในซอยแคบๆ จนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมาทนเสี่ยงตายอยู่บนสภาพถนนแบบนี้ หรือหากคุณเป็นคนที่ขับอยู่ตลอด คุณอาจเคยหงุดหงิดที่ต้องมาทนรอคนเดินข้ามทางม้าลาย และไม่เข้าใจว่าทำไมบางคนจึงออกมาเรียกร้องหาทางเท้า ทางจักรยานที่ดี เพราะจะทำให้คุณใช้เวลาบนรถนานขึ้นเนื่องจากต้องสูญเสียเลนถนนไปเพื่อสร้างทางเท้าเพิ่มเติม ทั้ง 2 เหตุการณ์อาจเป็นมุมมองที่ไม่มีทางเกิดขึ้นในคนคนเดียวกันแต่ก็มีที่มาไม่ต่างกัน นั่นเป็นเพราะเรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแห่ง ...

Articles

สารภาพบาปนักชอปกระเป๋าแฟบ กับคู่มือไม่ให้ตัวเองต้องกินมาม่าในสิ้นเดือนนี้

เรื่องและภาพประกอบ: จุฑาภัทร ทิวทอง นักช็อปสายบิวตี้อาจเคยสังเกตหลายแบรนด์ที่ออกเครื่องสำอางคอลเลกชันใหม่กันแทบทุกเดือน พร้อมเหล่าอินฟลูมากมายที่โฆษณากันเกรียวกราวว่า ‘ของมันต้องมี’ พ่วงกับโปรโมชันลดราคาที่ดูเหมือนจะจำกัด แบบที่นานๆ ครั้งจะมาที ทั้งที่ในความเป็นจริงก็วนมาอยู่ทุกเดือน หลายคนก็อาจเป็นเหมือนฉัน ที่ตื่นเต้นทุกคราเมื่อได้เห็น ได้ดู และได้ยินปรากฏการณ์ข้างต้น สุดท้ายก็เผลอใจกดสินค้าลงตระกร้าในแอปสั่งของออนไลน์แทบทุกครั้งไป ...

Articles

คุณเข้าร้านโชห่วยครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ ?

เขียน : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ ภาพประกอบ : ศิรประภา จารุจิตร คุณเข้าร้านโชห่วยครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ ? ร้านค้าท้องถิ่นที่หายไปพร้อมกับ ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ คุณซื้อของจากร้านโชห่วยล่าสุดเมื่อไหร่ ? ฉันหมายถึง ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save