SocietyWritings

เราจะกระจายวัคซีนอย่างไร ในสถานการณ์ที่ไม่มีคำว่าเท่าเทียม

เรื่อง : วีริสา ลีวัฒนกิจ

ในสถานการณ์ปกติคงไม่มีใครกล้าพูดว่าความเท่าเทียม (equality) เป็นสิ่งที่ไม่ดี โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องของสวัสดิการของภาครัฐ

แต่ไม่ใช่กับสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ที่คนกลุ่มหนึ่งจะต้องเสี่ยงตายมากกว่าคนอีกกลุ่ม ยิ่งไปกว่านั้นวัคซีนทั้งหมดที่กำลังเริ่มเดินทางมาถึงแล้ว จะไม่สามารถฉีดให้กับประชาชนทุกคนทั่วประเทศได้ เนื่องจากมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดภูมิต้านทานหมู่เท่านั้น ดังนั้นคำถามที่ว่า ‘เราจะกระจายวัคซีนอย่างไรให้ยุติธรรม (Justice) และเหมาะสมที่สุด’ ถึงเป็นคำถามที่ถูกถามขึ้นทั่วโลกในขณะนี้

ลองจินตนาการว่า วันหนึ่งรัฐบาลออกแถลงการณ์ถึงวิธีการกระจายวัคซีนที่สุดแสนจะเท่าเทียมผ่านการนำชื่อของประชากรทุกคนมาเข้าระบบสุ่ม โดยไม่คำนึงถึงเพศ อายุ อาชีพหรือฐานะใด ๆ วันนั้นคงจะเป็นวันที่วุ่นวายอยู่ไม่น้อย และทุกคนคงเห็นพ้องต้องกันว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีการที่ดีเท่าไหร่

แต่การให้วัคซีนแบบตามใจฉัน เช่น ถ้าวันหนึ่งรัฐบาลตัดสินใจจะให้วัคซีนกับเจ้าสัวเอื้อประโยชน์ให้กับพวกตนที่สุดก็ดูจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเช่นกัน

จากสถานการณ์สมมุติข้างต้นจะเห็นได้ว่าคำตอบของคำว่ายุติธรรมในสถานการณ์โรคระบาดนี้ คงไม่ใช่คำว่าความเท่าเทียมตามที่สามัญสำนึกของเราเข้าใจ และย่อมไม่ใช่การให้วัคซีนตามใจฉัน ซึ่งผู้เขียนมั่นใจ (หรืออย่างน้อยก็หวังเป็นอย่างยิ่ง) ว่ารัฐบาลของเราจะไม่ตัดสินใจเช่นนี้อย่างแน่นอน

ก่อนที่เราจะไปร่วมหาคำตอบกัน เรามาดูท่าทีของรัฐบาลไทยกันก่อน ท่าทีของรัฐบาลนั้นดูจะไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก สังเกตได้จากแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีผ่าน Podcast ของเพจไทยคู่ฟ้า ในวันที่ 27 ม.ค. ว่าจะนำวัคซีนมาฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวและเจ้าหน้าที่ และเปิดเผยเพียงว่าวัคซีน 5 หมื่นโดสที่จะมาถึงเป็นล็อตแรกนั้นจะถูกนำไปฉีดให้กับบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ รวมถึงตำรวจ ทหารในพื้นที่เสี่ยงก่อน คำอธิบายของนายกรัฐมนตรีทำให้ผู้เขียนชวนสังเกตถึงลำดับการให้วัคซีนในอนาคตว่าจะมีท่าทีเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อวัคซีนล็อตแรกมีจำนวนที่จำกัด กอปรกับศักยภาพในการกระจายวัคซีนในขณะนี้ ดังนั้นเราจึงต้องการการบริหารจัดการลำดับการฉีดอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อขยายประโยชน์ให้สูงที่สุด

สำหรับคำตอบของความยุติธรรมในสถานการณ์โรคระบาดนี้ อาจจะเป็นหลักปฎิบัติในการให้วัคซีนของหลายประเทศ คือการให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า ‘ความเที่ยงธรรม (equity)’  โดยรัฐควรจะให้ความสำคัญกับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือก่อน และเป็นที่เข้าใจกันว่ากลุ่มแรกที่ควรได้รับวัคซีนคือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

แต่สิ่งที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงในหลายประเทศ คือระหว่างผู้สูงอายุหรือแรงงานที่มีความสำคัญ คนกลุ่มไหนล่ะ ที่ควรจะได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มถัดมา

การตัดสินใจว่าการให้วัคซีนกับกลุ่มไหนก่อนนั้น ต้องพิจารณาถึงเป้าหมายในการให้วัคซีนร่วมด้วย คือการลดอัตราผู้เสียชีวิตและการคืนสังคมสู่สภาวะปรกติให้เร็วที่สุด ต่างกันไปตามแต่ละแนวทางของแต่ละประเทศ

การให้วัคซีนแก่กลุ่มผู้สูงอายุดูจะเป็นแนวคิดแรกของใครหลายคน มีพื้นฐานอยู่บนความพยายามที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากผลกระทบที่เชื้อ COVID-19 เข้ามาป่วนร่างกายของกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้ร่างกายมีการทำงานผิดปรกติโดยเฉพาะในรายที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว

แต่สำหรับประเทศไทยที่เห็นกันว่ามีผู้เป็น ‘โคม่า’ จากพิษเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก แนวทางในการให้วัคซีนที่เน้นแรงงานสำคัญอาจจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะตั้งอยู่บนฐานคิดของการลดการกระจาย อีกทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ตัดสินใจฉีดวัคซีนให้กับแรงงานเสี่ยงก่อนก็ได้รับแรงสนับสนุนในแง่ของการให้ความสำคัญกับสีผิวและความหลากหลายของชาติพันธุ์ เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวมักเป็นแรงงานกลุ่มเสี่ยงนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ก็สามารถปฏิบัติจริงอย่างได้ยาก เนื่องจากต้องมีการประเมินว่าแรงงานกลุ่มไหนมีความสำคัญมากกว่ากัน ตามหลักการแล้วแรงงานก่อสร้างชาวเมียนมาอาจจะได้วัคซีนไวกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดบางจังหวัดเสียอีก ซึ่งต้องยอมรับว่าการคาดหวังสิ่งนี้อาจจะสูงไปเสียหน่อยกับสังคมไทยในขณะนี้

อีกทั้งการให้วัคซีนแก่คนอายุน้อยที่ร่างกายแข็งแรงดี (แม้จะเป็นกลุ่มที่ทำอาชีพเสี่ยง) แทนผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวก็ดูจะสร้างความอึดอัดใจไม่น้อย ในสหรัฐอเมริกามีคนจำนวนหนึ่งสละคิววัคซีนของตนเมื่อรู้ว่าคนชราในครอบครัวยังไม่ได้รับวัคซีน

การสละวัคซีนเพราะขัดกับความต้องการส่วนบุคคลก็นับว่าเป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากรัฐไม่มีสิทธิที่จะไปฝืนใจใครให้ฉีดวัคซีน เราสามารถพูดได้ว่า ข้อถกเถียงเรื่องลำดับการให้วัคซีนก็คือการยืนอยู่บนทางแพร่งแห่งจริยธรรม ที่ต้องตัดสินใจว่าประโยชน์สูงสุดที่สังคมจะได้รับจะต้องแลกมาด้วยความต้องการหรือแม้กระทั่งชีวิตของผู้คน

ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะให้วัคซีนกับใครก่อนเป็นเรื่องที่สำคัญและควรถูกนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ

ไทยจะ ‘ชนะ’ ได้อย่างแท้จริงได้ ต้องขับเคลื่อนรัฐโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง น่าเสียใจที่หลายต่อหลายครั้งผลประโยชน์ของประชาชนถูกบดบังด้วยอำนาจต่าง ๆ

วัคซีนล็อตแรกเพิ่งจะมาถึงและกำลังจะตามมา คุณคิดว่ารัฐไทยควรจัดการอย่างไรกับวัคซีนเหล่านั้น?

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Society

Articles

ภัยพิบัติในไทยกับความสนใจ ‘แค่กรุงเทพ’

เรื่อง: สุชานันท์ สหวงศ์เจริญ ภาพ: Wiroj Sidhisoradej จาก Freepik 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เกิดเหตุแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ...

Writings

การส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ 40 คน “กลับบ้าน” กับ ฉากหลังสิทธิมนุษยชนไทย

เรื่อง: พิชญา ณ วาโย “ดิฉันยืนยันว่ากลับโดยสมัครใจ ไม่เช่นนั้นก็มีการลากสิ ไม่มีการลาก เดินขึ้นไปปกติ ไม่มีอะไรทั้งนั้น สมัครใจค่ะ” คำกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งในถ้อยแถลงของ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ...

Writings

บ้านที่กลับไม่ได้ เพราะไม่มี “ตั๋ว”

เรื่อง : กัลย์สุดา ทองดี, ฐิตารีย์ ทัดพิทักษ์กุล, ณัฏฐณิชา มาลีวรรณ, ณิชกุล หวังกลุ่มกลาง, เบญจรัตน์ วิรัตรมณี, พิชชาสรรค์ ฉายภมร, สลิลทิพย์ ...

Writings

ในยุคแห่งความไม่แน่นอนนี้ หรือการบนบาน….จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่แสดงตัวตนของคน Gen Z?

เรื่อง : สมิตานันท์ จันสุวงษ์ ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา “ถ้าผลสอบไฟนอลได้ A ล้วนจะงดกินน้ำหวานหนึ่งเดือน” “ถ้ากดบัตรคอนเสิร์ตได้โซนที่ต้องการ เดี๋ยวจะมาแจกเงินให้ follower” ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ...

Writings

อคติสู่มุมมองใหม่: การเปลี่ยนแปลงของสื่อไทยกับภาพลักษณ์ของเมียฝรั่งในเพลงลูกทุ่ง

เรื่อง : โอปอล ศิริภัสษร พลอยชมพู วงศ์ยาไชย ศิรภัสษร ศิริพานิช อภิวัฒน์ สุชลพานิช ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา ลักษณะของเมียฝรั่ง ...

Writings

งานศพแบบมนุษย์นิยม: บอกลาอย่างไรสำหรับคนไร้ศาสนา

เรื่อง : รณรต วงษ์ผักเบี้ย ‘ความตาย’ เป็นคำที่ให้ความรู้สึกห่างไกลในขณะเดียวกันก็ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คิด สุญญากาศแห่งความตายนั้นยากแท้หยั่งถึงเกินจิตสำนึกของมนุษย์คนหนึ่ง แต่มัจจุราชก็เฝ้ารอทุกชีวิตอยู่ทุกหัวมุมถนนเช่นกัน เมื่อร่างกายของเราหยุดทำงานและทิ้งไว้เพียงลมหายใจสุดท้าย บรรยากาศรอบตัวปกคลุมไปด้วยความโศกเศร้าของคนที่รัก สุดท้ายมนุษย์เราก็ปลดปล่อยความเศร้าและความทรงจำผ่านพิธีกรรมแห่งการบอกลาที่เรียกว่า ‘งานศพ’ วันปีใหม่เพิ่งจะผ่านพ้นมาไม่นาน ผู้คนนึกถึงการเริ่มต้นใหม่ ความสุขที่จะได้ลองทำอะไรใหม่ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save