Art & CultureWritings

มันฮวา BL กับมุมมองงานศิลป์ที่พัฒนาและสืบต่อจาก “ภาพวาดอีโรติก” ในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้

เรื่อง : จิตริณี แก้วใจ

ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์

 

มันฮวา BL กับมุมมองงานศิลป์ที่พัฒนาและสืบต่อจาก “ภาพวาดอีโรติก” ในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้

 

“มันฮวา เรตอาร์” หมายถึง หนังสือการ์ตูนเกาหลีใต้ที่มีฉากไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วยภาพโป๊ ภาพเปลือย หรือกิจกรรมทางเพศ ซึ่งปัจจุบันพัฒนาไปสู่การเป็นหนังสือภาพบนช่องทางออนไลน์ โดยมันฮวา เรตอาร์จะมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ดราม่า แฟนตาซี หรือแม้แต่ BL (Boy Love) เรื่องราวความรักระหว่างชายและชาย ซึ่งคนไทยคุ้นหูกันดีว่า Y (Yaoi)

 

ในมันฮวา รูปแบบ BL จะประกอบไปด้วยภาพวาดตัวละครและเนื้อเรื่องที่น่าสนใจ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเสน่ห์ของหนังสือภาพการ์ตูนดังกล่าวคือเหล่าฉากร่วมรัก 18+ ทั้งหลาย ซึ่งหากมองลึกลงไปในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้แล้ว เราก็จะพบงานศิลป์ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกันอยู่ หรือก็คือ  “ภาพวาดอีโรติก” นั่นเอง

 

ภาพวาดอีโรติกเกาหลี คือ งานศิลปะอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอยู่ในสมัยโชซ็อน ประเทศเกาหลีใต้ ที่มีอายุมากกว่า 500 ปี แม้จะฟังดูเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์รูปแบบหนึ่ง แต่เมื่อนำไปเชื่อมโยงกับ “มันฮวา BL” ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก กลับมีความน่าสนใจ เพราะทั้งสองสิ่งคืองานศิลป์ที่ถูกสืบสานและพัฒนาต่อ

 

ภาพอีโรติกเป็นงานศิลปะ เป็นภาพวาดที่มักถ่ายทอดกิจกรรมเพศสังสรรค์ของมนุษย์ในชีวิตจริง โดยมีตัวละครหลักเป็น “กีแซง” และชายหนุ่มทั้งหลายที่มาใช้บริการร่วมรักกับเธอ 

 

ปกติแล้วงานศิลปะรูปแบบภาพอีโรติกของเกาหลีถือว่าเป็นของสะสมหายาก ที่แม้แต่การหาหลักฐานนำมาศึกษาในปัจจุบันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และความยากดังกล่าวมีสาเหตุร่วมอยู่ด้วยกัน 2 ข้อ คือ

 

1.  หาตัวผู้วาดยาก

ในสมัยโชซ็อนยังคงถือเรื่องราวความใคร่ราคะเป็นเรื่องน่าอาย จึงไม่แปลกที่เหล่านักวาดภาพอีโรติกจะปกปิดตัวตนราวกับนินจา ไม่ใช่ปิดแค่ชื่อเสียงเรียงนาม แม้แต่การดำเนินกิจการก็ต้องลึกลับและเป็นส่วนตัวที่สุด 

 

2.  ต้องเป็นคนมีฐานะถึงจะครอบครองได้

ด้วยบริบทและท่าทางอันน่าตื่นตาตื่นใจในภาพวาด ซึ่งสามารถครองใจกลุ่มคนมีฐานะในอดีต และนำไปสู่การเป็น “นักสะสมตัวยงอย่างลับ ๆ ” ทำให้กลุ่มคนดังกล่าวจับจองตัวผู้วาดที่ยากจะค้นหา และให้เหล่านักวาดภาพอีโรติกนำงานมาเสนอขายแบบตัวต่อตัว  ไปจนถึงผลิตงานภายใต้รั้วชายคาของตนเองที่เป็นผู้ว่าจ้าง โดยภาพวาดจะถูกจัดเก็บไว้ภายในบ้านของคนมีฐานะเท่านั้น

 

จากลายเส้นหมึกพู่กันบนกระดาษสู่ภาพวาดสมัยใหม่

 

เห็นได้ว่า มันฮวา เรตอาร์ และภาพอีโรติกที่ถูกรังสรรค์ขึ้นในสมัยก่อน มีจุดที่คล้ายคลึงกันชัดเจน คือการเป็นภาพวาดที่มีอริยาบททางเพศ และจุดประสงค์ของงาน

 

ทั้งสองสิ่งนั้นมีไว้ดูเพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศ และให้ความบันเทิงกับผู้ดู ผู้อ่าน

 

มันฮวาBLในปัจจุบันมีเนื้อเรื่องดูน่าสนใจขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอเรื่องราวที่มีความหลากหลายทั้งไกลและใกล้กับชีวิต ผู้อ่าน  จนสามารถสร้างความรู้สึกร่วมและนำไปสู่การติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการพัฒนาภาพวาดให้มีความสมจริง มากยิ่งขึ้น การปรับคุณภาพให้ชัดเจน เช่น ลักษณะของผิวเนื้อเมื่อถูกสัมผัส แสงและเงา ฉากต่างๆ  ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ

 

มันฮวา BL ซึ่งสามารถดึงดูดนักอ่านบางกลุ่มที่ซ่อนอยู่ภายในนานาประเทศได้มากมาย ทั้งอเมริกา บราซิล ญี่ปุ่น รวมไปถึงประเทศไทย และใช้จ่ายกับการอ่านมันฮวาราว 13-14 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อเดือน หรือประมาณ 480 – 512 บาท เลยไม่เป็นที่น่าแปลกใจนักว่าทำไมเหล่านักเขียนมันฮวาบางคนจะสามารถสร้างรายได้กันถึงหลักล้านและทำให้กระแสความนิยมเกาหลีใต้ยังคงเติบโต

 

จากข้อมูลของ Government Annual Survey About Hallyu Overseas และสถิติจาก Statista เรื่อง Popularity of South Korean pop music (K-pop) worldwide  ทำให้เห็นว่ากระแสความนิยมเกาหลีใต้ต่อทั่วโลกในปี 2022 นั้น มีมันฮวาเป็นอีกปัจจัยที่ส่งเสริมความนิยมเกาหลีใต้ มากถึง 29.9%  ใกล้เคียงกับเคป็อปที่มีเปอร์เซ็นสร้างความนิยมอยู่ที่ 45.9% และคงเติบโตขึ้นอีกในปี 2023   เพราะการขยายเฟรนไชส์เว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นที่ตอบสนองภาษาต่างๆ ของกลุ่มผู้อ่านอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งทำให้เห็นว่าการพัฒนาและสืบต่องานศิลป์จากประเทศที่ให้คุณค่ากับศิลปะนั้น สามารถสร้างอิทธิพลได้มากกว่าที่ตาเห็น

 

 

อ้างอิง :

Kay Sesoko (2023), How Korean Webtoons’ Popularity Has Grown In 2022 According To A Government Annual Survey About Hallyu Overseas,

สืบค้นเมื่อ 29 ก.ย. 2566, จาก https://www.kpopmap.com/how-korean-webtoons-popularity-has-grown-in-2022-according-to-a-government-annual-survey-about-hallyu-overseas/

Statista (2023), Popularity of South Korean pop music (K-pop) worldwide,

สืบค้นเมื่อ 29 ก.ย. 2566, จาก https://www.statista.com/statistics/937232/south-korea-kpop-popularity-worldwide/

Darya (2022), Chunhwa: Korean Erotic Paintings, Part Two, Shin Yun-bok (Hyewon), สืบค้นเมื่อ  29 ก.ย. 2566, จาก https://shungagallery.com/shin-yun-bok/

Korean Journal of Sexual Health (2020), A brief comparison of old erotic paintings in the Far East,

สืบค้นเมื่อ 29 ก.ย. 2566, จาก https://www.ekjsh.org/archive/view_article?pid=kjsh-4-1-3

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0
Articles

เรื่องราวของผีที่มีมากกว่าความน่ากลัวโดย ‘Mike Flanagan’

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ กิจกรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ในช่วงเทศกาลฮาโลวีนก็คงหนีไม่พ้นการแต่งหน้าแต่งตัวเป็นผี ไปยืนเคาะประตูหน้าบ้านคนอื่น พร้อมตะโกนคำว่า Trick or Treat! เพื่อขอขนมหวานแสนอร่อย แต่นี่คือประเทศไทย ดินแดนแห่งเวทมนตร์ หากเดินไปเคาะประตูบ้านคนอื่นยามค่ำคืนก็คงจะได้ไปเล่นกับตำรวจ ไม่ก็เจ้าที่แทน ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็มีเพียงแค่การดูหนังมาราธอนจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ...

Articles

Blackstar : คำร่ำลาจาก (เหล่า) มนุษย์ตาสองสีผู้มาจากต่างดาว

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ‘ความตาย’ เป็นสิ่งที่เราจะต้องพบในสักวัน ทั้งของครอบครัว เพื่อน หรือแม้แต่ความตายของตัวเองที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาทุกวินาที โดยเราไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามันจะมาถึงตัวของเราเมื่อไหร่ จนอาจกลายเป็นความหวาดกลัวที่ทำให้ไม่อยากจะใช้ชีวิตบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินแห่งนี้อีกต่อไป แต่ไม่ใช่กับชายคนหนึ่ง ชายผู้แม้ความตายจะมาเคาะประตูหน้าห้อง ...

Articles

The substance: การฉายซ้ำของภาพยนตร์ที่ว่าด้วยการติดหล่มความงาม มองข้ามความจริง และ Ageism ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

เรื่อง : ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร “You were amazing” “เธอ ‘เคย’ ยอดเยี่ยม” คือคำเขียนในการ์ดที่ถูกแนบมาพร้อมดอกไม้ช่อโต ...

Writings

จดหมาย 3 ฉบับถึงงานหนังสือ

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง, ชวิน ชองกูเลีย และ ศิรประภา จารุจิตร จดหมาย 3 ฉบับถึงงานหนังสือ คำนำ งานหนังสือ ...

Articles

Look Back: มองย้อนไป…กับหัวใจที่ต้องเดินหน้าต่อ

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ Spoiler Alert: บทความชิ้นนี้มีการสปอยล์เนื้อหาของ ‘Look Back’ “ถ้าตอนนั้นทำอีกแบบหนึ่ง มันจะเป็นยังไงนะ?” ...

Articles

เราจำเป็นต้องร้องไห้เมื่อมีคนตายไหม? ชวนสำรวจความไร้แก่นสารของชีวิตผ่านหนังสือ ‘คนนอก’

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ *เนื้อหาต่อไปนี้มีการสปอยล์* “วันนี้สินะที่แม่ตาย หรือว่าเมื่อวานนี้ฉันก็ไม่รู้แน่” ประโยคเปิดของหนังสือ ‘คนนอก’ จากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส ‘L’Étranger’ ได้รับรางวัลโนเบลใน ค.ศ. 1957 เขียนโดย ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save