News

เขื่อนแก่งเสือเต้นแก้น้ำท่วมไม่ได้ ซ้ำ ทำลายวิถีชีวิตชาวบ้าน

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ และ สิทธิเดช สายพัทลุง
ภาพประกอบจาก : Thailand Tourism Directory

ผู้คัดค้านเผยเขื่อนแก่งเสือเต้นแก้น้ำท่วมสุโขทัยไม่ได้ และอาจทำลายวิถีชีวิตชาวบ้าน ต.สะเอียบไปจนหมด

.

จากกรณีเมื่อวันที่ 4 ก.ย. ที่ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อเกี่ยวกับการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดตามลุ่มแม่น้ำยมในปัจจุบันว่า เนื่องด้วยแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำที่ไม่มีเขื่อนหรือแม่น้ำสายอื่นช่วยรองรับน้ำ จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะในจ.แพร่ จ.พะเยา และ จ.สุโขทัย  ดังนั้นจะต้องมีการพูดคุยถึงโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นที่ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ อีกครั้งเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนั้น เมื่อวันที่ 8 ก.ย. อาทิตย์ ขวัญยืน หนึ่งในกลุ่มผู้คัดค้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ให้สัมภาษณ์ว่า จะไม่มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นอย่างแน่นอน เพราะโครงการดังกล่าวถูกชะลอและคัดค้านมานานกว่า 30 ปี หากจะมีการสร้างเขื่อนจริง คงดำเนินการได้ตั้งแต่แรก อีกทั้งโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างครอบคลุม

อาทิตย์กล่าวว่า แม่น้ำยมมีลำน้ำอยู่ร่วม 100 สาขา แต่การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้นจะรองรับลำน้ำได้เพียง 10 กว่าสาขา ยังเหลือลำน้ำบริเวณใต้เขื่อนอีกกว่า 60-70 สาขาที่ไม่มีที่รองรับ นอกจากนี้ เขื่อนแก่งเสือเต้นยังจุน้ำได้เพียง 1,175 ลบ.ม. แต่ในช่วงที่น้ำท่วม มวลน้ำที่ไหลลงไปจะมีมากถึง 5,000 กว่าลบ.ม. ดังนั้นพื้นที่บริเวณใต้เขื่อนแก่งเสือเต้นจะยังคงเจอปัญหาน้ำท่วมอยู่เช่นเดิม 

อาทิตย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีของ จ.สุโขทัย ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในทุกๆ ปี เกิดจากปัญหาด้านภูมิประเทศ ทำให้ไม่สามารถรองรับน้ำจาก จ.แพร่ ได้ 

“ความกว้างโดยเฉลี่ยของแม่น้ำยมที่ จ.แพร่ อยู่ที่ 85 เมตร แต่บริเวณ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ความกว้างโดยเฉลี่ยของแม่น้ำยมจะลดลงเหลือเพียง 43 เมตร เมื่อน้ำท่วมที่ผ่านมา มวลน้ำที่ท่วม จ.แพร่ ไหลอยู่ที่ 1,400 กว่าลบ.ม. ต่อวินาที และน้ำจะยังคงไหลแรงเท่าเดิมเมื่อไปถึง จ.สุโขทัย ไม่ว่าอย่างไรน้ำก็ล้นอยู่ดี” อาทิตย์กล่าวและว่า นอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างครอบคลุมแล้ว การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ด้วย เนื่องจากชาวบ้านต้องย้ายที่อยู่ แต่ที่่อยู่ใหม่จากการจัดสรรของภาครัฐ เป็นถิ่นทุรกันดาร ไม่เหมาะแก่การประกอบอาชีพตามวิถีเดิม เช่น การทำสุราพื้นบ้าน ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักล้านให้คนในชุมชน รวมถึงการทำเกษตรกรรมตามฤดูกาลและการหาของป่า

“สิ่งที่เขื่อนจะทำลายไม่ใช่แค่ระบบนิเวศน์ป่าสักทองที่เราหวงแหน แต่รวมถึงวิถีชีวิตชุมชนที่จะต้องเข้าไปหาของป่าอย่างพวกผักหวานหรือเห็ดเผาะที่สร้างมูลค่ากิโลหนึ่งได้ตั้งหลายร้อย แล้วไม่ใช่แค่คนในชุมชนที่เข้าไปหา แต่ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงก็ขึ้นไปหาด้วย ถ้ามีเขื่อนแล้วมันทดแทนกันไม่ได้ ผืนดินตรงนั้นจะหายไปมากกว่าหลายหมื่นไร่” อาทิตย์กล่าว

อาทิตย์เพิ่มเติมว่า ผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ชาวบ้านไม่พอใจและกังวลใจต่อโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ทางชุมชนสะเอียบจึงพยายามจัดทำ ‘สะเอียบโมเดล’ เพื่อนำเสนอวิธีแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำให้แก่ทางภาครัฐ 

“การบริหารจัดการน้ำที่นำเสนอให้กับทางภาครัฐคือแนะนำให้ไปทำฝาย ทำอ่างตามลำน้ำสาขาของ จ.แพร่ ที่จะไหลลงรวมแม่น้ำยม เราจะทอนน้ำให้ลงแม่น้ำยมให้น้อยที่สุด เพราะถ้าไม่มีตัวช่วยดักหรือเก็บน้ำไว้ ก็เท่ากับว่าน้ำไหลจาก จ.แพร่ มาเท่าไรก็จะลงแม่น้ำยมเท่านั้น ซึ่งตอนนี้ภาครัฐรับเอาสะเอียบโมเดลไปบ้างแล้ว แต่ว่ายังไม่สมบูรณ์ แล้วก็ดันเกิดวิกฤตน้ำท่วม จ.แพร่ ขึ้นมาเลยมีการพูดถึงเขื่อนแก่งเสือเต้นอีกรอบหนึ่ง” อาทิตย์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สะเอียบโมเดล คือแผนโครงการที่ประชาชนในพื้นที่ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ได้ร่วมกันเสนอเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในบริเวณลุ่มแม่น้ำยมตอนบน ซึ่งมีโครงการย่อยอยู่จำนวน 26 โครงการ หนึ่งในนั้นคือโครงการอ่างเก็บน้ำแม่สะกึ๋นและอ่างเก็บน้ำห้วยเป้า ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค-บริโภค บรรเทาอุทกภัย และกิจกรรมการใช้น้ำอื่นๆ ในพื้นที่

บรรณานุกรม

กรมชมประธาน. งานจ้างสำรวจ ออกแบบโครงการอ่างเก็บน้ำในพื้นที่สะเอียบโมเดล.
เรียกใช้เมื่อ กันยายน 2567 จาก https://www.xn—-uwfqe6d0akaa4ejg9as7bh1cae3d3ac5f2nfp0bzy.com/

รัฐบาลไทย. (4 กันยายน 2567). ภูมิธรรม ระบุแนวคิดสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นต้องหารือทุกฝ่าย ย้ำเพื่อลดผลกระทบทั้งคนและป่า แก้น้ำท่วมซ้ำซาก. เรียกใช้เมื่อกันยายน 2567 จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/87765

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ชี้ ไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับสื่อสตรีมมิง  แม้มีแผนแม่บทแต่ไม่นำเข้าที่ประชุมกสทช.

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ และ วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ชี้ ไทยไม่มีการกำกับดูแล OTT เพราะร่างแผนแม่บทไม่ถูกนำเข้าที่ประชุมกสทช. กระทบสื่อทีวี-ผู้บริโภค จากกรณีเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ...

News

ศาลตัดสิน คุก 2 ปี ‘พิรงรอง’ หลัง ทรูไอดี ฟ้อง กสทช.

เรื่อง : ยลพักตร์ ขุนทอง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษา ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต ...

News

ทีมผลิตคลิปงานแรกพบเพื่อนใหม่ มธ. เผยยังได้ค่าจ้างไม่ครบ ด้านอมธ. แจงจ่ายช้าเพราะกำลังพิจารณาสาเหตุของค่าใช้จ่ายที่เกินงบ

เรื่องและภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี กลุ่มนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ ทีมผลิตคลิปประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย เผยได้รับค่าจ้างผลิตคลิปประชาสัมพันธ์งาน TU universe: Merging of the galaxies ไม่ครบ ทางผู้อำนวยการกองถ่ายคาด ...

News

ภาคประชาชนชี้ รัฐควรปรับปรุง ‘ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2024)’ เพราะอาจดันค่าไฟสูงขึ้น เหตุตั้งกำลังผลิตเกินจำเป็น

เรื่อง : ณัฐกานต์ บุตรคาม ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง “โครงการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในประเทศไทย” ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่รณรงค์เรื่องพลังงาน ชี้ภาครัฐควรปรับปรุงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2024)  เนื่องจากกำหนดกำลังผลิตไฟฟ้าเกินความจำเป็น ซึ่งจะทำให้ค่าไฟสูงขึ้น ...

News

ผอ. กองนโยบายภาษีชี้หนี้ครัวเรือนไทย เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยม ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว แนะรัฐฯ ปฏิรูประบบการศึกษาสร้างทักษะติดตัว

เรื่อง : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ผอ. กองนโยบายภาษีชี้หนี้ครัวเรือนไทยเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมและค่านิยมในสังคม  ทำให้ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว แนะรัฐฯ ปฏิรูปโครงสร้างตั้งแต่ระบบการศึกษาเพื่อสร้างทักษะติดตัวประชาชน เพราะดิจิทัลวอลเล็ตไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว เมื่อวันที่ ...

News

รมช.คลัง เดินหน้าแจกเงินหมื่นเฟส 3 เป็นดิจิทัลวอลเล็ต ยันกระตุ้นการใช้จ่ายได้มากกว่าเงินสด 

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี รมช.คลัง เดินหน้าแจกเงินหมื่นเฟส 3 เป็นดิจิทัลวอลเล็ต ยืนยันกระตุ้นการใช้จ่ายได้มากกว่าเงินสด เหตุตั้งเงื่อนไขการใช้เงินได้และต้องการให้ประชาชนเปิดรับเทคโนโลยี  เมื่อวันที่ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save