News

โควิดทำฝึกงานอ่วม ลงพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อ-ฝึกออนไลน์ขาดประสิทธิภาพ ผอ. กองบริหารงานวิชาการ ชี้สุขภาพต้องมาก่อน

เรื่อง: ชนิสรา หน่ายมี

ภาพ: กมลวิช อัศวพงษ์โชติ, มนสิรา กาหลง

นักศึกษา มธ. เผย กังวลติดโควิดจากการลงพื้นที่ฝึกงาน ฝึกออนไลน์ปลอดโรคแต่ขาดประสิทธิภาพ ผอ. กองบริหารงานวิชาการชี้สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ออกนโยบายให้แต่ละคณะจัดการตามความเหมาะสม 

จากกรณีที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2563 ส่งผลกระทบกับการฝึกงานอย่างมาก ทำให้นักศึกษา มหาวิทยาลัย คณะ องค์กรหรือบริษัทต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิด เพื่อให้นักศึกษาสามารถฝึกงานและจบการศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จึงนำไปสู่ประเด็นปัญหาต่าง ๆ รวมถึงประสิทธิภาพในการฝึกงานช่วงแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19

นางสาวมนสิรา กาหลง ขณะลงพื้นที่ฝึกงาน

นางสาวมนสิรา กาหลง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เอกวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้กำลังฝึกงานที่สำนักข่าว The Reporters ในตำแหน่งนักข่าวภาคสนามทำให้ไม่ได้เข้าสำนักงาน ถ้าวันไหนไม่มีหมายข่าว จะไม่ได้ลงพื้นที่และต้องทำข่าว work from home อยู่บ้าน ทำงานควบคู่กันไประหว่างการลงพื้นที่และออนไลน์ “การฝึกงานแบบลงพื้นที่ ทำให้ได้ประสบการณ์การทำงานจริง ได้สัมภาษณ์แหล่งข่าวและตั้งข้อสังเกตเอง ได้พบปะผู้คนเป็นจำนวนมาก เวลาไปลงพื้นที่ทำข่าวภาคสนาม ได้เรียนรู้จากพี่ ๆ ได้ถามพี่โดยตรงและได้สังเกตพี่เขาทำงาน หรือบางครั้งทางสำนักข่าวส่งไปทำข่าวคนเดียว ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นนักข่าวคนหนึ่ง”

นางสาวมนสิรากล่าวว่า ในการฝึกงานช่วงแรกเกิดความรู้สึกกังวลมาก เนื่องจากต้องพบปะคนเป็นจำนวนมากและต้องเดินทางไปหลายสถานที่ อีกทั้งเวลาลงพื้นที่ไปทำข่าว นักข่าวทุกคนต้องยืนสัมภาษณ์แหล่งข่าวเหมือนไม่ได้มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 และอีกหนึ่งปัญหาคือไม่มีที่ให้นั่งรอหมายข่าวระหว่างวัน เนื่องจากร้านอาหารหรือร้านกาแฟปิดในช่วงล็อกดาวน์ตามมาตรการของภาครัฐ รวมถึงอาจต้องนั่งรอหรือรับประทานอาหารในรถที่สำนักข่าวจัดหาให้

นางสาวมนสิรากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การดูแลตัวเองในการฝึกงานช่วงการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด–19 นักข่าวภาคสนามทุกคนต้องฉีดวัคซีนที่ภาครัฐจัดหาให้ ใส่หน้ากากอนามัย ใช้เจลแอลกอฮอล์กันอยู่ตลอด ถ้าไม่จำเป็นต้องเข้าใกล้แหล่งข่าวจะยืนห่างกันและจะเลี่ยงการทำข่าวในพื้นที่ห้องแอร์ หากมีการแถลงข่าวจะมีการแถลงในพื้นที่โล่ง

นางสาวมนสิรากล่าวว่า ประสิทธิภาพในการฝึกงานช่วงการแพร่ระบาดของโควิด–19 จากสถานการณ์ตอนนี้ไม่สามารถตอบได้ว่าการฝึกงานออนไลน์กับลงพื้นที่ แบบใดมีข้อดีมากกว่ากัน “การฝึกงานออนไลน์ แบบ work from home อาจจะเหมาะกับบางองค์กร แต่อาจจะมีข้อจำกัดเรื่องสัญญาณอินเทอร์เน็ต แต่หากเป็นเรื่องบรรยากาศและประสิทธิภาพในการทำงาน ลงพื้นที่จะได้ประสิทธิภาพมากกว่า การฝึกงานแบบเข้าไปฝึกในบริษัทหรือลงพื้นที่เป็นวิธีที่ดีสำหรับทุก ๆ องค์กร แต่การลงพื้นที่ก็จะเสี่ยงต่อการติดโควิด-19” 

นางสาวภควัน เฉลิมพร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. กล่าวว่าช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา ได้ฝึกงานที่การประปาส่วนภูมิภาคสาขานครนายกเกี่ยวกับการเงิน รับผิดชอบงานด้านเอกสารและงานบริการลูกค้า ได้ฝึกงานเต็มที่แต่รู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงแรกที่ฝึกงานเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 อย่างหนัก ลูกค้ายังคงเดินทางมาชำระเงินค่าน้ำประปาที่สำนักงาน ถึงแม้จะมีการชำระเงินแบบออนไลน์แล้ว ทำให้ต้องระวังตัวอย่างมาก เนื่องจากยังไม่ได้ฉีดวัคซีน แต่ในภายหลังทางสำนักงานได้มีการจัดให้เว้นระยะห่างระหว่างพนักงานกับลูกค้าและจัดพื้นที่ให้บริการลูกค้านอกสำนักงาน ทำให้ป้องกันการติดโรคโควิด–19 ได้มากขึ้น 

นางสาวภควันกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มีแนวทางในการช่วยดูแลและแก้ไขปัญหาให้นักศึกษา เช่น ช่วยจัดหาที่ฝึกงานให้ สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีที่ฝึกงานหรือถูกยกเลิกการฝึกงาน

นางสาวอชิรญา จะรา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. กล่าวว่าในช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา ได้ฝึกงานที่สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า ซึ่งโดยปกติแล้วต้องลงพื้นที่ 100 เปอร์เซนต์ แต่เนื่องจากในช่วงที่ฝึกงานเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 อย่างหนัก ทำให้ต้องฝึกออนไลน์ จึงไม่ได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาและพบกรณีตัวอย่าง รวมถึงไม่ได้ดูแลและจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ แต่เปลี่ยนเป็นการจัดกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชันซูม โดยจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลน้องจัดหาอุปกรณ์ทำกิจกรรมให้ “ซึ่งเรามองว่าเด็ก 10 คน ดูผ่านคอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียว ทำให้ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับน้องอย่างทั่วถึง” 

นางสาวอชิรญา กล่าวว่าการฝึกงานออนไลน์ทำให้เกิดผลเสียกับสุขภาพร่างกาย เช่น ตา เนื่องจากต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานและทำให้เกิดอาการปวดหลัง อีกหนึ่งปัญหาคือสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี จนไม่สามารถฝึกงานได้ “เนื่องจากในบางครั้งฝนตกทำให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตติดขัด จนต้องนั่งรถไปอีกบ้าน” นางสาวอชิรญากล่าวและว่าสำหรับประสิทธิภาพในการฝึกงานออนไลน์ ถึงจะได้ประสิทธิภาพไม่เต็มที่แต่เป็นเรื่องที่ดี เพราะปลอดภัยจากโควิด–19 

นางสาวอชิรญากล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์นั้นมีแนวทางในการช่วยดูแลและแก้ไขปัญหาให้นักศึกษาฝึกงาน เช่น ตรวจโควิด–19 และแจกหน้ากากอนามัยฟรี รวมถึงมีการเรียกนักศึกษากลับ หากสถานการณ์โควิดมีความรุนแรงมากขึ้น 

หน้าจอนักศึกษาขณะเรียนออนไลน์

นายกมลวิช อัศวพงษ์โชติ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นปัญหาการฝึกงานในช่วงแพร่ระบาดของ โควิด–19 ว่า ในช่วงปิดเทอมที่ออนไลน์แบบออนไลน์ทั้งหมดผ่านมา ได้ฝึกงานที่หน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งในด้านการวางแผนธุรกิจ การฝึกงานเป็นแบบฝึกงานออนไลน์ทั้งหมด ทำให้ไม่ได้สัมผัสกับบรรยากาศการฝึกงานในองค์กรและไม่ได้เรียนรู้งานและประสบการณ์การทำงานที่แท้จริง เจ้าหน้าที่ดูแลนักศึกษาได้ไม่เต็มที่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ 1 คน ดูแลนักศึกษาประมาณ 50 กว่าคน ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง การประเมินผลผ่านได้ง่ายขึ้น การฝึกงานครั้งนี้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับการได้ฝึกงานในพื้นที่จริง 

 “การฝึกงานเหมือนเป็นการเรียนออนไลน์มากกว่า เพราะเป็นการฝึกงานผ่านแอปพลิเคชันซูม โดยจะมีวิทยากรของหน่วยงานที่ฝึกงานและวิทยากรจากหน่วยงานอื่นมาสอน” นายกมลวิชกล่าว   

นายกมลวิชกล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับคณะเศรษฐศาสตร์มีแนวทางในการช่วยดูแลและแก้ไขปัญหาให้นักศึกษาฝึกงาน เช่น ช่วยจัดหาที่ฝึกงานให้นักศึกษา เป็นต้น

นางสาวนันทนัช ตันติวงศพิศาล ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิชาการได้ให้สัมภาษณ์ประเด็นแนวทางในการช่วยดูแลและแก้ไขปัญหาให้นักศึกษาฝึกงานว่า ทางมหาวิทยาลัยได้ออกนโยบายเน้นเรื่องความปลอดภัยของนักศึกษาเป็นหลักและปรับตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับหลักสูตรของแต่ละคณะ บริหารจัดการปรับรูปแบบการฝึกงานตามสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ยืดหยุ่นระยะเวลาฝึกงานออกไปให้ยาวขึ้น บางคณะเลื่อนการฝึกงานไปเทอมหน้า หากนักศึกษาลงทะเบียนไปแล้วจะถอนวิชาได้เป็นกรณีพิเศษโดยไม่ติด W  ยกตัวอย่างคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ปรับรูปแบบการฝึกงานเป็นฝึกออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องลงพื้นที่ศึกษากรณีตัวอย่าง เป็นต้น

ทีมข่าววารสารเพรสได้ขอสัมภาษณ์นางนิธิดา แสงสิงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะวารสารศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะที่ได้รับผลกระทบในการฝึกงาน โดยนางนิธิดากล่าวว่า คณะวารสารศาสตร์ฯ มีการฝึกงานในหลายรูปแบบ เพราะสาขาวิชาเอกแตกต่างกัน นักศึกษาที่เน้นฝึกงานด้านเชิงกลยุทธ์ ฝึกคิด ฝึกเขียนจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการฝึกงาน เพราะบริษัทที่ฝึกงานยืดหยุ่นให้ work from home แต่ที่จะได้รับผลกระทบมาก คือนักศึกษากลุ่มที่ต้องฝึกงานในสตูดิโอ หรือต้องออกกอง

นางนิธิดากล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับคณะวารสารศาสตร์ฯ นั้น ที่ผ่านมามีแนวทางในการช่วยดูแลและแก้ไขปัญหาให้นักศึกษาฝึกงาน เช่น สามารถเปลี่ยนวิชาจากการฝึกงานเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่องได้ ยืดหยุ่นช่วงเวลาฝึกงานออกไปให้ยาวขึ้นในเงื่อนไขการเก็บชั่วโมงให้ครบไม่ต่ำกว่า 135 ชั่วโมง และขยายเวลาการทำสารนิพนธ์และการส่งเกรด รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมเวิร์กชอปเพื่อเสริมทักษะสำหรับสาขาวิชาต่าง ๆ เป็นต้น

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
6
Love รักเลย
1
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

ผู้ช่วยเลขาฯ สภาผู้บริโภคย้ำข้อเรียกร้องให้รื้อระบบตรวจสภาพรถ พร้อมผลักดันสัญญาจ้างฉบับสภาผู้บริโภคให้มีการบังคับใช้

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ผู้ช่วยเลขาฯ คณะกรรมการด้านการขนส่งฯ สภาผู้บริโภคย้ำข้อเรียกร้องให้รื้อระบบตรวจสอบสภาพรถใหม่เพื่อเรียกความไว้วางใจจากประชาชนและเปลี่ยนรถที่มีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุออก พร้อมผลักดันสัญญาจ้างฉบับสภาผู้บริโภคให้กระทรวงศึกษาฯ นำไปบังคับใช้ เพื่อกันปัญหารถไม่ได้คุณภาพ จากกรณีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่รถบัสทัศนศึกษาของโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี เกิดเหตุไฟไหม้บนถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้า บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ...

News

ทุนฉุกเฉิน 5,000 บาท มธ. เลื่อนไป 1 พฤศจิกายน เหตุต้องแก้รายละเอียด

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ หัวหน้างานทุนฯ กล่าว โครงการทุนฉุกเฉิน 5,000 เลื่อนเปิดให้ขอจาก 1 ตุลาคม ...

News

BIOTHAI เผย ต้องระวังการเผยแพร่ข้อมูล-แหล่งข่าวถูกคุกคาม หลังโดน CPF ฟ้องหมิ่นประมาท

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์  BIOTHAI เผย ต้องระวังการเผยแพร่ข้อมูล-แหล่งข่าวถูกคุกคาม หลังโดน CPF ฟ้องหมิ่นประมาท ยันสู้ไม่ถอย พร้อมผลักดัน 5 ข้อการเคลื่อนไหวสร้างความเปลี่ยนแปลง . ...

News

มธ. เตรียมเพิ่มทุนฉุกเฉินให้กับนักศึกษา คาดเริ่มใช้ 1 ตุลาคมนี้

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ :  ปิยะพร สาวิสิทธิ์ มธ.เตรียมเพิ่มทุนฉุกเฉินสำหรับนศ.ที่ประสบปัญหาการเงินระหว่างปีการศึกษา คาดสามารถเริ่มขอกู้ยืมได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป และหากประเมินว่าไม่สามารถคืนไหว สามารถกลายเป็นทุนให้เปล่าได้ทันที . ...

News

เขื่อนแก่งเสือเต้นแก้น้ำท่วมไม่ได้ ซ้ำ ทำลายวิถีชีวิตชาวบ้าน

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ และ สิทธิเดช สายพัทลุงภาพประกอบจาก : Thailand Tourism Directory ผู้คัดค้านเผยเขื่อนแก่งเสือเต้นแก้น้ำท่วมสุโขทัยไม่ได้ และอาจทำลายวิถีชีวิตชาวบ้าน ต.สะเอียบไปจนหมด . ...

News

ประธานสภามธ.ส่งหนังสือลาออกกลางการประชุม ด้านการสอบสวนกรณีความผิดทางเพศยังไม่มีความคืบหน้า

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ในการประชุมพิจารณาญัตติถอดถอนประธานสภานักศึกษา ธรรมศาสตร์ สมาชิกพรรคโดมก้าวหน้าเสนอให้เลื่อนญัตติพิจารณาออกไป แต่เพราะประธานสภามธ. ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งระหว่างประชุม จึงต้องจบการประชุม เนื่องจากไม่มีญัตติให้พิจารณาแล้ว . จากกรณีที่มีการเสนอญัตติถอดถอนประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สภา ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save