News

เสวนา “ทบทวนบทเรียนและก้าวต่อไปสู่ความจริงและความเป็นจริง ผ่านมุมมองคน 5 เจเอนเรชั่น ” สะท้อนสภาวะเสรีสื่อถูกริดรอนมานานกว่า 50 ปี

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี

ภาพ : กัญญพัชร กาญจนเจตนีและศิรประภา สีดาจันทร์

วงเสวนา ‘ทบทวนบทเรียนและก้าวต่อไปสู่ความจริงและความเป็นจริง ผ่านมุมมองคน 5 เจเนอเรชั่น’ ชี้ สื่อต้องมีเสรีภาพเพื่อสร้างผลงานคุณภาพ เพราะ 50 ปี ผ่านมา รัฐยังขัดเสรีภาพสื่ออยู่ แนะคนข่าวพัฒนาความสามารถและจริยธรรมควบคู่กันไป

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. ที่วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)   ศูนย์ท่าพระจันทร์ มีการจัดเสวนาในหัวข้อ ‘ทบทวนบทเรียนและก้าวต่อไปสู่ความจริงและความเป็นจริง ผ่านมุมมองคน 5 เจเนอเรชั่น’ ผ่านงาน 50 ปี 14 ตุลาฯ กับสิทธิการสื่อสารในสังคมไทย จัดขึ้นโดย คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ, โคแฟค (ประเทศไทย), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ., วิทยาลัยนวัตกรรม มธ., สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สภาองค์กรของผู้บริโภคและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย กวี จงกิจถาวร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ,สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) และประธานคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ,พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ บรรณาธิการ The Nation online , อัญชัญ อันชัยศรี Digital Journalist สำนักข่าว Today และคุณากร ตันติจินดา นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) นั้น

พงศ์พิพัฒน์ กล่าวว่า สังคมทั่วไปหรือสังคมของนักข่าวเอง มักถกเถียงกันเวลาพูดถึงหน้าที่ของการเป็นสื่อ ซึ่งบนการถกเถียงนั้นมีความเกี่ยวข้องกับคำศัพท์อยู่ 2 คำ คือเสรีภาพและคุณภาพ จนบางครั้งก็มีการด่วนสรุปว่าสื่อที่ไม่มีคุณภาพก็ไม่ควรมีเสรีภาพ เขามองว่านั่นเป็นการสรุปที่ผิด เพราะหากสื่อมวลชนไม่มีเสรีภาพ สังคมก็จะเรียกร้องหาสื่อที่มีคุณภาพไม่ได้เลย เพราะสื่อมวลชนจำเป็นต้องใช้เสรีภาพในการคิดหรือสร้างผลงานใหม่ ๆ และไม่เพียงแต่ช่องทางของสื่อมวลชนเท่านั้นที่ผู้อำนาจจะเข้ามาลิดรอนการสื่อสาร ช่องทางโซเชียลมีเดียของประชาชนก็อาจถูกลิดรอนเช่นกัน การเรียกร้องเสรีภาพจึงไม่ได้เป็นแค่เรื่องของกลุ่มสื่อมวลชนด้วยกันเอง แต่มีผลกระทบต่อประชาชนด้วยหากปล่อยให้ผู้มีอำนาจเข้ามาริดรอนเสรีภาพทางการสื่อสารมากขึ้น

“ปี 2557 คสช.มีความพยายามสั่งปิดเฟสบุ๊ค ปี 2558 คสช.มีความพยายามผลักดันฺซิงเกิลเกตเวย์ ปี 2559 -2560 ใช้มาตรา 37 (ห้ามออกอากาศเนื้อหาที่กระทบความมั่นคงของรัฐ ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551) จอดำทีวีมากกว่า 60 ครั้ง ปี 2563 มีการปิดเว็บไซต์สื่อออนไลน์ 4 เว็บ ซึ่งจนบัดนี้เขายังไม่รู้ตัวเลยว่าโดนปิดข้อหาอะไร แต่คาดเดากันว่าเป็นเพราะว่าไลฟ์การชุมนุม ปี 2563 – 2564 มีการใช้กระสุนยางมีนักข่าวบาดเจ็บ 10 กว่าคน แล้วสุดท้ายปีก่อนคือ ร่างพรบ.สื่อ” พงศ์พิพัฒน์ กล่าวและว่า ในยุครัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นยุครุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพด้านการทำงาน แต่เมื่อเริ่มทำงานในฐานะสื่อมวลชนในปี 2550 หรือ 1 ปีหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารปี 2549 เสรีภาพการทำงานของสื่อกลับพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ และสามารถกล่าวได้ว่า 16 ปีของการเป็นนักข่าว มากกว่าครึ่งอยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร

อัญชัญ กล่าวว่าในยุคนี้ที่เธอเริ่มเป็นสื่อมา เธอรู้สึกว่าเป็นช่วงที่สื่อดันเพดานประเด็นในการสื่อสาร สื่อเริ่มสื่อสารในเชิงสัญลักษณ์พูดถึงเรื่องประเด็นอ่อนไหวทางสังคมผ่านการรายงานข่าวของพวกเขาเอง ซึ่งอาจมองว่าเป็นพัฒนาการเสรีภาพการสื่อสารของสื่อ แต่หลังจากที่มีสื่อหลายสำนักทำแบบนั้น หลาย ๆ คนก็ถูกผู้มีอำนาจฟ้องปิดปาก หรือถูกติดตามการเคลื่อนไหวมากขึ้น ซึ่งเกิดผลกระทบกับเสรีภาพในการทำงานของสื่อ

คุณากร กล่าวว่า50 ปีผ่านไปพัฒนาการด้านเสรีภาพของสื่อยังวนอยู่ในอ่าง มีดีขึ้นและแย่ลงแต่สิ่งที่เหมือนกันทุกยุคคือ รัฐไทยยังเป็นคู่ขัดแย้งกับเสรีภาพของสื่ออย่างไม่เปลี่ยนแปลง ในอดีตประเทศไทยมีสื่อ มีโทรทัศน์ มีสำนักพิมพ์ เพียงไม่กี่สำนัก เลยถูกควบคุมจากรัฐโดยเบ็ดเสร็จได้ ต่างจากปัจจุบันที่ทุกคนมีสื่อเป็นของตัวเอง รัฐไม่สามารถควบคุมได้เหมือนเมื่อก่อน อาจมองได้ว่ารัฐยังวิ่งตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงแต่ก็ยังคงมีความพยายามในการสร้างกลไกทางกฎหมายในการกำจัดสิทธิในการพูดอยู่ ในทางกลับกันพอมีองค์กรสื่อเกิดขึ้นมากคำถามคือจะสามารถควบคุมให้ทุกคนมีจรรยาบรรณในการรายงานข้อมูลได้อย่างไร ดังนั้นนอกจากเรื่องสิทธิเสรีภาพแล้ว จะต้องเดินหน้าผลักดันเรื่องจรรยาบรรณและความถูกต้องของข้อมูลเช่นกัน

สุภิญญา กล่าวว่าอำนาจนิยม อุปถัมภ์ ทุนนิยม และอภิสิทธิ์ ยังสะท้อนอยู่ในระบบสื่อไทยในปัจจุบัน ทำให้สื่อไม่สามารถตอบสนองสังคมได้อย่างที่ควร แม้ 14 ตุลาฯ จะเป็นเหตุการณ์ที่เริ่มต้นช่วยปฏิวัติให้เกิดเสรีภาพสื่อ แต่หลังจากเหตุการณ์มาความพยามยามให้เกิดเสรีภาพสื่อก็ยังไม่ราบรื่นดี ต้องใช้เวลากว่า 2 ทศวรรษจนเกิดรัฐธรรมนูญ 2540 จึงเริ่มเป็นยุคทองของการทำสื่อจริง ๆ สื่อมีสิทธิเสรีภาพในการทำงานมากขึ้น ปัจจุบันในแง่ของเสรีภาพสื่อถือว่าสังคมไทยเดินมาไกลระดับหนึ่ง แต่ยังคงต้องไปต่อเพราะกฎหมายและกลไกหลาย ๆ อย่างต้องแก้ไขทบทวนเพื่อยกระดับสิทธิเสรีภาพของสื่อไทย ในขณะเดียวกันองค์กรสื่อก็ต้องยกระดับการกํากับดูแลกันเองบนฐานจริยธรรมให้เข้มข้น

กวี กล่าวว่าปัจจุบันสื่อไม่มีการกลั่นกรองข่าวให้ผู้เสพข่าว สังคมไม่สามารถทราบได้เลยว่าข่าวไหนเป็นข่าวที่มีคุณภาพ ข่าวไหนเป็นข่าวที่จริงและข่าวไหนเป็นข่าวปลอม เพราะมีข้อมูลออกมาท่วมท้นมากไปหมดและการรายงานข่าวในปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก สื่อไม่ลงไปพื้นที่จริงแล้ว เพียงเข้าไปดูข้อมูลในโซเชียลก็สามารถนำมาเขียนให้เป็นข่าวได้ แม้เวลาจะผ่านไป 50 ปี แต่ขีดความสามารถของนักข่าวยังต้องปรับปรุงอีกมาก นักข่าวควรทำงานอย่างมีความสามารถเพื่อให้สมกับเสรีภาพที่มี

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

สรุปเสวนา นับถอยหลัง 1 ปี ก่อนคดีสลายการชุมนุมตากใบหมดอายุความ

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ ทนายความศูนย์ทนายความมุสลิมชี้ คดีสลายการชุมนุมตากใบไม่ควรมีกรอบอายุความ 20 ปี เนื่องจากคดีใกล้หมดอายุ แต่ครอบครัวผู้สูญเสียยังไม่ได้รับความเป็นธรรม วันที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น.ที่องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ...

News

สำนักงานทรัพย์สินฯ แจงผลการตรวจสอบ กรณีพบนักศึกษานำชายเข้าหอพักหญิง

เรื่อง : พุฒิเมธ เกียรติมณีศรี ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มธ. ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารหอพักนักศึกษา แจงผลตรวจสอบกรณีพบนักศึกษาหญิงแอบนำชายน่าสงสัยเข้าหอ ชี้เป็นการเข้าใจผิด พบเป็นสาวทอม ด้านนักศึกษาผู้เห็นเหตุการณ์จริงไม่เชื่อ ...

News

รองอธิการฯ มธ. แจงแนวทางจัดซื้อไฟฟ้า แก้ปัญหาค่าไฟหอในแพง

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : จิรัชญา นุชมี รองอธิการฯ มธ. วางแผนจัดซื้อไฟฟ้าจากบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เพื่อแก้ปัญหาราคาค่าไฟหอในศูนย์รังสิต   วันที่ 17 ตุลาคม ...

News

ครบรอบ 47 ปี 6 ตุลา ประชาชนร่วมจุดเทียนรำลึกผู้สูญเสีย

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : สมิตา พงษ์ไพบูลย์ ประชาชนร่วมจุดเทียนรำลึกผู้สูญเสีย 6 ตุลา 2519 แน่นลานประติมากรรม มธ.ท่าพระจันทร์ ในวันครบรอบ ...

News

สรุปมหากาพย์วิวาทะ “โครงการภาพยนตร์นานาชาติ” ปมขัดแย้งเพื่อเพื่อน อมธ และกกต มธ รังสิต 

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ อมธ.โวยหลังโดนพรรคเพื่อเพื่อนสภานศ.โหวตคว่ำงบฯ เทศกาลภาพยนตร์ 4 ศูนย์ เผย ต้องการกระจายกิจกรรมไปช่วยธรรมศาสตร์ศูนย์ต่างๆ เพื่อให้ความรู้และความบันเทิงอย่างทั่วถึง ...

News

ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ชี้ ไทยไฟเขียวกฎหมายทำแท้ง แต่มีโรงพยาบาลรับทำน้อย เพราะกลัวบาป

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งให้บริการสายด่วน 1663 ปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม ชี้ไทยแก้กฎหมายให้การทำแท้งเปิดกว้างมากขึ้นแล้ว แต่มีโรงพยาบาลแค่ใน 39 ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save