News

อาจารย์รัฐศาสตร์ แนะก้าวไกล จับเก้าอี้รองประธาน ชี้สำคัญกว่า มีอำนาจ-ตรวจสอบความโปร่งใสได้

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี

ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์

อาจารย์รัฐศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ติงกรณีก้าวไกลดำเนินการเพื่อให้ได้ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน
ควบรองประธานสภาฯ ไปพร้อมกัน อาจกลายเป็นช่องที่ทำให้โดนโจมตีได้
แนะก้าวไกลควรเลือกตำแหน่งรองประธานสภาฯ เพราะน่าจะช่วยทำให้ระบบสภาโปร่งใสขึ้น

 
จากกรณีที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อเปิดทางให้พรรคมีการเลือก สส. คนอื่นขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ระบุห้ามไม่ให้พรรคของผู้นำฝ่ายค้านมี สส. ในพรรคดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาฯและรองประธานสภาฯ ซึ่งส่งผลต่อการดำรงตำแหน่งของ ปดิพัทธ์ สันติภาดา หรือ หมออ๋อง รองประธานสภาฯ คนที่ 1 จากพรรคก้าวไกล จนเกิดกระแสข่าวตามมาโดยคาดว่าคณะกรรมการบริหาคพรรคชุดใหม่ของก้าวไกล อาจมีมติขับปดิพัทธ์ออกจากการเป็นสมาชิก แล้วให้ไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเป็นธรรม เพื่อให้ก้าวไกลสามารถรักษาเก้าอี้รองประธานสภาฯไว้และยังได้ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านฯ ควบคู่ไปด้วยนั้น
 
วันที่ 21 กันยายน 2566 อุเชนทร์ เชียงเสน อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่าจากผลการเลือกตั้ง ประชาชนก็จะเห็นว่าหากเป็นไปตามกลไกรัฐธรรมนูญปกติ  พรรคก้าวไกลควรจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พิธาได้เป็นนายกฯ ปดิพัทธ์ได้ตำแหน่งประธานสภาฯ สิ่งที่เกิดขึ้นกับพรรคตอนนี้คือต้องการควบตำแหน่งทั้งสองทั้งรองประธานสภาฯและผู้นำฝ่ายค้านไปพร้อม ๆ กันจึงเป็นความพยายามแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้น สำหรับเขาเรื่องนี้ไม่ถึงกับน่าเกลียด แต่เป็นเขาเขาจะไม่ทำแบบนี้
 
อุเชนทร์ กล่าวว่า การที่พรรคก้าวไกลพยายามให้ได้มาซึ่งทั้งสองตำแหน่งนั้น ไม่ได้ทำให้พรรคสูญเสียความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ทางการเมือง เพราะมันเหมือนเป็นการใช้เทคนิค ๆ หนึ่ง แต่เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องที่ถูกนำมาใช้เพื่อทำลายความชอบธรรมหรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของพรรคอาจเป็นตำหนิที่ติดตัวพรรคและจะเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาโจมตีตลอดชีวิตทางการเมืองของพรรคก้าวไกล
 
อุเชนทร์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า หากต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เขารู้สึกว่าตำแหน่งรองประธานสภาฯ สำคัญกว่าผู้นำฝ่ายค้าน เพราะในตอนต้นของรัฐบาลปี 2562 ช่วงนั้นไม่มีผู้นำฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทยไม่ได้ สส.บัญชีรายชื่อในสภาฯเลยและหัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็ไม่ได้เป็น สส. ด้วย แต่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ยังคงดำเนินไปได้ จึงมองว่าตำแหน่งรองประธานสภาฯ สำคัญกว่าซึ่งตำแหน่งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่จะทำให้รัฐสภามีประสิทธิภาพ โปร่งใสมากขึ้น
 
“หนึ่งคือผมรู้สึกว่ากระบวนการนิติบัญญัติจะดีขึ้น ที่ผ่านมาสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติได้ไม่ดีเท่าไหร่มันช้าและออกกฎหมายได้น้อยมาก สองคือเราไม่เคยรู้เลยว่าสภามีงบฯใช้ทำอะไรบ้าง แต่พอหมออ๋องเข้าไปดำรงตำแหน่งได้ไม่กี่วัน เราจะเห็นได้เลยว่ามีงบฯเลี้ยงหมูกระทะ งบฯเรื่องเดินทางมันเป็นยังไง เราต้องการเห็นความโปร่งใสแบบนี้ แล้วผมคิดว่าการที่หมออ๋องดำรงตำแหน่งรองประธานจะผลักดันเรื่องนี้ได้” อุเชนทร์ กล่าว
 
ณัชปกร นามเมือง เจ้าหน้าที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw กล่าวว่าบทบาทผู้นำฝ่ายค้านภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 อ่อนแอมาก ไม่ได้มีอำนาจในการต่อรองกับฟากรัฐบาลมากมายและไม่ใช่ไพ่ตายสำคัญที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบรัฐบาล เพราะ บทบาทที่1 ของผู้นำฝ่ายค้านคือเป็นกรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ จะพบว่าผู้นำฝ่ายค้านเป็นเพียง 1 ใน 7-8 เสียงของคณะกรรมการฯ อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกเขียนโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือระบอบประยุทธ์ (เครือข่ายอำนาจและผลประโยชน์ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี) จึงทำให้คสช.ยังคงเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระได้ พอผู้นำฝ่ายค้านเป็นเพียง 1 เสียงในนั้น จะสามารถตรวจสอบสมดุลอะไรได้ไหม บทบาทที่ 2 คือสามารถขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปได้ แต่การเปิดอภิปรายก็ยังคงต้องใช้เสียงในสภาอยู่ดี จึงเพิ่มอำนาจต่อรองขึ้นมาเพียงนิดเดียวเท่านั้น บทบาทที่ 3 คือเป็นกรรมการร่วมเพื่อวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติใดเป็นกฎหมายปฏิรูป ซึ่งจริง ๆ แล้วพอกฎหมายเข้ามาตามระบบปกติ ก็ไม่ได้เปิดช่องให้ฝ่ายค้านเข้าไปตรวจสอบได้เท่าไร (รัฐธรรมนูญปี 2560 ได้เพิ่มบทบัญญัติขึ้นมาใหม่ในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติใด ๆ ต่อประธานสภาฯ เพื่อให้พระราชบัญญัตินั้นถูกตราขึ้นเป็นกลไกขับเคลื่อนและปฏิรูประเทศ แต่หากมีพระราชบัญญัติทั่วไปอื่น ๆ ที่ สส.หรือสว. มีความเห็นว่าควรถูกตราขึ้นตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศเช่นกัน จะมีการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการร่วมเพื่อวินิจฉัย โดยการถูกตราขึ้นเป็นกฎหมายปฏิรูปจะมียุทธศาสตร์ชาติและรัฐธรรมนูญที่ถูกเขียนขึ้นโดยคสช.เข้ามาเป็นกรอบกำกับ บทบาทของผู้นำฝ่ายค้านจึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ แต่เมื่อมีเสียงจากฝ่ายค้าน 1 เสียงจากคณะกรรมการฯ 5 คนในการลงความเห็นผู้นำฝ่ายค้านเลยอาจไม่สามารถป้องกันไม่ให้เป็นไปตามกลไกของคสช.ได้)
 
“รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ไปสร้างกติกาที่ทำให้การเป็นฝ่ายค้านมีเงื่อนไขซับซ้อนและยุ่งยาก ทั้งด้วยตัวบทบาทหน้าที่และการเพิ่มเงื่อนไขพิเศษจากรัฐธรรมนูญอื่น ๆ ว่าพรรคผู้นำฝ่ายค้านต้องไม่มีตำแหน่งรองประธานสภา ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ตำแหน่งในสภาพวกนี้ไม่ได้ผูกขาดอยู่ที่พรรครัฐบาลฝ่ายเดียว คำถามคือการเป็นผู้นําฝ่ายค้าน รวมถึงรักษาตําแหน่งรองประธานสภาไว้  มันไม่เป็นไปตามกรอบประชาธิปไตยยังไง เพราะในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย มันก็ไม่ได้มีเงื่อนไขแบบรัฐธรรมนูญปี 2560 แบบนี้” ณัชปกร กล่าว

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:News

News

นักสิทธิมนุษยชน ชี้ มายาคติโทษเหยื่อยังมี ปม สส. ปูอัด คุกคามทางเพศ 

เขียน : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : กัญญาภัค วุฒิรักขจร นักสิทธิมนุษยชนชี้มายาคติโทษผู้ถูกกระทำทางเพศยังมีอยู่ในสังคมเหตุผู้ช่วยสส.ค้านเป็นเพียงเรื่องชู้สาว กรณีสส.ก้าวไกลคุกคามทางเพศเพื่อนร่วมงาน   จากกรณีที่ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ ปูอัด สส.กทม.พรรคก้าวไกล ...

News

ตัวแทนคนรุ่นใหม่ย้ำจุดยืนแก้ รธน.ทั้งฉบับ หลังรัฐปฏิเสธแก้หมวด 1และ2

เขียน : กัญญพัชร กาญเจตนี ภาพ : กัญญาภัค วุฒิรักขจร ตัวแทนนักศึกษา-คนรุ่นใหม่ย้ำจุดยืนแก้รธน.ทั้งฉบับ เหตุรัฐบาลยืนกรานปฏิเสธการแก้หมวด 1และ 2 แนะหาก รธน.ถูกจำกัดการแก้ไขอาจเกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนระลอกใหม่ เมื่อวันที่ ...

News

สรุปเสวนา นับถอยหลัง 1 ปี ก่อนคดีสลายการชุมนุมตากใบหมดอายุความ

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ ทนายความศูนย์ทนายความมุสลิมชี้ คดีสลายการชุมนุมตากใบไม่ควรมีกรอบอายุความ 20 ปี เนื่องจากคดีใกล้หมดอายุ แต่ครอบครัวผู้สูญเสียยังไม่ได้รับความเป็นธรรม วันที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น.ที่องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ...

News

สำนักงานทรัพย์สินฯ แจงผลการตรวจสอบ กรณีพบนักศึกษานำชายเข้าหอพักหญิง

เรื่อง : พุฒิเมธ เกียรติมณีศรี ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มธ. ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารหอพักนักศึกษา แจงผลตรวจสอบกรณีพบนักศึกษาหญิงแอบนำชายน่าสงสัยเข้าหอ ชี้เป็นการเข้าใจผิด พบเป็นสาวทอม ด้านนักศึกษาผู้เห็นเหตุการณ์จริงไม่เชื่อ ...

News

เสวนา “ทบทวนบทเรียนและก้าวต่อไปสู่ความจริงและความเป็นจริง ผ่านมุมมองคน 5 เจเอนเรชั่น ” สะท้อนสภาวะเสรีสื่อถูกริดรอนมานานกว่า 50 ปี

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : กัญญพัชร กาญจนเจตนีและศิรประภา สีดาจันทร์ วงเสวนา ‘ทบทวนบทเรียนและก้าวต่อไปสู่ความจริงและความเป็นจริง ผ่านมุมมองคน 5 เจเนอเรชั่น’ ชี้ ...

News

รองอธิการฯ มธ. แจงแนวทางจัดซื้อไฟฟ้า แก้ปัญหาค่าไฟหอในแพง

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : จิรัชญา นุชมี รองอธิการฯ มธ. วางแผนจัดซื้อไฟฟ้าจากบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เพื่อแก้ปัญหาราคาค่าไฟหอในศูนย์รังสิต   วันที่ 17 ตุลาคม ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save