MediaShot By ShotSociety

แผงขายอาหารริมทาง (เท้า) ยามเช้า แผงเสบียงสีเทาราคาย่อมเยาของชาวออฟฟิศ

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย

ในเช้าวันเร่งรีบของ ‘มนุษย์เงินเดือน’ เหล่ามดงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่แทบจะไม่มีแม้แต่เวลาหยุดพักกินข้าวหรือมีเงินเดือนพอจะแวะกินร้านอาหารดีๆ ได้ตลอด สิ่งที่พอจะช่วยชีวิตให้ยังคงมีเงินเก็บอยู่ ก็คงเป็นอาหารประเภทที่สามารถซื้อและพกพาไปได้ในราคาที่ไม่สูงนัก ซึ่งก็คืออาหารจากรถเข็น หาบเร่ แผงลอยอาหาร หรือที่เรียกรวมกันว่า ‘หาบเร่แผงลอย’

เชื่อว่าภาพจำของหาบเร่แผงลอยคงมีทั้งด้านบวกและลบ ในด้านบวกมันก็เป็นของขึ้นชื่อตามคำร่ำลือของนักท่องเที่ยวในฐานะประเทศแห่ง ‘Street Food’ แต่อีกมุมหนึ่ง เมื่อตั้งอยู่บนทางเท้าหรือถนน มันก็ถูกมองเป็นอุปสรรคต่อการเดินเท้าเช่นกัน จึงเกิดคำถามขึ้นว่า

“ในเมื่อหาบเร่แผงลอยเป็นปัญหา ทำไมคนที่เดินผ่านไปผ่านไปถึงยังคงสนับสนุนจนผู้ค้าสามารถตั้งหลักอยู่ได้?”

เพื่อหาคำตอบ ผู้เขียนจึงลองสวมบทบาทเป็นพนักงานเงินเดือนที่ต้องตื่นแต่เช้า โหนรถสาธารณะไปยังออฟฟิศตึกเดิมอย่างเร่งรีบซ้ำไปซ้ำมาทุกวันทำงาน และออกเดินดูบรรยากาศการเช้าวันทำงานย่านออฟฟิศ ถ.สีลม ด้วยตัวเองดูสักครั้ง เผื่อว่าจะเข้าใจอะไรมากขึ้น 

.

เริ่มต้นจากสี่แยกศาลาแดงบริเวณปากปล่องทางออกจากสถานีรถไฟฟ้า MRT สีลม ในช่วง 8 โมงเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาไม่นานนักก่อนถึงเวลาเข้างานออฟฟิศส่วนใหญ่ สิ่งแรกที่เห็นเมื่อเดินขึ้นมาบนสกายวอล์คคือมนุษย์จำนวนมากที่เดินไปทางเดียวกันอย่างเร่งรีบ

ผ่านไปสักพัก แต่ละคนเริ่มแยกย้าย บางคนมุ่งหน้าออฟฟิศ บางคนก็แวะเติมเสบียงตามแผงรูปแบบต่างๆ  โดยสิ่งที่เหมือนกันคือ ราคาที่สบายกระเป๋าของอาหารที่วางขาย เช่น ข้าวเหนียวหมูทอดที่ต่อให้สั่งแบบพิเศษ ราคาก็จะไม่เกิน 50 บาทอยู่ดี

ตลอดทางพบรูปแบบการขายของหลากหลาย ทั้งรถเข็นบนทางเท้า ไปถึงแผงถาวรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนตัว หรือแม้แต่ยืนถือของเฉยๆ ไม่มีรถเข็นหรือโต๊ะเป็นของตัวเองด้วยซ้ำ

บางจุดก็ตั้งเป็นศูนย์อาหารของเอกชนเอง ซึ่งหากมองผ่านๆ อาจไม่เตะตานัก เนื่องจากบางจุดตั้งอยู่ในซอยและไม่มีป้ายบอกชัดเจน

ปกติแล้วเราสามารถเห็นแผงลอยได้ตลอดเวลา มากน้อยตามความคึกคักของแต่ละพื้นที่ แต่สำหรับย่านที่มีออฟฟิศหนาแน่น ผู้เขียนมองว่าช่วงที่น่าสนใจที่สุดก็คือ ‘ช่วงเช้า’ เพราะนอกจากจะเป็นเวลาที่ผู้คนพลุกพล่านที่สุดแล้ว ยังได้เห็นสิ่งที่มากกว่าแค่รถเข็นขายอาหารเดินกินอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งแผงขายอาหารเช้า ซึ่งสลับบทบาทของพื้นที่จากการเป็นสถานบันเทิงในตอนกลางคืนมาเป็นแหล่งเสบียงในตอนกลางวัน เช่นที่ซอยพัฒน์พงษ์ ย่านถนนสีลม-สุรวงศ์

พอเห็นซอยพัฒน์พงศ์ รวมถึงซอยอื่นๆ ที่มีร้านค้าตั้งอยู่เป็นกระจุกก็เริ่มคิดว่า “ทำไมบางจุดถึงขายของกันเป็นระเบียบเหมือนกับถูกจัดแยกไว้ แต่ก็ยังเห็นบางจุดบนทางเท้าที่มีร้านตั้งแยกออกไปนะ”

จนกระทั่งเดินมาจนถึงปากซอยคอนแวนต์ ก็ได้รับคำตอบจากป้ายนี้…

ปัจจุบัน กทม. มีการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ รวมถึงบริเวณ ถ.สีลม ซึ่งเคยถูกร้องเรียนว่าทำให้ไม่ได้ความสะดวกในการเดิน จึงมีการย้ายแผงขายและร้านต่างๆ ไปไว้ภายในซอยต่างๆ บน ถ.สีลม แทนเช่น ซอยศาลาแดง ซอยคอนแวนต์ รวมถึงซอยพัฒน์พงศ์ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ด้วย นั่นก็หมายความว่าร้านค้าที่มีการลงทะเบียนกับทาง กทม. ไว้อย่างถูกต้องอาจถูกย้ายไปอยู่ในพื้นที่ที่จัดสรรไว้ทั้งหมดแล้ว…

ในเมื่อมีการจัดระเบียบไปแล้วแท้ๆ แต่ก็ยังสามารถพบหาบเร่แผงลอยขายบนถนนใหญ่ เลยแอบสงสัยไม่ได้ว่า “สรุปตรงนี้มันขายของได้ไหมนะ แล้วทำไมพวกเขาถึงเลือกที่จะมาอยู่ตรงนี้ แทนที่จะไปลงทะเบียนขายในจุดผ่อนผันเหมือนกับร้านอื่น…”

คิดไปไม่ทันไรก็ได้คำตอบข้อแรกเสียแล้ว เมื่อได้ยินเสียงจากแม่ค้าที่ยืนอยู่บนสถานีรถไฟฟ้าตะโกนลงไปยังแผงลอยด้านล่างว่า “รถเขียวมาแล้ว!” ก่อนที่ทั้งแผงลอยและรถเข็นบริเวณนั้นจะหายตัวไปอย่างรวดเร็ว

ใช่ครับ รถเขียวที่ว่าคือรถของเจ้าหน้าที่เทศกิจ กทม. ที่ลงพื้นที่ตรวจความเรียบร้อยบนทางเท้านั่นเอง

ในเวลาไม่ถึง 10 นาที หลังจากที่เจ้าหน้าที่เทศกิจเดินตรวจตราจนหมดและเดินพ้นสายตาไปแล้ว รถเข็นคันที่คุ้นเคยก็กลับมาประจำในที่ของตัวเองอีกครั้งราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน

.

จะเห็นได้ว่าต่อให้ทางกทม. ตัดสินใจลดทอนเอกลักษณ์ของประเทศ ด้วยการปรับเปลี่ยนอะไรต่างๆ เพื่อลดปัญหาการรบกวนพื้นที่ทางเท้าแล้วก็ตาม แต่สุดท้ายก็ยังคงมีหาบเร่แผงลอยที่ขายอาหารนอกพื้นที่ที่ กทม. กำหนดไว้ให้อยู่

ถ้าพูดถึงกฎระเบียบ มันก็เป็นเรื่องผิด แต่ถ้ามองในอีกมุมพื้นจัดสรรโดย กทม. อาจไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควรหรือเปล่า เช่น การไม่มีป้ายหรือแผนที่นำทางไปหาผู้ค้าที่อยู่อย่างถูกต้องเหล่านั้น จนถ้าไม่สังเกตหรือไม่ใช่คนในพื้นที่ก็อาจไม่รู้เลยว่าจุดไหนเป็นจุดที่ตั้งแผงลอยอย่างถูกต้อง หรืออาจเพราะบริเวณถนนใหญ่มีผู้สัญจรมากกว่า ทำให้ได้รับรายได้มากกว่าและคุ้มค่ากว่าก็อาจเป็นไปได้

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหาบเร่แผงลอยที่ตั้งอยู่อย่างถูกต้องหรือไม่ แต่พวกเขาเหล่านี้ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งเสบียงที่จำเป็นของพนักงานออฟฟิศบริเวณใกล้เคียงอยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในยังคงต้องมีการจัดระเบียบและหาทางออกที่เหมาะสมกว่าในปัจจุบันต่อไป ทั้งในมุมมองความเป็นระเบียบของเมือง และความเป็นอยู่ของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Media

Media

ชวนมองปรากฏการณ์ความนิยม Unsung heroes ทำไมเราถึงสนใจเรื่องราวของคนธรรมดาที่ไร้พลังวิเศษ

เรื่อง: พนิดา ช่างทอง วิดีโอ: พนิดา ช่างทอง, วรพร รุ่งวัฒนโสภณ และ ชวิน ชองกูเลีย เรียบเรียง: พนิดา ช่างทอง . ...

Media

ชวนคุยกับพริก ‘ผู้ช่วยผู้กำกับ’ อาชีพเบื้องหลังความสำเร็จของงาน Production

เรื่องและวีดีโอ: ภัสรา จีระภัทรกุล . อาชีพผู้ช่วยผู้กำกับคงเป็นอาชีพที่หลายคนเคยได้ยินผ่านหูมามาก แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าอาชีพนี้ต้องทำอะไรบ้าง ทักษะและประสบการณ์แบบใดที่จะหล่อหลอมให้คนคนหนึ่งสามารถควบคุมคนอื่นหลายสิบคน และพากองถ่ายไปข้างหน้าจนสรรค์สร้างสื่อมากมายให้ได้รับชม . วันนี้ Varasarn press จะพาผู้ชมไปจับเข่าคุยกับ ‘พริก อภิชญา ...

Media

ภาพมันเบลอ หรือ (อุดมการณ์)เธอไม่ชัดเจน

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง และ ชวิน ชองกูเลีย . เมื่อวนมาถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี พื้นที่ส่วนใหญ่ก็จะถูกฉาบไปด้วยสีรุ้ง ไม่ว่าจะเป็นตึกรามบ้านช่อง ...

Media

Bangkok Pride 2024 : เรื่องที่พาเหรดปีนี้อยากบอก

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ . มองไปทางไหนก็เจอแต่สีรุ้ง!  เมื่อถนนถูกปิด เสียงดนตรีเร้าใจบรรเลงขึ้น และมวลชนสีรุ้งก็กำลังเคลื่อนตัว เป็นสัญญาณว่าพาเหรด Bangkok Pride 2024 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ผู้คนต่างแต่งกายและแต่งแต้มเรือนร่างด้วยสีรุ้งอันเป็นสัญลักษณ์ของ ...

Media

สัปเหร่อ: อาชีพผู้ปิดทองหลังพระ (เมรุ)

เรื่องและวีดีโอ: ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ‘ปู่น้อย – บุญศรี ปริวันตา’ เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มชาวบ้านของหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะ ‘สัปเหร่อ’ ประจำหมู่บ้าน ปู่น้อยคอยทำหน้าที่ส่งร่างผู้ตายครั้งสุดท้ายสู่เถ้ากระดูก มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save