ArticlesSocietyWritings

นายหมายเลขสอง

เรื่อง : Amphea

ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา

ทุกคนเคยมีฉายากันไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นฉายาที่ตั้งขึ้นมาตามลักษณะภายนอก หรือฉายาที่เกิดจากเหตุการณ์อะไรสักอย่างในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต

ผมก็เคยมีฉายาแบบนั้นเหมือนกัน ทั้งแบบน่ารักๆ อย่าง ‘น้องเหนียง’ ซึ่งเป็นฉายาที่เพื่อนในห้องเรียนคนหนึ่งเรียกผม เพราะผมมีเหนียงเยอะเป็นพิเศษ หรือที่จิกกัดขึ้นมาเล็กน้อยอย่าง ‘ลูกรักอาจารย์’

แต่ก็ยังมีอีกฉายาหนึ่งที่เกิดจากการที่ผมถูกเปรียบเทียบกับเพื่อนสนิทของตัวเอง และความหมายที่หมายถึงการเป็นได้เพียงตัวแถม ไม่สามารถที่จะโดดเด่นขึ้นมาเหนือเพื่อนคนนั้นได้ อย่าง ‘นายหมายเลขสอง’

ผมได้ยินชื่อของเพื่อนคนนี้ครั้งแรกตอนสมัยประถม เพราะเขาเป็นลูกของอาจารย์ที่สอนวิชาพละ ซึ่งพ่อของเขาก็มักจะพูดถึงลูกชายคนเล็กให้พวกผมฟังเป็นประจำ

จนมาเจอกับเพื่อนคนนี้แบบจริงๆ คือตอนที่ได้อยู่ห้องเดียวกันสมัยมัธยมต้น หากจะให้นิยามว่าเขาเป็นตัวละครแบบไหน ก็คงพูดได้เต็มปากว่าเหมือนกับตัวละครเอกที่หลุดมาจากการ์ตูนสักเรื่องหนึ่งที่สมบูรณ์แบบตั้งแต่หน้าตา การเรียน ไปจนถึงกีฬา นึกภาพตามได้เลยว่าเขาจะป๊อปปูล่าขนาดไหน

และเมื่อเรามีหมายเลขหนึ่งของห้องไปแล้ว มันก็ต้องมีหมายเลขสองตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย

แล้วใครกันที่จะเหมาะสมกับตำแหน่งนั้น หากไม่ใช่ผม…

ผมเป็นพ่อหนุ่มหน้าตาปานกลางค่อนไปทางเฉยๆ มีผลการเรียนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยนิดหน่อย และเล่นกีฬาไม่ได้เลยเพราะมีโรคหอบหืดเป็นโรคประจำตัว

องค์ประกอบที่ดูไปไม่สุดสักทางแบบนี้เหมาะสมอย่างมากที่จะรับตำแหน่งนายหมายเลขสองของห้อง

แล้วตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทราบได้ที่ผมกับเขาสนิทกันขึ้นมา อยู่ด้วยกันตั้งแต่มัธยมต้นจนถึงมัธยมปลาย และมันยิ่งตอกย้ำอยู่ตลอดเวลาว่า “ผมเป็นได้แค่เบอร์สองจริงๆ”

ผมถูกนับเป็นเพียงตัวแถมของเพื่อนคนนี้เพียงเท่านั้น เหมือนอยู่ในเงาที่ไม่ถูกแสงส่อง เพราะแสงทั้งหมดส่องไปที่เพื่อนหมดแล้ว ผมจะถูกแสงส่องบ้างก็เฉพาะตอนที่เขาไม่อยู่ ไม่ว่าจะติดการแข่งขันตอบคำถามประชันความรู้ หรือนึกครึ้มอยากจะหยุดเรียน แต่มันก็ยังเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เพราะเวลาต่อมาเขาก็กลับมาเอาแสงคืนไปอยู่ดี

ถึงตอนแรกผมจะไม่มีปัญหากับการอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ของผมแบบนั้น แต่มันก็มีจุดที่ทำให้เริ่มสับสนในตัวเองเหมือนกัน ตั้งแต่การที่ผมถูกเรียกตัวไปแข่งขันวิชาการพร้อมกับเขา โดยอาจารย์ให้เหตุผลเพียงว่า “ไปเป็นเพื่อนนาย A ก็พอ ไม่ต้องแข่งให้ชนะก็ได้”

และยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ทุกคนแสดงออกว่าผมเป็นเพียงแค่ตัวประกอบ ทุกคนไม่สนใจความสามารถของผม ทั้งหมดสนใจเพียงว่า “ผมเป็นเพื่อนของนาย A” และมันหนักถึงขั้นที่เพื่อนต่างห้องจำชื่อผมไม่ได้ แต่เมื่อบอกไปว่า “คนที่อยู่กับนาย A ไง” ใครๆ ก็จำผมขึ้นมาได้ทันที

มันเป็นความรู้สึกที่ประหลาดมาก ทุกคนไม่ลืมผม แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็จำตัวตนของผมในแบบที่ไม่พ่วงติดกับใครไม่ได้เหมือนกัน

ผมเคยมีความคิดที่อยากจะลองทำให้ตัวเองนำหน้าเพื่อนคนนี้ แต่เรื่องหน้าตามันเปลี่ยนแปลงกันไม่ได้อยู่แล้ว เรื่องกีฬาก็ยิ่งไม่ได้แล้วใหญ่ ที่พอจะถูไถไปได้ก็มีแค่เรื่องเรียนเท่านั้น

แต่ไม่ว่าผมจะพยายามมากขนาดไหนมันก็ไม่เป็นผล แม้จะลดเวลาเล่นเกมของตัวเองลงเพื่ออ่านหนังสือล่วงหน้า หรือพยายามหาแบบฝึกหัดมาทำเพื่อให้ตัวเองชินกับมัน สุดท้ายความพยายามก็เสียเปล่า เพราะเพื่อนผมก็ทำคะแนนได้ดีกว่าอยู่ดี

ผมล้มเลิกความตั้งใจที่จะแข่งขันกับเขา ไม่ใช่เพราะผมเหนื่อยหรือขี้เกียจจะทำมันแล้ว แต่เพราะมันเริ่มส่งผลเสียต่อสุขภาพของผม ทั้งทางกายและทางใจ เหมือนเรื่องเล่าของอิคารัส (Icarus) ที่พยายามสร้างปีกขึ้นมาและริอ่านบินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป

สุดท้ายก็โดนแผดเผาและร่วงหล่นลงมาพบกับความตาย

ผมไม่อยากเป็นแบบนั้น ถึงเลือกที่จะปล่อยวางเรื่องราวทั้งหมดแล้วกลับมาอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ของตัวเอง โดยคิดว่าในอนาคตผมก็คงเป็นนายหมายเลขสองต่อไปอีก แม้ว่าจะเข้าเรียนมหาลัยหรือทำงานแล้วก็ตาม

แต่มันไม่ใช่แบบนั้น โลกของมหาลัยที่เปิดกว้างมากขึ้น มันทำให้ตัวตนของผมเด่นชัดและไม่ถูกลืม หลายคนสามารถจำผม – ด้วยตัวตนของผมได้ – ไม่ใช่จำได้เพราะพ่วงติดอยู่กับใคร

นั่นจึงทำให้ผมรู้ว่าปัญหามันคืออะไร มันไม่ใช่ว่าผมดีไม่พอที่จะเป็นหมายเลขหนึ่ง

แต่เป็นเพราะมันยังไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะเป็นหมายเลขหนึ่งต่างหาก

เพราะเมื่อได้เจอพื้นที่ที่ต้องการตัวตนของเราจริงๆ เราก็สามารถที่จะเป็นหมายเลขหนึ่งขึ้นมาได้เหมือนกัน ในแบบที่เราไม่ต้องร้องขอหรือฝืนตัวเองเลย

ผมได้เจอเพื่อนคนนี้อีกครั้งเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ครั้งนี้ความรู้สึกมันต่างออกไป ผมไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นแค่นายหมายเลขสองหรือเป็นเพียงแค่ตัวแทนของเขาอีกต่อไป

ผมได้เป็นนายหมายเลขหนึ่งแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ในเส้นทางของผมเอง

และผมมีความสุขกับมันมาก

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Articles

Articles

หลอดไฟในดงไม้ แสงสว่างที่ระบบนิเวศไม่ต้องการ

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี ในเมืองกรุงอันแสนกว้างใหญ่ แม้จะเป็นเวลากลางคืนที่ฟ้ามืดสนิท แสงจากไฟถนนและตึกยังคงส่องสว่างเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญ และในเมืองที่ไม่มีวันดับแสงนี้ การจะเห็นดาวที่ลอยอยู่เต็มผืนฟ้าช่างยากเหลือเกิน แม้แสงไฟจะเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ แต่ไม่ใช่ทุกที่จะเหมาะสมกับความสว่างไสวนี้ ...

Articles

 I’m cringe but I’m free สะเหล่อแล้วไง ไม่แคร์แล้วกัน

เรื่อง : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี “โอ้ยยย ทำไมตอนนั้นสะเหล่อจัง” ความคิดที่โผล่เข้ามาในหัวขณะที่ล้มตัวลงนอนหลับตาเตรียมฝันดี แต่สมองไม่รักดีกลับขุดภาพความทรงจำอันน่าอับอายขึ้นมาฉาย ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เล่นมุกแล้วคนทั้งห้องกริบ ทักคนผิดเพราะนึกว่าเป็นเพื่อนตัวเอง ส่งข้อความหาคนที่ชอบเขาอ่านแต่ไม่ตอบ ...

Articles

ต้องอายุเท่าไหร่ ถึงควรจะประสบความสำเร็จ?: ชวนสำรวจนิยามความสำเร็จผ่านตัวละครหลักหลากวัยจาก Only murders in the building

เรื่องและภาพประกอบ : ทยาภา เจียรวาปี หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์ คุณเคยรู้สึกว่าชีวิตตัวเองว่างเปล่าหรือไร้ค่าบ้างไหม? คุณเคยรู้สึกเจ็บช้ำจากความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าบ้างหรือเปล่า? คุณเคยมองความสำเร็จของคนอื่นแล้วถามตัวเองหรือไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่? หากคุณเคยรู้สึกหรือเคยถามตัวเองแบบนั้น คุณอาจเป็นเหมือนสามตัวละครหลักจาก Only murders in the ...

Articles

ผม (ไม่) เคย เฉยชากับความตาย

เรื่องและภาพประภาพ: Amphea Warning : บทความชิ้นนี้มีการพูดถึงเนื้อหาของการพยายามอัตวินิบาตกรรมและการสูญเสียของคนใกล้ตัว โปรดอ่านอย่างระวัง ‘อาม่า’ ของผมเสียไปตั้งแต่ตอนที่ผมอยู่ในวัยประถม แม้ช่วงบั้นปลายชีวิต เธอจะเริ่มหลงลืมลูกหลานและอารมณ์รุนแรงไปบ้าง แต่สำหรับลูกทั้ง 8 คนแล้ว เธอยังคงเป็นคนที่ทุกคนในครอบครัวรักมากที่สุดคนหนึ่ง ส่วนผมนั้นไม่ได้มีความทรงจำเกี่ยวกับอาม่ามากนัก ...

Articles

ออกเดินทางมาแล้วแต่ยังไกลจุดหมาย : ตอนนี้ Universal Design พาคนพิการเดินทางไปได้เท่าไหนในไทย

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย เป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้วที่คนพิการต้องเรียกร้องสิทธิต่างๆ ทั้งในประเด็นสิทธิในการเข้าทำงาน มุมมองด้านลบที่คนพิการเคยถูกมองว่าไม่มีความสามารถ หรือเคยทำกรรมไว้จึงพิการ และปัญหาความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของพวกเขาหลังจากที่ต้องสูญเสียทักษะบางอย่างไป การเดินทางเองก็เป็นอุปสรรคอันดับต้นๆ ที่คนพิการต้องพบเจอและมีการเรียกร้องมาเป็นเวลานาน จนมีกฎหมายเกี่ยวกับ Universal Design ...

Articles

โลกกำลังจะแตก เรายังควรแย่งวัฒนธรรมกันอยู่ไหม?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ชัยชนะของพรรคฝ่ายขวาในหลายประเทศทำให้เห็นการกลับมาของแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่เริ่มมีมากขึ้นในปัจจุบัน ด้านประเทศไทยเองถึงแม้กลุ่มที่นิยามตนเองว่า ‘หัวก้าวหน้า (Progressive)’ ซึ่งเป็นแนวคิดการเมืองแบบฝั่งซ้ายจะเริ่มมีพื้นที่และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทว่าหากพิจารณาตามจุดประสงค์ของการเกิดกลุ่มแนวคิดนี้ ก็อาจยังไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจและความต้องการต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะหากประเทศไทยเต็มไปด้วยกลุ่มคนหัวก้าวหน้าจริงเราคงไม่ได้เห็นคนในสื่อสังคมออนไลน์ตบตีแย่งชิงวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน “รักกันไว้เถิด ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save