News

ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์คาด นโยบายเพิ่มจำนวนเด็กอาจไม่ได้ตามเป้า หากประกันสังคมไม่เอื้อให้คนท้องทำโอที

เรื่อง : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ

ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร

ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งให้บริการสายด่วน 1663 ปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม คาดนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ เพื่อเพิ่มจำนวนการเกิด อาจไม่ถึง 7 แสนคนตามเป้า หากสำนักงานประกันสังคมไม่เอื้อให้ลูกจ้างท้องทำงานล่วงเวลา จนไม่มีเงินเก็บ แนะรัฐลดหย่อนภาษีให้นายจ้างที่จ้างลูกจ้างท้อง

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในพ.ศ.2559 อนุมัติหลักการร่าง ‘นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ’ ตามที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยหนึ่งในเป้าประสงค์คือจำนวนการเกิดเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนจำนวนประชากร ซึ่งหนึ่งในตัวชี้วัดคือมีจำนวนการเกิดไม่น้อยกว่าปีละ 700,000 รายนั้น

ที่คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สมวงศ์ อุไรวัฒนา ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ หรือ Aids Access Foundation (Access) ซึ่งให้บริการสายด่วน 1663 ปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม ให้สัมภาษณ์ว่า เด็กเกิดใหม่มีจำนวนน้อยลงอย่างต่อเนื่อง และตั้งแต่ปีพ.ศ.2564 มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าจำนวนเด็กเกิดใหม่ โดยในปีพ.ศ.2566 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ประมาณ 510,000 ราย ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ของนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ ที่วางไว้ ทำให้นโยบายและยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวอาจมีแนวโน้มไม่สำเร็จ

สมวงศ์ กล่าวว่า จำนวนการตั้งครรภ์อาจยังมากเท่าเดิม แต่จำนวนการคลอดบุตรน้อยลง โดยข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2566 – สิงหาคม พ.ศ.2567 พบว่า ผู้ใช้บริการสายด่วน 1663 เพื่อปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อมมีจำนวน 45,262 ราย โดยอยู่ในกองทุนประกันสังคมร้อยละ 67.1 และตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ร้อยละ 97.2 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ และในจำนวนนี้ระบุว่าการตั้งครรภ์เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ กล่าวว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562) มาตรา 39/1 (ห้ามลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ทำงานเวลากลางคืน ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด) ทำให้ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ขาดรายได้ และนายจ้างก็ได้รับผลกระทบจากการขาดแรงงาน จึงทำให้นายจ้างที่เป็นผู้ประกอบการรายเล็กเลิกจ้างลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ และจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 (นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง) แทน เพราะใช้ต้นทุนน้อยกว่าการจ่ายค่าดูแลหลังคลอดตามสิทธิวันลาคลอด

สมวงศ์ กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้สิทธิการคลอดบุตร ค่าฝากครรภ์ และค่าตรวจเป็นแบบเหมาจ่ายให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 โดยค่าคลอดบุตรสามารถเบิกได้ 15,000 บาท ส่วนค่าตรวจและค่าฝากครรภ์ จำนวน 5 ครั้ง สามารถเบิกได้ไม่เกิน 1,500 บาท ซึ่งผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายก่อนและจะเบิกได้ภายหลัง ซึ่งลูกจ้างบางรายไม่มีรายได้เพียงพอต่อการสำรองจ่าย รวมถึงโรงพยาบาลรัฐบาลส่วนใหญ่กำหนดค่าคลอดบุตรสูงกว่าจำนวนเงินที่เบิกได้

“การที่ค่าคลอดบุตรในโรงพยาบาลรัฐบาลมีแนวโน้มสูงกว่าที่เบิกได้ แสดงว่าลูกจ้างแทบไม่ได้รับอะไรเลย และอาจต้องจ่ายเอง เพราะกองทุนประกันสังคมช่วยแบบไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย รวมถึงรายได้ก็ลดลงจากการไม่ได้ทำงานล่วงเวลา ทำให้ลูกจ้างเจออุปสรรคเยอะมากในการตั้งครรภ์ ดังนั้นการที่จะเพิ่มประชากรให้ได้ 700,000 รายต่อปี จึงแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะคนวัยเจริญพันธุ์คือคนวัยทำงานและอยู่ในกองทุนประกันสังคม” สมวงศ์กล่าวและว่า สปส.ควรสร้างสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิต ลูกจ้างจะได้มีสิทธิเลือกและคำนึงถึงอนาคตได้มากขึ้น

ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ กล่าวว่า ปัญหาที่มักเกิดกับลูกจ้างที่ตั้งครรภ์คือไม่มีนายจ้างจ้างทำงาน ดังนั้นต้องทำให้ลูกจ้างมั่นใจว่าจะไม่ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินดูแล และรัฐบาลอาจต้องจูงใจเพื่อให้นายจ้างรู้สึกว่าจะได้รับประโยชน์จากการจ้างลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ เช่น ถ้านายจ้างมีนโยบายที่ดีให้ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ รัฐบาลอาจลดหย่อนภาษีให้ หรือจ่ายเงินชดเชยให้ 

สมวงศ์ กล่าวว่า อีกประเด็นที่ลูกจ้างเรียกร้องจำนวนมากคือสถานดูแลเด็กในตอนกลางวันและตอนกลางคืน (Day Care and Night Care) เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ด้วยตัวเองในราคาที่เข้าถึงได้ แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะทดลองเปิดสถานดูแลเด็กในตอนกลางวันแล้ว แต่รับเฉพาะบุตรของข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรายงาน ‘จำนวนครั้งการใช้บริการ จำแนกตามสิทธิประโยชน์ ประจำปีพ.ศ.2560–2566’ ของกองทุนประกันสังคม ระบุว่า จำนวนครั้งการใช้บริการจากสิทธิการเสียชีวิตในปีพ.ศ.2560 และ พ.ศ.2565 คือ 26,542 และ 34,648 ครั้ง ตามลำดับ ส่วนจำนวนครั้งการใช้บริการจากสิทธิการคลอดบุตรในปีพ.ศ.2560 และ พ.ศ.2565 คือ 296,984 และ 237,799 ครั้ง ตามลำดับ

 

อ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข.(9 พฤศจิกายน 2559).นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560 – 2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ.สืบค้น 17 กันยายน 2567.https://rh.anamai.moph.go.th/th/download-03

สำนักงานประกันสังคม.(2567).จำนวนครั้งการใช้บริการ จำแนกตามสิทธิประโยชน์ ประจำปีพ.ศ.2560–2566.สืบค้น 17 กันยายน2567.https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/1c0c76e382334d263755b6c04be3c5f0.pdf

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
1
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:News

News

อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ระบุ หากรัฐบาลทรัมป์จะขับไล่ผู้อพยพ ต้องเพิ่มงบประมาณหลายล้าน และอาจทำให้ภาคธุรกิจขาดแคลนแรงงาน

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง อาจารย์รัฐศาสตร์มธ.ชี้ รัฐบาลอเมริกาสามารถออกคำสั่งนโยบายเนรเทศผู้อพยพได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก เนื่องจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้อพยพยังขาดความสามารถในการดำเนินการตามนโยบายนี้ อีกทั้งหากขับไล่ผู้อพยพออกจากประเทศจะส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจขาดแรงงาน พร้อมเสริมว่าในบางเมืองนั้น รัฐบาลกลางไม่สามารถแทรกแซงหน่วยงานท้องถิ่นในการดำเนินการกับผู้อพยพได้ . ...

News

อาจารย์รัฐศาสตร์มธ. แนะนักธุรกิจไทยเตรียมหาตลาดเสริม-รัฐฯ เตรียมรับมือสินค้าทะลักจากจีน หลังทรัมป์ชนะเลือกตั้งสหรัฐฯ

เขียน : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ อาจารย์รัฐศาสตร์มธ. ชี้ไทยอาจส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ยากขึ้น เนื่องจากนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าของทรัมป์ พร้อมแนะนักธุรกิจไทยเตรียมตัวหาตลาดเสริม ด้านรัฐฯ ต้องเตรียมนโยบายตั้งรับสินค้าทะลักจากจีน จากกรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ...

News

ผอ. ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชี้ กรุงเทพฯ เสี่ยงน้ำท่วมอย่างต่อเนื่องในอีก 6 ปี ด้านนายกสมาคมวิศวกรเสนอมาตรการรับมือน้ำท่วม 3 ด้าน

เขียน : ศิรประภา จารุจิตร ภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ผอ. ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชี้กรุงเทพฯ เสี่ยงมีพื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก 6 ปี เพราะฝนที่ตกหนักกว่าเดิมจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้านนายกสมาคมวิศวกรเสนอมาตรการรับมือน้ำท่วม ...

News

อ.รัฐศาสตร์ มธ. ชี้ ปัญหาการแจ้งเตือนภัยเกิดจากระบบราชการไทย รัฐต้องกำหนดบทบาทให้แต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจน

เรื่อง : จุฑาภัทร ทิวทอง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ชี้ปัญหาการแจ้งเตือนภัยเกิดจากความไม่เป็นเอกภาพกันของหน่วยงานรัฐ แนะรัฐบาล การเตรียมพร้อม แจ้งเตือนและรับมือภัยพิบัติต้องแก้ไขด้วยการกำหนดบทบาทและภารกิจที่ชัดเจนให้แต่ละหน่วยงาน เพื่อสร้างความชัดเจนในระบบเตือนภัยแห่งชาติ ...

News

รองอธิการฯ ศูนย์รังสิตเผย ผู้ร้ายแก๊งตบทรัพย์ถูกออกหมายเรียกแล้ว พร้อมเพิ่มรปภ.ในพื้นที่เพื่อป้องกันเหตุในอนาคต

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง ภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ รองอธิการฯ ศูนย์รังสิตเผย ตำรวจออกหมายเรียกผู้ร้ายแก๊งตบทรัพย์แล้ว หลังกล้องวงจรปิดจับภาพผู้ก่อเหตุไว้ได้ พร้อมเพิ่มรปภ.ชุดใหม่ภายใต้การดูแลของกองบริหารศูนย์รังสิตโดยตรงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่นอกเหนือการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากกรณีมิจฉาชีพขี่รถจักรยานยนต์ตามรถยนต์ของหนึ่งในอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่ออ้างว่าผู้เสียหายขับรถเบียดจนเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บที่บริเวณขา ...

News

อาจารย์วารสารฯ มธ. คาดคนดังระวังการรับงานมากขึ้น-แนะ 4 วิธีตรวจสอบก่อนเป็นพรีเซนเตอร์

เรื่อง : พรวิภา หิรัญพฤกษ์ และ วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : ณัฐธิดา นิติเกษตรสุนทร อาจารย​์วารสารศาสตร์ฯ มธ. คาดคนดังจะระวังการรับงานพรีเซนเตอร์มากขึ้น หลังกรณี ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save