ArticlesWritings

‘Practical light’ แสงสว่างจากปลายพู่กันที่แต่งแต้มสีสันในงานภาพยนตร์

เรื่อง : ภัสรา จีระภัทรกุล

ศาสตร์ศิลปะแห่งการเล่าเรื่องด้วยภาพอย่างภาพยนตร์มักถูกตั้งคำถามเรื่อง ‘ความสมจริง’  

ทั้งบทภาพยนตร์ที่สมเหตุสมผล การแสดงที่ทำให้เชื่อว่านักแสดงคือตัวละครนั้นๆ เสียงประกอบฉากที่ทำให้คนดูมีความรู้สึกร่วมกับเรื่องราว รวมไปถึงสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ‘แสง’ องค์ประกอบที่เปรียบเสมือนพู่กันจรดลงบนผืนผ้าใบ แต่งเติมสีสัน สร้างอารมณ์และความเชื่อให้สารในภาพยนตร์ 

หลายครั้งผู้ชมคงเคยเห็นโคมไฟหรือแหล่งกำเนิดแสงอื่น ๆ ที่ปรากฏบนเฟรมภาพยนตร์ วันนี้ Varasarn Press จะพาทำความรู้จัก ‘Practical light’ แหล่งแสงที่ช่วยสร้างสีสัน เติมแต่งความสว่าง และจูงมือทุกท่านท่องไปยังโลกภาพยนตร์ที่ความสมจริงเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อความเชื่อของผู้ชม

.

Practical light คืออะไร?

‘Practical light’ เป็นคำเรียกไฟประกอบในฉากภาพยนตร์ เช่น โคมไฟ จอโทรศัพท์ เปลวไฟจากเทียน หรือแม้แต่แสงพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ที่สาดเข้ามาทางหน้าต่าง  Practical light จึงถูกใช้เป็นทั้งพร็อปประกอบฉาก เป็นแหล่งกำเนิดแสงเพื่อสร้างที่มาที่ไปของแสงในเฟรม  และเป็นแสงที่สร้างมิติ ทำให้เห็นความตื้นลึกของพื้นที่ในฉาก อีกทั้งยังเป็นแสงที่สร้างบรรยากาศในเฟรมภาพยนตร์ด้วย

ภาพประกอบจาก : https://www.youtube.com/watch?v=WBnUFrdLgN0

About Time, Richard Curtis (2013)

ภาพข้างต้นจากภาพยนตร์เรื่อง About Time (2013) ที่ ‘ทิม’ พระเอกหนุ่มได้ตกหลุมรัก ‘แมรี่’ ตั้งแต่แรกพบ และรอพบเธอหน้าร้านเพื่อขอเบอร์โทร ผู้ชมได้เห็นตัวละครชายหญิงที่มีอาการขัดเขินบนถนนในยามค่ำคืนที่มีแสงสีเหลืองอุ่น ๆ ที่สร้างบรรยากาศอบอุ่นแสนโรแมนติก จากโคมไฟหน้าร้านค้าและเสาไฟริมถนน

ภาพประกอบจาก : https://www.youtube.com/watch?v=tbVGLdQJY-s

Thanksgiving, Eli Roth (2023)

หรือจะเป็นฉากสยองขวัญที่ตัวละครหลายคนถูกจับมัดไว้กับเก้าอี้ที่โต๊ะอาหารในวันขอบคุณพระเจ้าจากภาพยนตร์เรื่อง Thanksgiving (2023) ที่มีแสงไฟจากเพียงโคมไฟและเปลวเทียนบนโต๊ะ เป็นการนำสายตาให้ผู้ชมมองไปยังวัตถุที่สว่างกลางโต๊ะ และความมืดรอบฉากสร้างความกดดัน และความน่ากลัวให้กับฉากนี้อีกด้วย

.

แล้ว Practical light สำคัญไฉน?

Practical light มักถูกใช้ในฐานะพร็อปตกแต่งฉากในงานภาพยนตร์ หรือเป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักในเฟรมภาพ แต่บางครั้งแสงก็มีความสว่างไม่มากพอที่จะทำให้เห็นรายละเอียดที่ผู้กำกับต้องการจะนำเสนอ จึงมักถูกใช้เพื่อสร้างบรรยากาศให้ภาพมีมิติมากขึ้น ทำให้ผู้ชมเห็นระยะของพื้นที่ บรรยากาศรอบ ๆ ด้าน 

ภาพประกอบจาก : https://film-grab.com/2024/02/19/she-came-to-me/

She came to me, Rebecca Miller (2023)

งานสำคัญหลัก ๆ ของ Practical light คือการถูกใช้เป็นพร็อปประกอบฉากเพื่อสร้างชีวิต และความสมจริงให้กับฉาก เช่นภาพข้างต้นจากภาพยนตร์โรแมนติกเรื่อง She came to me (2023) ที่มีโคมไฟวางตั้งบนโต๊ะทำงานของจิตแพทย์สาว เช่นเดียวกับโต๊ะทำงานที่บ้านของผู้ชมหลายๆ ท่านที่รับชมอยู่

ภาพประกอบจาก :https://film-grab.com/2024/03/04/poor-things/

Poor Things, Yorgos Lanthimos (2023)

หรือจะเป็นเปลวเทียนหลายเล่ม และโคมไฟระย้าเหนือโต๊ะทานอาหารอลังการจากภาพยนตร์เรื่อง Poor Things (2023) ที่เป็นทั้งแหล่งกำเนิดแสงหลักของเฟรมภาพ และเป็นของตกแต่งฉากที่บอกถึงฐานะของตัวละครภายในเรื่องได้อีกด้วย ซึ่งหากขาด Practical light เหล่านี้ในฐานะพร็อปประกอบฉากก็คงทำให้ความเชื่อที่ผู้ชมมีต่อ Story World ของภาพยนตร์หายไป

ภาพประกอบจาก : https://film-grab.com/2023/05/01/the-whale/

The Whale, Darren Aronofsky (2022)

ภาพจากเรื่อง The Whale (2022) ภายในห้องรับแขกของ ‘ชาร์ลี’ ที่ปิดม่านทุกบานจนแสงแทบไม่ลอดผ่านหน้าต่างเข้ามา แต่มีโคมไฟตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ เพื่อให้แสงสว่างภายในห้อง โดยฉากที่ชาร์ลีนั่งอ่านเรียงความอยู่คนเดียวในห้อง มีเพียงแสงบางๆ จากโคมไฟตั้งโต๊ะที่สาดกระทบที่ใบหน้าด้านซ้ายของชาร์ลี และแสงไฟจากครัวที่ทำให้ผู้ชมได้เห็นสภาพแวดล้อมภายในห้อง

.

อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของ Practical light คือการเป็นแหล่งกำเนิดแสง ที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลผู้ชมว่าพื้นที่นี้มีแสงจากส่วนไหนบ้าง ดังนั้นการเติมแหล่งกำเนิดแสงเข้าไปเพื่อบอกความสมเหตุสมผลในทิศทางที่แสงส่องเข้ามา และช่วยให้ผู้ชมมองเห็นองค์ประกอบหลักชัดขึ้น ย่อมทำให้ผู้ชมรู้สึกเชื่อ แม้ไม่ได้เห็นดวงไฟอยู่ในเฟรมแล้วก็ตาม

ภาพประกอบจาก :https://www.netflix.com

เด็กหอ, ทรงยศ สุขมากอนันต์ (2006)

ดังเช่นภาพจากภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ (2006) ฉากที่ ‘ชาตรี’ นั่งดูโทรทัศน์คนเดียวในความมืด จะเห็นได้ว่าเมื่อภาพรับหน้าชาตรีก็ยังมีแสงที่สาดเข้ามาเพื่อให้เห็นใบหน้าของตัวละครได้ชัด ซึ่งผู้ชมจะรับรู้ได้ว่าเป็นแสงจากจอโทรทัศน์ โดยที่ไม่ต้องมีโทรทัศน์อยู่ในเฟรมภาพ

.

แม้ว่าแสงจะเป็นเพียงองค์ประกอบจาง ๆ ที่กระจายอยู่โดยรอบ แต่หากเปรียบเฟรมภาพยนตร์เป็นผืนผ้าใบขนาดใหญ่ที่ถูกแต่งแต้มไปด้วยเรื่องราวและความหมายที่ผู้กำกับต้องการนำเสนอ เช่นนั้นแล้ว บทภาพยนตร์ งานภาพ การตกแต่งฉาก เสียงดนตรีประกอบ และนักแสดงก็เปรียบเสมือนภาพวาดอันวิจิตรที่ถูกวาดลงบนผืนผ้าใบ  โดยมี ‘Practical light’คอยช่วยแต่งเติมสีสันและแสงเงาเพื่อสร้างความความรู้สึก ความเชื่อ รวมถึงความสมจริงที่พาผู้ชมดำดิ่งสู่โลกแห่งภาพยนตร์ไปด้วยกัน

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Articles

Articles

ลอยกระทงถึงไม่ได้อะไร แต่ฉันก็ยังอยากลอยอยู่ดี

เรื่องและภาพประกอบ : จุฑาภัทร ทิวทอง “วันเพ็ญเดือน 12 น้ำก็นองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริงวันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง…” เพลงคุ้นหูที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่จำความได้ จะทีวีหรือวิทยุทำนองก็เล่นซ้ำวนไปไม่อาจหลีกหนี ฉันจำได้เสมอเมื่อวันนี้เวียนมาถึง แม่ของฉันจะมีกิจวัตรที่เธอทำอยู่ทุกปี ...

Articles

GAY CHARACTERS, NOT GAY ACTORS : เมื่อ ‘ตัวละครเกย์’ ไม่จำเป็นต้องรับบทโดย ‘นักแสดงเกย์’

เขียน : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ สายตา จังหวะการพูด และการเคลื่อนไหวของเธอ บอกเป็นนัยว่าบทบาท ‘Bette Porter’ ใน ...

Articles

พรรคเล็กในสังเวียนใหญ่: ชวนรู้จักพรรค Third party ในศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ และโลกคู่ขนานหากไม่มี Democrats และ Republican

เรื่อง : ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ แน่นอนว่าการจัดการดูแลประเทศที่มีประชากรมากถึง 355 ล้านคน อย่าง ‘สหรัฐอเมริกา’ ภาครัฐจะต้องเข้าใจความต้องการและจัดสรรสวัสดิการที่เหมาะสมแก่ประชาชนทุกคน แต่ด้วยความที่มีประชากรจำนวนมาก ...

Articles

คนบุรีรัมย์มีรถเมล์แอร์นั่งแค่ปีละ 3 วัน : ตัวอย่างสัจธรรมของขนส่งสาธารณะต่างจังหวัด

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ทุกเดือนตุลาคมเป็นช่วงเวลาของการจัดงาน ‘MotoGP’ งานแข่งจักรยานยนต์ทางเรียบที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในสนามแข่งตั้งแต่ปี 2561 (ยกเว้นปี 2563 และ 2564 ที่งดเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19) โดยจัดที่สนามช้าง ...

Articles

เรื่องราวของผีที่มีมากกว่าความน่ากลัวโดย ‘Mike Flanagan’

เรื่องและภาพประกอบ : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ กิจกรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ในช่วงเทศกาลฮาโลวีนก็คงหนีไม่พ้นการแต่งหน้าแต่งตัวเป็นผี ไปยืนเคาะประตูหน้าบ้านคนอื่น พร้อมตะโกนคำว่า Trick or Treat! เพื่อขอขนมหวานแสนอร่อย แต่นี่คือประเทศไทย ดินแดนแห่งเวทมนตร์ หากเดินไปเคาะประตูบ้านคนอื่นยามค่ำคืนก็คงจะได้ไปเล่นกับตำรวจ ไม่ก็เจ้าที่แทน ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็มีเพียงแค่การดูหนังมาราธอนจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save