Shot By Shot

ป้ายหาเสียง(หลัง)เลือกตั้ง : สิ่งที่ค้างคาในวันที่หมดประโยชน์แล้ว

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง

ภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง และ ชวิน ชองกูเลีย

ภาพทั้งหมดถูกถ่ายเมื่อวันที่ 16 และ 19 พฤษภาคม 2567

ในทุกๆ วันที่เดินไปเดินกลับระหว่างหอพักกับอาคารเรียน บรรยากาศในมหาวิทยาลัยยังคงเหมือนช่วงเวลาของการเลือกตั้งสภานักศึกษาแทบจะไม่ผิดเพี้ยน เพราะป้ายหาเสียงที่ยังไม่ถูกเอาออกเรียงรายอยู่แทบจะทุกบอร์ดประกาศในตึกอาคารเรียนรวม ทั้งๆ ที่เวลาก็ผ่านมาเกือบ 1 เดือนเต็มแล้ว หลังจากวันเลือกตั้ง

เมื่อเดินเข้ามาถึงอาคารเรียนรวมก็จะเจอกับป้ายประกาศมากมาย รวมถึงป้ายหาเสียงที่ยังคงติดอยู่

.

หากเดินไปโรงอาหารสังคมศาสตร์ ก็ยังคงพบเจอป้ายไวนิลติดอยู่บริเวณเสาไฟ

.

ถ้าเดินตามทางเดิน ก็จะยังพบเจอป้ายหาเสียงติดตามเสาอยู่ประปราย

.

หรือเมื่ออยากจะไปหาเพื่อนที่หอใน ก็จะยังต้องพบเจอกับป้ายไวนิลแบบเดียวกัน

.

จนเริ่มเกิดการตั้งคำถามว่าเหตุที่ป้ายซึ่งดูจะสำคัญและต้องการให้เห็นในช่วงเวลาหนึ่งกลับยังคงเหลือให้เห็นอยู่ทั้งที่หมดหน้าที่แล้วนั้นเป็นเพราะอะไร ถูกลืม? หรือมักง่ายไม่เอาออก? และเมื่อตั้งคำถามกับเจ้าของที่ไม่เก็บของเหล่านี้แล้ว ก็ต้องตั้งคำถามต่อไปที่คณะกรรมการการเลือกตั้งที่ยังปล่อยให้ยังคงติดอยู่ โดยที่ไม่มีการติดตามผู้รับผิดชอบให้มาจัดการให้เรียบร้อย

ทั้งนี้ กฎเรื่องเวลาการจัดการป้ายประกาศต่างๆ นั้น เดิมปรากฏใน ‘ข้อปฎิบัติในการเลือกตั้งนายกองค์การนักศึกษา อุปนายกองค์การนักศึกษา และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2565 ’ โดยระบุไว้ว่า “ผู้สมัครต้องเก็บวัสดุสำหรับการหาเสียงให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 23:59 น. ก่อนวันเลือกตั้ง” ได้เปลี่ยนเป็น ‘หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ สถานที่ปิดประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งและสถานที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พ.ศ.2567’ มีข้อกำหนดเรื่องเวลาว่า “ต้องเก็บแผ่นป้ายพวกนี้ภายใน 24 ชม. หลังการประกาศผลการเลือกตั้ง” ซึ่งก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือพรรคต่างๆ มากขึ้นพอสมควร

หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ สถานที่ปิดประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งและสถานที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พ.ศ.2567

นอกจากนี้ ประโยคที่ระบุว่า “กรณีผู้สมัครไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ให้คณะกรรมการขอความร่วมมือให้ผู้ปฎิบัติงานในมหาลัยที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นรื้อถอนหรือปลดออก” 

ก็หมายความว่า การที่ป้ายยังคงอยู่ อาจเป็นเพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยังไม่ทำหน้าที่ประสานงานให้จัดการป้ายเหล่านี้ออก…หรือเปล่า

ในฐานะของนักศึกษาสายสังคมคนหนึ่ง เราหวังว่าพรรคที่เคยลงสมัครเลือกตั้งเหล่านี้ จะมีความรับผิดชอบที่จะจัดการสิ่งที่ตัวเองสร้างเอาไว้ แม้ว่าจะทำงานอยู่หรือไม่ก็ตาม

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
2
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

More in:Shot By Shot

Writings

When the party’s over, what do we need to recover? งานธรรมศาสตร์แฟร์ ทิ้งปัญหาอะไรไว้ให้เราบ้าง

เรื่องและภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง “ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ” คำพูดที่มีความหมายว่า แม้จะเจออะไรที่แย่ขนาดไหน แต่หลังจากที่มันผ่านไป ก็จะมีสิ่งดีตามมาเสมอแต่สำหรับงานธรรมศาสตร์แฟร์ (Thammasat Fair) เหมือนว่าจะไม่ใช่แบบนั้น งานธรรมศาสตร์แฟร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ...

Writings

เพราะธรรมศาสตร์ (แฟร์) สอนให้ฉันรักสัตว์?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย, วรพร รุ่งวัฒนโสภณ และ สิทธิเดช สายพัทลุง หลายคนคงทราบกันว่าช่วงวันที่ 18 ...

Shot By Shot

Finding Braille Block ธรรมศาสตร์แฟร์กับเบรลล์บล็อกที่หายไป

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ ระหว่างทางเดินจากประตูเชียงราก 1 เข้าไปยังงานแฟร์ครั้งแรกของมหาวิทยาลัยรัฐชื่อดังย่านรังสิต ปรากฏเส้นทางของแผ่นกระเบื้องจัตุรัสสีเหลืองกว้างราว 30 ซม. วางต่อกันยาวไปตามทางเท้า บ้างเป็นแผ่นที่สมบูรณ์ บ้างก็เป็นแผ่นที่แตกหัก ก่อนเส้นทางจะขาดหายไปอย่างไร้เหตุผล ทั้งที่ข้างหน้าไม่ใช่ทั้งทางม้าลาย ...

Shot By Shot

มีงาน มีที่จอดรถ แต่ไม่พอ หรือมักง่าย? ว่าด้วย ม.ธรรมศาสตร์ และที่จอดรถเมื่อมี Event

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ระหว่างวันที่ 18 – 29 มีนาคม 2567 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตมีการจัดงาน ‘ธรรมศาสตร์แฟร์’ เป็นครั้งแรก ภายใต้คอนเซ็ปต์ ...

Media

A walk at night in Thammasat Rangsit (The Romantic Campus)

เขียนและภาพ สมิตา พงษ์ไพบูลย์ เพราะธรรมศาสตร์เป็นมหา(วิทยา)ลัยที่โรแมนติก การเดินเล่นในตอนกลางคืนช่วงฤดูฝน แทนที่จะนอนอยู่ห้อง ไปเจอเพื่อน หรือแม้แต่ตั้งใจอ่านหนังสือ ดูจะเป็นตัวเลือกที่ไม่แย่(นัก) ช่วงกลางวันไม่น่าอยู่นาน ทั้งแดดแรง รถติด และคนเยอะ  คนที่เรียนจบแล้วอาจเคยคุ้นในบางจุด แล้วคนที่ยังเรียนอยู่คุ้นเคยจุดไหนในนี้บ้าง ...

Media

ด้วยเคารพและศรัทธาแด่พระแม่ทุรคา ณ นวราตรี

เรื่อง : กัญญาภัค วุฒิรักขจร ภาพ : กัปตัน จิรธรรมานุวัตร งานนวราตรีจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในทุก ๆ ปี ปีละ 10 วันต่อเนื่องกัน ในแต่ละวันจะมีการทำพิธีเพื่อบูชาเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแตกต่างกันออกไป ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save